เมนู

อรรถกถามหานิบาต



มโหสถชาดก


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พระปัญญาบารมีของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ปญฺจาโล สพฺพ-
เสนาย
ดังนี้เป็นต้น.
ความย่อว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา เมื่อจะ
สรรเสริญพระปัญญาบารมีของพระตถาคต ได้นั่งสรรเสริญพระคุณของพระ
ศาสดาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นผู้มีพระปัญญาใหญ่ มี
พระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาลึกซึ่ง มีพระปัญญา
ดุจแผ่นดิน มีพระปัญญาแหลม มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญาแทงตลอด
ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแห่งคนอื่น ทรงทรมานเหล่าพราหมณ์ มีกูฏทันตพราหมณ์
เป็นต้น เหล่าปริพาชกมีสัพภิยปริพาชกเป็นต้น เหล่ายักษ์มีอาฬวกยักษ์เป็น
เหล่าเทวดามีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น เหล่าพรหมมีพกพรหมเป็นต้น และ
เหล่าโจรมีโจรองคุลิมาลเป็นต้น ด้วยพระปัญญานุภาพของพระองค์ ทรงทำ
ให้สิ้นพยศ พระองค์ทรงทรมานชนเป็นอันมากประทานบรรพชาให้ตั้งอยู่ใน
มรรคผล พระศาสดามีพระปัญญาใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. พระศาสดาเสด็จ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาถึงเรื่องอะไร และ
เรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนาค้างในระหว่าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น
ตถาคตมีปัญญา แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ยังบำเพ็ญบุรพจริยา
เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณอยู่ ก็เป็นผู้มีปัญญาเหมือนกัน ตรัสฉะนั้นแล้ว

ทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุรพจริยา จึง
ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า วิเทหะ
เสวยราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ มีบัณฑิต 4 คน ชื่อเสนกะ 1
ปุกกุสะ 1 กามินทะ 1 เทวินทะ 1 เป็นผู้ถวายอนุศาสนอรรถธรรมแด่พระ-
เจ้าวิเทหราชนั้น กาลนั้น พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินในปัจจุสสมัย ในวัน
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิว่า ที่มุมพระลานหลวงทั้ง 4 มุม มีกองเพลิง 4 กอง
ประมาณเท่ากำแพงใหญ่ลุกโพลง ก็ในท่ามกลางกองเพลิงทั้ง 4 นั้น มีกอง
เพลิงกอง 1 ประมาณเท่าหิ่งห้อย ตั้งขึ้นลุกล่วงเลยกองเพลิงทั้ง 4 ในขณะนั้น
เลง ตั้งขึ้นจดประมาณอกนิฏฐพรหมโลก สว่างทั่วจักรวาล สิ่งที่ตกในภาคพื้น
แม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ปรากฏ โลกทั้งเทวดาทั้งมารทั้งพรหมมาบูชา
กองไฟนั้น ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น มหาชนเที่ยวอยู่ในระหว่าง
เปลวเพลิง ก็มิได้ร้อนแม้สักว่าขุมขน พระราชาทรงเห็นพระสุบินนี้แล้ว ทรง
หวาดสะดุ้งเสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ทรงจินตนาการอยู่จนอรุณขึ้นว่า เหตุการณ์
อะไรหนอจะพึงมีแก่เรา บัณฑิตทั้ง 4 มาเฝ้าแต่เช้าทูลถามถึงสุขไสยาว่า ข้า-
แต่สมมติเทพ พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระราชาตรัสตอบว่า ท่านอาจารย์
ความสุขจะมีแก่เราแต่ไหน เราได้ฝันเห็นอย่างนั้น ลำดับนั้น เสนกบัณฑิตทูลว่า
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าได้ตกพระหฤทัย พระสุบินนั้นเป็นมงคล ความ
เจริญจักมีแต่พระองค์ เมื่อมีพระราชดำรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงทูลว่า
ข้าแต่มหาราช บัณฑิตที่ 5 อีกคนหนึ่งจักเกิดขึ้น ครอบงำพวกข้าพระองค์
ซึ่งเป็นบัณฑิตทั้ง 4 ทำให้หมดรัศมี พวกข้าพระองค์ทั้ง 4 คน เหมือน
กองเพลิง 4 กอง บัณฑิตที่ 5 จักเกิดขึ้น เหมือนกองเพลิงที่เกิดขึ้นใน
ท่ามกลาง ก็บัณฑิตนั้นหาผู้เสมอย่อมไม่มีในโลกทั้งเทวโลก พระเจ้าวิเทหราช

ตรัสถามว่า ก็บัดนี้บัณฑิตนั้นอยู่ที่ไหน เสนกบัณฑิตทูลพยากรณ์ราวกะเห็น
ด้วยทิพยจักษุเพราะกำลังแห่งการศึกษาของตนว่า วันนี้บัณฑิตนั้นจักปฏิสนธิ
หรือจักคลอดจากครรภ์มารดา พระราชาทรงระลึกถึงคำแห่งเสนกบัณฑิตนั้น
จำเดิมแต่นั้นมา.
ก็บ้านทั้ง 4 คือ บ้านชื่อทักขิณยวมัชฌคาม 1 ปัจฉิมยวมัชฌคาม 1
อุตตรยวมัชฌคาม 1 ฝาจีนยวมัชฌคาม 1 มีอยู่ที่ประตูทั้ง 4 แห่งกรุงมิถิลา
ในบ้านทั้ง 4 นั้น เศรษฐีชื่อสิริวัฒกะอยู่ในบ้านชื่อปาจีนยวมัชฌคาม ภรรยา
ของเศรษฐีนั้นชื่อสุมนาเทวี วันนั้นพระมหาสัตว์จุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางสุมนาเทวี ในเวลาที่พระราชาทรงพระสุบิน เทพบุตร
อีกพัน หนึ่งจุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือปฏิสนธิในตระกูลแห่งเศรษฐีใหญ่น้อยใน
บ้านนั้นนั่นเอง ฝ่ายนางสุมนาเทวีคลอดบุตรมีพรรณดุจทองคำ โดยกาลล่วง
มาได้ 10 เดือน.
ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรดูมนุษยโลก ทรงทราบว่า
พระมหาสัตว์ตลอดจากครรภ์มารดา ทรงคิดว่า ควรเราจะทำพระพุทธางกูรนี้
ให้ปรากฏในโลกทั้งเทวโลก จึงเสด็จมาด้วยอทิสมานกายไม่มีใครเห็นพระองค์
ในเวลาที่พระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์มารดา วางแท่งโอสถแท่งหนึ่งที่หัตถ์
แห่งพระมหาสัตว์นั้น แล้วเสด็จกลับไปยังทิพยพิมานแห่งตนทีเดียว พระ-
มหาสัตว์รับแท่งโอสถนั้นกำไว้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์นั้น ความ
ทุกข์มิได้มีแก่มารดาแม้สักหน่อยหนึ่ง คลอดง่ายคล้ายน้ำออกจากธมกรก
ฉะนั้น นางสุมนาเทวีเห็นแท่งโอสถในมือของบุตรนั้น จึงถามว่า พ่อได้อะไรมา
บุตรนั้นตอบมารดาว่า โอสถจ๊ะแม่ แล้ววางทิพยโอสถในมือมารดา กล่าวว่า
ข้าแต่แม่ แม่จงให้โอสถนี้แก่เหล่าคนเจ็บป่วยด้วยความเจ็บป่วยอย่างใดอย่าง
หนึ่ง นางสุมนาเทวีมีความร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกแก่สิริวัฒกเศรษฐีผู้

สามี ก็เศรษฐีนั้นป่วยเป็นโรคปวดศีรษะมา 7 ปี มีความยินดีร่าเริง คิดว่า
กุมารนี้เมื่อเกิดแต่ครรภ์มารดา ก็ถือโอสถมา ทั้งพูดกับมารดาได้ในขณะที่เกิด
นั่นเอง โอสถที่ผู้มีบุญเห็นปานนี้ให้ จักมีอานุภาพมาก คิดฉะนี้แล้วจึงถือ
โอสถนั้นฝนที่หินบด แล้วเอาโอสถหน่อยหนึ่งทาที่หน้าผาก โรคปวดศีรษะที่
เป็นมา 7 ปีก็หายไป ดุจน้ำหายไปจากใบบัวฉะนั้น ท่านเศรษฐีนั้นมีความ
ดีใจว่า โอสถมีอานุภาพมาก เรื่องพระมหาสัตว์ถือโอสถมา ก็ปรากฏไปในที่
ทั้งปวง บรรดาผู้เจ็บป่วยทั้งปวงนั้น พากันมาบ้านท่านเศรษฐีขอยา ฝ่ายท่าน
เศรษฐีก็ถือเอาโอสถหน่อยหนึ่งฝนที่หินบด ละลายน้ำให้แก่คนทั้งปวง เพียง
เอาทิพยโอสถทาสรีระเท่านั้น ความเจ็บป่วยทั้งปวงก็สงบ มนุษย์ทั้งหลายได้
ความสุขแล้วก็สรรเสริญว่าโอสถในเรือนท่านสิริวัฒกเศรษฐีมีอานุภาพมาก
แล้วหลีกไป.
ในวันตั้งชื่อพระมหาสัตว์ ท่านมหาเศรษฐีคิดว่า เราไม่ต้องการชื่อ
บรรพบุรุษมีปู่เป็นต้น มาเป็นชื่อบุตรของเรา บุตรของเราจงชื่อโอสถ เพราะ
เมื่อเขาเกิดถือโอสถมาด้วย แต่นั้นมาจึงชื่อพระมหาสัตว์นั้น ว่า มโหสถกุมาร
เพราะอาศัยคำเกิดขึ้นว่า โอสถนี้มีคุณมาก โอสถนี้มีคุณมาก ด้วยประการฉะนี้
ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความคิดว่า บุตรของเรามีบุญมาก จักไม่เกิด
คนเดียวเท่านั้น ทารกทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับบุตรของเรานี้จะพึงมี จึงให้
ตรวจตราดู ก็ได้ข่าวพบทารกเกิดวันเดียวกัน 1 พันคน จึงให้เครื่องประดับ
แก่กุมารทั้งหมด และให้นางนม 1 พันคน ให้ทำมงคลแก่ทารกเหล่านั้น
พร้อมกับพระโพธิสัตว์ทีเดียว ด้วยคิดว่า ทารกเหล่านี้จักเป็นผู้ปฏิบัติบำรุง
บุตรของเรา นางนมทั้งหลายตกแต่งทารกแล้วนำมาบำเรอพระมหาสัตว์ พระ
โพธิสัตว์เล่นอยู่ด้วยทารกเหล่านั้น เจริญวัย เมื่อมีอายุได้ 7 ขวบ มีรูปงาม
ราวกะรูปเปรียบทองคำ เมื่อพระโพธิสัตว์เล่นอยู่กับทารกเหล่านั้นในท่ามกลาง

บ้าน เมื่อช้างเป็นต้นมา สนามที่เล่นก็เสียหาย ทารกทั้งหลายย่อมลำบากใน
เวลาเมื่อถูกลมและแดด วันหนึ่งเมื่อเขาเหล่านั้นกำลังเล่นกันอยู่ มหาเมฆตั้งขึ้น
พระมหาสัตว์ผู้มีกำลังดุจช้างสาร เห็นเมฆตั้งขึ้นก็วิ่งเข้าสู่ศาลาหลังหนึ่ง พวก
ทารกนอกนี้วิ่งตามไปทีหลังพระสัตว์ เหยียบเท้าของกันและกันพลาดล้ม
ถึงเข่าแตกเป็นต้น พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า ควรทำศาลาเป็นที่เล่นในสถานที่นี้
เราทั้งหลายจักไม่ลำบากอย่างนี้ จึงแจ้งแก่ทารกเหล่านั้นว่า พวกเราจักลำบาก
ด้วยลม ฝน และแดด พวกเราจักสร้างศาลาหลังหนึ่งในที่นี้ ให้พอเป็นที่ยืน
นั่ง และนอนได้ ท่านทั้งหลายจงนำกหาปณะมาคนละหนึ่งกหาปณะ ทารก
เหล่านั้นก็กระทำตามนั้น พระมหาสัตว์ให้เรียกนายช่างใหญ่มากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ
ท่านจงสร้างศาลาในที่นี้ แล้วได้ให้กหาปณะพันหนึ่งแก่เขา นายช่างใหญ่รับ
คำรับกหาปณะพันหนึ่งแล้ว ปราบพื้นที่ให้เสมอขุดหลักตอออกแล้วขึงเชือกกะ
ที่ พระมหาสัตว์เห็นวิธีขึงเชือกของนายช่าง เมื่อจะบอกจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านอย่าขึงเชือกอย่างนี้จงขึงให้ดี นายช่างกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าขึงตามเหมาะสม
แก่ศิลปะของตน อย่างอื่นนอกจากนี้ข้าพเจ้าไม่รู้ พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม้
เพียงเท่านี้ก็ไม่รู้ ท่านจักรับทรัพย์ของพวกเราทำศาลาได้อย่างไร จงนำเชือกมา
เราจักขึงให้ท่าน ให้นำเชือกมาแล้วก็ขึงเอง เชือกที่พระมหาสัตว์ขึง ได้เป็น
ประหนึ่งพระวิสสุกรรมเทพบุตรขึง แต่นั้นพระมหาสัตว์ได้กล่าวกะนายช่างว่า
ท่านสามารถขึงเชือกได้อย่างนี้ไหม ไม่สามารถนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านสามารถ
ทำตามความเห็นของเขาได้ไหม สามารถนาย พระมหาสัตว์จัดปันที่ศาลาให้
เป็นส่วน ๆ คือ ห้องสำหรับหญิงอนาถาคลอดบุตรห้องหนึ่ง ห้องสำหรับ
สมณพราหมณ์ผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับคฤหัสถ์ผู้อาคันตุกะ
มาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับเก็บสินค้าของพวกพ่อค้าผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง
ทำห้องเหล่านั้นทั้งหมดให้มีประตูทางหน้ามุข ให้ทำสนามเล่น ที่วินิจฉัย

แม้โรงธรรมอย่างนั้น ๆ เมื่อศาลาแล้วเสร็จโดยวันเล็กน้อย ให้เรียกช่างเขียน
มาเขียนให้น่ารื่นรมย์ ให้มีจิตรกรรมกว้างขวางโดยตนสั่งเอง ศาลานั้นมีส่วน
เปรียบด้วยเทวสภาชื่อสุธรรมา แต่นั้น พระมหาสัตว์ดำริว่าเพียงเท่านี้ ศาลา
ยังหางามไม่ ควรสร้างสระโบกขรณีด้วยถึงจะงาม จึงให้ขุดสระโบกขรณี ให้
เรียกช่างอิฐมา ให้สร้างสระโบกขรณีให้มีคดลดเลี้ยวนับด้วยพัน ให้มีท่าลง
นับด้วยร้อย โดยความคิดของตน สระโบกขรณีนั้นดาดาษด้วยปทุมชาติ 5
ชนิด เป็นราวกะว่านันทนโบกขรณี ให้สร้างสวนปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ทั้งไม้ดอก
และไม้ผลริมฝั่งสระนั้น ดุจอุทยานนันทนวัน และใช้ศาลานั้นแหละเริ่มตั้ง
ทานวัตร เพื่อสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม และผู้เดินทางที่จรมาเป็นต้น
การกระทำของพระมหาสัตว์นั้นได้ปรารถนาไปในที่ทั้งปวง มนุษย์เป็นอันมากได้
มาอาศัยศาลานั้น พระมหาสัตว์นั่งในศาลานั้น กล่าวสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ
สิ่งที่ถูกและผิด แก่ผู้ที่มาแล้ว ๆ เริ่มตั้งการวินิจฉัย กาลนั้นได้เป็นเสมือน
พุทธุปบาทกาล.
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช กาลล่วงไปได้ 7 ปี ทรงระลึกได้ว่า บัณฑิต
ทั้ง 4 กล่าวแก่เราว่า บัณฑิตที่ 5 จักเกิดขึ้นครอบงำพวกเขา บัณฑิตที่ 5
นั้นบัดนี้อยู่ที่ไหน โปรดให้อมาตย์ 4 คนไปสืบเสาะหาทางประตูทั้ง 4 ด้าน
ให้รู้สถานที่อยู่แห่งบัณฑิตนั้น อมาตย์ผู้ออกไปทางประตูอื่น ๆ ไม่พบพระ
มหาสัตว์ อมาตย์ผู้ออกไปทางประตูด้านปราจีนทิศ นั่งที่ศาลาคิดว่า ศาลาหลังนี้
ต้องคนฉลาดทำเองหรือใช้ให้คนอื่นทำ จึงถามคนทั้งหลายว่า ศาลาหลังนี้
ช่างไหนทำ คนทั้งหลายตอบว่า ศาลาหลังนี้นายช่างไม่ได้ทำเอง แต่ได้ทำ
ตามวิจารณ์ของมโหสถบัณฑิตผู้เป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐี ด้วยกำลังปัญญา
แห่งตน อมาตย์ถามว่า ก็บัณฑิตอายุเท่าไร คนทั้งหลายตอบว่า 7 ปีบริบูรณ์

อมาตย์นับปีตั้งแต่วันที่พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ก็ทราบว่า บัณฑิตนั้น
คือผู้นี้เอง สมกับพระราชาทรงเห็นพระสุบิน จึงส่งทูตไปทูลพระราชาว่า
ขอเดชะ บุตรของสิริวัฒกเศรษฐีในบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ชื่อมโหสถบัณฑิต
อายุได้ 7 ปี ให้สร้างศาลา สระโบกขรณี และอุทยานอย่างนี้ ๆ ข้าพระบาท
จะพาบัณฑิตนี้มาเฝ้าหรือยัง พระราชาทรงสดับประพฤติเหตุนั้น มีพระหฤทัย
ยินดี รับสั่งให้หาเสนกบัณฑิตมาตรัสเล่าเนื้อความนั้น แล้วดำรัสถามว่า เป็น
อย่างไร ท่านอาจารย์เสนกะ เราจะนำบัณฑิตนั้นมาหรือยัง เสนกบัณฑิต
นั้นเป็นคนตระหนี่ จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
ด้วยเหตุเพียงให้สร้างศาลาเป็นต้น ใคร ๆ ก็ให้สร้างได้ ข้อนั้นยังเป็นการ
เล็กน้อย พระราชาทรงสดับคำของเสนกบัณฑิต ทรงดำริว่า เหตุการณ์ใน
ข้อนี้จะพึงมี ทรงนิ่งอยู่ ทรงส่งทูตของอมาตย์กลับไปด้วยพระดำรัสว่า
อมาตย์จงอยู่ในที่นั้น พิจารณาดูบัณฑิตไปก่อน อมาตย์ได้ฟังพระราชดำรัสนั้น
ก็ยับยั้งอยู่ที่นั้น พิจารณาบัณฑิตต่อไป รวมหัวข้อพิจารณาในเรื่องนั้น ดังนี้
ชิ้นเนื้อ โค เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ กลุ่ม-
ด้าย บุตร คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ รถ ท่อนไม้ ศีรษะคน
งู ไก่ แก้วมณี ให้โคตัวผู้ตกลูก ข้าว ชิงช้าห้อย-
ด้วยเชือก ทราย สระน้ำ อุทยาน ฬา แก้วมณีบน
ลังกา (รวม 19 ข้อ)

บรรดาหัวข้อเหล่านั้น หัวข้อว่าชิ้นเนื้อ มีความว่า วันหนึ่งพระ-
โพธิสัตว์ไปสู่สนามเล่น มีเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอาชิ้นเนื้อแต่เขียงฆ่าสัตว์บินมา
ทางอากาศ ทารกทั้งหลายเห็นเหยี่ยวคาบเนื้อบินมา ก็ติดตามไปด้วยคิดจะให้
เหยี่ยวทิ้งชิ้นเนื้อนั้น เด็กเหล่านั้นวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูเบื้องบน ไป

ข้างหน้าข้างหลังเหยี่ยวนั้น พลาดลงที่ตอมีแผ่นหินเป็นต้น ย่อมลำบาก ลำดับ
นั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวกะเด็กเหล่านั้นว่า กันจะให้เหยี่ยวนั้นทิ้งชิ้นเนื้อ เด็ก
ทั้งหลายขอให้ลองดู จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงคอยดู มโหสถวิ่งไปด้วยกำลัง
เร็วดังลม โดยไม่แลดูข้างบน พอเหยียบเงาเหยี่ยว ก็ตบมือร้องเสียงดังลั่น
ด้วยเดชานุภาพแห่งมหาสัตว์ เสียงนั้นดุจเข้าไปก้องในท้องของเหยี่ยวนั้น
เหยี่ยวนั้นกลัวก็ทิ้งชิ้นเนื้อ พระมหาสัตว์รู้ว่าเหยี่ยวทิ้งชิ้นเนื้อแล้ว แลดูเงา
รับเอาในอากาศไม่ให้ตกพื้นดิน มหาชนเห็นการที่มหาสัตว์ทำดังนั้น เป็น
อัศจรรย์ จึงบันลือโห่ร้องตบมือทำเสียงเซ็งแซ่ อมาตย์ทราบประพฤติเหตุนั้น
จึงส่งทูตไปทูลพระราชาอีกว่า ขอเดชะ มโหสถบัณฑิตได้ยังเหยี่ยวให้ทิ้งชิ้นเนื้อ
ด้วยอุบายนี้ ขอสมมติเทพ จงทรงทราบประพฤติเหตุนี้ พระราชาทรงสดับ
ดังนั้น จึงตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า ท่านเสนกะ เราจะนำบัณฑิตมาหรือยัง
เสนกบัณฑิตคิดว่า จำเดิมแต่เวลาที่มโหสถกุมารมาในราชสำนักนี้ พวกเรา
4 คน จักหมดรัศมี พระราชาจักไม่ทรงทราบว่าพวกเรามีอยู่ ไม่ควรให้นำ
มโหสถกุมารนั้นมา เพราะความตระหนี่ลาภ จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช บุคคล
ไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้น ยังเป็นการเล็กน้อย พระราชา
ทรงมีพระองค์เป็นกลาง จึงส่งทูตนั้นกลับไปด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า จง
พิจารณามโหสถนั้นในที่นั้นต่อไป.
หัวข้อว่า โค มีความว่า บุรุษชาวปาจีนยวมัชฌคามคนหนึ่งคิดว่า
เมื่อฝนตก เราจักไถนา จึงชื่อโคแต่บ้านอื่นนำมาให้อยู่ในบ้าน รุ่งขึ้นนำไป
สู่ที่มีหญ้าเพื่อให้หากิน นั่งอยู่บนหลังโค เหน็ดเหนื่อย ก็ลงนั่งโคนต้นไม้
เลยหลับไป ขณะนั้นโจรคนหนึ่งมาพาโคหนีไป บุรุษเจ้าของโคนั้นตื่นขึ้นมา
ไม่เห็นโค ค้นหาโคข้างโน้นข้างนี้ เห็นโจรจึงวิ่งไล่ไปโดยเร็วกล่าวว่า แกจะ

นำโคของข้าไปไหน โจรกล่าวตอบว่า แกพูดอะไร ข้าจะนำโคของข้าไปสู่ที่
ต้องการ มหาชนต่างมาฟังชนทั้งสองวิวาทกันจนแน่น มโหสถบัณฑิตได้ฟัง
เสียงคนทั้งหลายไปทางประตูศาลา จึงให้เรียกคนทั้งสองมา เห็นกิริยาของคน
ทั้งสองก็รู้ว่า คนนี้เป็นโจร คนนี้เป็นเจ้าของโค แต่ถึงรู้ ก็ถามว่า ท่านทั้ง
สองวิวาทกันเพราะเหตุไร เจ้าของโคกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าซื้อโคนแต่
คนชื่อนี้แต่บ้านโน้น นำมาให้อยู่ในบ้าน นำไปสู่ที่มีหญ้าแต่เช้า ชายนี้พาโค
หนีไป เพราะเห็นข้าพเจ้าประมาทในเวลานั้น ข้าพเจ้ามองหาข้างโน้นข้างนี้
เห็นชายคนนี้ จึงติดตามไปจับตัว ชาวบ้านโน้นรู้การที่ข้าพเจ้าซื้อโคนี้มา
ฝ่ายโจรกล่าวว่า โคนี้เกิดในบ้านของข้าพเจ้า ชายนี้พูดปด ลำดับนั้น มโหสถ
บัณฑิตจึงถามชายทั้งสองว่า เราจักวินิจฉัยความของท่านทั้งสองโดยยุติธรรม
ท่านทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยหรือ เมื่อคนทั้งสองรับว่าจักตั้งอยู่ คิดว่า ควร
จะถือเอาตามใจของมหาชน จึงถามว่า โคเหล่านี้ ท่านให้กินอะไรให้ดื่มอะไร
โจรตอบว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าให้โคดื่มยาคู ให้กินงา แป้ง และ
ขนมกุมมาส ต่อนั้นจึงถามเจ้าของโค เจ้าของโคตอบว่า อาหารมีข้าวยาคู
เป็นต้น คนจนอย่างข้าจะได้ที่ไหนมา ข้าพเจ้าให้กินหญ้าเท่านั้น มโหสถ-
บัณฑิตได้ฟังคำของคนทั้งสองนั้นแล้ว จึงให้คนของตนนำถาดมา ให้นำไป
ประยงค์มาตำในครก ขยำด้วยน้ำให้โคดื่ม โคก็อาเจียนออกมาเป็นหญ้า
มโหสถบัณฑิตแสดงแก่มหาชนให้เห็นแล้วถามโจรว่า เจ้าเป็นโจรหรือมิใช่
โจรรับสารภาพว่าเป็นโจร มโหสถบัณฑิตให้โอวาทว่า ถ้าอย่างนั้น จำเดิม
แต่นี้ไปเจ้าอย่าทำอย่างนี้ ฝ่ายบริษัทของพระโพธิสัตว์ก็ทุบตีโจรนั้นด้วยมือ
และเท้าทำให้บอบช้ำ ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้กล่าวสอนโจรนั้นว่า เจ้าจง
เห็นทุกข์ของเจ้านี้ในภพนี้เพียงนี้ แต่ในภพหน้า เจ้าจักเสวยทุกข์ใหญ่ในนรก

เป็นต้น จำเดิมแต่นี้ไปเจ้าจงละกรรมนี้เสีย แล้วให้เบญจศีลแก่โจรนั้น
อมาตย์ทูลประพฤติเหตุนั้นแต่พระราชาตามความเป็นจริง พระราชาตรัสถาม
เสนกบัณฑิตว่า ท่านอาจารย์เสนกะ เราควรนำบัณฑิตนั้น มาหรือยัง เมื่อ
เสนกะทูลว่า ข้าแต่มหาราช คดีเรื่องโค ใคร ๆ ก็วินิจฉัยได้ บุคคลไม่ชื่อว่า
เป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขอให้ทรงรอไปก่อน พระราชาทรงวางพระ-
องค์เป็นกลาง จึงทรงส่งข่าวไปอย่างนั้นอีก นักปราชญ์พึงทราบในวิธาน
ทั้งปวงอย่างนี้ ก็เบื้องหน้าแต่นี้ จักจำแนกเพียงหัวข้อเรื่องเท่านั้นแสดง.
หัวข้อว่า เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ มีความว่า ยังมีหญิงเข็ญใจ
คนหนึ่งเปลื้องเครื่องประดับทำเป็นปล้อง ถักด้วยด้ายสีต่าง ๆ จากคอวางไว้บนผ้า
สาฎก ลงสู่สระโบกขรณีที่มโหสถบัณฑิตให้ทำไว้ เพื่ออาบน้ำ หญิงรุ่นสาว
คนหนึ่งเห็นเครื่องประดับนั้น เกิดความโลภ หยิบเครื่องประดับขึ้นชมว่า
เครื่องประดับนี้งามเหลือเกิน แกทำราคาเท่าไร แม้กันก็จักทำรูปเหล่านี้ ตาม
ควรแก่ศิลปะของคน กล่าวชมฉะนี้แล้วประดับที่คอตน แล้วกล่าวว่า กันจะ
พิจารณาประมาณของเครื่องประดับนั้นก่อน หญิงเจ้าของกล่าวว่า จงพิจารณา
ดูเถิด เพราะหญิงเจ้าของเป็นคนมีจิตชื่อตรง หญิงรุ่นสาวประดับที่คอคน
แล้วหลีกไป ฝ่ายหญิงเจ้าของเห็นดังนั้น ก็รีบขึ้นจากโบกขรณี นุ่งผ้าสาฎก
แล้ววิ่งตามไปยึดผ้าไว้กล่าวว่า เอ็งจักถือเอาเครื่องประดับของข้าหนีไปไหน
ฝ่ายหญิงขโมยกล่าวตอบว่า ข้าไม่ได้เอาของของแก เครื่องประดับคอของข้า
ต่างหาก มหาชนชุมนุมฟังวิวาทกัน ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเล่นอยู่กับเหล่าทารก
ได้ฟังเสียงหญิงสองคนนั้นทะเลาะกันไปทางประตูศาลา ถามว่านั่นเสียงอะไร
ได้ฟังเหตุที่หญิงสองคนทะเลาะกันแล้ว จึงให้เรียกเข้ามา แม้รู้อยู่โดยอาการ
ว่า หญิงนี้เป็นขโมย หญิงนี้มิใช่ขโมย ก็ถามเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า แก
ทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของข้าหรือ เมื่อหญิงทั้งสองรับว่าจักตั้งอยู่ในวินิจฉัย

จึงถามหญิงขโมยก่อนว่า แกย้อมเครื่องประดับนี้ด้วยของหอมอะไร หญิง
ขโมยตอบว่า ข้าพเจ้าย้อมด้วยของหอมทุกอย่าง ของหอมที่ทำประกอบด้วย
ของหอมทั้งปวงชื่อว่าของหอมทุกอย่าง ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตจึงถามหญิง
เจ้าของ นางตอบว่า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ ของหอมทุกอย่างจะมีแต่
ไหน ข้าพเจ้าย้อมด้วยของหอมคือดอกประยงค์เท่านั้นเป็นนิตย์ มโหสถบัณฑิต
ให้คนของตนกำหนดคำของหญิงทั้งสองนั้น ไว้แล้วให้นำภาชนะน้ำมาแช่เครื่อง
ประดับน้ำในภาชนะน้ำนั้น ให้เรียกคนรู้จักกลิ่นมาสั่งว่า ท่านจงดมเครื่อง
ประดับนั้น จะเป็นกลิ่นอะไร คนรู้จักกลิ่นดมเครื่องประดับนั้นแล้วก็รู้ว่า
กลิ่นดอกประยงค์ จึงกล่าวคาถานี้ในเอกนิบาตว่า
ของหอมทุกอย่างไม่มี มีแต่กลิ่นดอกประยงค์
ล้วน หญิงนักเลงคือหญิงขโมยกล่าวคำเท็จ หญิงแก่
คือหญิงเจ้าของกล่าวคำจริง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ยังมหาชนให้รู้เหตุการณ์นั้นแล้วถามว่า แก
เป็นขโมยหรือ แล้วให้สารภาพว่าเป็นขโมย จำเดิมแต่นั้น ความที่พระมหาสัตว์
เป็นบัณฑิตก็ปรากฏแก่มหาชน.
หัวข้อว่า ด้ายกลุ่ม มีความว่า ยังมีสตรีคนหนึ่งรักษาไร่ฝ้าย เมื่อ
เฝ้าไร่ได้เก็บฝ้ายที่บริสุทธิ์ในไร่นั้นมาปั่นให้เป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วเอาเม็ดมะพลับ
มาไว้ข้างใน พันด้ายนั้นให้เป็นกลุ่ม เก็บไว้ในพก เมื่อจะกลับบ้าน คิดว่า
เราจักอาบน้ำในสระโบกขรณีของท่านบัณฑิต จึงวางกลุ่มด้ายนั้นไว้บนผ้าสาฎก
แล้วลงอาบน้ำ ยังมีหญิงคนหนึ่งเห็นด้ายกลุ่มนั้น ก็ถือเอาด้วยมีจิตโลภ ตบ
มือพูดว่า โอ ด้ายนี้สวยดี ท่านทำหรือ ทำเป็นเหมือนแลดู แล้วเอาใส่ใน
พกหลีกไป เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่มีในก่อน มโหสถบัณฑิตถามหญิง
ขโมยก่อนว่า เมื่อแกทำด้ายให้เป็นกลุ่ม ได้ใส่อะไรไว้ข้างใน หญิงขโมยนั้น

ตอบว่า ข้าพเจ้าใส่ผลฝ้ายนั่นเองไว้ข้างใน ต่อนั้น มโหสถบัณฑิตจึงถามหญิง
อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของ นางตอบว่า ใส่เม็ดมะพลับไว้ข้างใน มโหสถ-
บัณฑิตให้คนของตนกำหนดคำของหญิงทั้งสองไว้ แล้วให้คลี่ด้ายกลุ่มนั้นออก
เห็นเม็ดมะพลับ จึงให้หญิงขโมยนั้น รับสารภาพว่าเป็นขโมย มหาชนร่าเริง
ยินดี กล่าวว่ามโหสถบัณฑิตวินิจฉัยความดี ได้ให้สาธุการเป็นอันมาก.
หัวข้อว่า บุตร มีความว่า ยังมีสตรีคนหนึ่งพาบุตรไปสระโบกขรณี
ของมโหสถบัณฑิต เพื่อล้างหน้าเอาบุตรอาบน้ำแล้วให้นั่งบนผ้าสาฎกของตน
ตนเองลงล้างหน้า ขณะนั้นมียักขินีคนหนึ่งเห็นทารกนั้นอยากจะกิน จึงแปลง
เพศเป็นสตรีมาถามว่า แน่ะสหายทารกนี้งามหนอ เป็นบุตรของเธอหรือ
ครั้น สตรีมารดาทารกนั้น รับว่าเป็นบุตรของตน จึงกล่าวว่า ฉันจะให้ดื่มนม
เมื่อสตรีมารดาทารกอนุญาตแล้ว ก็อุ้มทารกนั้นให้เล่นหน่อยหนึ่งแล้วพาทารก
นั้นหนีไป สตรีมารดาทารกเห็นดังนั้น จึงขึ้นจากน้ำวิ่งไปโดยเร็วยึดผ้าสาฎก
ไว้กล่าวว่า เองจะพาบุตรข้าไปไหน นางยักขินีกล่าวว่า เจ้าได้บุตรมาแต่ไหน
นี้บุตรของข้าต่างหาก หญิงทั้งสองทะเลาะกันเดินไปถึงประตูศาลา มโหสถ
บัณฑิตได้ฟังเสียงนางทั้งสองทะเลาะกัน ให้เรียกเข้ามาถามว่า เรื่องเป็นอย่างไร
กัน นางทั้งสองก็แจ้งให้ทราบเรื่องนั้น มโหสถบัณฑิตฟังความนั้นแล้ว แม้
รู้ว่า หญิงนี้เป็นยักขินีอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนัยน์ตาไม่กระพริบ นัยน์ตา
แดงและไม่มีเงา จึงกล่าวว่า แกทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ เมื่อ
ได้รับคำตอบว่าจักตั้งอยู่ในวินิจฉัย จึงขีดรอยทีแผ่นดิน ให้ทารกนอนกลาง
รอยขีด ให้ยักขินีจับมือทารก ให้หญิงผู้เป็นมารดาจับเท้า แล้วกล่าวว่า แก
ทั้งสองคนจงฉุดคร่าเอาไป ทารกนั้นเป็นบุตรของผู้สามารถเอาไปได้ นางทั้ง
สองก็คร่าทารกนั้น ทารกนั้นถูกคร่าไปด้วยความลำบากก็ร้องจ้า หญิงมารดา
ได้ฟังเสียงนั้น ก็เป็นเหมือนหัวใจจะแตก ปล่อยบุตรยืนร้องไห้อยู่ มโหสถ

บัณฑิตถามมหาชนว่า ใจของมารดาทารกอ่อน หรือว่าใจของหญิงไม่ใช่มารดา
อ่อน มหาชนตอบว่า ใจของมารดาอ่อน มโหสถบัณฑิตจึงถามมหาชนว่า
บัดนี้เป็นอย่างไร หญิงผู้คร่าทารกไปได้ยืนอยู่เป็นมารดา หรือว่านางผู้สละ
ทารกเสียยืนอยู่เป็นมารดา มหาชนตอบว่า นางผู้สละทารกยืนอยู่เป็นมารดา
มโหสถกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายรู้หรือว่านางนี้เป็นคนขโมยทารก
มหาชนตอบว่า ไม่ทราบ มโหสถจึงกล่าวว่า นางนี้เป็นยักขินีคร่าเอาทารกไป
เพื่อกิน มหาชนถามว่า รู้ได้อย่างไร มโหสถตอบว่า รู้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะยักขินีนัยน์ตาไม่กระพริบ นัยน์ตาแดง ไม่มีเงา และปราศจากความ
กรุณา ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ถามหญิงนั้นว่า แกเป็นใคร ยักขินีตอบว่า
ข้าพเจ้าเป็นยักขินี พระมหาสัตว์ซักต่อไปว่า เจ้าจะเอาทารกนี้ไปทำไม ยักขินี
ตอบว่า เอาไปกิน พระมหาสัตว์กล่าวว่า แน่ะนางอันธพาล ฝ่ายหญิงมารดา
ทำบาปจึงเกิดเป็นยักขินี แม้บัดนี้ก็ยังจะทำบาปอีก โอ เองเป็นคนอันธพาล
กล่าวดังนี้แล้ว ให้ยักขินีตั้งอยู่ในเบญจศีล แล้วปล่อยตัวไป ฝ่ายหญิงมารดา
ทารกกล่าวว่า จงมีอายุยืนนานเถิดนาย ชมมโหสถบัณฑิตแล้วพาบุตรหลีกไป
หัวข้อว่า คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ มีความว่า มีชายคนหนึ่งชื่อโคฬกาฬ
เพราะเป็นคนเตี้ยและผิวดำ เขาทำงาน 7 ปีได้ภรรยาชื่อทีฆตาหลา วันหนึ่ง
โคฬกาฬเรียกภรรยามากล่าวว่า เจ้าจงทอดขนมควรเคี้ยว ครั้นนางถามว่า
แกจะไปไหน จึงบอกว่า ข้าจะไปเยี่ยมบิดามารดา นางห้ามว่า แกจะต้องการ
อะไรด้วยบิดามารดา โคฬกาฬก็คงสั่งให้ทอดขนมถึง 3 ครั้ง จึงถือเอาเสบียง
และของฝากเดินทางไปกับภรรยานั้น ในระหว่างทางได้เห็นแม่น้ำ มีกระแสน้ำ
ไหลตื้น แต่สองสามีภรรยานั้นเป็นคนขลาดจึงไม่อาจลง ก็ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
กาลนั้น มีชายเข็ญใจคนหนึ่งชื่อทีฆปิฏฐิ เดินเลียบมาตามฝั่งแม่น้ำ ถึงสถานที่
นั้น สามีภรรยาเห็นชายนั้น จึงถามว่า แม่น้ำนี้ลึกหรือตื้น นายทีฆปิฏฐิรู้อยู่ว่า

สองสามีภรรยานั้นขลาดต่อน้ำ จึงตอบว่า แม่น้ำนี้ลึกเหลือเกิน ปลาร้ายก็ชุม
สามีภรรยาจึงซักถามว่า สหายจักไปอย่างไรเล่า ชายนั้นตอบว่า เรามีความ
คุ้นเคยกับจระเข้และมังกร ฉะนั้น สัตว์ร้ายเหล่านั้นจึงไม่เบียดเบียนเรา สอง
สามีภรรยากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น สหายจงพาเราทั้งสองไป ชายนั้นรับคำ
ลำดับนั้น สองสามีภรรยาจึงให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชายนั้น ชายนั้นบริโภค
อิ่มแล้วจึงถามว่า สหายจะให้เราพาใครไปก่อน นายโคฬกาฬตอบว่า จงพา
ภรรยาไปก่อนพาเราไปทีหลัง ชายนั้น รับคำแล้วให้นางทีฆตาหลาขึ้นคอ ถือ
เสบียงและของฝากทั้งหมดลงข้ามแม่น้ำ ไปได้หน่อยหนึ่งแล้วย่อตัวหลีกไป
ลำดับนั้น นายโคพกาฬยืนอยู่ที่ฝั่งคิดว่า แม่น้ำนี้ลึกแท้ คนสูงยังเป็นอย่างนี้
แต่เราเป็นไม่ได้การทีเดียว ฝ่ายนายทีฆปิฏฐิพานางทีฆตาหลาไปถึงกลางแม่น้ำ
ก็พูดเกี้ยวว่า ข้าจักเลี้ยงดูเจ้า เจ้าจักมีผ้าและเครื่องประดับบริบูรณ์ มีทาสทาสี
แวดล้อม นายโคฬกาฬตัวเตี้ยคนนี้จักทำอะไรแก่เจ้าได้ เจ้าจงทำตามคำข้า
นางทีฆตาหลาได้ฟังคำของนายทีฆปิฏฐินั้น ก็ตัดสิเนหาในสามีของตน มีจิต
ปฏิพัทธ์ในนายทีฆปิฏฐินั้นในขณะนั้นเอง จึงกล่าวตอบว่า ถ้านายไม่ทิ้งฉัน
ฉันจักทำตามคำของนาย นายทีฆปิฏฐิกล่าวว่า นางพูดอะไร ถ้านายไม่ทิ้งฉัน
คนทั้งสองนั้นไปถึงฝั่งโน้น ก็ชื่นชมต่อกันและกัน ละนายโคฬกาฬเสีย กล่าวว่า
รอก่อน รอก่อน ต่างเคี้ยวกินของควรเคี้ยว ต่อหน้านายโคฬกาฬผู้แลดูอยู่
แล้วพากันหลีกไป นายโคพกาฬเห็นดังนั้น จึงคิดว่าคนทั้งสองนี้เห็นจะร่วมกัน
ทิ้งเราหนีไป ก็วิ่งไปวิ่งมา ข้ามลงได้หน่อยหนึ่งก็กลับขึ้นเพราะความกลัว
ข้ามลงอีกหนหนึ่ง ด้วยความโกรธในคนทั้งสองนั้น โดดลงด้วยแน่ใจว่าเป็น
หรือตายก็ตามที ลงไปในแม่น้ำ จึงรู้ว่าตื้น ก็ข้ามขึ้นจากแม่น้ำติดตามไป
โดยเร็ว พอทันคนทั้งสองนั้นจึงกล่าวว่า แน่ะอ้ายโจรร้าย มึงจะพาเมียกู
ไปไหน นายทีฆปิฏฐิกล่าวตอบว่า แน่ะอ้ายถ่อยแคระเตี้ยร้าย เมียมึงเมื่อไร

กล่าวดังนี้แล้วก็ไสคอนายโคฬกาฬไป นายโคฬกาฬจับมือนางทีฆตาหลา กล่าวว่า
รอก่อน รอก่อน เองจะไปไหน ข้าทำงานมา 7 ปีจึงได้เองมาเป็นเมีย เมื่อ
ทะเลาะกับนายทีฆปิฏฐิพลางมาถึงที่ใกล้ศาลาพระมหาสัตว์ มหาชนประชุมกัน
มโหสถบัณฑิตถามว่า นั่นเสียงอะไรกัน สดับความนั้นแล้วให้เรียกคนทั้งสอง
มา ได้ฟังโต้ตอบกันแล้ว จึงกล่าวว่า แกทั้งสองจักตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ
ครั้นคนทั้งสองยอม จึงถามนายทีฆปิฏฐิก่อนว่า แกชื่ออะไร ข้าพเจ้าชื่อ
ทีฆปิฏฐิ ก็ภรรยาของแกชื่ออะไร เมื่อไม่ทันรู้จักชื่อก็บอกชื่ออื่น บิดามารดา
ของแกชื่ออะไร ก็บอกชื่อนั้น ๆ บิดามารดาของภรรยาชื่ออะไร เมื่อยังไม่รู้
ก็บอกชื่ออื่น ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตจึงให้คนของตนกำหนดถ้อยคำไว้ แล้ว
ให้นายทีฆปิฏฐินั้นออกไป ให้เรียกนายโคฬกาฬมา ถามชื่อคนทั้งปวงโดยนัย
หนหลัง นายโคฬกาฬรู้อยู่ตามเป็นจริงก็บอกไม่ผิด พระโพธิสัตว์ให้นำนาย
โคฬกาฬออกไป ให้เรียกนางทีฆตาหลามาถามว่า แกชื่ออะไร ข้าพเจ้าชื่อ
ทีฆตาหลา ผัวแกชื่ออะไร เมื่อยังไม่ทันรู้จักชื่อกันก็บอกชื่ออื่น บิดามารดา
ของแกชื่ออะไร ก็บอกชื่อนั้น ๆ บิดามารดาของผัวแกชื่ออะไร เมื่อยังไม่
รู้จักชื่อก็บอกชื่ออื่น มโหสถบัณฑิตให้เรียกนายทีฆปิฏฐิและนายโคฬกาฬมา
แล้วถามมหาชนว่า ถ้อยคำของนางทีฆตาหลาสมกับคำของนายทีฆปิฏฐิหรือสม
กับคำของนายโคฬกาฬ มหาชนตอบว่า ถ้อยคำของนางทีฆตาหลาสมกับคำของ
นายโคฬกาฬ มโหสถบัณฑิตจึงกล่าวว่า นายโคฬกาฬเป็นผัวของนางทีฆตาหลา
นายทีฆปิฏฐิเป็นโจร ลำดับนั้น มโหสถจึงถามนายทีฆปิฏฐิว่า เจ้าเป็นโจร
หรือ นายทีฆปิฏฐิรับสารภาพว่าเป็นโจร นายโคฬกาฬได้ภรรยาของตนคืน
ด้วยวินิจฉัยของมโหสถบัณฑิต ก็ชมเชยมโหสถบัณฑิตแล้วพาภรรยาหลีกไป
มโหสถบัณฑิตกล่าวกะนายทีฆปิฏฐิว่า จำเดิมแต่นี้ไปเจ้าอย่าทำกรรมเช่นนี้อีก.

หัวข้อว่า รถ มีความว่า กาลนั้นยังมีบุรุษคนหนึ่งนั่งในรถออกจาก
บ้านเพื่อล้างหน้า ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาเห็นพระโพธิสัตว์
จึงดำริว่า เราจักทำปัญญานุภาพแห่งมโหสถผู้พุทธางกูรให้ปรากฏ จึงเสด็จมา
ด้วยเพศแห่งมนุษย์จับท้ายรถไป บุรุษเจ้าของรถถามว่า แน่ะพ่อ พ่อมาด้วย
ประโยชน์อะไร ครั้นได้ฟังว่า จะมาเพื่ออุปัฏฐากตน จึงรับว่าดีแล้ว ก็ลง
จากรถไปเพื่อทำสรีรกิจ ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชขึ้นรถขับไปโดยเร็ว บุรุษ
เจ้าของรถทำสรีรกิจแล้วออกมาเห็นท้าวสักกเทวราชลักรถหนีไป ก็ติดตามไป
โดยเร็ว กล่าวว่า หยุดก่อน หยุดก่อน แกจะนำรถของข้าไปไหน เมื่อท้าว
สักกะตอบว่า รถของแกคันอื่น แต่คันนี้รถของข้า ก็เกิดทะเลาะกันไปถึงประตู
ศาลา มโหสถบัณฑิตถามว่า เรื่องอะไรกัน แล้วให้เรียกคนทั้งสองนั้น มา
เห็นคนทั้งสองมาด้วยอาการนั้น ก็รู้ชัดว่า ผู้นี้เป็นท้าวสักกเทวราช เพราะ
ปราศจากความกลัวเกรง และเพราะนัยน์ตาไม่กระพริบ ผู้นี้เป็นเจ้าของรถ
แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น มโหสถก็ถามถึงเหตุแห่งการวิวาทกล่าวว่า ท่านทั้งสองจัก
ตั้งอยู่ในวินิจฉัยของเราหรือ เมื่อได้ฟังรับว่าจักตั้งอยู่ จึงกล่าวว่า เราจักขับรถ
ไป ท่านทั้งสองจงจับท้ายรถ เจ้าของรถจักไม่ปล่อย ผู้ไม่ใช่เจ้าของรถจักปล่อย
กล่าวฉะนี้แล้ว บังคับบุรุษคนหนึ่งว่าจงขับรถไป บุรุษนั้นได้ทำตามนั้น คน
ทั้งสองจับท้ายรถวิ่งตามไป เจ้าของรถไปได้หน่อยหนึ่งเหน็ดเหนื่อย จึงปล่อย
รถยืนอยู่ ฝ่ายท้าวสักกเทวราชวิ่งไปกับรถทีเดียว มโหสถบัณฑิตสั่งให้กลับรถ
แล้วแจ้งแก่มหาชนว่า บุรุษนี้ไปหน่อยหนึ่งก็ปล่อยรถยืนอยู่ แต่บุรุษนี้วิ่ง
ไปขับรถ กลับมากับรถ แม้เพียงหยาดเหงื่อและสรีระของเขาก็ไม่มี หายใจออก
หายใจเข้าก็ไม่มี หาความสะทกสะท้านมิได้ นัยน์ตาก็ไม่กระพริบ ผู้นี้คือ
ท้าวสักกเทวราช ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตถามว่า ท่านเป็นท้าวสักกเทวราช
มิใช่หรือ ครั้นได้รับตอบว่าใช่ จึงถามว่า พระองค์เสด็จมาที่นี้เพื่ออะไร

ครั้นได้รับตอบว่า เพื่อประกาศปัญญาของเธอนั่นแหละ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น
พระองค์อย่าได้กระทำอย่างนี้อีก ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะแสดงสักกานุภาพ ก็
สถิตอยู่ในอากาศ ตรัสชมเชยมโหสถบัณฑิตว่า เธอวินิจฉัยความดี เธอ
วินิจฉัยความดี แล้วเสด็จกลับยังทิพยสถานของตน กาลนั้น อมาตย์นั้นไป
เฝ้าพระเจ้าวิเทหราชด้วยตนเอง ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ความเรื่องรถ
มโหสถกุมารวินิจฉัยดีอย่างนี้ แม้ท้าวสักกเทวราชก็ยังแพ้ เหตุไรพระองค์จึง
ไม่ทรงทราบบุรุษพิเศษเล่า ขอเดชะ พระราชาตรัสถามเสนกอาจารย์ว่า ควรนำ
บัณฑิตมาหรือยัง อาจารย์เสนกะเป็นคนตระหนี่จึงได้ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
บุคคลได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ โปรดรอไปก่อน เราจักทดลอง
เขาแล้วจักรู้ พระราชาทรงดุษณีภาพ.
จบ ปัญหาของทารก 7 ข้อ
หัวข้อว่า ท่อนไม้ มีความว่า วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงดำริจะ
ทดลองมโหสถบัณฑิต จึงให้นำท่อนไม้ตะเคียนมา ให้ตัดเอาเพียง 1 คืบ
ให้ช่างกลึงกลึงให้ดีแล้ว ให้ส่งไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ด้วยพระราชา
อาณัติว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงแจ้งว่า ท่อนไม้ตะเคียนนี้ ข้างนี้ปลาย
ข้างนี้โคน ถ้าไม่มีใครรู้ จะปรับพันกหาปณะ ชาวบ้านประชุมกัน เมื่อไม่
อาจจะรู้ได้ จึงบอกแก่ท่านสิริวัฒกเศรษฐีว่า บางทีมโหสถบัณฑิตจะรู้ ขอ
ให้เรียกเขามาถาม ท่านมหาเศรษฐีให้เรียกมโหสถบัณฑิตมาแต่สนามเล่น
บอกเนื้อความนั้นแล้วถามว่า พวกเราไม่อาจจะรู้ปัญหานี้ พ่ออาจจะรู้บ้างไหม
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาจะต้องพระประสงค์ด้วยปลาย
หรือโคนของไม้ตะเคียนท่อนนี้ก็หาไม่ ประทานไม้ตะเคียนท่อนนี้มาเพื่อจะ
ทดลองเรา จึงกล่าวว่า นำมาเถิดพ่อ ข้าพเจ้าจักรู้เรื่องนั้น ลำดับนั้น ท่าน

เศรษฐีให้นำท่อนไม้ตะเคียนมาให้แก่มโหสถบัณฑิต พระโพธิสัตว์รับท่อนไม้
ตะเคียนนั้น ด้วยมือเท่านั้นก็รู้ได้ว่า ข้างนี้ปลาย ข้างนี้โคน แม้รู้อยู่ก็ให้นำ
ภาชนะน้ำมาเพื่อกำหนดใจของมหาชน แล้วเอาด้ายผูกตรงกลางของท่อนไม้
ตะเคียน ถือปลายด้ายไว้ วางท่อนไม้ตะเคียนบนน้ำ พอวางเท่านั้น โคนก็
เพลงก่อนเพราะหนัก แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงถามมหาชนว่า ธรรมดาต้นไม้
โคนหนัก หรือปลายหนัก เมื่อมหาชนตอบว่า โคนหนัก จึงกล่าวว่า ถ้า
เช่นนั้น ส่วนของไม้ตะเคียนท่อนนี้จมลงก่อน จึงเป็นโคน แล้วบอกปลาย
และโคนด้วยสัญญานี้ ชาวบ้านส่งข่าวทูลพระราชาว่า ข้างนี้ปลาย ข้างนี้โคน
พระราชาทรงยินดี ตรัสถามว่า ใครรู้ เมื่อชาวบ้านกราบทูลว่า มโหสถบัณฑิต
บุตรสิริวัฒกเศรษฐี พระเจ้าข้า ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่าน
อาจารย์เสนกะ เราควรนำมโหสถบัณฑิตมาหรือยัง เสนกอาจารย์ทูลว่า รอ
ไว้ก่อน เราจักทดลองด้วยอุบายอื่นอีก พระราชาตรัสว่า ดีแล้ว ท่านเสนกะ.
หัวข้อว่า ศีรษะ มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้นำ
ศีรษะ 2 ศีรษะ. คือศีรษะหญิงและศีรษะชายมา แล้วส่งไปให้ชาวบ้าน
ปาจีนยวมัชฌคามทำนายพระราชาณัติว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงรู้ว่า นี้
ศีรษะหญิง นี้ศีรษะชาย ถ้าไม่รู้ จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเมื่อไม่รู้
จึงถามพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์พอเห็นเท่านั้นก็รู้ รู้ได้อย่างไร คือ แสก
ในศีรษะชายตรง แสกในศีรษะหญิงคด มโหสถบัณฑิตแจ้งว่า นี้ศีรษะหญิง
นี้ศีรษะชาย ด้วยความรู้ยิ่งนี้ ชาวบ้านก็ส่งข่าวกราบทูลแด่พระราชาอีก ข้อ
ความที่เหลือเหมือนนัยอันมีในก่อนนั่นเอง.
หัวข้อว่า งู มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้นำงูตัวผู้
และงูตัวเมียมา ส่งไปให้ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ด้วยพระราชาณัติว่า
ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงรู้ว่า นี้งูตัวผู้ นี้งูตัวเมีย เมื่อไม่มีใครรู้ จะ

ปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเมื่อไม่รู้ จึงถามมโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิต
นั้น พอเห็นเท่านั้นก็รู้ ด้วยว่า หางของงูตัวผู้ใหญ่ หางของงูตัวเมียเรียว หัว
ของงูตัวผู้ใหญ่ หัวของงูตัวเมียเรียวยาว นัยน์ตาของงูตัวผู้ใหญ่ ของงูตัวเมีย
เล็ก ลวดลายของงูตัวผิดต่อกัน ลวดลายของงูตัวเมียขาด มโหสถบัณฑิต
แจ้งแก่ชาวบ้านว่า นี้งูตัวผู้ นี้งูตัวเมีย ด้วยความรู้ยิ่งเหล่านั้น ข้อความที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
หัวข้อว่า ไก่ มีความว่า อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชส่งข่าวไป
แก่ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงส่งโคตัวผู้อัน
เป็นมงคล ขาวทั้งตัว มีเขาที่เท้า มีโหนกที่หัว ร้องไปล่วง 3 เวลา มาแก่
เรา ถ้าไม่ส่ง จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเหล่านั้นเมื่อไม่รู้ จึงถาม
มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า พระราชาให้สั่งไก่ขาวทั้งตัวไปถวาย
นั่นเอง เพราะว่าไก่นั้นชื่อว่ามีเขาที่เท้า เพราะมีเดือยที่เท้า ชื่อว่ามีโหนกที่
หัว เพราะมีหงอนที่หัว ชื่อว่าร้องไม่ล่วง 3 เวลา เพราะขัน 3 ครั้ง ฉะนั้น
ท่านทั้งหลายจงส่งไก่มีลักษณะอย่างนี้ไปถวาย ชาวบ้านเหล่านั้นก็ส่งไปถวาย
แด่พระราชา พระราชาทรงยินดี.
หัวข้อว่า แก้วมณี มีความว่า ดวงแก้วมณีที่ท้าวสักกเทวราช
ประทานแก่พระเจ้ากุสราชมีอยู่ ดวงแก้วมณีนั้นมีโค้งในที่ 8 แห่ง ด้ายเก่า
ของดวงแก้วมณีนั้นขาด ไม่มีใครจะสามารถนำด้ายเก่าออกแล้วร้อยด้ายใหม่
เข้าไป วันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชให้ส่งข่าวไปถึงชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามว่า
ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงนำด้ายเก่าออกจากดวงแก้วมณีนี้ แล้วร้อยด้าย
ใหม่เข้าแทน ถ้าร้อยไม่ได้จะปรับไหมพันกหาปณะ. พวกมนุษย์ชาวบ้านไม่
สามารถจะนำด้ายเก่าออกแล้วร้อยด้ายใหม่เข้าแทนได้ เมื่อไม่สามารถจึงแจ้ง

แก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า อย่าวิตกไปเลย แล้วให้นำน้ำผึ้ง
มาทาช่องแก้วมณีทั้งสองข้าง ให้ฟั่นด้วยขนสัตว์เอาน้ำผึ้งทาปลายด้ายนั้น ร้อย
เข้าไปในช่องหน่อยหนึ่ง วางไว้ในที่มดแดงทั้งหลายจะออก เหล่ามดแดงพา
กันออกจากที่อยู่ของมันมากินด้ายเก่าในแก้วมณี แล้วไปคาบปลายด้ายขนสัตว์
ใหม่คร่าออกมาทางข้างหนึ่ง มโหสถบัณฑิตรู้ว่า ด้ายนั้นเข้าไปแล้ว ก็ให้แก่
ชาวบ้าน ให้ถวายแด่พระราชา พระราชามีพระดำรัสถามทรงสดับอุบายวิธี
ให้ด้ายนั้นเข้าไปได้ ทรงยินดี.
หัวข้อว่า ให้โคตัวผู้ตกลูก มีความว่า ได้ยินว่า วันหนึ่งพระราชา
ตรัสสั่งให้ราชบุรุษให้โคตัวผู้ เป็นมงคลเคี้ยวกินกุมมาสเป็นอันมากจนท้องโค
ให้ชำระล้างเขาทั้งสองแล้วทาด้วยน้ำมัน ให้เอาน้ำขมิ้นรดตัวส่งไปยังชาวบ้าน
นั้นด้วยพระราชาณัติว่า ได้ยินว่า พวกท่านเป็นนักปราชญ์ โคตัวผู้มงคลของ
พระราชานี้ตั้งครรภ์ ท่านทั้งหลายจงให้โคตัวผู้นี้ตกลูก แล้วส่งกลับไปพร้อม
ด้วยลูก เมื่อไม่ส่ง จะปรับไหมพันกหาปณะ พวกมนุษย์ชาวบ้านปรึกษากัน
ว่า พวกเราไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ จักทำอย่างไร จึงถามมโหสถบัณฑิต
มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา จึงถามว่า พวกท่านจัก
อาจหาคนที่แกล้วกล้าสามารถทูลกับพระราชาได้หรือ ชาวบ้านตอบว่า
เรื่องนั้น ไม่หนักใจเลย ท่านบัณฑิต ถ้าเช่นนั้น จงเรียกเขามา ชาวบ้าน
เหล่านั้น เรียกเขามาแล้ว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะเขาว่า ท่านจง
สยายผมของท่านไว้ข้างหลังแล้วคร่ำครวญใหญ่มีประการต่าง ๆ ไปสู่ทวารพระ-
ราชนิเวศน์ ใครถามอย่าตอบ คร่ำครวญเรื่อยไป พระราชาตรัสเรียกมาถาม
เหตุที่เทวนาการ จงถวายบังคมแล้วทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ บิดาของ
ข้าพระองค์ไม่อาจจะคลอดบุตร วันนี้เป็นวันครบ 7 ขอสมมติเทพทรงเป็นที่
พึ่งของข้าพระองค์ โปรดทรงทำอุบายที่จะคลอดบุตรแก่บิดาของข้าพระองค์

เมื่อพระราชาตรัสว่า คนคลั่งอะไรข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะ ธรรมดาบุรุษคลอดบุตร
มีหรือ จงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าว่าอย่างนี้มีไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม จะยังมงคลอุสภให้ตกลูกได้อย่างไร บุรุษนั้นรับคำ
จะทำตามที่สั่งนั้นได้ ก็ได้ทำไปอย่างนั้น พระราชาทรงสดับคำบุรุษนั้น ตรัส
ถามว่า ย้อนปัญหานี้ใครคิด ได้ทรงทราบว่า มโหสถบัณฑิตคิด ก็โปรดปราน.
หัวข้อว่า ข้าว มีความว่า ในวันอื่นอีก พระราชาทรงดำริว่า เรา
จักทดลองมโหสถ จึงให้ส่งข่าวไปว่า ได้ยินว่า ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามเป็น
คนฉลาด ชาวบ้านนั้นจงหุงข้าวเปรี้ยวให้ประกอบด้วยองค์ 8 มาให้เรา องค์
8 นั้น คือ ไม่ให้หุงด้วยข้าวสาร ไม่ให้หุงด้วยน้ำ ไม่ให้หุงด้วยหม้อข้าว
ไม่ให้หุงด้วยเตาหุงข้าว ไม่ให้หุงด้วยไฟ ไม่ให้หุงด้วยฟืน ไม่ให้หญิงหรือ
ชายยกมา ไม่ให้นำมาส่งโดยทางพวกนั้น ส่งมาไม่ได้ จะปรับไหมพันกหาปณะ
พวกชาวบ้านหารู้เหตุไม่ จึงแจ้งแก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า
อย่าตกใจไปเลย แล้วชี้ให้เห็นว่า ให้หุงด้วยข้าวแหลก อันไม่ชื่อว่าข้าวสาร
ให้หุงด้วยน้ำค้าง อันไม่ชื่อว่าน้ำปกติ ให้หุงด้วยภาชนะดินใหม่ อันไม่ชื่อว่า
หม้อข้าว ให้ตอกตอไม้ตั้งภาชนะนั้นหุง อันไม่ชื่อว่าหุงด้วยเตา ให้หุงด้วย
ไฟที่สีกันเกิดขึ้น อันไม่ชื่อว่าไฟปกติ ให้หุงด้วยใบไม้ อันไม่ชื่อว่าฟืน ชื่อ
ว่าหุงข้าวเปรี้ยว แล้วบรรจุในภาชนะใหม่ผูกด้วยด้ายประทับตรา อย่าให้หญิง
หรือชายยกไป ให้กระเทยยกไป ไปโดยทางน้อยละทางใหญ่. อันชื่อว่า
ไม่มาโดยทาง ส่งข้าวเห็นปานดังนี้ไปถวายพระราชา ชาวบ้านได้ทำตามนัยนั้น
พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น จึงตรัสถามว่า ปัญหานี้ใครรู้ ทรง
ทราบว่า มโหสถรู้ ก็โปรดปราน.
หัวข้อว่า ชิงช้าห้อยด้วยเชือกทราย มีความว่า ในวันนั้นอีก
พระราชาให้ส่งข่าวไปยังชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม เพื่อทดลองมโหสถบัณฑิต

ว่า พระราชาใคร่จะทรงเล่นชิงช้าห้อยด้วยเชือกทราย เชือกทรายเก่าในราชสกุล
ขาดเสียแล้ว ให้ชาวบ้านนั้นฟั่นเชือกทรายหนึ่งเส้นส่งมาถวาย ถ้าส่งมาถวาย
ไม่ได้ จะปรับไหมพันกหาปณะ. ชาวบ้านเหล่านั้นไม่รู้เหตุ จึงแจ้งแก่มโหสถ-
บัณฑิต มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา พูดเอาใจชาวบ้าน
ไม่ให้วิตกแล้ว เรียกคนฉลาดพูดมาสองสามคน สั่งสอนให้ไปทูลพระราชาว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ชาวบ้านไม่ทราบประมาณแห่งเชือกนั้น ว่าเล็กใหญ่เท่าไร
ขอสมมติเทพโปรดให้ส่งท่อนแต่เชือกทรายเส้นเก่าสักหนึ่งคืบ หรือสี่นิ้วเป็น
ตัวอย่าง ชาวบ้านเห็นประมาณนั้นแล้ว จักได้ฟั่นเท่านั้น ถ้าพระราชารับสั่ง
แก่ท่านทั้งหลายว่า เชือกทรายในพระราชฐานของเราไม่เคยมีแต่ไหนมา ท่าน
ทั้งหลายจงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เชือกทรายตัวอย่างนั้นไม่มี ชาว
บ้านปาจีนยวมัชฌคาม จักทำอย่างไรเล่า พระเจ้าว่า ชาวบ้านเหล่านั้นไป
ทำตามมโหสถแนะนำ พระราชาตรัสถามว่า ย้อนปัญหานี้ใครคิด ทรงทราบ
ว่า มโหสถคิด ก็ทรงยินดี.
หัวข้อว่า สระน้ำ มีความว่า ในวันอื่นอีก พระเจ้าวิเทหราชให้ส่ง
ข่าวแก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อจะทดลองมโหสถว่า พระราชามีพระราชประสงค์
จะทรงเล่นน้ำ ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามจงส่งสระโบกขรณีอันดาดาษด้วยบัว
เบญจพรรณมา ถ้าพวกชาวบ้านนั้นไม่ส่งมา จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาว
บ้านเหล่านั้นแจ้งแก่มโหสถบัณฑิต มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อน
ปัญหา จึงสั่งให้เรียกคนผู้ฉลาดพูดมาสองสามคน สั่งสอนให้พูดแล้วส่ง
ไปให้ทูลว่า ท่านทั้งหลายจงเล่นน้ำจนตาแดง ทั้งผมทั้งผ้ายังเปียก
ตัวเปื้อนโคลน ถือเชือกก้อนดินและท่อนไม้ไปสู่ทวารพระราชนิเวศน์
ให้กราบทูลความที่มายืนคอยเฝ้าพระราชา ได้โอกาสแล้วเข้าเฝ้ากราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะทรงส่งข่าวไปให้ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคามส่ง
สระโบกขรณีมาถวาย ก็แต่สระโบกขรณีนั้น เห็นพระนครอันมีกำแพง ดู

ประตู หอรบ ก็กลัว ตัดเชือกหนีเข้าป่าไป เพราะเคยอยู่ในป่า พวกข้าพระองค์
โบยตีด้วยก้อนดินและท่อนไม้ ก็ไม่สามารถจะให้กลับ ขอพระองค์โปรด
พระราชทานสระโบกขรณีเก่าของพระองค์ที่นำมาแต่ป่า พวกข้าพระองค์จักผูก
ควบเข้ากับสระโบกขรณีใหม่นำมาถวาย เมื่อพระราชารับสั่งว่า สระโบกขรณี
ของเราที่นำมาแต่ป่า ไม่เคยมีมาแต่กาลไหน ๆ เราไม่เคยส่งสระโบกขรณีไป
เพื่อผูกกับอะไร ๆ นำมาฉะนี้ จงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าเมื่ออย่างนี้ ชาว
บ้านปาจีนยวมัชฌคาม จักส่งสระโบกขรณีมา ถวายอย่างไรได้ ชาวบ้านที่รับ
คำแน่ะนำของมโหสถ ก็ไปทำกาลทุกประการ พระราชาทรงทราบว่า มโหสถ
รู้ปัญหานี้ ก็ทรงยินดี.
หัวข้อว่า อุทยาน มีความว่า อีกวันหนึ่ง โปรดให้ส่งข่าวไปอีก
โดยพระราชาณัติว่า พระองค์ใคร่จะทรงเล่นอุทยาน ก็แต่ราชอุทยานต้นไม้
เก่าหักโค่นเสียหมด ชาวบ้านปาจีนยวมัชฌคาม จงส่งอุทยานใหม่ ให้ดาดาษ
ไปด้วยดรุณรุกขชาติทรงดอกบานงามเข้ามาถวาย ถ้าไม่ส่งเข้ามาตามพระราช
ประสงค์ จะปรับไหมพันกหาปณะ ชาวบ้านเหล่านั้นไม่รู้เหตุก็นำความแจ้ง
แก่มโหสถ มโหสถบัณฑิตคิดว่า เรื่องนี้ต้องย้อนปัญหา จึงเรียกคนทั้งหลาย
มาสั่งไปโดยนัย อันมีในก่อนนั่นแล คนเหล่านั้นก็ไปทำตามสั่ง พระราชา
ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสถามเสนกอาจารย์ว่า เราควรนำมโหสถบัณฑิตมาละ
กระมัง อาจารย์เสนกะกราบทูลด้วยความตระหนี่ลาภสักการะว่า บุคคลไม่ชื่อ
ว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขอได้ทรงรอไปก่อน พระเจ้าวิเทหราชได้
ทรงฟังคำของเสนกบัณฑิตแล้วมีพระดำริว่า มโหสถบัณฑิตแก้ปัญหาแห่งทารก
ทั้ง 7 ข้อถูกใจเรา การพยากรณ์ในการทดลองปัญหาลึกลับ และในการย้อน
ปัญหาเห็นปานนี้ของมโหสถนั้น เป็นดุจของพระพุทธเจ้า อาจารย์เสนกะไม่ให้
นำบัณฑิตเห็นปานนี้มาในที่นี้ เราจะต้องการอะไร ด้วยเสนกะคัดค้าน เรา

จักนำมโหสถบัณฑิตนั้นมา พระเจ้าวิเทหราชก็เสด็จไปสู่บ้านนั้น ด้วยบริวาร
ใหญ่ เมื่อพระราชาทรงม้ามงคลเสด็จไป กีบของม้ากระทบพื้นระแหงก็แตก
พระราชาก็เสด็จกลับแต่ที่นั้นเข้าพระนคร ลำดับนั้น อาจารย์เสนกะเข้าเฝ้า
พระราชาทูลถามว่า พระองค์เสด็จไปบ้านปาจีนยวมัชฌคาม เพื่อนำมโหสถ
บัณฑิตมาหรือ พระเจ้าข้า ครั้นได้ฟังกระแสรับสั่งว่าเสด็จไป จึงทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทึกทักเอาข้าพระองค์ว่าเป็นผู้ใคร่ความพินาศ ก็
ทรงพิจารณ์เห็นหรือยัง ในเมื่อข้าพระองค์ทัดทานให้ทรงรอไว้ก่อน ก็บังเอิญ
กีบม้ามงคลรีบด่วนออกไปแตกด้วยไปครั้งแรกทีเดียว พระเจ้าวิเทหราชได้ทรง
ฟังคำของเสนกะก็ทรงดุษณีภาพ.
อีกวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงปรึกษากับเสนกะว่า เราจะนำ
มโหสถมา เสนกะทูลว่า พระองค์อย่าเสด็จไปเอง ส่งทูตไปยังมโหสถว่า เมื่อ
พระองค์เสด็จไปสู่สำนักเธอ กีบม้าที่นั่งแตก เธอจงส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐ
กว่าม้าสามัญมา ถ้าเธอจักส่งม้าอัสดรมา เธอจงมาเอง แต่เมื่อจะส่งแต่ม้า
ประเสริฐมา จงส่งบิดาของเธอมาด้วย ปัญหาของเรานี้แหละจักถึงที่สุด พระ-
ราชาทรงเห็นชอบด้วย จึงส่งราชทูตไปดังว่านั้น มโหสถบัณฑิตได้ฟังคำ
ราชทูต จึงคิดว่า พระราชาทรงใคร่จะพบเราและบิดาของเรา จึงไปหาบิดา
ไหว้แล้วกล่าวว่า พระราชาทรงใคร่จะพบบิดาและข้าพเจ้า ขอบิดาจงพร้อมด้วย
อนุเศรษฐีพันหนึ่งเป็นบริวารไปเฝ้าก่อน เมื่อไปอย่าไปมือเปล่า จงเอาผอบ
ไม้จันทน์เต็มด้วยเนยใสใหม่ไปด้วย พระราชาจักตรัสปฏิสันถารกับบิดา ตรัส
เรียกให้นั่งว่า จงนั่งที่อาสน์อันสมควร บิดาจงรู้อาสน์อันสมควรแล้วนั่ง เมื่อ
บิดานั่งแล้ว ข้าพเจ้าจักไป พระราชาจักตรัสทักทายข้าพเจ้า ตรัสนั่งให้นั่งว่า
จงที่อาสนะอันสมควร แต่นั้นข้าพเจ้าจักแลดูบิดา บิดาจงลุกจากอาสน์ด้วย
สัญญานั้น กล่าวว่า แน่ะพ่อมโหสถ พ่อจงนั่ง ณ อาสน์นี้ ปัญหาอย่างหนึ่ง

จักถึงที่สุดในวันนี้ สิริวัฒกเศรษฐีรับจะทำตามนั้น แล้วก็ไปโดยนัยที่กล่าว
แล้ว ให้ทูลความที่คนมายืนรออยู่ที่พระทวารแด่พระราชา ครั้นได้พระราชา-
นุญาติแล้วจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระราชาทรงทักทายปราศรัยตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี มโหสถบุตรของท่าน
อยู่ไหน เศรษฐีทูลตอบว่า มาภายหลัง พระราชาทรงทราบดังนี้ก็ดีพระหฤทัย
ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงดูอาสน์ควรแก่ตนนั่ง เศรษฐีนั้นก็นั่ง ณ
อาสน์ที่ควรแก่ตนในที่ส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ประดับตกแต่งตัวแล้ว มีเด็ก
พันหนึ่งห้อมล้อมนั่งรถที่ประดับแล้ว เมื่อเข้าสู่พระนคร เห็นฬาตัวหนึ่งเที่ยว
อยู่ที่หลังคู บังคับบริวารที่มีกำลังว่า เจ้าจงผูกฬาตัวหนึ่งที่ปากอย่าให้ร้องได้
แล้วห่อด้วยเสื่อลำแพน ให้นอนในเครื่องลาดแบกมา บริวารเหล่านั้น ก็ทำ
ตามสั่ง พระโพธิสัตว์เข้าสู่พระนครด้วยบริวารมาก มหาชนเห็นพระโพธิสัตว์
มาดังนั้น ก็พากันชมเชยดูพระโพธิสัตว์ไม่รู้อิ่มว่า บุตรแห่งสิริวัฒกเศรษฐีนี้
ชื่อว่า มโหสถบัณฑิต เมื่อเธอเกิดมาก็ถือแท่งโอสถมาด้วย เธอรู้เปรียบเทียบ
ปัญหาที่ทดลองมีประมาณเท่านี้ได้ มโหสถไปถึงทวารพระราชฐาน ให้กราบ
ทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาทรงสดับว่ามโหสถมา ก็ทรงโสมนัสตรัสว่า
มโหสถบุตรเราจงรีบมาเถิด มโหสถพร้อมด้วยเด็กพันหนึ่งเป็นบริวาร ขึ้นสู่
ปราสาทถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง พระราชาทอดพระเนตร
เห็นมโหสถก็ทรงพระปราโมทย์ ตรัสปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานว่า แน่ะบัณฑิต
เจ้าจงรู้อาสน์ที่สมควรนั่งเถิด กาลนั้น พระโพธิสัตว์แลดูเศรษฐีผู้บิดา ลำดับนั้น
บิดาของมโหสถก็ลุกจากอาสน์ด้วยสัญญาที่บุตรแลดูแล้ว กล่าวว่า แน่ะบัณฑิต
เจ้าจงนั่งที่อาสน์นี้ มโหสถก็นั่งที่อาสน์นั้น เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ เทวินทะ
และชนเหล่าอื่นผู้โฉดเขลา ก็พากันตบมือสรวลเสเฮฮาเยาะเย้ยว่า คนทั้งหลาย
พากันเรียกคนโฉดเขลาผู้นี้ว่า บัณฑิต การเรียกผู้ที่ให้บิดาลุกจากอาสน์แล้ว

ตนนั่งเสียเองนี้ว่า บัณฑิต ไม่สมควร พระราชามีพระพักตร์เศร้าหมองทรง
เสียพระหฤทัย ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลถามพระราชาว่า พระองค์เสียพระราช
หฤทัยหรือพระเจ้าข้า พระราชามีพระราชดำรัสตอบว่า เออ ข้าเสียใจ เพราะ
ได้ฟังความเป็นไปของเจ้าก็เป็นที่ยินดี แต่พอได้เห็นความเป็นไปของเจ้าก็เกิด
เสียใจ เพราะว่าเจ้าให้บิดาของเจ้าลุกจากอาสน์แล้ว เจ้านั่งเสียเอง มโหสถจึง
ทูลถามว่า ก็พระองค์ทรงสำคัญว่า บิดาอุดมกว่าบุตรในที่ทั่วไปหรือ ครั้น
ตรัสตอบว่า เข้าใจอย่างนั้น จึงกราบทูลว่า พระองค์พระราชทาน
ข่าวไปว่า ให้ข้าพระบาทส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐกว่าม้าสามัญมาถวาย
ไม่ใช่หรือพระเจ้าข้า กราบทูลดังนี้แล้ว ลุกจากอาสน์ให้ที่แก่บริวารให้นำฬา
ที่นำมานั้น มาให้นอนแทบพระบาทยุคลแห่งพระเจ้าวิเทหราช แล้วกราบทูล
ถามว่า ฬานี้ราคาเท่าไรพระเจ้าข้า พระราชาตรัสตอบว่า ถ้ามันมีอุปการะ
ราคามัน 8 กหาปณะ มโหสถทูลถามต่อไปว่า ก็ม้าอัสดรอาศัยฬานี้เกิดขึ้นท้อง
นางม้าสามัญ หรือนางฬาอันเป็นแม่ม้าอาชาไนย ราคาเล่าไรเล่า พระเจ้าข้า
ครั้นพระราชาตรัสตอบว่า หาค่ามิได้ซิ เจ้าบัณฑิต ดังนี้ จึงทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ เหตุไรตรัสดังนั้น ก็พระองค์ตรัสเมื่อกี้นี้ว่า บิดาอุดมกว่าบุตร
ในที่ทุกสถานมิใช่หรือ ถ้าพระราชดำรัสนั้นจริง ฬาก็อุดมกว่าม้าอัสดรของ
พระองค์ พระองค์จงทรงรับฬานั้นไว้ ถ้าว่าม้าอัสดรอุดมกว่าฬาทั้งหลาย
พระองค์จงทรงรับม้าอัสดรนั้นไว้ ก็เป็นอย่างไร บัณฑิตทั้งหลายของพระองค์
จึงไม่สามารถจะรู้เหตุเท่านี้ พากันตบมือหัวเราะเฮฮา โอ บัณฑิตทั้งหลาย
ของพระองค์บริบูรณ์ด้วยปัญญา พวกนั้นพระองค์ได้มาแต่ไหน ทูลฉะนี้
กล่าวเยาะเย้ยบัณฑิต 4 คน แล้วทูลพระราชาด้วยคาถาในเอกนิบาตว่า

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ทรงสำ-
คัญอย่างนี้ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตร ฬาของพระองค์
นี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร เพราะว่าฬาเป็นพ่อของม้า
อัสดร.

คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ทรงสำคัญ
ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรในที่ทั้งปวง ฬาตัวนี้ก็ประเสริฐกว่าแม้ม้าอัสดรของ
พระองค์ เพราะเหตุไร เพราะฬาเป็นพ่อของม้าอัสดร ก็แลครั้นทูลอย่างนี้
แล้ว พระมหาสัตว์ก็กราบทูลว่า ถ้าบิดาประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย ขอได้
ทรงรับบิดาของข้าพระองค์ไว้ ถ้าบุตรประเสริฐกว่าบิดา ขอได้ทรงรับข้าพระ-
องค์ไว้ เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำนั้นก็ทรง
โสมนัส ราชบริษัททั้งปวงก็แซ่ซ้องสาธุการว่า มโหสถบัณฑิตกล่าวปัญหา
ดีแล้ว เสียงปรบมือและการยกแผ่นผ้าเป็นพัน ๆ ได้เป็นไปแล้ว บัณฑิต
คน ต่างมีหน้าเศร้าหมองซบเซาไปตาม ๆ กัน.
ปุจฉาว่า บุคคลผู้รู้คุณแห่งบิดามารดา เช่นกับพระโพธิสัตว์ย่อม
ไม่มีมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพระโพธิสัตว์จึงทำอย่างนี้.
วิสัชนาว่า พระโพธิสัตว์นั้นได้ทำอย่างนั้น เพื่อประสงค์จะดูหมิ่น
บิดาก็หาไม่ ก็แต่พระราชาส่งข่าวไปว่า ให้ส่งม้าอัสดรหรือม้าประเสริฐกว่านี้
สามัญมาถวาย เพราะฉะนั้น จึงทำอย่างนี้ เพื่อจะทำปัญหานั้นให้แจ่มแจ้ง
เพื่อจะประกาศความที่ตนเป็นบัณฑิต และเพื่อจะทำอาจารย์ทั้ง 4 มีเสนกะ
เป็นต้นให้หมดรัศมี.
จบ ปัญหาฬา

พระเจ้าวิเทหราชทรงยินดี จับพระเต้าทองคำอันเต็มด้วยน้ำหอม
ทรงหลั่งน้ำนั้นลงในมือสิริวัฒกเศรษฐี พระราชทานให้ปกครองปาจีนยวมัชฌ-
คาม แล้วตรัสว่า เหล่าอนุเศรษฐีจงบำรุงสิริวัฒกเศรษฐี แล้วให้ส่งเครื่อง
สรรพาสังการพระราชทานแก่นางสุมนาเทวีมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใส
ในปัญหาฬา จึงตรัสกะเศรษฐีเพื่อจะทรงรับพระโพธิสัตว์ไว้เป็นราชบุตรที่รัก
ของพระองค์ว่า ดูก่อนคฤหบดีผู้เจริญ ท่านจงให้มโหสถบัณฑิตไว้เป็นราช-
บุตรแห่งเรา เศรษฐีทูลค้านว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถบุตรของข้าพระองค์
นี้ยังเด็กนัก จนถึงวันนี้ กลิ่นน้ำนมในปากของเธอยังได้กลิ่นอยู่ ต่อในกาล
เมื่อเธอเป็นผู้ใหญ่ เธอจึงอยู่ในราชสำนัก พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป
ท่านอย่าห่วงใยในมโหสถเลย มโหสถนี้จักเป็นราชบุตรของเราแต่วันนี้ไป
เราพอจะเลี้ยงบุตรของท่านได้ ท่านจงกลับบ้านเถิด ตรัสฉะนี้แล้วมีพระราชา-
นุญาตให้เศรษฐีกับบ้าน เศรษฐีถวายบังคมบรมกษัตริย์แล้วสวมกอดมโหสถ
ให้นอนแนบอก จุมพิตศีรษะ ให้โอวาทแก่มโหสถว่า แน่ะพ่อดุจดวงใจ
ดุจดวงตาอันประเสริฐ พ่อมโหสถผู้บัณฑิต พ่ออย่าทำให้บิดาหาที่พึ่งมิได้
จำเดิมแต่นี้ไป พ่อจงบำรุงพระราชาของเราทั้งหลายด้วยความไม่ประมาทเถิด
มโหสถไหว้บิดาแล้วกล่าวว่า บิดาอย่าวิตกเลย แล้วส่งให้บิดากลับเคหสถาน
แห่งตน.
พระเจ้าวิเทหราชตรัสถามมโหสถว่า เจ้าจักเป็นข้าหลวงเรือนในหรือ
ข้าหลวงเรือนนอก พระโพธิสัตว์คิดว่า บริวารของเรามีมาก ควรเราจักเป็น
ข้าหลวงเรือนนอก จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์จักเป็นข้าหลวงเรือนนอก
ลำดับนั้น พระราชาจึงพระราชทานเคหสถานอันสมควร แล้วพระราชทานเสบียง
และเครื่องอุปโภคทั้งปวง ตลอดถึงบริวารพันหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา มโหสถ
บัณฑิตก็บำรุงพระราชา ฝ่ายพระราชาก็ทรงใคร่จะทดลองมโหสถนั้นต่อไป.

ก็กาลนั้น แก้วมณีได้มีอยู่ในรังกาบนต้นตาลต้น หนึ่งที่ริมฝั่งสระโบก-
ขรณี ไม่ไกลประตูเบื้องทักษิณแห่งพระนคร เงาของแก้วมณีนั้นปรากฏใน
สระโบกขรณี ชนทั้งหลายทูลแด่พระราชาว่า แก้วมณีมีอยู่ในสระโบกขรณี
พระราชาตรัสเรียกเสนกะมาตรัสถามว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ได้ยินว่า มณีรัตนะ
ปรากฏในสระโบกขรณี ทำอย่างไร จึงจะถือเอาแก้วมณีนั้นได้ ครั้นเสนกทูล
ว่า ควรวิดน้ำถือเอา จึงควรมอบการทำนั้นให้เป็นภาระของเสนกนั้น อาจารย์
เสนกให้คนเป็นอันมากประชุมกันวิดน้ำโกยตมออกจากสระโบกขรณี แม้ขุดถึง
พื้นก็ไม่เห็นแก้วมณี เมื่อน้ำเต็มสระโบกขรณี เงาแก้วมณีก็ปรากฏอีก เสนก
แม้ทำดังนั้นอีก ก็ไม่เห็นแก้วมณีนั้นเลย ต่อนั้นพระราชาตรัสเรียกมโหสถ-
บัณฑิตมาตรัสว่า แก้วมณีดวงหนึ่งปรากฏในสระโบกขรณี อาจารย์เสนกให้
นำน้ำและโคลนออกจากสระโบกขรณี กระทั่งขุดพื้นก็ไม่เห็นแก้วมณีนั้น เมื่อ
น้ำเต็มสระโบกขรณี เงาแก้วมณีก็ปรากฏอีก เจ้าสามารถจะให้เอาแก้วมณีนั้น
มาได้หรือ มโหสถกราบทูลสนองว่า ข้อนั้นหาเป็นการหนักไม่ พระเจ้าข้า
เชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์จักแสดงแก้วมณีนั้นถวาย พระเจ้าวิเทหราชได้สดับ
ดังนั้นก็ทรงดีพระหฤทัย ทรงคิดว่า วันนี้เราจักเห็นกำลังปัญญาของมโหสถ
บัณฑิต ก็เสด็จพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปสู่ฝั่งโบกขรณี พระมหาสัตว์ยืนที่ฝั่ง
แลดูมณีรัตนะก็รู้ว่า แก้วมณีนี้ไม่มีในสระโบกขรณี มีอยู่บนต้นตาล จึง
จึงกราบทูลว่า แก้วมณีไม่มีในสระโบกขรณี พระเจ้าข้า ครั้นรับสั่งว่า แก้ว-
มณีปรากฏในน้ำไม่ใช่หรือ จึงให้นำภาชนะสำหรับขังน้ำมาใส่น้ำเต็ม แล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทอดพระเนตร แก้วมณีนี้หาได้
ปรากฏในสระโบกขรณีแต่แห่งเดียวไม่ แม้ในภาชนะน้ำก็ปรากฏ ครั้นตรัส
ถามว่า เจ้าบัณฑิต ก็แก้วมณีมีอยู่ที่ไหน จึงกราบทูลสนองว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เงาปรากฏในสระโบกขรณีบ้าง ในภาชนะน้ำบ้าง แก้วมณีไม่ได้อยู่ในสระ

โบกขรณี แต่แก้วมณีมีอยู่ในรังกาบนต้นตาล โปรดให้ราชบุรุษขึ้นไปนำลง
มาถวายเถิด พระราชาก็ตรัสให้ราชบุรุษขึ้นไปนำแก้วมณีลงมา มโหสถบัณฑิต
รับแก้วมณีจากราชบุรุษแล้ววางในพระหัตถ์ของพระราชา มหาชนให้สาธุการ
แก่มโหสถบัณฑิต บริภาษอาจารย์เสนก ชมเชยมโหสถว่า แก้วมณีอยู่บน
ต้นตาล เสนกโง่ให้คนมากมายขุดสระทำลายสระโบกขรณี แต่มโหสถบัณฑิต
ไม่ทำเช่นนั้น แม้พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงโสมนัส พระราชทานสร้อยมุกดาหาร
เครื่องประดับพระศอของพระองค์แก่มโหสถ พระราชทานสร้อยมุกดาวลีแก่
เด็กผู้เป็นบริวารพันหนึ่ง ทรงอนุญาตพระโพธิสัตว์พร้อมบริวารให้ปฏิบัติ
ราชการโดยทำนองนี้.
จบปัญหา 19 ข้อ
อีกวันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปพระราชอุทยานกับ
มโหสถบัณฑิต กาลนั้น มีกิ้งก่าตัวหนึ่งอยู่ที่ปลายเสาค่าย มันเห็นพระราชา
เสด็จมาก็ลงจากเสาค่ายหมอบอยู่ที่พื้นดิน พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยา
ของกิ้งก่านั้นจึงตรัสถามว่า แน่ะบัณฑิต กิ้งก่าตัวนี้ทำอะไร มโหสถทูลตอบ
ว่า กิ้งก่าตัวนี้ถวายตัว พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า การถวายตัวของกิ้งก่า
อย่างนี้ ไม่มีผลก็หามิได้ ท่านจงให้โภคสมบัติแก่มัน มโหสถกราบทูลว่า
กิ้งก่านี้หาต้องการทรัพย์ไม่ ควรพระราชทานเพียงแค่ของกินก็พอ ครั้นตรัส
ถามว่า มันกินอะไร ทูลตอบว่า มันกินเนื้อ แล้วตรัสซักถามว่า มันควรได้
ราคาเท่าไร ทูลว่า ราคาราวกากณึกหนึ่ง จึงตรัสสั่งราชบุรุษหนึ่งว่า รางวัล
ของหลวงเพียงกากณึกหนึ่งไม่ควร เจ้าจงนำเนื้อราคากึ่งมาสกมาให้มัน กินเป็น
นิตย์ ราชบุรุษรับพระราชโองการ ทำดังนั้นจำเดิมแต่นั้นมา วันหนึ่งเป็น
วันอุโบสถ คนไม่ฆ่าสัตว์ ราชบุรุษนั้นไม่ได้เนื้อ จึงเจาะเหรียญกึ่งมาสกนั้น

เอาด้ายร้อยผูกเป็นเครื่องประดับที่คอมัน ลำดับนั้น ความถือตัวก็เกิดขึ้นแก่
กิ้งก่านั้น อาศัยมันมีกิ่งมาสกนั้น วันนั้น พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน
กิ้งก่านั้นเห็นพระราชาเสด็จมา ก็ทำตนเสมอพระราชาด้วย เหมือนจะเข้าใจว่า
พระองค์มีพระราชทรัพย์มากหรือ ตัวเราก็มีมากเหมือนกัน ด้วยอำนาจความ
ถือตัวอันอาศัยทรัพย์กึ่งมาสกนั้นเกิดขึ้น ไม่ลงจากปลายเสาค่าย หมอบยกหัว
ร่อนอยู่ไปมาบนปลายเสาค่ายนั่นเอง พระเจ้าวิเทหราชได้ทอดพระเนตรเห็น
กิริยาของมัน เมื่อจะตรัสถามว่า แน่ะเจ้าบัณฑิต วันนี้ มันไม่ลงมาเหมือน
ในก่อน เหตุเป็นอย่างไรหรือ จึงตรัสคาถานี้ว่า
กิ้งก่านี้ไม่ลงจากปลายเสาค่ายหมอบเหมือนใน
ก่อน เจ้าจงรู้กิ้งก่ากระด้างด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อุนฺนมติ ความว่า วันนี้กิ้งก่าไม่
ลงหมอบยกหัวร่อนอยู่ไปมาบนปลายเสาค่ายนั่นเอง ฉันใด กิ้งก่าไม่ลงมาหมอบ
อย่างในก่อนฉันนั้น. บทว่า เกน ถทฺโธ ความว่า ถึงความกระด้างด้วย
เหตุไร.
ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตรู้ว่า ในวันอุโบสถ คนไม่ฆ่าสัตว์ มัน
อาศัยกึ่งมาสกที่ราชบุรุษผูกไว้ที่คอ เพราะหาเนื้อให้กินไม่ได้ ความถือตัวของ
มันจึงเกิดขึ้น ดังนี้จึงกล่าวคาถานี้ว่า
กิ้งก่าได้กึ่งมาสกซึ่งไม่เคยได้ จึงดูหมิ่นพระเจ้า
วิเทหราช ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา.

พระราชาตรัสให้เรียกราชบุรุษนั้นมาตรัสถาม ก็ได้ความสมจริง
ดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใสในพระโพธิสัตว์เกินเปรียบ ด้วยเห็นว่า อัธยาศัยของ
กิ้งก่า มโหสถไม่ได้ถาม อะไร ๆ ก็รู้ได้ ดังพระสัพพัญญูพุทธเจ้ารู้อัธยาศัย

เวไนยสัตว์ นั้น จึงพระราชทานส่วยที่ประตูทั้ง 4 แก่มโหสถบัณฑิต แต่
กริ้วกิ้งก่าทรงปรารภจะให้ฆ่าเสีย มโหสถทูลทัดทานพระราชาว่า ธรรมดา
สัตว์ดิรัจฉานหาปัญญามิได้ ขอพระองค์โปรดยกโทษให้มันเถิด ขอเดชะ.
จบ ปัญหากิ้งก่า
ครั้งนั้น มีมาณพคนหนึ่ง ชื่อปิงคุตตระเป็นชาวมิถิลา ไปกรุงตักกศิลา
เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนได้รวดเร็ว มาณพนั้น ให้ทรัพย์
เครื่องตอบคุณแล้วลาอาจารย์กลับบ้าน ก็ธรรมเนียมมีอยู่ว่า ถ้าธิดาในสกุล
นั้นเป็นผู้เจริญวัย อาจารย์ต้องยกให้แก่ศิษย์ผู้ใหญ่ อาจารย์นั้นมีธิดาอยู่คน
หนึ่ง มีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะปิงคุตตรมาณพ
นั้นว่า เราให้ธิดาแก่เจ้า เจ้าจงพาไปด้วย แต่มาณพนั้นไม่ใช่ผู้มีบุญ เป็น
คนกาลกรรณี ส่วนนางกุมาริกาเป็นผู้มีบุญมาก จิตของปิงคุตตรมาณพมิได้
ปฏิพัทธ์เพราะเห็นนางกุมาริกานั้น มาณพนั้น แม้ไม่ปรารถนานางกุมาริกาก็
ต้องรับด้วยคิดว่า เราจักไม่ทำลายคำของอาจารย์ พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้
ให้ธิดาแก่มาณพนั้น มาณพนั้นนอน ณ ที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งแล้วในเวลา
ราตรี ให้ละอายใจในเพราะนางกุมารีนั้นมาขึ้นนอนด้วย ก็ลงจากที่นอน
นอนที่ภาคพื้น ฝ่ายนางกุมาริกากึ่งมานอนใกล้ ๆ มาณพนั้น มาณพก็ลุกขึ้น
ไปบนที่นอน นางกุมาริกานั้นก็ขึ้นไปยังที่นอนอีก พอนางกุมาริกาขึ้นไป
มาณพก็ลงจากที่นอน นอนที่ภาคพื้นอีก ชื่อว่ากาลกรรณีย่อมไม่ร่วมกับสิริ
นางกุมาริกานอนที่ที่นอน มาณพนั้นนอนที่ภาคพื้น มาณพนั้น ยังกาลให้ล่วง
ไปอย่างนี้สิ้นสัปดาห์หนึ่ง ก็พานางกุมาริกานั้นไหว้อาจารย์ออกจากพระนคร
ตักกศิลา ในระหว่างทางมิได้พูดจาปราศรัยกันเลย ชนทั้งสองมิได้มีความ
ปรารถนากัน ได้มาถึงกรุงมิถิลา ฝ่ายปิงคุตตรมาณพเห็นต้นไม้มะเดื่อต้นหนึ่ง
เต็มไปด้วยผลในที่ใกล้พระนคร ถูกความหิวเบียดเบียนก็ขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยว

กินผลมะเดื่อ ฝ่ายนางกุมาริกานั้นก็หิวโหย จึงไปที่โคนต้นไม้กล่าวว่า ข้าแต่
นาย จงทิ้งผลลงมาให้ข้าพเจ้าบ้าง มาณพนั้นตอบว่า มือตีนของเจ้าไม่มีหรือ
เจ้าจงขึ้นมาเก็บกินเอง นางก็ขึ้นไปเก็บเคี้ยวกิน มาณพรู้ว่านางขึ้นมา ก็รีบ
ลงล้อมสะต้นมะเดื่อด้วยหนามแล้วกล่าวว่า เราพ้นจากหญิงกาลกรรณี แล้ว
หนีไป นางกุมาริกานั้น เมื่อไม่อาจลง ก็นั่งอยู่บนนั้นนั่นเอง วันนั้น พระเจ้า-
วิเทหราชเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น แล้ว
เนื้อประทับ นั่งบนคอช้างเสด็จเข้าพระนครในเวลาเย็น ได้ทอดพระเนตรเห็น
นางกุมาริกานั้น มีพระหฤทัยปฏิพัทธ์ในนาง จึงตรัสสั่งให้ถามว่า นางมีผู้
หวงแหนหรือหาไม่ นางแจ้งว่า สามีของนางที่สกุลตบแต่งมีอยู่ แต่เขาให้
ข้าพเจ้านั่งบนนี้ทิ้งเสียแล้วหนีไป อมาตย์กราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระ-
ราชาทรงดำริว่า ภัณฑะไม่มีเจ้าของ ตกเป็นของหลวง จึงให้รับนางลงแล้ว
ให้ขึ้นคอช้างนำไปราชนิเวศน์ อภิเษกสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี
พระนางเป็นที่รัก เป็นที่ชอบพระหฤทัยแห่งพระราชา ชนทั้งหลายกำหนดรู้
พระนามของพระนางว่า อุทุมพรเทวี เพราะพระราชาได้พระนางมาแต่อุทุม-
พรพฤกษ์
อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่ยังชาวบ้านใกล้ประตูเมืองให้แผ้วถางทาง
เพื่อประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินสู่สวนหลวง ปิงคุตตรมาณพเมื่อทำ
การจ้าง โจงกระเบนมั่นถางทางด้วยจอบ เมื่อทางยังไม่แล้ว พระราชาประทับ
บนรถที่นั่งกับด้วยพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จออกจากพระนคร พระนางอุทุมพร
เทวีได้ทอดพระเนตรเห็นปิงคุตตรมาณพผู้กาลกรรณีนั้น แผ้วถางอยู่ เมื่อทอด
พระเนตรมาณพนั้น ด้วยนึกในพระหฤทัยว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะ
ทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ ก็ทรงพระสรวล พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนาง
ทรงพระสรวลก็กริ้ว ตรัสถามว่า หัวเราะอะไร พระนางกราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ บุรุษผู้ถางทางนี้เป็นสามีตนเก่าของข้าพระบาท ยังข้าพระบาทให้
ขึ้นต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสะวงไว้แล้วไป ข้าพระบาทแลดูเขาแล้วคิดว่า บุรุษ
กาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ จึงหัวเราะ พระราชาตรัสว่า
เธอกล่าวมุสา เธอเห็นอะไรอื่น เราจักฆ่าเธอ ตรัสฉะนี้แล้วทรงจับพระแสง
ดาบ พระนางมีความเกรงกลัวพระราชอาญา จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์
ตรัสถามบัณฑิตทั้งหลายก่อน พระราชาจึงตรัสถามเสนกว่า ท่านเธอหรือ
เสนกทูลว่า ข้าพระองค์ไม่เธอ ชายอะไรจะละสตรีเห็นปานดังนี้ไปพระเจ้าข้า
พระนางอุทุมพรได้ทรงสดับคำของเสนกยิ่งกลัวพระราชอาญาเหลือเกิน ลำดับ
นั้น พระราชาทรงดำริว่า เสนกจะรู้อะไร เราจักถามมโหสถ เมื่อจะตรัสถาม
มโหสถ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ดูก่อนมโหสถบัณฑิต สตรีรูปงาม และนาง
สมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท บุรุษไม่ปรารถนาสตรีนั้น
เจ้าเชื่อหรือ.

บทว่า สีลวตี ในคาถานั้น ความว่า ถึงพร้อมด้วยอาจารมรรยาท.
มโหสถบัณฑิตได้ฟังกระแสพระราชดำรัสนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เชื่อบุรุษผู้หาบุญ
มิได้พึงมี สิริและกาลกรรณีย่อมร่วมกันไม่ได้ ไม่ว่า
ในกาลไหน ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สเมนฺติ ความว่า ย่อมเข้าหากันไม่ได้
เหมือนฟากข้างนี้กับฟากข้างโน้นของทะเล เหมือนท้องฟ้ากับพื้นดิน.
พระราชาทรงทราบเหตุการณ์นั้น ตามคำของมโหสถ หายกริ้ว ทรง
ยินดีต่อมโหสถ ตรัสว่า แน่ะเจ้าบัณฑิต ถ้าไม่ได้เจ้า วันนี้ข้าจักเสื่อมจาก

สตรีรัตนะเห็นปานดังนี้ ด้วยถ้อยคำของเสนกผู้โฉดเขลา ข้าได้นางนี้ไว้เพราะ
อาศัยเจ้า ตรัสชมฉะนี้แล้ว พระราชทานกหาปณะแสนหนึ่งบูชามโหสถ ฝ่าย
พระเทวีถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ได้
ชีวิตเพราะอาศัยมโหสถบัณฑิต ข้าพระองค์ปรารถนาพระพรเพื่อให้มโหสถ
บัณฑิตนี้ตั้งอยู่ในที่เป็นน้องชาย ขอพระองค์โปรดประทานเถิด พระเจ้า
วิเทหราชก็พระราชทานพรแก่พระนางว่า ดีแล้วพระเทวี เธอจงรับพระองค์
ให้พรแต่เธอ พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า จำเดิมแต่วันนี้ ข้าพระองค์
จะไม่บริโภคอะไร ๆ มีรสอร่อย เว้นน้องชาย ตั้งแต่นี้ไป ข้าพระองค์จงได้
เพื่อให้เปิดประตูในเวลาหรือมิใช่เวลา ส่งของมีรสอร่อยไปให้น้องชายนั้น
ข้าพระองค์ขอรับพระพรนี้ พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า ดีแล้ว นางผู้เจริญ
เธอจงรับพรนี้.
จบปัญหาสิริกับกาลกรรณี
วันอื่น พระเจ้าวิเทหราชเสวยกระอาหารเช้าแล้ว เสด็จดำเนินไปมา
ระหว่างพื้นยาวแห่งปราสาท เมื่อทอดพระเนตรออกไปทางช่องพระแกล ได้ทอด
พระเนตรเห็นแพะหนึ่งสุนัขหนึ่งทำความเชยชิดเป็นมิตรกัน ได้ยินว่า แพะนั้น
กินหญ้าในโรงช้างที่เขาทอดไว้หน้าช้าง ช้างยังมิได้จับ ลำดับนั้นคนเลี้ยงช้าง
ทั้งหลายตีแพะนั้นให้ออกไป คนเลี้ยงช้างคนหนึ่งไล่ติดตามแพะนั้น ซึ่งร้อง
หนีไปโดยเร็ว เอาท่อนในตีขวางลงที่หลังแพะ แพะนั้นแอ่นหลังได้ทุกขเวทนา
ไปนอนใกล้ตั่งอาศัยฝาใหญ่ในพระราชคฤหาสน์ วันนั้นสุนัขเคี้ยวกินกระดูก
และหนังเป็นต้น ที่ห้องเครื่องหลวงจนอ้วนพี เมื่อพ่อครัวจัดภัตตาหารแล้ว
ออกไปข้างนอกผึ่งเหงื่อในสรีระ มันได้กลิ่นปลาเนื้อ ไม่อาจอดกลั้นความอยาก
ก็เข้าไปในห้องเครื่อง ยังเครื่องปิดภาชนะให้ตกลงแล้วเคี้ยวกินเนื้อ ฝ่าย

พ่อครัวได้ยินเสียงภาชนะ ก็เข้าไปทางเสียงภาชนะ เห็นสุนัขกำลังกินเนื้ออยู่
จึงปิดประตูตีสุนัขนั้นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น สุนัขนั้นก็ทิ้งเนื้อที่เคี้ยว
กินจากปากร้องวิ่งหนีออกไป พ่อครัวรู้ว่าสุนัขหนีออกไป จึงติดตามไปตีขวาง
ที่หลังด้วยท่อนไม้ สุนัขก็แอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งเข้าไปในที่แพะนอน แพะ
ถามสุนัขนั้นว่า เพื่อนแอ่นหลังยกเท้าข้างหนึ่งมาด้วยเหตุไร ลมเสียดแทง
เพื่อนหรือ ฝ่ายสุนัขก็ถามว่า เพื่อนแอ่นหลังนอนอยู่ ลมเสียดแทงเพื่อนหรือ
แพะบอกเรื่องของคนแก่สุนัข แม้สุนัขก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
แพะถามสุนัขว่า เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงครัวอีกหรือ สุนัขตอบว่า ข้าไม่
สามารถแล้ว เมื่อข้าไปชีวิตจะไม่มี ก็เพื่อนสามารถจะไปสู่โรงช้างอีกหรือ
แพะตอบว่า ถึงข้าก็ไม่กล้าไปที่โรงช้างนั้น ถ้าข้าขืนไป ชีวิตก็จะไม่มี สัตว์
ทั้งสองคิดหาอุบายว่า บัดนี้เราจะเป็นอยู่ได้อย่างไรหนอ แพะจึงกล่าวกะสุนัข
ว่า ถ้าเราทั้งสองอาจอยู่ร่วมกัน อุบายก็มี คือตั้งแต่นี้ไป เจ้าจงไปโรงช้าง
พวกคนเลี้ยงช้างจักไม่สงสัยในตัวเจ้า ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินหญ้า เจ้าพึง
นำหญ้ามาเพื่อข้า ส่วนข้าจักเข้าไปในโรงครัว พ่อครัวก็ไม่สงสัยในตัวข้า
ด้วยเห็นว่า สัตว์นี้ไม่กินเนื้อ ข้าก็จักนำเนื้อ เพื่อเจ้า สัตว์ทั้งสองตกลงกัน ว่า
อุบายนี้เข้าที สุนัขจึงไปโรงช้าง คาบฟ่อนหญ้านำมาวางไว้ใกล้หลังฝาใหญ่
ฝ่ายแพะไปสู่ห้องเครื่องคาบก้อนเนื้อเต็มปากนำมาวางไว้ใกล้ที่นั้นเอง สุนัขก็
เคี้ยวกินเนื้อ แพะเคี้ยวกินหญ้า สัตว์ทั้งสองนั้นพร้อมเพรียงชอบพอกัน อยู่
ใกล้หลังฝาใหญ่ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นความที่แพะและสุนัข
ทั้งสองนั้นชอบกันโดยเป็นเพื่อน จึงทรงจินตนาการว่า เหตุการณ์ที่เรายังไม่
เคยเห็น เราได้เห็นแล้วในวันนี้ แต่ก่อนมาสัตว์ทั้งสองนี้เป็นศัตรูกัน บัดนี้
อยู่ร่วมกันได้ เราจักจับเหตุการณ์นี้ทำเป็นปัญหาถามบัณฑิตทั้งหลาย บัณฑิต
ใดไม่รู้ปัญหานี้ เราจักขับบัณฑิตนั้นจากแคว้น แต่เราจักสักการะแก่บัณฑิต

ผู้รู้ เพราะบัณฑิตอื่นรู้อย่างนี้ไม่มี วันนี้หมดเวลาแล้ว พรุ่งนี้เราจักถาม
บัณฑิตเหล่านั้น ในเวลามาทำการในหน้าที่ รุ่งขึ้นในเมื่อบัณฑิตทั้งหลายมานั่ง
ทำการในหน้าที่ของตนแล้ว เมื่อจะถามปัญหาจึงตรัสคาถานี้ว่า
ความที่สัตว์เหล่าใดเป็นเพื่อนกันในโลกนี้ แม้
ไปด้วยกันสัก 7 ก้าว ไม่เคยมีในกาลไหน ๆ สัตว์
ทั้งสองนั้นเป็นศัตรูกัน มาเป็นเพื่อนประพฤติเพื่อคุ้น
กันได้ เพราะเหตุอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสนฺถาย ได้แก่ เชื่อกันและกัน
แล้วพยายาม.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสอย่างนี้อีกว่า
ถ้าเวลากินอาหารเช้าแล้ววันนี้ ท่านทั้งหลายไม่
สามารถกล่าวแก้ปัญหานี้ของเรา เราจักขับท่านทั้งปวง
จากแว่นแคว้น เพราะเราไม่ต้องการพวกคนเขลา.

เสนกะนั่งอยู่ต้นอาสนะ มโหสถบัณฑิตนั่งอยู่ที่สุดอาสนะ พระมหาสัตว์
พิจารณาปัญหานั้น ยังไม่เห็นเนื้อความจึงคิดว่า พระราชาองค์นี้มีพระชวนะ
เฉื่อยช้า ไม่สามารถจะทรงจับคิดปัญหานี้ พระองค์คงจักทอดพระเนตรเห็น
อะไรแน่ วันหนึ่งเมื่อเราได้โอกาสจักนำปัญหานี้ออกแสดง อาจารย์เสนกะจัก
ยังพระราชาให้งดสักวันหนึ่งในวันนี้ ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจะได้หรือ ชนทั้งสาม
นอกนี้แลไม่เห็นอะไร ๆ เหมือนเข้าห้องมืดฉะนั้น เสนกะแลดูพระโพธิสัตว์
ด้วยมนสิการว่า ความเป็นไปของมโหสถจะเป็นอย่างไรหนอ ฝ่ายมโหสถก็
แลดูเสนก เสนกรู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ ด้วยอาการที่พระโพธิสัตว์
แลดู จึงคิดว่าปัญหานั้นยังไม่ปรากฏแก่มโหสถ เพราะเหตุนั้น มโหสถจึง

ปรารถนาโอกาสวันหนึ่ง เราจักยังมโนรถของมโหสถให้เต็ม จึงสรวลขึ้นด้วย
วิสาสะกับพระราชา ทูลว่า พระองค์จักขับข้าพระบาทเหล่านี้ ผู้ไม่สามารถ
กล่าวแก้ปัญหาจากแคว้นจริง ๆ หรือ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสตอบว่า
จริง ๆ ซิบัณฑิต เสนกะจึงทูลว่า พระองค์ทรงกำหนดปัญหานี้ว่า ปัญหามี
เงื่อนเดียวหรือ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหานี้ในวันนี้
ขอได้ทรงงดหน่อยหนึ่ง ปัญหานี้มีเงื่อน ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกล่าวแก้ใน
ท่ามกลางประชุมชน จะต้องนั่งคิดในที่หนึ่ง ภายหลังจักทูลแก้แด่พระองค์
ขอได้โปรดพระราชทานโอกาสแก่พวกข้าพระองค์ เสนกะกล่าวดังนี้แลดู
มโหสถแล้วกล่าว 2 คาถานี้ว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร ในเมื่อสมาคมแห่ง
หมู่ชนอึกทึก ในเมื่อชุมนุมแห่งชนโกลาหล ข้า-
พระองค์ทั้งหลายมีใจฟุ้งซ่าน มีจิตไม่แน่วอยู่ที่เดียว
จึงไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหานั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย
มีจิตมีอารมณ์เดียว คน ๆ หนึ่งอยู่ในที่ลับ คิดเนื้อความ
ทั้งหลาย พิจารณาอยู่ในสถานที่เงียบ ภายหลังจัก
กราบทูลแก้เนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมสิตฺวาน ความว่า นักปราชญ์
เหล่านี้มีจิตมีอารมณ์เดียว ตั้งอยู่ในกายวิเวกและจิตวิเวกพิจารณาปัญหานี้แล้ว
จักกล่าวเนื้อความนั้นแด่พระองค์.
พระราชาทรงสดับคำของเสนกะก็ดีพระหฤทัย ตรัสคุกคามดังนี้ว่า
ดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงคิด เมื่อแก้ไม่ได้จักให้ขับเสีย บัณฑิตทั่ง 4 ลงจาก
พระราชนิเวศน์ เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตนอกนี้ว่า พระราชาตรัสถามปัญหา

สุขุม เมื่อพวกเราแก้ไม่ได้ ภัยใหญ่จักเกิดขึ้น เหตุนั้น ท่านทั้งหลายบริโภค
สบายแล้วจงพิจารณาปัญหานั้นโดยชอบ ต่างคนไปเรือนของตน ๆ ฝ่ายมโหสถ
ลุกไปสู่สำนักพระราชเทวีอุทุมพรทูลถามว่า ข้าแต่พระเทวีเจ้า วันนี้หรือวานนี้
พระราชาประทับอยู่ในที่ไหนนาน พระนางอุทุมพรรับสั่งว่า เมื่อวานนี้พระ-
ราชาเสด็จไปมา ทอดพระเนตรที่พระแกล ณ ภายในพื้นยาว แต่นั้น
พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า พระราชาจักได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุอะไร ๆ โดยข้าง
นี้ จึงไปในที่นั้นแลดูภายนอก ได้เห็นกิริยาแห่งแพะและสุนัข ก็ทำความ
เข้าใจว่า พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนี้ จึงทรงประพันธ์ปัญหา
จับเค้าได้ฉะนี้แล้วก็กลับไปเคหสถาน ฝ่ายบัณฑิตทั้งสามคิดแล้วไม่เห็นอะไร
จึงไปหาเสนกะ เสนกะเห็นบัณฑิตทั้งสามนั้น จึงถามว่า ท่านเห็นปัญหาแล้ว
หรือ ครั้นได้รับตอบว่ายังไม่เห็น จึงกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พระราชาจักขับ
ท่านทั้งหลายจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจักทำอย่างไร ครั้นบัณฑิตทั้งสาม
ย้อนถามว่า ก็ท่านเห็นหรือก็ตอบว่า แม้เราก็ยังไม่เห็น ครั้นบัณฑิตทั้งสาม
กล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เห็น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะเห็นอะไร ก็เมื่อวานนี้เรา
ทั้งหลายบันลือสีหนาทในราชสำนักว่า จักคิดแก้แล้วมาบ้าน บัดนี้พระราชา
จักกริ้วพวกเราผู้แก้ไม่ได้ พวกเราจักทำอย่างไร จึงกล่าวว่า ปัญหานี้อันเรา
ทั้งหลายไม่อาจเห็น มโหสถจักคิดได้ทั้งหลายร้อยนัย เพราะฉะนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงมาไปสำนักมโหสถด้วยกันกับเรา บัณฑิตทั้งสี่ไปสู่ประตูเคหสถาน
แห่งมโหสถ ให้แจ้งความที่คนมาแล้วเข้าไปสู่เรือน ปราศรัยกันแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วถามมโหสถว่า บัณฑิต ท่านคิดปัญหาได้แล้วหรือ
พระโพธิสัตว์ตอบว่า ในเมื่อข้าพเจ้าคิดไม่ได้ คนอื่นใครจักคิดได้ เออ ปัญหา
นั้น ข้าพเจ้าคิดได้แล้ว ครั้นเมื่อบัณฑิตทั้งสี่กล่าวว่า ถ้ากระนั้นท่านจงบอกแก่
ข้าพเจ้าบ้าง มโหสถจึงดำริว่า ถ้าเราจักไม่บอกแก่บัณฑิตทั้งสี่นี้ พระราชา

จักกริ้วบัณฑิตทั้งสี่ ขับเสียจากแคว้น พระราชทานรัตนะ 7 แก่เรา คนเขลา
เหล่านี้อย่าได้ฉิบหายเสียเลย เราจักบอกแก่พวกนี้ ดำริฉะนี้แล้วให้บัณฑิต
ทั้งสี่นั่ง ณ อาสนะต่ำแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยากรณ์อย่างนี้ ในกาล
เมื่อพระราชาตรัสถามแล้วให้บัณฑิตทั้งสี่เรียนบาลีประพันธิ์เป็นคาถา 4 คาถา
แล้วส่งให้กลับไปในวัน ที่ 2 บัณฑิตเหล่านั้น ไปสู่ราชอุปัฏฐาน นั่ง ณ อาสน์
ปูลาดไว้ พระราชาตรัสถามเสนกะว่า ท่านรู้ปัญหาแล้วหรือ เสนกะจึงกราบ
ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เนื้อข้าพระองค์ไม่รู้ คนอื่นใครเล่าจักรู้ ครั้นรับสั่ง
ให้กล่าว จึงกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า
เนื้อแพะเป็นที่รักที่เจริญใจแห่งบุตรอมาตย์ และ
พระราชโอรส ชนเหล่านั้น ไม่บริโภคเนื้อสุนัข ครั้งนี้
มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคปุตฺตราชปุตฺติยานํ ความว่า
แห่งบุตรอมาตย์ทั้งหลายด้วย แห่งพระราชโอรสทั้งหลายด้วย.
แม้กล่าวคาถาแล้ว เสนกะก็หารู้เนื้อความไม่ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช
ทรงทราบความ เพราะปรากฏแก่พระองค์ เพราะฉะนั้นจึงตรัสถามปุกกุสะ
ต่อไป ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า เสนกะรู้แล้ว ฝ่ายปุกกุสะจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์
ไม่ใช่บัณฑิตหรือ แล้วกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า
ชนทั้งหลายใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาดหลังม้า
เป็นเหตุแห่งความสุข ไม่ใช่หนังสุนัขเป็นเครื่องลาด
หลังม้า ครั้งนี้มิตรธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มี
ต่อกัน.

เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่ปุกกุสะ.
ฝ่ายพระราชาเจ้าพระหฤทัยว่า ปุกกุสะนี้รู้เนื้อความเพราะปรากฏแก่
พระองค์ จึงตรัสถามกามินทะต่อไป กามินทะจึงกล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียน
มาทีเดียวว่า
แพะมีเขาอันโค้งแท้จริง แต่เขาทั้งหลายแห่ง
สุนัขไม่มีเลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ ครั้งนี้มิตร
ธรรมแห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่กามินทะ
พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้กามินทะนี้ก็รู้เนื้อความแล้ว จึงตรัส
ถามเทวินทะต่อไป เทวินทะก็กล่าวคาถาโดยทำนองที่เรียนมาทีเดียวว่า
แพะกินหญ้า กินใบไม้ สุนัขไม่กินหญ้า ไม่กิน
ใบไม้ สุนัขจับกระต่ายหรือแมวกิน ครั้งนี้มิตรธรรม
แห่งแพะนั้นกับด้วยสุนัข มีต่อกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณมาสิ ปลาสมาสิ ความว่า
กินหญ้าด้วย กินใบไม้ด้วย. บทว่า น ปลาสํ ความว่า ไม่เคี้ยวกินแม้
ใบไม้.
เนื้อความไม่ปรากฏแม้แก่เทวินทะ
ลำดับนั้น พระราชาเข้าพระหฤทัยว่า แม้เทวินทะนี้ก็รู้ เพราะปรากฏ
แก่พระองค์ จึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ แม้ตัวเจ้ารู้ปัญหา
นี้หรือ มโหสถโพธิสัตว์ทูลสนองว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่อเวจีจนถึง
ภวัคคพรหม ยกข้าพระองค์เสีย คนอื่นใครจะรู้ปัญหานี้ ครั้นตรัสให้กล่าว
จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงฟัง เมื่อจะประกาศความที่กิจนั้นปรากฏแก่ตน
จึงกล่าว 2 คาถานี้ว่า

แพะมีเท้ากึ่ง 8 แห่งเท้า 4 (มี 4 เท้า) มีกีบ 8
มีกายไม่ปรากฏ สุนัขนี้นำหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้
นำเนื้อมาเพื่อสุนัขนั้น พระชนินทรสมมติเทพผู้ประ
เสริฐกว่าชาววิเทหรัฐประทับอยู่ ณ ปราสาทอันประ-
เสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็นการนำอาหารมาแลกกัน
กินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตรธรรม
แห่งสุนัขและแพะเอง.

มิตรธรรมแห่งสุนัขและแพะเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐฑฺฒปาโท ท่านถล่าวหมายเอา
เท้า 8 แห่งแพะ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ. บทว่า เมณฺโฑ ได้แก่
แพะ. บทว่า อฏฺฐนโข นี้ท่านกล่าวตามที่เท้าแพะมีกีบเท้าละ 2 กีบ. บทว่า
อทิสฺสมานกาโย ความว่า ไม่ปรากฏกายในเวลานำเนื้อมา. บทว่า ฉาทิยํ
ความว่า เครื่องมุงเรือน คือ หญ้า. บทว่า อยํ อิมสฺส ความว่า สุนัข
นำหญ้ามาเพื่อแพะ. บทว่า วีติหารํ ได้แก่ นำมาแลกกัน. บทว่า อญฺโญ-
ญฺญโภชนานํ
ความว่า แลกกันกิน ด้วยว่าแพะนำของกินมาเพื่อสุนัข
แม้สุนัขนั้นก็แลกกับแพะนั้น สุนัขนำมาเพื่อแพะ แม้แพะก็แลกกัน. บทว่า
อทฺทกฺขิ ความว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นแลกเปลี่ยนกันกิน
ด้วยพระเนตร์ คือ ประจักษ์แก่พระองค์. บทว่า โภภุกฺกสฺส ได้แก่
สุนัขหอน. บทว่า ปุณฺณมุขสฺส ได้แก่ แพะ อธิบายว่า พระราชาทอด
พระเนตรเห็นมิตรธรรมของสัตว์ทั้งสองนี้ด้วยพระองค์เอง.
พระราชาเมื่อไม่ทรงทราบความที่อาจารย์เหล่านั้นรู้ปัญหาเพราะอาศัย
พระโพธิสัตว์ ทรงสำคัญว่า บัณฑิตทั้ง 5 รู้ด้วยปัญญาของตน ก็ทรง
โสมนัสตรัสคาถานี้ว่า

ลาภของเราไม่น้อยเลยที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ใน
ราชสกุล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายแทงตลอดเนื้อความ
ของปัญหาอันลึกละเอียดด้วยเป็นสุภาษิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิวิชฺฌนฺติ ความว่า กล่าวแก้ปัญหา
ด้วยสุภาษิต.
ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราควรทำอาการยินดีแก่บัณฑิต
เหล่านั้นด้วยความยินดี เมื่อจะทรงทำความยินดีนั้นให้เป็นแจ้ง จึงตรัสคาถาว่า
เรามีความพอใจยิ่งด้วยปัญหาที่กล่าวไพเราะ
ให้รถเทียมม้าอัสดรรถหนึ่ง ๆ และบ้านส่วยอันเจริญ
บ้านหนึ่ง ๆ แก่ท่านทั้งปวงผู้เป็นบัณฑิต.

ครั้นตรัสฉะนั้นแล้วได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงนั้น.
จบปัญหาแพะในทวาทสนิบาต
ฝ่ายพระราชเทวีอุทุมพรทรงทราบความที่บัณฑิตทั้ง 4 รู้ปัญหาอาศัย
มโหสถ จึงทรงดำริว่า พระราชาพระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้ง 5 เป็น
เหมือนคนทำถั่วเขียวกับถั่วราชมาษให้ไม่แปลกกัน จึงเสด็จไปเฝ้าพระราชา
ทูลถามว่า ใครทูลแก้ปัญหาถวาย พระราชาตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้ง 5
พระราชเทวีทูลว่า บัณฑิตทั้ง 5 รู้ปัญหาของพระองค์อาศัยใคร พระราชา
ตรัสตอบว่า เราไม่รู้ พระนางอุทุมพรจึงกราบทูลว่า บัณฑิตทั้ง 4 คน
เหล่านี้จะรู้อะไร มโหสถให้เรียนปัญหาด้วยเห็นว่า คนเขลาเหล่านี้อย่าได้
ฉิบหายเสียเลย ก็พระองค์พระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้งปวงเสมอกันนั่นไม่
สมควรเลย ควรจะพระราชทานแก่มโหสถให้เป็นพิเศษ พระราชาทรงเห็นว่า
มโหสถนี้ไม่บอกความที่บัณฑิตทั้ง 4 รู้ปัญหาอาศัยตน ก็ทรงโสมนัส มีพระ

ประสงค์จะทรงทำสักการะให้ยิ่งกว่า จึงทรงคิดว่า ยกไว้เถิด เราจักถาม
ปัญหาอันหนึ่งกะบุตรของเรา และทำสักการะใหญ่ในกาลเมื่อบุตรของเรากล่าว
แก้ เมื่อพระราชาทรงคิดปัญหาอันหนึ่ง จึงทรงคิดสิริเมณฑกปัญหา (ปัญหา
ว่าปัญญากับทรัพย์อะไรจะประเสริฐกว่ากัน ) วันหนึ่ง เวลาบัณฑิตทั้ง 5 มา
เฝ้านั่งสบายแล้ว ตรัสกะเสนกะว่า ท่านอาจารย์เสนกะ เราจักถามปัญหา
เสนกะกราบทูลรับว่า ตรัสถามเถิดพระเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสคาถาที่หนึ่งใน
สิริเมณฑกปัญหาว่า
แน่ะอาจารย์เสนกะ เราละเนื้อความนี้กะท่าน
บรรดาคน 2 พวก คือคนสมบูรณ์ด้วยปัญญา แต่
เสื่อมจากสิริ และคนมียศแต่ไร้ปัญญา นักปราชญ์
ยกย่องใครว่าประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กเมตฺถ เสยฺโย ความว่า บรรดาคน
2 พวกนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ ได้ยินว่า ปัญหานี้
สืบเนื่องมาจากวงศ์ของเสนกะ ฉะนั้นเสนกะจึงได้กราบทูลเฉลยปัญหานั้นได้
ทันทีว่า
ข้าแต่พระจอมประชาราษฏร์ คนฉลาดและคน
เขลา คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะและหาศิลปะนี้ได้ แม้มีชาติ
สูงก็ย่อมเป็นผู้รับใช้ของคนหาชาติมิได้ แต่มียศ ข้า-
พระองค์เห็นความดังนี้จึงขอทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคน
เลวทราม คนมีสิริแลเป็นคนประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหีโน ความว่า คนมีปัญญาเป็นคน
เลวทราม คนเป็นใหญ่นั่นแลเป็นคนประเสริฐ.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของเสนกะนั้นแล้ว ไม่ตรัสถามอาจารย์
อีก 3 คน เมื่อจะตรัสถามมโหสถบัณฑิตผู้ยังใหม่ในหมู่ซึ่งนั่งอยู่ จึงตรัสว่า
ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรม
สิ้นเชิง เราถามเจ้า ในคน 2 พวกนี้ นักปราชญ์
ยกย่องใคร คนพาลผู้มียศ หรือบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ
คนไหนว่าประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลธมฺมทสฺสิ แปลว่า ผู้เห็นธรรม
ทั้งปวง.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า โปรดทรงฟังเถิด พระ-
มหาราชเจ้า แล้วทูลว่า
คนพาลทำธรรมเป็นบาปก็สำคัญว่าอิสริยะของ
เราในโลกนี้ประเสริฐ คนพาลเห็นโลกนี้เป็นปกติ
ไม่เห็น โลกหน้าเป็นปกติ ก็ได้รับเคราะห์ร้ายในโลก
ทั้ง 2 ข้าพระองค์เห็นความเหล่านี้จึงขอกราบทูลว่า
คนมีปัญญาประเสริฐแท้ คนเขลามียศจะประเสริฐ
อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธเมว ความว่า สำคัญว่าอิสริยะ
ของเรานี้เท่านั้นในโลกนี้ประเสริฐ. บทว่า กลิมคฺคเหสิ ความว่า คนพาล
ทำกรรมเป็นบาปด้วยความเมาในอิสริยะ เกิดในนรกเป็นต้น ในปรโลก มาจาก
นรกนั้นเกิดเป็นผู้มีโภชนะเป็นทุกข์ในตระกูลต่ำในโลกนี้อีก ชื่อว่าย่อมถือเอา
ความปราชัยในโลกทั้งสอง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอตมฺปิ ความว่า
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกล่าวว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเท่านั้นเป็นผู้สูงสุด
ผู้โง่เขลาแม้เป็นใหญ่ก็ไม่ใช่ผู้สูงสุด.

เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลดังนี้ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรดูเสนกะ
ตรัสว่า มโหสถสรรเสริญคนมีปัญญาว่าเป็นผู้สูงสุดมิใช่หรือ เสนกะทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้จนวันนี้ปากของเธอก็ยังไม่สิ้นกลิ่น
น้ำนมมิใช่หรือ เธอจะรู้อะไร ทูลฉะนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ศิลปะนี้ หรือเผ่าพันธุ์ หรือร่างกาย ย่อมหาได้
จัดแจงโภคสมบัติให้ไม่ มหาชนย่อมคบหาโครวินท
เศรษฐีผู้มีเขฬะไหลจากคางทั้งสองข้าง ผู้ถึงความสุข
ผู้มีสิริต่ำช้า ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คน
มีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเป็นคนประเสริฐแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอฬมูคํ ได้แก่ มีน้ำลายไหลเลอะหน้า.
บทว่า โครวินฺทํ ความว่า ได้ยินว่า โครวินทะนั้นเป็นเศรษฐีมีสมบัติ 80
โกฏิ ในพระนครนั้นแล มีรูปร่างแปลก ไม่มีบุตร ไม่มีธิดา ไม่รู้ศิลปะอะไร ๆ
เมื่อเขาพูด น้ำลายไหล 2 ข้างลูกคาง มีสตรีสองคนดั่งเทพอัปสร ประดับ
ด้วยเครื่องประดับทั้งปวงถือดอกอุบลเขียวที่บานดีแล้ว ยืนอยู่สองข้างคอยรอง
รับน้ำลายด้วยดอกอุบลเขียวแล้วทั้งดอกอุบลทางหน้าต่าง ฝ่ายพวกนักเลงสุรา
เมื่อจะเข้าร้านเครื่องดื่ม มีความต้องการดอกอุบลเขียว ก็พากันไปประตูเรือน
ของเศรษฐีนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าแต่นายโครวินทเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ยิน
เสียงนักเลงเหล่านั้น ยืนที่หน้าต่างกล่าวว่า อะไรพ่อ ขณะนั้นน้ำลายก็ไหล
จากปากของท่าน หญิงสองคนนั้นก็เอาดอกอุบลเขียวรองรับน้ำลายแล้วโยนทั้ง
ไปในระหว่างถนน พวกนักเลงก็เก็บดอกอุบลเหล่านั้นเอาไปล้างน้ำ แล้ว
ประดับตัวเข้าร้านเครื่องดื่ม เศรษฐีนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสิริอย่างนี้ เสนกะ
เมื่อแสดงเศรษฐีนั้นเป็นตัวอย่าง จึงกล่าวอย่างนี้.

พระราชาทรงสดับดังนั้น แล้วตรัสว่า พ่อมโหสถบัณฑิต เจ้าจะกล่าว
แก้อย่างไร มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เสนกะจะรู้อะไร
เห็นแต่ยศเท่านั้น ไม่เห็นไม้ค้อนใหญ่ซึ่งจะตกบนศีรษะ เปรียบเหมือนกาอยู่
ในที่เทข้าวสุก และเปรียบเหมือนสุนัขปรารภจะดื่มนมส้ม โปรดฟังเถิด
พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า
คนมีปัญญาน้อยได้ความสุขแล้วย่อมประมาท
อันความทุกข์ถูกต้องแล้วย่อมถึงความหลง อันสุข
หรือทุกข์ที่จรมาถูกต้องแล้วย่อมหวั่นไหว เหมือนปลา
ดิ้นรนในที่ร้อน ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึง
กราบทูลว่า คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศ
ย่อมไม่ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธา สุขํ ความว่า คนเขลาได้
อิสริยสุขแล้วย่อมมัวเมาคือประมาท คนประมาทย่อมทำบาปมาก. บทว่า
ทุกฺเขน ความว่า อันความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจถูกต้องแล้ว.
บทว่า อาคนฺตุเกน ได้แก่ ที่มิได้เกิดขึ้นภายใน ด้วยว่าแม้ความสุขของสัตว์
ทั้งหลาย ก็เป็นของจรมาทั้งนั้น มิได้เป็นไปประจำ. บทว่า ฆมฺเม ความว่า
เหมือนปลาที่เขาเอาขึ้นจากน้ำนำมาโยนไปในแดด ย่อมดิ้นรน.
พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า ท่าน
อาจารย์จะแก้อย่างไร เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ มโหสถ
นี้จะรู้อะไร มนุษย์ทั้งหลายจงยกไว้ก่อน วิหกทั้งหลายย่อมคบหาแต่ต้นไม้ที่
เกิดในป่า ซึ่งสมบูรณ์ด้วยผลเท่านั้น ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ฝูงนกบินเร่ร่อนมาโดยรอบ สู่ต้นไม่ในป่าอันมี
ผลดีฉันใด ชนเป็นอันมากย่อมคบหาสมาคมบุคคลผู้

มั่งคั่งมีโภคทรัพย์ เพราะความต้องการด้วยทรัพย์
ฉันนั้น ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคน
ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุชฺชโน ความว่า มนุษย์เป็นอันมาก
ประชุมกันเพื่อเหตุแห่งทรัพย์.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะมโหสถว่า พ่อจะแก้อย่างไร
มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะท้องโตคนนี้จะรู้
อะไร โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามีกำลัง แต่หายังประโยชน์นี้ให้สำเร็จไม่
ได้ทรัพย์มาด้วยทำกิจร้ายแรง นายนิรยบาลคร่าคน-
เขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ผู้ร้องไห้อยู่ ไปสู่นรกอันทุกข์ยิ่ง
ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมี
ปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาหสํ ความว่า คนเขลาทำการงานที่
ความร้ายแรงด้วยความร้ายแรง เบียดเบียนประชาชนจึงได้ทรัพย์ เมื่อเป็น
เช่นนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายจึงคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ร้องไห้อยู่นั่นแล
ไปสู่นรกอัน มีเวทนามีกำลัง.
เมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า ท่านอาจารย์เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร
เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดฟังเถิด แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
แม่น้ำน้อยใหญ่อันใดอันหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่
แม่น้ำคงคา แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมดเทียวย่อมละชื่อ
และถิ่นเสีย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร ย่อมไม่ปรากฏ

ชื่อ คงได้แต่ชื่อว่ามหาสมุทรเท่านั้น ฉันใด สัตวโลก
มีฤทธิ์ยิ่ง ย่อมไม่ปรากฏเหมือนแม่น้ำคงคาเข้าไปสู่
มหาสมุทร ฉันนั้น ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึง
กราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นผู้ต่ำช้า คนมีสิริเป็นผู้
ประเสริฐ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺโช ได้แก่ โดยที่สุดแม้เป็นแม่น้ำ
เล็ก ๆ ทีไหลมาแต่ที่ลุ่ม. บทว่า ชหนฺติ ความว่า ย่อมนับว่าแม่น้ำคงคา
ทั้งนั้น ละชื่อและถิ่นของตนเสีย. บทว่า น ขายเต ความว่า แม่น้ำคงคานั้น
เมื่อไหลไปสู่สมุทร ก็ไม่ปรากฏ (ว่าแม่น้ำคงคา) ย่อมได้ชื่อว่ามหาสมุทรทีเดียว
แม้คนมีปัญญามากถึงคนอิสระแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีใครรู้จัก ได้เป็น
ราวกะว่าแม่น้ำคงคาไหลเข้าสู่สมุทร.
พระราชาตรัสอีกว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้ออย่างไร มโหสถบัณฑิต
กราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าพระเจ้าจะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว
แม่น้ำน้อยใหญ่ทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ทะเลใหญ่
ทะเลนั้นมีกำลังยิ่งเป็นนิตย์ ทะเลใหญ่นั้นแม่มีคลื่น
กระทบฝั่ง ก็ไม่ล่วงฝั่งไป ฉันใด กิจการที่คนเขลา
ประสงค์ไม่ล่วงคนฉลาดไปได้ คนมีสิริย่อมไม่ล่วง
คนมีปัญญาไปได้ ฉันนั้น ในกาลไหน ๆ ข้าพระองค์
เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาแลเป็นคน
ประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมตมกฺขา ความว่า ท่านบอกคือ
กล่าวปัญหาฉันใด. บทว่า อสํขยํ แปลว่า ไม่นับ. บทว่า เวลํ นาจฺเจติ

ความว่า ทะเลนั้นแม้มีกำลังยิ่งยกคลื่นขึ้นเป็นพัน ๆ ก็ไม่อาจล่วงฝั่งไปได้
คลื่นทั้งหมดถึงฝั่งแล้วย่อมแตกไปแน่แท้. บทว่า เอวนฺปิ ความว่า กิจการ
ที่คนเขลาประสงค์ ย่อมไม่อาจล่วงคนมีปัญญาไปได้ ถึงคนมีปัญญานั้นแล้ว
ย่อมทำลายไปฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ปญฺญํ นาจฺเจติ ความว่า ธรรมดา
คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้ อธิบายว่า ไม่มีใครเลยที่เกิดความสงสัย
ในอัตถะและอนัตถะขึ้นแล้ว ผ่านเลยคนมีปัญญาไปแทบเท้าของคนเขลาผู้เป็น
อิสระ แต่ย่อมได้การวินิจฉัยแทบเท้าของคนมีปัญญาเท่านั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะ ว่าจะแก้อย่างไร
เสนกะกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
หากว่าคนมียศผู้ไม่มีศีลอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าว
ข้อความแก่ชนเหล่าอื่น คำของผู้นั้นย่อมเจริญงอกงาม
ในท่ามกลางบริษัท คนมีปัญญายังคนมีสิริต่ำช้า ให้
ทำตามถ้อยคำของตนหาได้ไม่ ข้าพระองค์เห็นความ
ดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริ
เป็นคนประเสริฐแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺญโต เจปิ ความว่า ก็แม้ถ้าคน
มียศเป็นคนไม่สำรวมกายเป็นต้นคือเป็นคนทุศีล. บทว่า สณฺฐานคโต
ความว่า คนมียศดำรงอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่คนเหล่าอื่น เมื่อเขา
ซึ่งแวดล้อมไปด้วยบริวารใหญ่ กล่าวมุสาทำให้เป็นเจ้าของบ้าง ให้ไม่เป็น
เจ้าของบ้าง คำของเขานั่นแลย่อมงอกงาม คนมีปัญญาย่อมยังคนมีสิริต่ำช้าให้
ทำตามถ้อยคำไม่ได้ เพราะเหตุนั้น คนมีปัญญาจึงเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริจึง
เป็นคนประเสริฐแท้.

เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร มโหสถบัณฑิต
จึงกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า เสนกะคนเขลาจะรู้อะไร ดูอยู่แค่
โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามีปัญญาน้อยกล่าวมุสาแก่คนอื่นบ้าง
แม้แก่ตนบ้าง คนเขลานั้นถูกติเตียนในท่ามกลางที่
ประชุม ภายหลังเขาจะไปทุคติ ข้าพระองค์เห็นความ
ดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคน
ประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

ลำดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าคนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่ มีทรัพย์
น้อย เป็นคนเข็ญใจ กล่าวข้อความคำของเขานั้น
ย่อมไม่งอกงามในท่ามกลางญาติ และสิริย่อมไม่มีแก่
คนมีปัญญา ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคน
ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺปิ เจ ความว่า ถ้ากล่าวแม้
เหตุการณ์. บทว่า ญาติมชฺเฌ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. ด้วยบทว่า
ปญฺญาณวโต อาจารย์เสนกะแสดงความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ธรรมดาสิริแม้จะมีอยู่ตามปกติ ถึงความเป็นยอดความงามแห่งสิริ ก็ไม่มีแก่
ผู้มีปัญญานั่นแล ด้วยว่าผู้มีปัญญานั้นย่อมไม่ปรากฏในสำนักของผู้มีสิริ
ประดุจหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.
เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร มโหสถบัณฑิต
จึงกราบทูลว่า เสนกะจะรู้อะไร ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก แล้ว
กล่าวคาถานี้ว่า

คนมีปัญญาดุจแผ่นดินไม่กล่าวคำเหลาะแหละ
เพื่อเหตุของผู้อื่นหรือแม้ของตน คนผู้นั้นอันมหาชน
บูชาแล้วในท่ามกลางที่ประชุม ภายหลังเขาจะไปสุคติ
ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา
เท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลานี้ยศหาประเสริฐไม่.

ลำดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า
ช้าง โค ม้า กุณฑลแก้วมณี และนารีทั้งหลาย
เกิดในสกุลมั่งคั่ง ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอุปโภคของ
บุรุษผู้มีอิสระ สัตว์ผู้ไม่มีอิสระก็เป็นอุปโภคของผู้มี
อิสระ ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คนมีสิริเท่านั้น เป็นคน
ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธสฺส ได้แก่ ผู้มีอิสระ. บทว่า
อนิทฺธิมนฺโต ความว่า มิใช่แต่นารีเหล่านั้นเท่านั้นที่เป็นอุปโภค ที่แท้สัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีอิสระทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นอุปโภคของผู้มีอิสระนั้น.
ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า เสนกะจะรู้อะไร เมื่อจะชักเหตุ
อันหนึ่งมาแสดง จึงกล่าวคาถานี้ว่า
สิริย่อมละเสียซึ่งคนเขลาผู้ไม่จัดการงาน ผู้มี
ความคิดอย่างคนไม่มีความคิด ผู้มีปัญญาทราม
เหมือนงูละคราบเก่าเสียฉะนั้น พระองค์เห็นความ
ดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประ-
เสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

เนื้อความของบทว่า สีรี ชหติ ในคาถานั้น พึงทราบตามเจติย-
ชาดก.
ลำดับนั้น ครั้นพระราชาตรัสถามเสนกะว่าจะแก้อย่างไร เสนกะ
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถนี้ยังเป็นเด็กรุ่น จะรู้อะไร โปรดฟัง
เถิด พระเจ้าข้า ทูลฉะนี้แล้วคิดว่า เราจักทำมโหสถให้หมดปฏิภาณ จึงกล่าว
คาถานี้ว่า
ขอจงทรงพระเจริญ พวกข้าพระองค์เป็นบัณฑิต
5 คน ทั้งหมดเคารพบำรุงพระองค์ พระองค์เป็น
อิสระครอบงำข้าพระองค์ทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทว-
ราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูตทั้งหลาย ข้าพระองค์เห็นความ
ดังนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่ำช้า คน
มีสิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ.

ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำของเสนกะนี้แล้วทรงดำริว่า
เหตุการณ์ที่เสนกะชักมาดีอยู่ บุตรของเราจักสามารถนำเหตุการณ์อื่นมาทำลาย
วาทะของเสนกะนี้ได้หรือหนอ จึงตรัสว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้อย่างไร ได้
ยินว่า เมื่อเสนกะชักเหตุการณ์นี้มา คนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์เสีย ที่ชื่อว่า
สามารถทำลายวาทะนั้นไม่มี เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทำลายวาทะ
แห่งเสนกะนั้น ด้วยกำลังญาณของตน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
เสนกะนี้เป็นคนเขลา จะรู้อะไร แลดูอยู่เฉพาะยศเท่านั้น ไม่ทราบความวิเศษ
แห่งปัญญา โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามียศเป็นดุจทาสของคนฉลาด ในเมื่อ
กิจต่าง ๆ เกิดมี คนฉลาดย่อมจัดกิจอันละเอียดใด คน
เขลาย่อมถึงความหลงพร้อมในกิจนั้น ข้าพระองค์

เห็นความอย่างนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น
เป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเถสุ ได้แก่ เมื่อกิจทั้งหลาย. บทว่า
สํวิเธติ แปลว่า ย่อมจัดแจง.
พระมหาสัตว์แสดงเหตุการณ์แห่งนัยปัญญาด้วยประการฉะนี้ ราวกะผู้
วิเศษคุ้ยทรายทองขึ้นแต่เชิงเขาสิเนรุ และราวกะผู้มีฤทธิ์ยังดวงจันทร์เต็มดวง
ให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้า ฉะนั้น เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแสดงอานุภาพแห่งปัญญา
อยู่นั่นแล พระราชาตรัสกะเสนกะว่า เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร ท่านอาจ
กล่าวให้ยิ่งขึ้นหรือ เสนกะนั้นยังวิทยาคมที่เรียนมาให้สิ้นไป เป็นผู้หมด
ปฏิภาณ เป็นผู้เก้อนั่งซบเซาอยู่ เหมือนข้าวเปลือกที่เขาเก็บไว้ในฉาง ก็ถ้า
เสนกะนั้น พึงนำเหตุการณ์อื่นมาไซร้ มโหสถจะพึงเฉลยอันจัดเป็นชาดกนี้ให้
จบลงด้วยคาถาพันหนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อจะพรรณนาปัญญานั่นแลให้ยิ่งขึ้น
เหมือนนำห้วงน้ำลึกมาในกาลที่เสนกะนั้นหมดปฏิภาณนิ่งอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ปัญญาเป็นที่สรรเสริฐแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย สัต-
บุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาว่าประเสริฐแท้จริง สิริ
เป็นที่ใคร่ของพวกคนเขลา พวกคนเขลาใคร่ซึ่งสิริ
ยินดีในโภคสมบัติ ก็ความรู้ของเหล่าท่านผู้รู้ อัน
ใคร ๆ ซึ่งเปรียบด้วยอะไรไม่ได้ คนมีสิริย่อมไม่ล่วง
เลยคนมีปัญญาในกาลไหน ๆ ข้าพระองค์เห็นความ
อย่างนี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น เป็นคนประ
เสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ได้แก่ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธ-
เจ้าเป็นต้น. บทว่า โภครตา มีเนื้อความอันบัณฑิตพึงพรรณนาตามภิงสก-

ชาดกว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะมนุษย์อันธพาลเหล่านั้น ยินดีใน
โภคสมบัติ ฉะนั้น เขาเหล่านั้น จึงใคร่สิริ ชื่อว่ายศนี้ บัณฑิตทั้งหลายติเตียน
คนพาลทั้งหลายปรารถนา. บทว่า พุทฺธานํ ได้แก่ ของเหล่าญาณพุทธ.
บทว่า กทาจิ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาคนมีสิริย่อมไม่ก้าวล่วง
คนมีความรู้ในกาลใดไหน ๆ.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำนั้นก็ทรงโสมนัสด้วยปัญหาพยากรณ์
แห่งพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยทรัพย์ ราวกะผู้วิเศษยัง
ฝนลูกเห็บให้ตก จึงตรัสคาถาว่า.
ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งปวง เราได้ถาม
ปัญหานั้นใดกะเจ้า เจ้าได้ประกาศเผยแผ่ปัญหานั้น
แก่เรา เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า เราให้โค
พันหนึ่ง ทั้งโคอุสุภราช ช้าง รถเทียมม้าอาชาไนย
10 คัน และบ้านส่วย 16 ตำบลแก่เจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุสภญฺ จ นาคํ ความว่า เราให้ช้าง
ที่น่าขี่ซึ่งประดับตกแต่งแล้ว ทำโคอุสุภราชให้เป็นใหญ่ของโคพันหนึ่งนั้น
ด้วยดี.
จบ สิริเมณฑกปัญหา ในวีสตินิบาต
จำเดิมแต่นั้น มโหสถโพธิสัตว์ได้มียศใหญ่ พระนางอุทุมพรเทวีได้
ทรงพิจารณาปัญหานั้นทั้งหมด ในกาลเมื่อมโหสถมีอายุได้ 16 ปี พระนาง
ทรงดำริว่า น้องชายของเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว แม้ยศของเธอก็ใหญ่ เราควรจะ
ทำอาวาหมงคลแก่เธอ ทรงดำริฉะนี้แล้วได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้า-
วิเทหราช บรมกษัตริย์ได้ทรงสดับเนื้อความนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่าดีแล้ว

เธอจงให้เจ้าตัวทราบ พระนางให้มโหสถทราบความ เมื่อมโหสถรับทำ
อาวาหมงคล จึงมีพระเสาวนีย์ว่า ถ้ากระนั้น เราจะนำนางกุมาริกามาเพื่อเธอ
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า นางกุมาริกาที่พระนางจะนำมาบางทีจะไม่พึงชอบ
ใจเรา เราจะพิจารณาหาดูเองก่อน คิดฉะนี้แล้วจึงทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี
พระองค์อย่าตรัสอะไรแด่พระราชาสักสองสามวัน ข้าพระบาทจักแสวงหานาง
กุมาริกานางหนึ่งเองที่ชอบใจ แล้วจักทูลให้ทรงทราบ พระนางอุทุมพรทรง
อนุญาต มโหสถจึงถวายบังคมลาพระเทวีไปเรือนของตน ให้สัญญาแก่พวก
สหายแล้ว แปลงเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก ถือเครื่องอุปกรณ์แห่งช่างชุนผ้า ออก
ทางประตูด้านทิศอุครแต่ผู้เดียว ไปสู่บ้านอุตตรยวมัชฌคาม
ก็ในกาลนั้น มีสกุลเศรษฐีสกุลหนึ่งในบ้านนั้น เป็นสกุลเก่าแก่ ธิดา
ของสกุลนั้นนางหนึ่ง ชื่ออมราเทวี นางมีรูปงามบริบูรณ์ด้วยลักษณะดีทุกอย่าง
เป็นผู้มีบุญ วันนั้น นางต้มข้าวต้มแต่เช้า นำข้าวต้มนั้น คิดว่าจักไปสู่ที่บิดา
ไถนา จึงออกจากเรือนเดินสวนทางกับมโหสถ พระมหาสัตว์เห็นนางเดินมา
คิดในใจว่า สตรีนี้สมบูรณ์ด้วยลักษณะดีทุกอย่าง ถ้ายังไม่มีสามี นางนี้ก็ควร
เป็นภรรยาของเรา ฝ่ายนางอมราพอเห็นมโหสถ ก็คิดในใจว่า ถ้าเราได้บุรุษ
นี้เป็นสามีไซร้ เราอาจจะยังทรัพย์สมบัติให้เกิดมั่งคั่ง ลำดับนั้นพระมหาสัตว์
ดำริว่า เรายังไม่รู้ความที่สตรีนี้มีสามีหรือยังไม่มี จักถามนางด้วยวิธีใช้ใบ้
ถ้านางฉลาด ก็จักรู้เนื้อความแห่งปัญญาของเรา คิดฉะนี้แล้วยืนอยู่แต่ไกล
กำมือเข้า นางอมรารู้ความว่า บุรุษนี้ถามว่าเรามีสามีหรือยัง จึงยืนอย่างนั้น
เอง แบมือออก มโหสถรู้เหตุนั้นแล้วจึงเข้าไปใกล้นางถามว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เธอชื่ออะไร นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย สิ่งใดไม่มีในอดีต ในอนาคต
หรือในปัจจุบัน สิ่งนั้น เป็นชื่อของข้าพเจ้า มโหสถกล่าวว่า แน่ะ นาง
ผู้เจริญ ชื่อว่าความไม่ตายไม่มีในโลก ฉะนั้นนางจักชื่อว่า อมรา นางอมรา

ตอบว่า อย่างนั้น นาย มโหสถถามว่า เธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อใคร เมื่อ
นางอมราตอบว่า ข้าพเจ้านำไป เพื่อบุรพเทวดา มโหสถจึงกล่าวว่า บิดามารดา
ชื่อว่าบุรพเทวดา ชะรอยเธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อบิดาของเธอ นางอมราตอบ
ว่าถูกแล้ว มโหสถถามว่า บิดาของเธอทำงานอะไร นางอมราตอบว่า บิดา
ของดิฉัน ทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง มโหสถกล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ การไถนา
ชื่อว่าการทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง ชะรอยบิดาของเธอไถนา นางอมราตอบว่า
ถูกแล้ว มโหสถถามว่า บิดาของเธอไถนาอยู่ที่ไหน นางอมราตอบว่า ชน
ทั้งหลายไปในที่ใด คราวเดียวภายหลังไม่กลับมา บิดาของดิฉันไถนาในที่
นั้นแล มโหสถกล่าวว่า ป่าช้าชื่อว่าสถานที่แห่งชนทั้งหลายไปคราวเดียว
ภายหลังไม่กลับ ชะรอยบิดาของเธอจะไถนาในที่ใกล้ป่าช้า นางอมราตอบว่า
ถูกแล้ว มโหสถถามต่อไปว่า แน่ะนางผู้เจริญ วันนี้เธอจะกลับหรือไม่กลับ
นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย ถ้าว่ามา ดิฉันจะยังไม่กลับ ถ้าว่าไม่มา
ดิฉันจักกลับ มโหสถกล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ บิดาของเธอชะรอยจักไถนา
ใกล้ฝั่งแม่น้ำ ครั้น เมื่อน้ำมา เธอจักไม่กลับ ครั้นเมื่อน้ำไม่มา เธอจักกลับ
นางอมราตอบว่า ถูกแล้ว ทั้งสองเจรจาโต้ตอบกันเท่านี้แล้ว ภายหลังนาง
อมรา เชิญมโหสถให้ดื่มข้าวต้ม พระมหาสัตว์ดำริว่า การปฏิเสธเป็นอวมงคล
จึงกล่าวรับว่าจักดื่ม นางจึงปลงหม้อข้าวต้มลง พระมหาสัตว์คิดว่า ถ้านาง
อมราไม่ล้างภาชนะ ไม่ให้น้ำล้างมือ ให้ข้าวต้ม เราจักละนางเสียในที่นี้ไป
ฝ่ายนางอมราล้างภาชนะแล้ว นำน้ำมาด้วยภาชนะให้น้ำล้างมือ ไม่วางภาชนะ
เปล่าในมือ คนหม้อที่วางไว้บนพื้นแล้วตักข้าวต้มใส่เต็มภาชนะ ก็แต่เมล็ด
ข้าวในภาชนะนั้นน้อย ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ น้ำ
ข้าวต้มมากเกินหรือ นางอมราตอบว่า ข้าแต่นาย ดิฉันได้น้ำแล้ว พระ-
มหาสัตว์กล่าวว่า เธอเห็นจักไม่ได้น้ำมาแต่ทุ่งนา นางอมราตอบว่า ถูกแล้ว

แล้วนางแบ่งข้าวต้มไว้ให้บิดา เหลือจากนั้นให้พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ดื่ม
ข้าวต้มนั้นแล้วบ้วนปาก พูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราจักไปสู่เรือนของเธอ
เธอจงบอกทางแก่เรา นางอมรากล่าวว่าดีแล้ว เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวคาถา
นี้ ในเอกนิบาตว่า
ร้านขายข้าวสัตตู ถัดไปร้านขายน้ำส้ม ถัดสอง
ร้าน ต้นทองหลางดอกบานมีใบสองชั้น มีอยู่โดย
ทางใด ดิฉันถือภาชนะข้าวต้มด้วยมือขวาใด ดิฉัน
บอกทางนั้นโดยมือขวานั้น ดิฉันไม่ได้ถือภาชนะข้าว
ต้มด้วยมือซ้ายใด ดิฉันไม่ได้บอกทางนั้นโดยมือซ้ายนั้น
ทางนั้นเป็นทางไปเรือนของดิฉัน ซึ่งตั้งอยู่ในบ้าน
อุตตรยวมัชฌคาม ขอท่านจงทราบทางอันปกปิดนี้.

คาถานั้นมีความว่า ข้าแต่นาย ท่านเข้าไปภายในหมู่บ้านแล้วจะเห็น
ร้านขายข้าวสัตตูร้านหนึ่ง ถัดไป ร้านขายน้ำส้ม ข้างหน้าร้านค้าสองร้านนั้น
มีต้นทองหลาง มีใบสองชั้นมีดอกบาน ฉะนั้น ท่านจงไปทางที่มีร้านขายข้าว
สัตตู ร้านขายน้ำส้ม และต้นทองหลางดอกบาน ยืนที่โคนต้นทองหลาง ถือ
เอาทางขวา ละทางซ้าย. บทว่า เอส มคฺโค ยวมชฺฌกสฺส ความว่า
นี้เป็นทางไปเรือนของพวกเรา ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านยวมัชฌคาม ขอท่านจงทราบ
ทางปกปิด คือทางที่ปกปิด นี้คือที่ข้าพเจ้ากล่าวปกปิดอย่างนี้ หรือทางปิด
หรือเหตุที่ปกปิด. บทว่า เยนาทามิ แม้ในคาถานี้ นางกล่าวหมายเอา
มือขวาที่เราใช้ถือภาชนะข้าวต้ม นอกนี้เป็นมือซ้าย นางอมราบอกทางแก่
มโหสถอย่างนี้แล้ว ถือข้าวต้มไปส่งบิดา.
จบ ฉันนปถปัญหา

มโหสถโพธิสัตว์ไปสู่เรือนนั้นตามทางที่นางอมราบอก ลำดับนั้น
มารดาของนางอมราเห็นมโหสถแล้วจึงให้พระมหาสัตว์นั่ง ณ อาสนะแล้ว
กล่าวว่า จักดื่มข้าวต้มไหมนาย มโหสถตอบว่า ข้าแต่แม่ น้องหญิงอมราเทวี
ได้ให้ข้าวต้มแก่ฉันหน่อยหนึ่งแล้ว แม้มารดาของนางอมราก็รู้ว่า ชายคนนี้
คงมาเพื่อต้องการลูกสาวของเรา พระมหาสัตว์แม้จะรู้ว่าสกุลนั้น ๆ เข็ญใจ
ก็ถามว่า ข้าแต่แม่ ฉันเป็นช่างชุนผ้า มีผ้าอะไร ๆ ที่ฉันควรเย็บบ้างไหม
มารดานางอมราตอบว่า นาย ผ้านั้นมี แต่ค่าจ้างไม่มี มโหสถกล่าวว่า ข้าแต่
แม่ ฉันไม่ทำเอาค่าจ้าง แม่จงนำมา ฉันจักเย็บให้ มารดานางอมราจึงนำ
ผ้าเก่า ๆ มาให้มโหสถชุน พระโพธิสัตว์ก็ให้ผ้าที่นำมา ๆ แล้วเสร็จทั้งหมด
เพราะว่าการทำของท่านผู้มีบุญย่อมสำเร็จง่ายตาย ลำดับนั้นมโหสถแจ้งแก่
มารดานางอมราว่า แม่จงบอกกล่าวตามฟากถนน ให้นำผ้ามาจ้างชุน มารดา
นางอมราก็บอกแก่ชาวบ้านทั่วไป พระมหาสัตว์ทำการชุนผ้าวันเดียวเท่านั้น
ได้ทรัพย์พันหนึ่ง ฝ่ายมารดานางอมราหุงข้าวให้มโหสถกินเวลานั้น แล้วถามว่า
เวลาเย็นข้าจะหุงเท่าไร มโหสถตอบว่า ชนมีประมาณเท่าใดบริโภคในเรือนนี้
แม่จงหุงโดยประมาณแห่งชนเท่านั้น นางจึงหุงภัตตาหารเป็นอันมากทั้งแกง
ทั้งกับมิใช่น้อย ฝ่ายนางอมราเทวี เวลาเย็นเอามัดฟืนทูนศีรษะและกระเดียด
ใบไม้มาแต่ป่า บรรจุฟืนที่ประตูด้านตะวันออก แล้วเข้าสู่เรือนทางประตูด้าน
ตะวันตก ส่วนบิดาของนางอมรากลับบ้านเย็นกว่าธิดากลับ มโหสถบริโภค
โภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ นางอมราให้บิดามารดาของตนบริโภคแล้วตนจึง
บริโภคภายหลัง แล้วชำระเท้าบิดามารดา และเท้ามโหสถโพธิสัตว์ มโหสถ
กำหนดสังเกตนางอมราอยู่ในบ้านนั้นสองสามวัน ลำดับนั้นเมื่อจะทดลองนาง
วันหนึ่งจึงกล่าวว่า แน่ะอมราเทวีผู้เจริญ เธอจงเอาข้าวสารกึ่งทะนาน ต้ม
ข้าวต้ม ทำขนม และหุงข้าวสวย เพื่อเรา ด้วยข้าวสารกึ่งทะนานนั้น นาง

อมรารับคำสั่งแล้วคำข้าวสารนั้น แล้วเอาข้าวสารต้นอันเป็นตัวไม่ค่อยมีเมล็ด
หักต้มเป็นข้าวต้ม เอากลางข้าวสารอันมีเมล็ดหักโดยมากหุงเป็นข้าวสวย เอา
ปลายข้าวสารอันป่นทำขนม แล้วประกอบกับข้าวให้ควรแก่ข้าวสวยข้าวต้มนั้น
ให้ข้าวต้มแก่มโหสถก่อน พอมโหสถได้ดื่มข้าวต้มถึงปาก ข้าวต้มนั้นก็แผ่ซ่าน
ไปสู่เส้น ประสาทเจ็ดพันซึ่งเป็นเส้นสำหรับรับรส มโหสถกล่าวเพื่อทดลอง
นางอมราว่า นางไม่รู้จักหุงต้ม ทำข้าวสารของเราให้เสียหายเพื่อประโยชน์
อะไร แล้วคายถ่มข้าวต้มพร้อมกับน้ำลายลงยังพื้น นางอมรามิได้โกรธกล่าวว่า
ข้าแต่นาย ถ้าข้าวต้มไม่อร่อย ท่านจงกินขนม แล้วส่งขนมให้มโหสถ มโหสถ
ก็ทำอาการอย่างนั้น แล้วกล่าวอย่างนั้นอีก นางอมราจึงกล่าวว่า ถ้าขนมไม่อร่อย
ท่านจงกินข้าวสวย แล้วให้ข้าวสวยแก่มโหสถ มโหสถก็ทำอาการอย่างนั้น และ
กล่าวดังนั้นอีก ทำเป็นเหมือนขัดเคืองขยำข้าวทั้งสามอย่างนั้น เป็นอันเดียวกัน
แล้วทาสรีระทั้งสิ้นตั้งแต่ศีรษะแห่งนาง แล้วไล่ให้นางไปยืนอยู่ที่ประตู ฝ่าย
นางอมราไม่โกรธเลย ประนมมือกล่าวว่า ดีจะนาย แล้วได้ทำตามสั่ง มโหสถ
รู้ว่านางไม่ถือตัว จึงเรียกกลับมาหา พอได้ยินเรียกคำเดียวเท่านั้น นางก็มา
นั่งลงที่ใกล้มโหสถ ฝ่ายพระมหาสัตว์เมื่อมาแต่บ้านตน หาได้มามือเปล่าไม่
เอาผ้าสาฎก 1 ผืน กับกหาปณะ 1 พันบรรจุในไถ้น้อยมาด้วย จึงนำผ้าสาฎก
นั้นออกจากไถ้น้อยให้แก่นางอมราแล้ว กล่าวว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงอาบน้ำ
กับ พวกสหายของนาง แล้วนุ่งผ้าสาฎกนี้มา นางอมราได้ทำตามคำสั่ง มโหสถ
ให้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นและทรัพย์ที่นำมาทั้งหมดแก่บิดามารดาของนางอมรา ยังคน
ทั้งสามให้ยินดีแล้ว ลาแม่ยายพ่อตา พานางอมรากลับไปบ้าน ก็พระมหาสัตว์
ให้ร่มและรองเท้าแก่นางอมราแล้ว พูดอย่างนี้ว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงเอาร่ม
กางกันตัว สวมรองเท้าเดินไป นางอมรารับของสองอย่าง หุบร่มในคราวร้อน
ดวงอาทิตย์ในที่แจ้งเดินไป ถอดรองเท้าในที่ดอนถือไป สวมรองเท้าในเวลาถึง

ที่มีน้ำเดินไป มโหสถเห็นเหตุนั้นจึงถามว่า แน่ะนางผู้เจริญ เป็นอย่างไร
นางไม่สวมรองเท้าในที่ดอน สวมในที่มีน้ำเดินไป เพราะเหตุอะไร นางตอบ
มโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันเห็นสิ่งประทุษร้ายร่างกายมีหนามเป็นต้น ในที่
ดอน ดิฉันไม่เห็นสิ่งประทุษร้ายร่างกายมีปลา เต่า และหนามเป็นต้น ในที่
มีน้ำ ครั้นเครื่องประทุษร้ายเข้าไปสู่เท้า ดิฉันก็พึงเสวยทุกขเวทนาใหญ่
เพราะฉะนั้นจึงสวมรองเท้าในที่มีน้ำเดินไป พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของนาง
ก็คิดว่า นางทาริกานี้ฉลาดมากหนอ แล้วก็เดินไป ลำดับนั้น นางอมรา
เมื่อเข้าภายในป่า ก็กั้นร่มเดินไป มโหสถถามเหตุนั้นว่า แน่ะนางผู้เจริญ
ชนเหล่าอื่นกั้นร่มกันแดดในที่แจ้งเดินไป แต่นางหาทำอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุ
อะไร นางตอบมโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันชื่อว่าเข้าสู่ภายในป่าก็จริง
แต่ทำอย่างนี้เพราะกลัวไม้แห้งท่อนไม้ตกบนศีรษะ พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำที่
นางกล่าวด้วยเหตุ 2 อย่างก็ยินดี ลำดับนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์เดินไปกับนาง
เห็นต้นพุทราถึงพร้อมด้วยผลในที่หนึ่ง ก็หยุดนั่งใต้ต้นพุทรา ฝ่ายนางอมรา
เห็นพระมหาสัตว์นั่งใต้ต้นพุทราก็พูดขึ้นว่า ข้าแต่นาย ท่านจงขึ้นเก็บผลพุทรา
กินให้ดิฉันบ้าง มโหสถตอบว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราเหน็ดเหนื่อยไม่อาจ
ขึ้น นางขึ้นเถิด นางได้ฟังคำของมโหสถก็ขึ้นต้นพุทรานั้นเลือกเก็บผล ฝ่าย
พระโพธิสัตว์กล่าวกะนางว่า แน่ะนางผู้เจริญนางจงให้ผลแก่เราบ้าง นางคิด
ว่า เราจักดูบุรุษนี้ฉลาดหรือโง่ จักทดลองเขาดู จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่นาย
ท่านจะกินผลร้อนหรือผลเย็น พระโพธิสัตว์แม้รู้เหตุที่นางถาม ก็ทำเป็นเหมือน
ไม่รู้ จึงกล่าวตอบอย่างนี้ เพื่อทดลองว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราต้องการด้วย
ผลร้อน นางจึงเก็บผลโยนไปในที่พื้นดินกล่าวว่า ท่านจงกินเถิด นาย พระ-
โพธิสัตว์ก็เก็บผลมาปัดเป่าให้หมดผงแล้วเคี้ยวกิน เมื่อจะทดลองนางอีกจึง
กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะนางผู้เจริญ นางจงให้ผลเย็นแก่เรา นางก็เก็บผลพุทรา

โยนไปบนพื้นหญ้า พระโพธิสัตว์ก็เก็บผลนั้น ไม่ต้องปัดเป่าเคี้ยวกินทีเดียว
รู้ว่านางทาริกานี้ฉลาดเหลือเกินก็ยินดี แล้วบอกให้นางลงจากต้นพุทรา นาง
อมราได้ฟังคำมโหสถเรียกให้ลง ก็ลงจากต้นพุทรา ถือหม้อไปแม่น้ำนำน้ำมา
ให้มโหสถ มโหสถก็ดื่มน้ำแล้วบ้วนปาก นางยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง เขาทั้งสอง
ลุกขึ้นเดินไปเข้าสู่พระนคร พระมหาสัตว์ให้นางอยู่ที่เรือนคนเฝ้าประตู แล้ว
แจ้งแก่ภรรยาแห่งคนเฝ้าประตูให้ทราบ เพื่อทดลองนาง แล้วเข้าสู่เคหสถาน
ของตน เรียกชายทั้งหลายมาแจ้งว่า เราให้สตรีคนหนึ่งอยู่ที่เรือนโน้น จึงมา
บ้านนี้ เจ้าทั้งหลายจงเอาทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะนี้ไปที่เรือนนั้น พูดเกี้ยวพาน
ลองดู สั่งฉะนั้นแล้วให้กหาปณะหนึ่งพันแล้วส่งไป บุรุษเหล่านั้นไปสู่สำนัก
นางอมรา แล้วได้ทำตามมโหสถสั่ง นางไม่ปรารถนา คิดเห็นว่าความประพฤติ
ของบุรุษเหล่านี้ไม่ถึงสักว่าละอองเท้าของสามีแห่งเรา บุรุษเหล่านั้น ก็กลับมา
บอกแก่มโหสถ ลำดับนั้น มโหสถส่งบุรุษเหล่านั้น ไปบ่อย ๆ ถึง 3 คราว
ในวาระที่ 4 จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าทั้งหลายจงไปจับตัวนางคร่ามา บุรุษ
เหล่านั้นก็ไปทำดังนั้น นางก็ได้มาเห็นพระมหาสัตว์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีทรัพย์
สมบัติมากก็จำไม่ได้ แลดูมโหสถแล้วหัวเราะแล้วก็ร้องไห้ มโหสถซักถามถึง
เหตุทั้งสองนั้น นางก็แจ้งแก่มโหสถว่า ข้าแต่นาย ดิฉันเห็นสมบัติของท่าน
ก็นึกในใจว่า สมบัตินี้ท่านไม่ได้ด้วยไม่มีเหตุ ก็แต่ท่านจักทำกุศลไว้ใน
ปางก่อนจึงได้สมบัตินี้ โอ ผลของบุญทั้งหลายน่าอัศจรรย์หนอ นึกในใจดังนี้
จึงได้หัวเราะ ก็เมื่อดิฉันร้องไห้ก็ร้องไห้ด้วยความกรุณาในตัวท่าน ด้วย
สงสารว่า บัดนี้ท่านมาทำร้ายในวัตถุที่คนอื่นปกครองหวงแหน ก็จักไปสู่นรก
มโหสถทดลองนางอมรารู้ความที่นางเป็นผู้บริสุทธิ์ จึงกล่าวสั่งว่า เจ้าทั้งหลาย
จงไป จงพานางไปอยู่ที่เดิม แล้วแปลงเพศเป็นช่างชุนผ้าไปแรมอยู่กับนาง

รุ่งเช้าก็เข้าไปสู่ราชสำนัก ทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางอุทุมพร พระนาง
นำความกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช แล้วประดับ นางอมราเทวีด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวงให้นั่งในวอใหญ่ นำมายังเคหสถานของมโหสถทำอาวาหนึ่งคลด้วยเกียรติ
อันยิ่งใหญ่ พระราชาทรงส่งทรัพย์มูลค่าพันกหาปณะเป็นบรรณาการแก่พระ-
โพธิสัตว์ ชาวพระนครทั้งสิ้นทั้งแต่คนรักษาประตู ก็ได้จัดของขวัญมาให้
ฝ่ายนางอมราเทวีก็แบ่งของที่ได้รับพระราชทานเป็นสองส่วน คืนเข้าพระคลัง
ส่วนหนึ่ง รับไว้ส่วนหนึ่ง ได้ส่งของช่วยของชาวนครทั้งสิ้นไปสงเคราะห์
ชาวนครโดยวิธีนี้ แต่นั้นมาพระมหาสัตว์ก็ได้อยู่ร่วมกับนางอมรา ได้ถวาย
อนุศาสน์อรรถธรรมแด่พระราชา.
จบการแสวงหานางอมราเทวี
อยู่มาวันหนึ่ง เสนกะเห็นปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะทั้งสาม
อาจารย์มาสู่สำนักตน จึงปรึกษาอาจารย์เหล่านั้นกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญทั้งสาม
เราทั้งสี่คนไม่เทียมทันมโหสถผู้บุตรคฤหบดี ก็บัดนี้เขานำภรรยาผู้ฉลาดนักมา
เอง พวกเราพึงทำลายเขาระหว่างพระราชาเสียอย่างไรดี อาจารย์ทั้งสามตอบ
เสนกะว่า ข้าพเจ้าทั้งสามจะรู้อะไร ขอท่านดำริเถิด เสนกะจึงกล่าวว่า พวก
ท่านอย่าวิตก เรามีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง อาจารย์ทั้งสามถามว่า อุบายอะไร
ท่านอาจารย์ เสนกะจึงแจ้งว่า เราจักลักพระจุฬามณีของพระราชามา ท่าน
ปุกกุสะจงลักสุวรรณมาลามา ท่านกามินทะจงลักคลุมบรรทมกัมพลมา ท่าน
เทวินทะจงลักฉลองพระบาททองคำมา ก็และครั้นลักราชาภรณ์ทั้งสี่อย่างมาได้
ฉะนี้แล้ว เราทั้งสี่จงยังราชาภรณ์ทั้งสี่นั้นให้เข้าไปอยู่ในเรือนของมโหสถ เรา
แม้ทั้งสี่จักลักราชาภรณ์ทั้งสี่มาด้วยอุบายแล้ว แต่นั้นจักให้เข้าไปอยู่ในเรือน
มโหสถ ทำมิให้ประชาชนสงสัยพวกเรา อาจารย์ทั้งสามรับว่าอุบายนี้งามนัก

เสนกะจึงนำพระจุฬามณีลงไว้ในหม้อเปรียงก่อนแล้วส่งให้ทาสีคนหนึ่งนำหม้อ
เปรียงนั้น ไปสั่งว่า เจ้าจงนำหม้อเปรียงนี้ไปเร่ขาย อย่าขายให้แก่ชนเหล่าอื่น
ผู้รับซื้อ ถ้าเมื่อชนในเรือนมโหสถรับซื้อ เจ้าจงให้เปล่าทั้งหม้อ ทาสีก็ไปสู่
ประตูเรือนมโหสถร้องขายว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อเปรียง ๆ เดินกลับไปกลับ
กลับมาที่หน้าประตูเรือนนั้น นางอมราเทวียืนอยู่ที่ประตูเห็นกิริยาของทาสีนั้น
จึงคิดว่า หญิงนี้ไม่ไปอื่น เหตุการณ์จะพึงมีในหญิงนั้น จึงยังทาสีทั้งหลายให้
เลี่ยงไปด้วยสัญญาอันนัดกันไว้ แล้วเรียกทาสีผู้ขายเปรียงนั้นมาว่า มานี่แม่
ฉันจะซื้อเปรียง แล้วให้สัญญาแก่พวกทาสีของตนในกาลเมื่อนางขายเปรียงมา
ครั้นเมื่อพวกทาสีของตนยังไม่มา จึงให้นางผู้ขายเปรียงนั้นไปเรียกมา นาง
จึงล้วงมือลงในหม้อ พบพระจุพามณีในนั้นในกาลเมื่อนางขายเปรียงนั้นไป
พอนางขายเปรียงนั้นกลับมาจึงถามว่า แม่มาแต่สำนักใครนะ นางขายเปรียง
นั้นตอบว่า ข้าแต่แม่เจ้า ข้าเป็นทาสีของอาจารย์เสนกะ แต่นั้นนางอมราจึง
ซักถามชื่อของนาง และของบิดามารดาแห่งนาง ได้รับตอบว่า ชื่อโน้น ๆ
แล้วถามว่า เปรียงนี้แม่จะขายราคาเท่าไร ได้รับตอบว่า เท่าราคาข้าว 4
ทะนาน จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นแม่จงขายแก่ฉัน ก็ได้รับตอบว่า เมื่อแม่เจ้า
รับซื้อ จะต้องการอะไรด้วยราคา จงรับไว้ทั้งหม้อ ไม่คิดราคา ก็ว่า ถ้าเช่นนั้น
ก็ตกลง แล้วให้นางขายเปรียงนั้นกลับไป ให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถือ
ไว้ มีความว่า เดือนนั้น วันนั้น อาจารย์เสนกะให้ทาสีชื่อนี้ ธิดาของทาสี
ชื่อนี้ นำพระจุฬามณีของพระราชามาขายไว้ ฝ่ายปุกกุสะวางสุวรรณมาลาใน
ผอบซึ่งบรรจุดอกมะลิ แล้วปิดสุวรรณมาลานั้นด้วยดอกมะลิแล้วส่งไป ฝ่าย
กามินทะวางคลุมบรรทมกัมพลในกระเช้าซึ่งบรรจุผักแล้วปิดด้วยผักแล้วส่งไป
ฝ่ายเทวินทะสอดฉลองพระบาททองคำภายในฟ่อนข้าวเหนียวแล้วส่งไป นาง
อมรารับสิ่งทั้งปวงนั้นไว้ บันทึกเรื่องไว้โดยนัยหนหลัง บอกแก่พระมหาสัตว์

แล้วเก็บไว้ ฝ่ายบัณฑิตทั้งสี่นั้นไปสู่ราชสำนักทูลว่า พระองค์ไม่ทรงประดับ
พระจุฬามณีหรือพระเจ้าข้า พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า จะประดับ จงไปนำมา
อาจารย์ทั้งสี่นั้นไปดู ไม่เห็นพระจุฬามณีในสถานที่เก็บ และไม่เห็นราชาภรณ์
สามอย่างนอกนี้ จึงทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชาภรณ์ของพระองค์อยู่ใน
เรือนของมโหสถ มโหสถใช้ราชาภรณ์เองก่อนจะเป็นศัตรูต่อพระองค์.
ลำดับนั้นคนสอดแนมเนื้อความของมโหสถนำความมาแจ้งแก่มโหสถ
มโหสถได้ฟังคำของพวกสอดแนมเนื้อความ จึงคิดว่า เราจักเฝ้าพระราชาจึงจะ
รู้เรื่อง จึงไปสู่ที่เฝ้าพระราชาพระราชากริ้วมโหสถ ไม่ให้มโหสถเห็นพระองค์
ด้วยทรงคิดถึงเหตุที่เกิดว่า เราไม่รู้มโหสถจะมาทำไมในที่นี้ มโหสถรู้ว่าพระ
ราชากริ้ว จึงกลับบ้านของตน พระราชาตรัสสั่งให้จับมโหสถ ฝ่ายมโหสถ
บัณฑิตได้ฟังคำของพวกสอดแนมเนื้อความจึงคิดว่า ควรเราจะหลบหลีกไป
จึงให้สัญญาแก่นางอมราแล้วแปลงเพศออกจากเมือง ไปสู่ทักขิณยวมัชฌคาม
ทำหม้อเลี้ยงชีพอยู่ ณ บ้านนั้น เกิดโกลาหลในพระนครว่า มโหสถบัณฑิตหนี
ไปแล้ว อาจารย์ทั้งสี่มีเสนกะเป็นต้น รู้ว่ามโหสถหนีไปแล้ว จึงกล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลายอย่าวิตก เราทั้งหลายไม่ใช่บัณฑิตหรือ กล่าวฉะนี้แล้วไม่ยังกันและ
กันให้รู้ ส่งบรรณาการไปให้นางอมรา นางอมรารับบรรณาการที่อาจารย์ทั้งสี่
ส่งไปแล้วกล่าวว่า จงไปในเวลาโน้น แล้วคิดว่า เราจักให้ทั้งสี่คนมาหาเรา
ได้อาย จึงเรียกเหล่าทาสีมา ให้ขุดหลุมหนึ่ง ล้อมรั้วที่หลุมนั้น เทคูถกับน้ำ
ลงในหลุมนั้น แล้วให้ปิดแผ่นกระดานยนต์ที่พื้นข้างบนแห่งหลมคูถ ปกปิด
ด้วยเสื่อลำแพนมีลิ่มสลักสองข้าง แล้วแต่งเคหสถานให้ห้อยบุปผชาติเป็นต้น
ให้เป็นเหมือนน่ารื่นรมย์ให้ตั้งน้ำไว้ ยังสิ่งทั้งปวงให้แล้วเสร็จ เวลาค่ำวันนั้น
เสนกะแต่งตัว กินโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วไปสู่เรือนมโหสถ ยืนอยู่
แทบประตู ให้แจ้งการที่ตนมา ยังคนรักษาให้บอกแก่นางอมรา นางอมรา

ได้ฟังคำแห่งเสนกะนั้น จึงกล่าวว่ามาเถิด เสนกะก็ไปยืนอยู่ใกล้นางอมรา
นางอมราจึงกล่าวอย่างนี้กะเสนกะว่า ข้าพเจ้าตกอยู่ในอำนาจของท่านในบัดนี้
แล้ว การไม่อาบน้ำแล้วนอนไม่ควร ท่านจงไปอาบน้ำหอมนี้เสียก่อนจึงมา
เสนกะรับคำแล้วไปเหยียบแผ่นกระดานจักอาบ นางอมราทำเป็นเหมือนรดน้ำ
ให้ในกาลเมื่อเสนกะขึ้นยืนบนแผ่นกระดาน นางเหยียบที่แผ่นกระดานกล ยัง
เสนกะให้ตกลงในหลุมคูถ นางยังปุกกุสะผู้แต่งกายกินโภชนะเลิศแล้วมาใน
เวลาเย็น ให้ตกในหลุมคูถนั้น ปุกกุสะเมื่อถูกเสนกะเข้าจึงถามเสนกะว่า ท่าน
เป็นคนหรือ ก็ได้รับตอบว่า กันเป็นอาจารย์เสนกะ ฝ่ายเสนกะก็ถามปุกกุสะ
ว่า ก็ท่านเล่า เป็นคนหรือ ก็ได้รับตอบว่า กันเป็นอาจารย์ปุกกุสะ นาง
อมรายังกามินทะและเทวินทะทั้งสองผู้มาตาม ๆ กัน ให้ตกลงในหลุมคูถ โดย
ทำนองนั้นเหมือนกัน อาจารย์ทั้งสี่คนนั้นยืนอยู่ในหลุมคูถเพียงท้อง ศีรษะ
โดนกันและกัน ต่างถามกันว่า นั่นใคร ๆ ลำดับนั้น เสนกะบอกว่ากัน ครั้น
ทั้งสามอาจารย์ถามว่า จะทำอย่างไรกัน ท่านอาจารย์เสนกะจึงห้ามว่า ท่านทั้ง
หลายอย่าอึงไป ตั้งแต่นี้ไป ความอายจักมีแก่พวกเรา บัณฑิตทั้งสี่คนอยู่ใน
หลุมคูถตลอดคืน นางอมรายังอาจารย์ทั้งสี่คนให้ตกลงในหลุมคูถอันสกปรก
น่าเกลียดอย่างนี้ ครั้นรุ่งสว่าง ให้ทั้งสี่คนนั้นจับเชือกสาวขึ้นมาจากหลุมคูถ
นั้น ให้อาบน้ำพลัน ให้เอามีดโกนโกนผมและหนวดทั้งสี่อาจารย์นั้นให้โล้น
แล้วให้สีด้วยแผ่นอิฐจนเลือดออกซิบ ๆ แล้วให้เอาข้าวสารหนึ่งทะนาน ให้ชุ่ม
ด้วยน้ำตำให้ละเอียด บรรจุในภาชนะกวนให้เป็นเหมือนข้าวยาคูเป็นอันมาก
ให้ทาให้ทั่วทั้งตัวของอาจารย์ทั้งสี่ตั้งแต่ศีรษะ แล้วให้เอานุ่นย่อย ๆ โรยลงให้
ทั่วตัว ตั้งแต่ศีรษะ ให้ทั้งสี่คนถึงความลำบากมาก ให้นอนในกระชุกรุเสื่อ
ลำแพน ปิดผูกพันด้วยเชือกให้แน่น ประทับตรา แล้วให้นำรัตนะ 4 อย่าง
กับอาจารย์ทั้งสี่ไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงรับบรรณาการทั้งหลาย
กราบทูลฉะนี้แล้ว ให้วางเสื่อสำแพนทั้งสี่แทบพระบาทมูลแห่งพระราชา ลำดับ
นั้น พระราชาให้เปิดเสื่อลำแพนนั้นออก ทอดพระเนตรเห็นบัณฑิตทั้งสี่มี
เสนกะเป็นต้น เหมือนกับวานรเผือก ก็ทรงดุษณีภาพ ฝ่ายมหาชนเห็นอาจารย์
ทั้งสี่นั้น ก็พูดกันว่า โอ วานรเผือกงามมาก ๆ เราทั้งหลายไม่เคยเห็นมาได้
เห็นแล้วพากันสรวลเฮฮาใหญ่ อาจารย์ทั้งสี่ได้ความอายมาก ลำดับนั้น นาง
อมราถวายรัตนะ 4 อย่างกับอาจารย์ทั้ง 4 แด่พระราชา เมื่อจะประกาศความ
ที่มโหสถสามีของตนไม่มีความผิด จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
มโหสถบัณฑิตไม่ได้เป็นโจร แต่อาจารย์ทั้ง 4 ของพระองค์เป็นโจร คือเสนกะ
ลักพระจุฬามณีของพระองค์ ปุกกุสะลักสุวรรณมาลา กามินทะลักคลุมบรรทม
กัมพล เทวินทะลักฉลองพระบาททองคำ รัตนะทั้ง 4 อย่างนี้ อันอาจารย์ทั้ง
4 ให้ทาสีชื่อนี้ เป็นลูกสาวของทาสีชื่อนี้ ส่งไปขายให้ข้าพระบาทในวันนั้น
เดือนนั้น ขอพระองค์ทอดพระเนตรหนังสือบันทึกสำคัญนี้ แล้วทรงรับไว้
เป็นของหลวง และจึงทรงรับโจรและรัตนะเหล่านั้นไว้ ยังชนทั้ง 4 ให้ถึง
มหาวิปการอย่างนี้แล้วถวายบังคมลากลับบ้าน ลำดับนั้น พระราชาไม่ตรัส
อะไร ๆ กะชนเหล่านั้น เพราะทรงรังเกียจในพระโพธิสัตว์ เพราะพระโพธิสัตว์
หนีไปเสียแล้ว และเพราะความไม่มีชนเหล่าอื่นเป็นมนตรีผู้บัณฑิต ตรัสสั่ง
แต่ว่า ท่านทั้ง 4 จงอาบน้ำกลับไปเคหสถานของตน.
จบ โจรลักรัตนะ 4 คน
ณ กาลครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตรแห่งบรมกษัตริย์ไม่ได้สดับ
ธรรมเทศนาแห่งพระโพธิสัตว์ จึงพิจารณาดูก็ทราบเหตุนั้น จึงคิดว่า เราจัก
ทำให้พระโพธิสัตว์ได้กลับมาอยู่บ้านตามเดิม ครั้นเวลาราตรี จึงแหวกกำพู-

ฉัตรออกมาถามปัญหาพระเจ้าวิเทหราช 4 ข้อ มีคำว่า หนฺติ หตฺเถหิ
ปาเทหิ
เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาอันเทวดาถามในจตุกนิบาต พระราชาได้
ทรงสดับเทวปัญหานั้น ยังไม่ทรงทราบ จึงตรัสตอบเทวดานั้นว่า ข้าพเจ้า
ยังไม่รู้ จักถามบัณฑิตอื่น ๆ ก่อน แล้วตรัสขอเทพบริหารอย่าให้ต้อง
เทวทัณฑ์สักวันหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นจึงตรัสเรียกบัณฑิตทั้ง 4 คนมาเฝ้า ครั้น
อาจารย์ทั้ง 4 ทูลว่า พวกคนศีรษะโล้นด้วยคมมีดโกนเดินตามถนนมีความ
อาย จึงโปรดให้ส่งนาฬิกปัฏ ผืนผ้าทำรูปดุจทะนานไปพระราชทาน ให้เอา
นาฬิกปัฏนั้น ๆ สวมศีรษะมาเฝ้า ได้ยินว่า นาฬิกปัฏเกิดขึ้นแต่กาลนั้น มาจน
บัดนี้ อาจารย์ทั้ง 4 ก็มาเข้าเฝ้า นั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น พระ-
ราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์เสนกะ คืนวันนี้เทวดาผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรถาม
ปัญหาเรา 4 ข้อ เราขอผัดว่า ยังไม่รู้ จักถามพวกท่านดูก่อน ท่านเสนกะ
จงกล่าวปัญหานั้นแก่เรา ตรัสฉะนี้แล้ว จึงถามปัญหาเป็นปฐมว่า
บุคคลประหารร่างกายผู้อื่นด้วยมือทั้งสอง หรือ
ด้วยเท้าทั้งสอง และเอามือประหารปากผู้อื่น บุคคล
นั้นกลับเป็นที่รักแห่งผู้ต้องประหาร เพราะฉะนั้น
พระองค์ทรงเห็นว่า ผู้เป็นที่รักนั้นได้แก่ใคร.

เสนกะได้ฟังเทพปัญหานั้นก็ไม่รู้ความ บ่นปัญหานั้น ๆ ว่า ใคร
ประหารอะไร ๆ แลไม่เห็นที่สุดและเงื่อนแห่งเทพปัญหานั้น แม้อาจารย์อีก
3 คนก็หมดความคิด พระราชาทรงวิปฏิสาร ครั้นในส่วนแห่งราตรี เทวดา-
ถามอีกว่า ทรงทราบปัญหาแล้วหรือ ก็ตรัสตอบว่า ข้าพเจ้าได้ถามบัณฑิต
ทั้ง 4 แล้ว เขาก็ไม่รู้ เทวดาจึงกล่าวขู่พระราชาว่า อาจารย์ทั้ง 4 นั้นจะรู้
อะไร เว้นมโหสถบัณฑิตเสีย ใคร ๆ อื่นจะสามารถกล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น

ย่อมไม่มี ถ้าพระองค์ให้เรียกมโหสถมาให้กล่าวแก้ปัญหานั้น นั่นแหละจะเป็น
การดี ถ้าไม่เรียกมโหสถมาให้กล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น ข้าพเจ้าจักทำลายเศียร
ของพระองค์ด้วยค้อนเหล็กอันลุกโพลงนี้ กล่าวขู่ฉะนี้แล้วทูลเตือนว่า แน่ะ
มหาราช เมื่อต้องการไฟ ไม่ควรจะเป่าหิงห้อย หรือเมื่อต้องการน้ำนม ไม่
ควรจะรีดเขาโค ชักขัชโชปนกปัญหาในปัญจกนิบาตนี้มากล่าวคาถาว่า
ใครเล่าเมื่อไฟลุกโพลงนี้อยู่ ยังเที่ยวหาไฟอีก
โดยมิใช่เหตุ บุคคลเห็นหิงห้อยในราตรีก็สำคัญว่าไฟ
เอาจุรณโคมัยอันละเอียดหรือหญ้าทำเชื้อบนหิงห้อย
แล้วเอามือสีให้เกิดไฟ ก็ไม่สามารถให้ไฟลุกโพลง
ด้วยสำคัญวิปริต ฉันใด คนอันธพาลดุจคนใบ้ แม้
แสวงหาสิ่งที่ต้องประสงค์โดยไม่ใช่อุบาย ก็ไม่ได้สิ่ง
ที่ต้องประสงค์นั้น ฉันนั้น นมโคไม่มีที่เขาโค บุคคล
รีดสมโคที่เขาโค ก็ไม่ได้นมโค ฉันใด บุคคลแสวง
หาสิ่งที่ต้องการในที่ไม่ใช่ที่จะหาได้ ก็ไม่ได้สิ่งที่
ต้องการ ฉันนั้น ชนทั้งหลายลุถึงสิ่งที่ต้องการด้วย
อุบายต่าง ๆ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายครองแผ่นดินอัน
ชื่อพสุนธร เพราะทรงไว้ซึ่งรัตนะคือแก้ว ก็ด้วย
นิคคทะเหล่าอมิตร ปัคคหะเหล่ามิตร ได้เหล่าอมาตย์
มีเสนีเป็นประมุข และความแนะนำของอมาตย์ผู้
คุ้นเคยเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตมฺหิ ปชฺโขเต ความว่า เมื่อไฟ
มีอยู่. บทว่า อคฺคิปริเยสนํ จรํ ความว่า เที่ยวโดยมิใช่อุบาย. บทว่า
อทฺทกฺขิ แปลว่า เห็นแล้ว ครั้น เห็นแล้วก็สำคัญหิงห้อยนั้นอย่างนี้ว่า นี้จัก

เป็นไฟ ด้วยสำคัญว่ามีแสง. บทว่า สวาสฺส ความว่า เขาเอาจุรณโคมัย
อันละเอียดและหญ้าไร้บนหิงห้อยนั้น. บทว่า อภิมตฺถํ ความว่า สีด้วยมือ
คือบุคคลนี้ชื่ออะไรโรยจุรณโคมัยและหญ้า นั่งคุกเข่าบนพื้นดิน แม้พยายาม
ด้วยความสำคัญอันวิปริตว่า เราจักเอาปากเป่าให้มันลุกโพลง ก็ไม่อาจให้
ลุกโพลงได้. บทว่า มูโค ความว่า คนอันธพาลเช่นกับคนใบ้ แม้แสวงหา
ด้วยมิใช่อุบายอย่างนี้ ย่อมไม่ได้ประโยชน์นั้น. บทว่า ยตฺถ ความว่า ย่อม
ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เหมือนคนรีดนมโคแต่เขาโค ซึ่งไม่มีน้ำนมเลย. บทว่า
เสนีโมกฺขูปลาเภน ได้แก่ เพราะได้เหล่าอมาตย์ซึ่งมีเสนีเป็นประมุข.
บทว่า วลฺลภานํ นเยน จ ได้แก่ ด้วยความแนะนำของเหล่าอมาตย์ผู้มี
ความคุ้นเคย ผู้เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ. บทว่า ชคตีปาลา ได้แก่ พระ-
ราชาทั้งหลายย่อมครองแผ่นดินนี้แหละซึ่งได้ชื่อว่า พสุนธร เพราะทรงไว้ซึ่ง
รัตนะทั้งหลายคือแก้ว.
เทวดากล่าวขู่พระราชาว่า ชนทั้งหลายเช่นกับพระองค์ ในเมื่อไฟ
มีอยู่แท้ ก็หาเป่าหิงห้อยไม่ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระองค์ตรัสถามอาจารย์
ทั้ง 4 มีเสนกะเป็นต้น ก็เป็นเหมือนครั้นเมื่อไฟมีอยู่ ทรงเป่าหิงห้อย เหมือน
คนทิ้งตราชูเสียแล้วชั่งด้วยมือ และเหมือนเมื่อต้องการน้ำนมก็รีดเอาแต่เขาโค
ฉะนั้น อาจารย์ทั้ง 4 เหล่านั้นจะรู้อะไร เพราะเขาเหล่านั้นเช่นกับหิงห้อย
มโหสถบัณฑิตเช่นกับกองเพลิงใหญ่ ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ขอพระองค์
โปรดให้หามโหสถมาตรัสถามเถิด เมื่อพระองค์ไม่ทรงทราบปัญหาเหล่านั้น
พระชนมชีพของพระองค์จะไม่มี ทูลคุกคามฉะนี้แล้ว ก็อันตรธานหายไป.
จบ ปัญหาหิงห้อย

พระราชาถูกมรณภัยคุกคาม รุ่งขึ้นให้เรียกอมาตย์ 4 คนมาตรัสสั่งว่า
ท่านทั้ง 4 คนจงขึ้นรถ 4 คัน ออกจากประตูเมืองทั้ง 4 ประตูค้นหามโหสถ
บุตรเราอยู่ที่ใด จงทำสักการะแก่เธอในที่นั้น แล้วนำตัวมาโดยเร็ว อมาตย์
ทั้ง 4 คนออกทางประตูคนละประตู อมาตย์ 3 คนไม่พบมโหสถบัณฑิต แต่
อมาตย์คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศทักษิณ พบพระมหาสัตว์ที่บ้านทักขิณยว-
มัชฌคาม ขนดินเหนียวมา มีร่างกายเปื้อนดินเหนียว นั่งบนตั่งใบไม้หมุนจักร
ในสำนักอาจารย์ ปั้นดินเหนียวเป็นปั้น ๆ บริโภคข้าวเหนียวไม่มีแกง.
ถามว่า ก็เหตุไร มโหสถจึงทำการอย่างนี้ แก้ว่า ได้ยินว่า พระราชา
ทรงรังเกียจว่า มโหสถบัณฑิตจะชิงราชสมบัติของพระองค์โดยไม่สงสัย
มโหสถคิดว่า เมื่อพระราชาทรงทราบว่า มโหสถเลี้ยงชีพอยู่ด้วยการทำหม้อขาย
ก็จะทรงหายรังเกียจ จงได้ทำอย่างนี้.
มโหสถเห็นอมาตย์ก็รู้ว่าจะมาหาตน จึงดำริว่า วันนี้ยศของเราจักมี
เป็นปกติอีก เราจักบริโภคโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ที่นางอมราเทวีจัดไว้รับ
คิดฉะนี้จึงทิ้งก้อนข้าวที่ถือไว้ ลุกขึ้นบ้วนปาก อมาตย์นั้นเข้าไปหามโหสถใน
ขณะนั้น แต่อมาตย์คนนั้นเป็นฝักฝ่ายเสนกะ เพราะฉะนั้น เมื่อจะสืบต่อ
ข้อความที่เสนกะกล่าวแต่หนหลัง ว่าทรัพย์ประเสริฐกว่าปัญญานั้น จึงกล่าวว่า
แน่ะท่านบัณฑิต คำของอาจารย์เสนกะเป็นจริง ในเมื่อยศของท่านเสื่อม
ท่านเป็นผู้มีปัญญามากถึงปานนี้ ก็ไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งแก่ท่าน บัดนี้ท่านมี
ร่างกายเปรอะเปื้อนด้วยดินเหนียว นั่งที่ตั่งใบไม้กินข้าวเห็นปานนี้ กล่าวฉะนี้
แล้ว ได้กล่าวคาถาที่หนึ่งในภูริปัญหาในทสนิบาตนี้ว่า
ได้ยินว่า คำที่อาจารย์เสนกะกล่าวเป็นของจริง
แม้ท่านจะมีปัญญาดุจแผ่นดิน มีสิริ มีความเพียร
และมีความคิดเช่นนั้น ยังไม่ป้องกันความที่ท่านเข้าถึง

อำนาจของความพินาศได้ ท่านจึงต้องกินอาหารไม่มี
แกง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจํ กิร ความว่า แน่ะท่านอาจารย์
อาจารย์เสนกะกล่าวคำใด ได้ยินว่า คำนั้นเป็นคำจริงทีเดียว. บทว่า สิรี
ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทว่า ธิติ ได้แก่ มีความเพียรเป็นนิจ. บทว่า
ตายเต ภาววสูปนีตํ
ความว่า ไม่รักษา คือไม่คุ้มครอง ท่านผู้เข้าถึง
อำนาจของความพินาศคือความไม่เจริญ คือไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งของท่านได้.
บทว่า ยาวกํ ความว่า กินภัตตาหารจากข้าวสารเหนียวเห็นปานนี้.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวตอบอมาตย์นั้นว่า แน่ะอันธพาล เรา
ประสงค์จะทำยศนั้นให้เป็นปกติด้วยปัญญาของตนอีก จึงได้ทำอย่างนี้ แล้ว
กล่าวสองคาถานี้ว่า
เรายังความสุขให้เจริญด้วยความทุกข์ เมื่อ
พิจารณากาลและมิใช่กาล ก็หลบซ่อนอยู่ เปิดช่อง
คิดทำให้เป็นประโยชน์แก่ตน ด้วยเหตุนั้น เราจึงยินดี
ด้วยการบริโภคข้าวเหนียว ก็เรารู่จักกาลเพื่อองอาจ
ทำความเพียร ยังยศของตนให้เจริญอีก ด้วยความคิด
ของตนองอาจอยู่ ดุจความองอาจแห่งราชสีห์ที่พื้น
มโนศีลาฉะนั้น ท่านจักเห็นเราด้วยความสำเร็จนั้นอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเขน ความว่า ยังความสุขเก่าของตน
ให้งอกงามคือเจริญด้วยทำให้กลับ เป็นปกติ ด้วยความทุกข์ทางกายและทางใจนี้.
บทว่า กาลากาลํ ความว่า เราเมื่อพิจารณากาลและมิใช่กาลอย่างนี้ว่า นี้เป็น
กาลที่ต้องหลบซ่อนเที่ยวไป นี้ไม่ต้องหลบซ่อน รู้ว่าในเวลาที่พระราชากริ้ว
ต้องหลบซ่อนเที่ยวไป เป็นผู้หลบซ่อนคือปิดปัง ตามความพอใจคือความ

ชอบใจของตน เลี้ยงชีพด้วยงานช่างหม้อ ไม่ปิดคือเปิดช่องกล่าวคือเหตุแห่ง
ประโยชน์ของตนอยู่ ด้วยเหตุนั้น เราจึงยินดีด้วยการบริโภคข้าวเหนียว บทว่า
อภิชิมฺหตาย ได้แก่ เพื่อองอาจ คือเพื่อกระทำความเพียรยิ่ง. บทว่า มนฺเตหิ
อตฺถํ ปริปาจยิตฺวา
ความว่า เราจักยังยศของเราให้เจริญอีก ด้วยความรู้
ของตน องอาจดุจราชสีห์องอาจที่พื้นมโนศิลา ฉะนั้น ท่านจักเห็นเราด้วย
ความสำเร็จนั้นแม้อีก.
ลำดับนั้น อมาตย์กล่าวกะมโหสถว่า แน่ะพ่อบัณฑิต เทวดาผู้สิงอยู่
ณ เศวตฉัตรถามปัญหาพระราชา พระราชาตรัสถามบัณฑิตทั้ง 4 ใน 4 คน
นั้น แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงดำรัสสั่งให้
ข้าพเจ้ามาหาท่าน พระมหาสัตว์จึงกล่าวสรรเสริญอานุภาพแห่งปัญญาว่า เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ท่านจงเห็นอานุภาพแห่งปัญญาของตน เพราะว่าอิสริยยศย่อมไม่
เป็นที่พึ่งในกาลเห็นปานดังนี้ บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยปัญญาเท่านั้น ย่อมเป็นที่พึ่ง
ได้ อมาตย์ได้รับพระราชบัญชามาว่า จงให้มโหสถบัณฑิตอาบน้ำนุ่งห่มในที่
ที่พบทีเดียวแล้วนำมา ก็ได้ทำตามรับสั่งแล้วให้กหาปณะพันหนึ่ง และผ้า
สำรับหนึ่ง ซึ่งเป็นของพระราชทานแก่พระมหาสัตว์ ได้ยินว่า ช่างหม้อเกิด
กลัวขึ้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า เราใช้สอยมโหสถผู้เป็นราชบัณฑิต พระมหาสัตว์
เห็นกิริยาแห่งช่างหม้อ จึงพูดเอาใจว่า อย่ากลัวเลยท่านอาจารย์ ท่านเป็นผู้มี
อุปการะแก่ข้าพเจ้ามาก กล่าวฉะนี้แล้วให้กหาปณะพันหนึ่งแก่ช่างหม้อ แล้ว
นั่งไปในรถทั้งตัวเปื้อนดินเหนียวเข้าไปสู่พระนคร อมาตย์ให้ทูลข่าวมาของ
มโหสถแด่พระราชา รับสั่งถามว่า ท่านพบมโหสถที่ไหน จึงกราบทูลว่า
มโหสถทำหม้อขายเลี้ยงชีพอยู่ ณ บ้านทักขิณยวมัชฌคาม ทราบว่ามีรับสั่ง
ให้มาเฝ้า ก็ยังหาอาบน้ำไม่ มีร่างกายเปื้อนดินเหนียวมาทีเดียว พระเจ้า-
วิเทหราชทรงดำริว่า ถ้ามโหสถเป็นศัตรูของเรา จะพึงเที่ยวอยู่ด้วยทำ

อิสริยศักดิ์ มโหสถนี้หาได้เป็นศัตรูของเราไม่ ทรงดำริฉะนั้นแล้วตรัสสั่งว่า
ท่านจงบอกแก่มโหสถบุตรของเราว่า จงไปเรือนของตนอาบน้ำตกแต่งกาย
แล้วมาตามทำนองเกียรติศักดิ์ที่เราให้ มโหสถได้สดับพระราชกระแส ก็ทำ
อย่างนั้นแล้วมาเฝ้า ได้พระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าแล้ว ก็ตรงเข้าไปถวายบังคม
พระราชา แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงปฏิสันถาร
มโหสถบัณฑิต เมื่อจะทรงทดลองมโหสถบัณฑิต จึงตรัสคาถานี้ว่า
ก็คนพวกหนึ่งไม่ทำความชั่ว ด้วยคิดว่าเราสบาย
อยู่แล้ว คนอีกพวกหนึ่งไม่ทำ เพราะเกรงเกี่ยวข้อง
ด้วยความติเตียน ก็เจ้าเป็นผู้สามารถ มีความคิด
เต็มเปี่ยม เหตุไรจึงไม่ทำความทุกข์แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขี หิ ความว่า แน่ะบัณฑิต ก็คน
บางพวกไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิสระยิ่ง ด้วยคิดว่า พวก
เรามีความสุข สมบูรณ์ด้วยอิสริยยศ พวกเราไม่ควรทำความชั่วด้วยเหตุเท่านี้
คนบางพวกไม่ทำความชั่วเพราะเกรงเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน ด้วยคิดว่า
คนมุ่งร้ายกล่าวติเตียนจักมีแก่เจ้านายผู้ให้ยศแก่เราเห็นปานนี้ บางคนมีปัญญา
น้อย แต่ตัวเจ้าเป็นผู้สามารถ มีความคิดเต็มเปี่ยม ถ้าต้องการก็ครองราช-
สมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ เหตุไรจึงไม่ชิงราชสมบัติ ไม่ทำความทุกข์แก่เรา.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า
บัณฑิตทั้งหลายไม่ประพฤติความชั่ว เพราะเหตุ
แห่งความสุขของตน อันความทุกข์กระทบแล้ว แม้
พลาดจากสมบัติก็สงบ ย่อมไม่ละธรรม เพราะรักและ
เพราะชัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขลิตาปิ ความว่า แม้เป็นผู้มีสภาพที่
พลาดจากสมบัติแล้วตั้งอยู่ในวิบัติ. บทว่า น ชหนฺติ ธมฺมํ ความว่า ย่อม
ไม่ละแม้ซึ่งธรรมคือประเพณี แม้ซึ่งธรรมคือสุจริต.
พระราชาเมื่อจะตรัสขัตติยมายาเพื่อทดลองมโหสถอีก จึงตรัสคาถา
นี้ว่า
บุคคลพึงถอนตนที่ต่ำช้า ด้วยเพศที่อ่อนหรือ
ทารุณอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ภายหลังจึงประพฤติ
ธรรมก็ได้มิใช่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีนํ ความว่า พึงถอนตนที่ต่ำช้า คือ
เข็ญใจขึ้นตั้งไว้ในสมบัติ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะแสดงอุปมาด้วยต้นไม้ แด่พระราชา
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึง
หักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็น
ผู้ชั่วช้า.

ก็แลครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนมิใช่ผู้ประทุษร้าย
มิตรแม้ในที่ทั้งปวงว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าว่าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้
บริโภค ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ จะกล่าวไปทำไม บุคคลผู้นี้ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ฆ่ามนุษย์ บิดาของข้าพระองค์ พระองค์ให้ดำรงอยู่ในอิสริยยศโอฬาร
และข้าพระองค์ พระองค์ก็ทรงอนุเคราะห์ ด้วยการอนุเคราะห์มาก เมื่อข้า-
พระองค์ทำร้ายในพระองค์ จะไม่พึงชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรได้อย่างไร
และเมื่อจะทูลท้วงโทษแห่งพระราชา จึงกล่าวคาถาว่า

นรชนรู้แจ้งซึ่งธรรมแต่ผู่ใด และสัตบุรุษเหล่าใด
บรรเทาเสียซึ่งความสงสัยอันเกิดขึ้นแก่นรชนนั้น
กิริยาของท่านผู้นั้นเป็นดังเกาะและเป็นที่พึ่งของนรชน
นั้น ผู้มีปัญญาไม่พึงยังไมตรีกับท่านผู้นั้นให้เสื่อม
สิ้นไป.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บุรุษพึงรู้ธรรม คือ
เหตุแม้มีประมาณน้อย แต่สำนักของอาจารย์ใด และสัตบุรุษเหล่าใดบันเทา
เสียซึ่งความสงสัยอันเกิดขึ้นแก่นรชนนั้น การการทำของท่านผู้นั้นเป็นดังเกาะ
และเป็นที่พึ่งเพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่งของนรชนนั้น บัณฑิตไม่พึงละ คือไม่
พึงยังมิตรภาพกับอาจารย์เช่นนั้นให้พินาศ.
บัดนี้ เมื่อจะถวายโอวาทพระราชา มโหสถบัณฑิตจึงกล่าว 2 คาถา
นี้ว่า
คฤหัสถ์บริโภความเป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี
บรรพชิตเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว ไม่ดี พระราชาผู้ไม่ทรง
พิจารณาก่อนจึงทรงราชกิจไม่ดีความโกรธของบัณฑิต
ผู้มักโกรธไม่ดี กษัตริย์ควรทรงพิจารณาก่อนทรงราช-
กิจ พระเจ้าแห่งทิศไม่ทรงพิจารณาก่อนไม่พึงทรง
ราชกิจ ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ทรง
พิจารณาก่อนจึงทรงบำเพ็ญราชกรณียกิจเป็นปกติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สาธุ ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์ คือไม่งาม.
บทว่า อนิสมฺมการี ได้แก่ ผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พิจารณา คือ

ไม่ทำให้ประจักษ์แก่ตนแล้วกระทำ. บทว่า ตํ น สาธุ ความว่า ความโกรธ
กล่าวคือความกำเริบแห่งอาชญา ด้วยอำนาจการยึดสิ่งที่ไม่ใช่ฐานะ ของบุคคล
ผู้เป็นบัณฑิตคือผู้มีปัญญานั้นไม่ดี. บทว่า ยโส กิตฺติญฺจ ความว่า อิส-
ริยยศ ปริวารยศ และเกียรติคุณ ย่อมเจริญโดยส่วนเดียว.
จบ ภูริปัญหา
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้าวิเทหราชจึงให้พระมหา-
สัตว์นั่ง ณ ราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร พระองค์เองประทับนั่ง ณ อาสนะต่ำ
ตรัสว่า พ่อบัณฑิต เทวดาผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรถามปัญหา 4 ข้อกะเรา
แต่เราไม่รู้ปัญหา 4 ข้อนั้น อาจารย์ 4 คนก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เจ้าจงกล่าว
แก้ปัญหา 4 ข้อนั้นแก่เรา มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เทวดา
ผู้สิงอยู่ ณ เศวตฉัตรก็ยกไว้เถิด หรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ก็ยก
ไว้เถิด ข้าพระองค์อาจกล่าวแก้ปัญหาที่ผู้ใดผู้หนึ่งถาม ขอพระองค์ตรัสปัญหา
4 ข้อที่เทวดาถามเถิด พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสตามทำนอง
ที่เทวดาถาม จึงตรัสคาถาเป็นปฐมว่า
บุคคลประหารร่างกายผู้อื่นด้วยมือทั้งสอง หรือ
ด้วยเท้าทั้งสอง และเอามือประหารปากผู้อื่น บุคคล
นั้นกลับเป็นที่รักแห่งผู้ต้องประหาร เพราะฉะนั้น
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นที่รักนั้นได้แก่ใคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺติ แปลว่า ย่อมประหาร. บทว่า
ปริสุมฺภติ แปลว่า ย่อมประหารเหมือนกัน. บทว่า สเว ราช ปิโย โหติ
ความว่า บุคคลนั้นเมื่อกระทำอย่างนั้น ย่อมเป็นที่รัก. บทว่า กนฺเตนมภิปสฺสสิ
ความว่า เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นบุคคลผู้เป็นที่รักได้แก่คนไหน เทวดา
ถามปัญหานั้นอย่างนี้.

พอพระมหาสัตว์ได้สดับปัญหาเท่านั้น เนื้อความแห่งปัญหานั้นก็
ปรากฏเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏในท้องฟ้า ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูล
เตือนพระราชาให้คอยทรงสดับแล้ว จึงกล่าวแก้เทวปัญหาทำให้ปรากฏประหนึ่ง
ผู้มีฤทธิ์ชูดวงอาทิตย์ขึ้นไปกลางหาวฉะนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อใด
เด็กน้อยนอนบนตักมารดา ก็ร่าเริงยินดีเล่นประหารมารดาด้วยมือและเท้า
ถอนผมมารดา เอามือประหารปากมารดา เมื่อนั้นมารดาก็กล่าวคำดังนี้เป็นต้น
กับบุตรนั้นด้วยอำนาจความรักว่า แน่ะอ้ายลูกประทุษร้าย อ้ายโจร เองประ-
หารข้าอย่างนี้ได้หรือ กล่าวฉะนี้แท้ก็ไม่อาจจะกลั้นความรักไว้ ก็สวมกอด
ให้นอนระหว่างกัน จูบศีรษะ บุตรนั้น เป็นที่รักแห่งมารดาในกาลนั้น ฉันใด
ก็เป็นที่รักแห่งบิดาในกาลนั้น ฉันนั้น เทวดาได้สดับอรรถาธิบายของพระ-
โพธิสัตว์ ก็เผยกำพูฉัตรออกมาสำแดงกายกึ่งหนึ่งให้ปรากฏ ให้สาธุการด้วยเสียง
อันไพเราะว่า โอ บัณฑิตกล่าวแก้ปัญหาถูกดีแล้วหนอ แล้วบูชาพระมหาสัตว์
ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ อันบรรจุเต็มในผอบแก้ว แล้วอันตรธาน
หายไป แม้พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยบุปผชาติเป็นต้น แล้ว
ตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาข้ออื่นต่อไป ครั้น ได้ทรงรับให้ตรัสถาม จึงตรัส
คาถาที่ 2 ว่า
บุคคลด่าผู้อื่นตามความใคร่ แต่ไม่อยากให้ผู้ถูก
ด่านั้นถึงภยันตราย บุคคลผู้ถูกด่านั้นย่อมเป็นที่รักของ
ผู้ด่า เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นใครว่าเป็นที่รัก
แห่งผู้ด่า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อธิบายปัญหาที่ 2 นั้นว่า ข้าแต่พระมหา-
ราชเจ้า มารดาสั่งบุตรอายุ 7 - 8 ขวบ ผู้สามารถจะทำตามสั่งได้ว่า แน่ะพ่อ
เจ้าจงไปนา เจ้าจงไปร้านตลาด ดังนี้เป็นต้น กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าแม่

ให้ของเคี้ยวของกินนี้ด้วย ๆ แก่ลูก ลูกจักไป ครั้นมารดากล่าวว่า เอาซิพ่อ
ก็เคี้ยวกินของกินแล้วบ้วนปาก ยืนอยู่ที่ประตูเรือน หาไปนาไม่ เล่นเสียกับ
หมู่เด็ก หาทำตามสั่งของมารดาไม่ ครั้นมารดาบังคับให้ไปก็กล่าวว่า แน่ะแม่
แม่นั่งยืนที่เงาเรือนเย็น ลูกจะทำตามคำสั่งของแม่ภายนอกอย่างไรได้ดังนี้เป็นต้น
ครั้นมารดากล่าวว่า เองลวงข้า ก็แสดงมือและปากแปลก ๆ แล้ว หนีไป มารดา
เห็นบุตรหนีก็ขัดเคือง ถือไม้ไล่ตาม เมื่อไม่ทันบุตรก็คุกคามว่า อ้ายคนชั่ว
อ้ายโจร เองกินของกินของข้าแล้วไม่ปรารถนาจะทำอะไร ๆ ที่นา หยุดก่อน ๆ
แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า เองไปเถิดอ้ายถ่อย พวกโจรจงตัดมึงให้เป็นชิ้นน้อย
ชิ้นใหญ่ ด่าบริภาษตามความใคร่ตามอัธยาศัย ก็แต่กาลใดปากกล่าวอะไร ๆ
ออกไป กาลนั้นใจก็ไม่ปรารถนาซึ่งความมีมาแห่งภยันตรายแม้หน่อยหนึ่งแก่
บุตร ฝ่ายทารกเล่นกับพวกทารกตลอดวัน ไม่อาจจะเข้าบ้านเวลาเย็น ก็ไป
สำนักหมู่ญาติ ฝ่ายมารดาเมื่อแลดูหนทางที่บุตรจะกลับมา เห็นบุตรที่รักยังไม่
กลับบ้าน ก็มีหัวใจเต็มไปด้วยความโศกว่า ชะรอยลูกของเราจะไม่อาจเข้าบ้าน
มีน้ำตาไหลอาบหน้า ไปค้นหาที่เรือนญาติ เห็นบุตรที่รักก็สวมกอดจูบที่ศีรษะ
เอามือทั้งสองจับบุตรให้นั่งกล่าวว่า พ่อลูกรัก อย่าเอาถ้อยคำของแม่จดไว้ใน
ใจเลย กล่าวฉะนี้ก็ยังความรักให้เกิดขึ้นอย่างเหลือเกิน ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
บุตรชื่อว่าเป็นที่รักยิ่งในกาลเมื่อมารดาโกรธ ด้วยประการฉะนี้ เทวดาได้สดับ
ก็บูชาพระมหาสัตว์เหมือนคราวที่แล้วมา ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชก็ทรงบูชาพระ-
มหาสัตว์เหมือนคราวที่แล้ว แล้วตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาที่ 3 ครั้นได้
ทรงรับให้ตรัสถาม จึงตรัสคาถาที่ 3 ว่า
บุคคลกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แล้วท้วงกันด้วยคำ
เหลาะแหละ บุคคลนั้นย่อมเป็นที่รักแห่งกัน ด้วย
เหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นว่า ได้แก่ใคร.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลแก้ปัญหานั้นแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า เมื่อใดภรรยาและสามี 2 คนอยู่ในที่ลับเล่นกันด้วยความเสนหา
ตามความยินดีของโลก แล้วกล่าวตู่กันและกันด้วยคำไม่จริงอย่างนี้ว่า ความรัก
ในเราย่อมไม่มีแก่ท่าน ได้ยินว่า ใจของท่านไปภายนอกแล้ว แล้วท้วงกันด้วย
คำเหลาะแหละ เมื่อนั้นภรรยาและสามีทั้ง 2 นั้น ก็รักกันเหลือเกิน ขอพระองค์
ทรงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้น ด้วยประการฉะนี้ เทวดาได้สดับแล้วก็บูชา
พระโพธิสัตว์เหมือนดังก่อนอีก ฝ่ายพระราชาก็ทรงบูชาพระมหาสัตว์โดยนัย
หนหลัง แล้วตรัสวิงวอนให้กล่าวแก้ปัญหาข้ออื่นอีก ครั้นได้รับให้ตรัสถาม
จึงตรัสคาถาที่ 4 ว่า
บุคคลนำข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะไปซื่อว่า
ผู้นำไปมีอยู่โดยแท้ บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นที่รักแห่ง
ผู้เป็นเจ้าของข้าวน้ำเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์
ทรงเห็นว่า ได้แก่ใคร.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อธิบายแก้เนื้อความแห่งปัญหาถวายพระราชา
ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ปัญหานี้เทวดากล่าวหมายเอาสมณะและพราหมณ์ผู้
ประพฤติธรรม จริงอยู่ สกุลทั้งหลายผู้มีศรัทธาเชื่อโลกนี้และโลกหน้าจึงบริจาค
ทานและใคร่จะให้อีก สกุลเหล่านั้นเห็นสมณะและพราหมณ์เห็นปานดังนั้น ขอ
ข้าวน้ำเป็นต้นไปก็ดี นำข้าวน้ำเป็นต้นที่ได้แล้วไปบริโภคก็ดี ก็เลื่อมใสรักใคร่
ในสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเหลือเกิน ด้วยเห็นว่า สมณะและพราหมณ์
เหล่านี้ขอข้าวน้ำเป็นต้นของเรา บริโภคข้าวน้ำเป็นต้นเป็นของของเราทั้งนั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้นำไป คือเป็นผู้ขอโดย
ส่วนเดียว แลเป็นผู้น้ำข้าวและน้ำเป็นต้นที่ได้แล้วไปโดยแท้ ชื่อว่าเป็นผู้เป็น
ที่รักของเจ้าของข้าวน้ำเป็นต้น ก็ในเมื่อปัญหานี้อันมโหสถกล่าวแล้ว เทวดา

ก็บูชาเหมือนอย่างนี้ แล้วกระทำสาธุการแล้วซัดผอบอันเต็มด้วยรัตนะ 7
ประการมาแทบเท้าแห่งมโหสถแจ้งว่า ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ท่านจงรับผอบ
เต็มด้วยรัตนะ 7 ประการ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชโปรดปรานเลื่อมใสในมโหสถ
เป็นอย่างยิ่ง ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เขา จำเดิมแต่นั้นมา พระ-
มหาสัตว์ได้มียศใหญ่.
จบเทวปัญหา
บัณฑิตทั้ง 4 เหล่านั้นปรึกษากันอีกว่า บัดนี้ มโหสถบุตรคฤหบดี
มียศใหญ่นัก เราจักทำอย่างไรดี ลำดับนั้น เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตทั้งสามว่า
การที่เขามียศใหญ่นั้นยกไว้เถิด เราเห็นอุบายแล้ว เราทั้ง 4 จักไปหามโหสถ
ถามว่า ควรบอกความลับแก่ใคร ถ้าเขาจักบอกว่า ไม่ควรบอกแก่ใครไซร้
เราทั้งหลายจักทูลยุยงพระราชาว่า คฤหบดีบุตรผู้มีนามว่ามโหสถเป็นข้าศึกของ
พระองค์ บัณฑิตทั้ง 3 เห็นชอบด้วย บัณฑิตทั้ง 4 เหล่านั้น จึงไปเรือนมโห-
สถทำปฏิสันถารแล้วกล่าวว่า แน่ะบัณฑิต เราทั้ง 4 ใคร่จะถามปัญหาท่าน
ครั้นมโหสถให้ถาม เสนกะจึงถามว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิตควรทั้งอยู่ในธรรม
อะไร มโหสถตอบว่า ควรตั้งอยู่ในความจริง เสนกะถามว่า ผู้ตั้งอยู่ในความ
จริงแล้วควรทำอะไร มโหสถตอบว่า ควรให้ทรัพย์สมบัติเกิดขึ้น เสนกะถามว่า
ให้ทรัพย์สมบัติเกิดแล้ว ควรทำอะไร มโหสถตอบว่า ควรคบมิตร เสนกะ
ถามว่า คบมิตรแล้วควรทำอะไรต่อไป มโหสถตอบว่า ควรเรียนความคิดอ่าน
จากมิตร เสนกะถามว่า เรียนความคิดอ่านจากมิตรแล้วควรทำอะไรอีก มโห-
สถตอบว่า การได้ความคิดอ่านจากมิตรนั้น ถ้าเป็นความลับ ไม่ควรบอก
ความลับของตนแก่ใคร บัณฑิตทั้ง 4 ก็รับว่าดีแล้ว แล้วลากลับ เป็นผู้มีจิต
ยินดีคิดว่า บัดนี้เราทั้ง 4 เห็นหลังมโหสถละ แล้วไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถเป็นกบฏต่อพระองค์ พระเจ้าวิเทหราชตรัส
ห้ามว่า เราไม่เชื่อท่านทั้งหลาย มโหสถจักไม่เป็นกบฏต่อเรา บัณฑิตทั้ง 4
จึงกราบทูลว่า จริงนะพระเจ้าข้า ขอได้ทรงเชื่อ ก็ถ้าไม่ทรงเชื่อจงตรัสถามเขา
ดูว่า ความลับของเขา เขาไม่ควรบอกแก่ใคร ถ้าเขาจักไม่เป็นกบฏต่อพระองค์
เขาจักทูลว่า ควรบอกแก่คนชื่อนั้น ถ้าเขาจักเป็นกบฏต่อพระองค์ เขาจักทูลว่า
ไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ในเมื่อความปรารถนาสำเร็จจึงควรบอก ในกาลนั้น
พระองค์จักทรงเชื่อข้าพระองค์หมดสงสัย พระราชาทรงรับจะทดลอง วันหนึ่ง
เมื่อบัณฑิตทั้ง 5 มาพร้อมกัน จึงตรัสคาถานี้ในปัญจปัณฑิตปัญหา ในวีสติ-
นิบาตว่า
ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง 5 มาพร้อมกัน
แล้ว บัดนี้ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟัง
ปัญหานั้น บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน
หรือควรสรรเสริญ อันเป็นข้อความลับแก่ใคร.

ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว เสนกะคิดว่า เราจักให้พระราชา
เข้าอยู่ในพวกเราด้วย จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยแก่
เหล่าข้าพระองค์ก่อน พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยง เป็นผู้
ทรงอดทนต่อราชกรณียะอันหนัก จงตรัสก่อน ข้าแต่
พระจอมประชากร เหล่าข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์
ทั้ง 5 จักพิจารณาสิ่งพระองค์พอพระราชหฤทัยและ
เหตุเป็นที่ชอบด้วยพระอัธยาศัย แล้วกราบทูลภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺตา ความว่า พระองค์เป็นผู้ซุบเลี้ยง
เหล่าข้าพระองค์ และเป็นผู้ทรงอดทนต่อพระราชภารกิจที่เกิดขึ้น ขอพระองค์
โปรดตรัสข้อนั้นก่อนเถิด. บทว่า ตว ฉนฺทรุจีนิ ความว่า บัณฑิต 5 คน
เหล่านั้นพิจารณาสิ่งที่พระองค์พอพระราชหฤทัย และเหตุเป็นที่ชอบด้วยพระ-
อัธยาศัยแล้ว จักกราบทูลในภายหลัง.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสคาถานี้ ด้วยความเป็นผู้เป็นไปในอำนาจ
กิเลสของพระองค์ว่า
ภรรยาใดมีศีลาจารวัตร ไม่ให้ผู้อื่นลักสัมผัส
คล้อยตามอำนาจความพอใจของภัสดา เป็นที่รักเป็นที่
เจริญใจ สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือ
ควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่ภรรยา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺญเถยฺยา ความว่า อันผู้อื่นไม่พึง
จับต้องด้วยอำนาจกิเลส.
แต่นั้นเสนกะยินดีว่า บัดนี้เราทั้งหลายยังพระราชาให้เข้าในพวกเรา
ได้แล้ว เมื่อจะแสดงเหตุการณ์ที่ตนทำไว้เอง จึงกล่าวคาถานี้ว่า
สหายใดเป็นที่ระลึก เป็นที่ถึง เป็นที่พึ่งของ
บุคคลผู้ถึงความทุกข์ เดือดร้อนอยู่ บุคคลควรเปิดเผย
ข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น
ความลับ แก่สหายนั้นเทียว.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า แน่ะอาจารย์ปุกกุสะ ท่านเห็น
อย่างไร ความลับของตนควรบอกแก่ใคร ปุกกุสะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถา
นี้ว่า

พี่น้องชายใด ผู้เป็นพี่ใหญ่หรือพี่กลางหรือน้อง
ถ้าว่าพี่น้องชายนั้นตั้งอยู่ในศีล เสพสิ่งที่ควรเสพ
บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรร
เจริญ อันเป็นความลับ แก่พี่น้องชายนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฐิตตฺโต ความว่า ดำรงสภาวะไว้ได้
คือเป็นผู้มีการเสพผิดออกแล้ว.
แต่นั้น พระราชาตรัสถามกามินทะว่า แน่ะอาจารย์กามินทะ ท่านเห็น
อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร กามินทะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถานี้ว่า
บุตรใดดำเนินตามใจบิดา เป็นอนุชาตมีปัญญา
ไม่ทรามกว่าบิดา บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควร
ติเตียนหรือควรสรรเสริญอันเป็นความลับแก่บุตรนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺถคู ได้แก่ ผู้ทำตามถ้อยคำ อธิบายว่า
บุตรที่ทำตามใจของเรา คือเป็นไปในอำนาจจิตของบิดา เป็นผู้อดทนต่อโอวาท.
บทว่า อนุชาโต ความว่า บุตรมี 3 ประเภท คือ อภิชาต 1 อนุชาต 1
อวชาต 1 บุตรผู้ยังยศที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อภิชาต บุตรที่เป็นเชื้อสาย
ของสกุล เป็นผู้ตัดวงศ์สกุล ทำทรัพย์ให้พินาศ ชื่อว่า อวชาต บุตรผู้รักษา
แบบแผนของสกุล ประเพณีของสกุลไว้ได้ ชื่อ อนุชาต อาจารย์กามินทะ
กล่าวอย่างนี้หมายถึงอนุชาตบุตรนั้น.
แต่นั้น พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า แน่ะอาจารย์เทวินทะ ท่านเห็น
อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร เทวินทะเมื่อจะกราบทูลเหตุการณ์ที่ตนทำไว้
จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ประเสริฐที่สุดแห่ง-
มนุษยนิกร มารดาใดเลี้ยงบุตรด้วยความพอใจรักใคร
บุตรควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียนหรือควรสรร-
เสริญ อันเป็นความลับ แก่มารดานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวิปทชนินฺทเสฏฺฐ ได้แก่ จอม
ประชากรผู้ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า ฉนฺทสา ปิเยน ได้แก่
ด้วยความพอใจและด้วยความรัก.
พระราชาครั้น ตรัสถามอาจารย์ 4 คนเหล่านั้น ซึ่งกล่าวตอบไปอย่าง
นี้แล้ว จึงตรัสถามมโหสถบัณฑิตว่า เจ้าเห็นอย่างไร พ่อบัณฑิต ความลับ
ควรบอกแก่ใคร มโหสถบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลเหตุแห่งความลับ จึงกล่าว
คาถานี้ว่า
การช่อนความลับไว้นั่นแลเป็นการดี การเปิด-
เผยความลับไม่ดีเลย บุคคลผู้มีปรีชา เมื่อความปรา-
รถนายังไม่สำเร็จก็พึงกลั้นไว้ เมื่อความปรารถนา
สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิปฺผนฺนาย ความว่า ได้แก่พระ-
มหาราชเจ้า สิ่งที่คนปรารถนายังไม่สำเร็จเพียงใด บัณฑิตพึงอดกลั้นไว้ ไม่พึง
แจ้งแก่ใคร ๆ เพียงนั้น.
เมื่อมโหสถบัณฑิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงเสียพระทัย
เสนกะแลดูพระพักตร์พระราชา พระราชาก็ทอดพระเนตรหน้าเสนกะ มโหสถ
บัณฑิตเห็นกิริยาแห่งเสนกะและพระราชา ก็รู้ว่า อาจารย์ทั้ง 4 นี้ได้ยุยงใน
ระหว่างเราและพระราชาไว้ก่อนแล้ว พระราชาตรัสถามปัญญาเพื่อทดลองเรา
เมื่อพระราชาและราชบริษัทเจรจากันอยู่ ดวงอาทิตย์อัสดงคต เจ้าหน้าที่ตาม

ประทีป มโหสถดำริว่า ขึ้นชื่อว่าราชการเป็นของหนักย่อมไม่ปรากฏ ใครจะ
รู้เรื่อง อะไรจักมี เราควรรีบกลับเสียก่อน ดำริฉะนี้จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคม
พระราชาออกไป คิดว่า ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่สหาย ผู้หนึ่งกล่าว
ว่าควรบอกความลับแก่พี่น้องชาย ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่บุตร
ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่มารดา เราสำคัญว่า กิจนี้จักเป็นของตน
เหล่านี้ได้ทำแล้วแน่ คนเหล่านี้คงกล่าวถึงกิจที่ตนเห็นแล้ว จงยกไว้เถิด เรา
จักรู้เหตุนี้ ในวันนี้ ฝ่ายราชบัณฑิตทั้ง 4 ออกจากราชสำนักแล้ว ในวัน
อื่น ๆ เคยนั่งที่หลังถังข้าวถังหนึ่งใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ ปรึกษากันถึง
กรณียกิจแล้วจึงกลับไปบ้าน เพราะเหตุนั้น มโหสถจึงดำริว่า วันนี้ เรา
นอนอยู่ภายใต้ถังข้าว ก็สามารถจะรู้ความลับของอาจารย์ทั้ง 4 นั้น จึงให้คน
ใช้ยกถังข้าวนั้นแล้วให้ลาดเครื่องลาด แล้วเข้าอยู่ภายใต้ถังข้าวนั้น แล้วให้
สัญญาแก่คนใช้ว่า ในเมื่ออาจารย์ทั้ง 4 หานั่งปรึกษากันลุกไปแล้ว พวกเจ้า
จงมานำข้าวออก คนใช้เหล่านั้นรับคำสั่งแล้วหลีกไป ฝ่ายอาจารย์เสนกะทูล
พระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อข้าพระบาทหรือ บัดนี้ข้อความนั้น
เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า พระราชาทรงสดับคำของพวกอาจารย์ผู้ยุยง ก็หาได้
ทรงพิจารณาไม่ เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย จึงตรัสถามว่า แน่ะท่าน
เสนกะบัณฑิต บัดนี้เราจักทำประการไร เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ควรที่พระองค์จะไม่ชักช้า อย่าทันให้มโหสถรู้ตัว แล้วฆ่าเสีย พระราชาตรัส
ว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ยกท่านเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญแก่
เราย่อมไม่มี ท่านจงชวนสหายของท่านคอยอยู่ที่ภายในประตู เมื่อมโหสถบุตร
คฤหบดีมาสู่ราชสำนักแต่เช้า จงตัดศีรษะเสียด้วยพระแสงขรรค์ ดำรัสสั่ง
ฉะนี้แล้ว พระราชทานพระแสงขรรค์รัตนะที่ทรง อาจารย์ทั้ง 4 นั้นกราบทูล

ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ขอพระองค์อย่าทรงเกรงกลัวเลย พวกข้าพระบาทจักฆ่า
มโหสถนั้นเสียให้จงได้ ทูลฉะนี้แล้วออกมานั่งที่หลังถังข้าว รำพึงกันว่า พวก
เราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว แต่นั้นเสนกะจึงเอ่ยขึ้นว่า ใครจักฆ่ามโหสถ
อาจารย์ทั้ง 3 จึงตอบว่า ท่านอาจารย์นั่นแลจักฆ่าได้ แล้วทำกิจนั้นให้เป็น
ภาระของเสนกะนั้นผู้เดียว ลำดับนั้น เสนกะจึงถามอาจารย์ทั้ง 3 ว่า ท่าน
ทั้ง 3 กล่าวว่า ชื่อว่าความลับควรบอกแก่บุคคลชื่อโน้น ๆ ดังนี้ กิจนั้นท่าน
ทั้ง 3 ได้ทำแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือได้สดับแล้วอย่างไร ลำดับนั้น อาจารย์
ทั้ง 3 กล่าวกะเสนกะว่า ข้าแต่อาจารย์ กิจที่ท่านกล่าวว่า ความลับควรบอก
แก่สหายนั้นเป็นของปรากฏแล้ว กิจนั้นท่านทำแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือ
ได้ฟังแล้วอย่างไรเล่า กิจนั้นเราได้ทำเอง ข้าแต่อาจารย์ ถ้ากระนั้น ท่านจง
กล่าวให้ทราบ ความลับนี้พระราชาทรงทราบแล้ว ชีวิตของเราจะไม่มี ข้า
แต่อาจารย์ ท่านอย่ากลัวเลย บุคคลผู้ทำลายความลับของเราทั้งหลายในที่นี้
ไม่มี ขอจงกล่าวให้ทราบเถิด เสนกะเอาเล็บเคาะถังข้าวว่า มโหสถอยู่ใต้ถัง
ข้าวนี้กระมัง อาจารย์ทั้ง 3 ตอบว่า มโหสถเป็นคนเอาอิสริยยศ คงไม่เข้า
ไปอยู่ในที่เช่นนี้ บัดนี้จักเป็นคนเมายิ่งด้วยศีล ท่านเห็นซึ้งไปได้ ฝ่ายเสนกะ
เมื่อจะบอกความลับของคน จึงกล่าวว่า ท่านทั้ง 3 รู้จักหญิงแพศยาชื่อโน้น
ในนครนี้หรือ ข้าพเจ้าทั้ง 3 ทราบ บัดนี้นางคนนั้นยังปรากฏอยู่หรือหายไป
ไม่พบเลย ท่านอาจารย์ เสนกะจึงแจ้งว่า เราทำกิจของบุรุษกับด้วยนางคน
นั้นในสวนไม้รัง แล้วยังนางคนนั้นให้ตายด้วยโลภในเครื่องประดับ แล้วนำ
เครื่องประดับของนางนั้นมาห่อด้วยผ้าสาฎก แล้วแขวนไว้บนไม้รูปเหมือนงา
ช้างในห้องเรือนของเรา เรายังไม่อาจจะใช้เครื่องประดับนั้น เห็นความที่
เครื่องประดับนั้นเป็นของเก่า เราทำความผิดพระราชกำหนดอย่างนี้ ได้บอก

แก่สหายคนหนึ่ง สหายคนนั้นมิได้บอกแก่ใคร ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า เรา
ได้บอกความลับแก่สหาย มโหสถเริ่มตั้งใจกำหนดความลับของเสนกะไว้เป็น
อย่างดี ฝ่ายปุกกุสะเมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า โรคเรื้อนมีที่ขา
ของข้าพเจ้า น้องชายน้อยของข้าพเจ้าเท่านั้นรู้ ข้าพเจ้าไม่ให้ใคร ๆ รู้ ชำระ
แผลนั้นทายา พันผ้าทับแผล พระราชามีพระหฤทัยกรุณาในข้าพเจ้า ตรัส
เรียกข้าพเจ้าว่า ปุกกุสะจงมา แล้วบรรทมที่ขาของข้าพเจ้าบ่อย ๆ ก็ถ้าราชาทรง
ทราบเรื่องนี้ พึงประหารชีวิตข้าพเจ้า ยกน้องชายน้อยคนนั้นของข้าพเจ้าเสีย
คนอื่นไม่รู้เลย ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่น้อง
ชายน้อย ฝ่ายกานินทะเมื่อจะแสดงความลับของตนจึงกล่าวว่า ในวันอุโบสถข้าง
แรม ยักษ์ชื่อนรเทวะ มาสิงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ร้องดุจสุนัขบ้าร้อง ข้าพเจ้าได้แจ้ง
เนื้อความนี้แก่บุตร บุตรของข้าพเจ้ารู้ว่ายักษ์มาสิงข้าพเจ้า ก็ให้ข้าพเจ้านอนใน
ห้องข้างใน ปิดประตู ออกไปให้มีมหรสพที่ประตู เพื่อกลบเสียงของข้าพเจ้า
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่บุตร แต่นั้นอาจารย์ทั้ง
3 จึงถามเทวินทะ เทวินทะเมื่อจะกล่าวความลับของตน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ทำการขัดสีแก้วมณี มีแก้วมณีเป็นมงคล เป็นที่เข้าอยู่แห่งสิริ เป็นของหลวง
ซึ่งท้าวสักกเทวราชประทานพระเจ้ากุสราชไว้ ข้าพเจ้าลักเอามงคลมณีรัตน์นั้น
มาให้มารดา มารดานั้นไม่ให้ใครรู้ ถึงเวลาข้าพเจ้าจะเข้าเฝ้าพระราชา ก็ให้มงคล
มณีรัตน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังสิริให้อยู่ในตัวข้าพเจ้าด้วยอำนาจแห่งมงคลมณี-
รัตน์นั้น จึงเข้าไปสู่ราชสำนัก พระราชาได้ตรัสแก่ท่านทั้งหลายตรัสกับข้าพเจ้า
ก่อนกว่าใคร ๆ แล้วพระราชทานกหาปณะ 8 กหาปณะบ้าง 16 กหาปณะบ้าง
32 กหาปณะบ้าง 64 กหาปณะบ้าง แก่ข้าพเจ้าเพื่อเป็นเสบียงได้เลี้ยงชีพ
ทุกวัน ถ้าพระราชาทรงทราบอานุภาพมณีรัตน์นั้นไซร้ ชีวิตของข้าพเจ้าก็จะ
ไม่รอดอยู่ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่มารดา

พระมหาสัตว์ได้ทำความลับของอาจารย์ทั้ง 4 ให้ประจักษ์ ก็อาจารย์ทั้ง 4 นั้น
แจ้งความลับแก่กันแลกัน ราวกะบุคคลผ่าอกของตนแผ่อวัยวะภายในออกมา
ภายนอก แล้วเตือนกันว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาท มาช่วยกัน ฆ่ามโหสถ
บุตรคฤหบดีแต่เช้า กำชับกันดังนี้แล้วต่างลุกขึ้นหลีกไป ในกาลเมื่ออาจารย์
ทั้ง 4 ไปแล้ว คนใช้ของมโหสถที่นัดหมายกันไว้ ก็มายกถังข้าวพาพระ-
มหาสัตว์ออกหลีกไป พระโพธิสัตว์กลับถึงเคหสถาน อาบน้ำแต่งกายบริโภค
โภชนาหารแล้วรู้ว่า วันนี้พระนางอุทุมพรเทวีผู้เชษฐภคินีของเรา คงประทาน
ข่าวมาแต่พระราชวัง จึงวางบุรุษพิเศษไว้ที่ประตูสั่งว่า เจ้าจงให้คนมาแต่
พระราชวังเข้ามา แล้วบอกแก่เราโดยเร็ว ก็แลครั้นสั่งฉะนั้นแล้ว ก็นอน ณ ที่
นอนมีสิริ.
ขณะนั้น พระเจ้าวิเทหราชบรรทม ณ ที่บรรทมอันมีสิริ ทรงอนุสรณ์
ถึงคุณของมโหสถว่า มโหสถบัณฑิตบำรุงเรามาตั้งแต่เขามีอายุได้ 7 ปี ไม่ได้
ทำความเสียหายหน่อยหนึ่งแก่เรา เมื่อเทวดาถามปัญหา ถ้าจักไม่มีมโหสถไซร้
ชีวิตของเราก็จะไม่พึงมี เรามาถือเอาคำของปัจจามิตรผู้มีเวร แล้วกล่าวสั่งว่า
ท่านทั้งหลายจงฆ่ามโหสถผู้มีธุระหาผู้เสมอมิได้ ฉะนี้แล้วให้พระขรรค์ เป็น
อัน ว่าเราทำสิ่งที่ไม่ควรทำ บัดนี้แต่พรุ่งนี้ไป เราจักไม่ได้เห็นมโหสถอีก ทรง
รำพึงฉะนี้ก็ยังความโศกให้เกิดขึ้น พระเสโทไหลโซมพระกาย พระราชานั้น
เต็มไปด้วยความโศกก็ไม่ทรงได้ความผ่องใสแห่งพระมนัส พระนางอุทุมพร-
เทวีเสด็จไปบรรทมร่วมกับพระราชสามี ทอดพระเนตรเห็นพระอาการของ
พระราชสาม ทรงดำริว่า เป็นไฉนหนอ ความผิดอย่างไรของเรามีอยู่ หรือ
เหตุการณ์แห่งความโศกอย่างไรอื่นเกิดขึ้นแก่พระองค์ เราจักทูลพระองค์ก่อน
เมื่อจะทูลถาม จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์เป็นผู้
มีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ ข้าแต่พระจอมประ-
ชากร ข้าพระบาทจะฟังพระดำรัสข้อนั้นของพระองค์
พระองค์ทรงพระดำริอย่างไรหรือจึงทรงโสมนัส ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ความผิดของข้าพระบาทไม่
มีเลยหรือ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถาตอบพระนางว่า
มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า เพราะมโหสถผู้มี
ปัญญาดังแผ่นดิน เราบังคับสั่งเพื่อฆ่าแล้ว เราคิดถึง
เรื่องนั้น จึงเป็นผู้โทมนัส แน่พระเทวี ความผิดของ
เธอไม่มีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาณตฺโต เม ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ
บัณฑิตทั้ง 4 บอกแก่เรา มโหสถบัณฑิตเป็นศัตรูของเรา เราไม่ได้พิจารณา
โดยถ่องแท้ สั่งฆ่ามโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดินว่า พวกท่านจงฆ่าเขาเสีย เมื่อ
เราคิดถึงการณ์นั้น จึงมีความโทมนัสว่า เราตายเสียดีกว่ามโหสถบัณฑิตตาย.
ความโศกสักเท่าภูเขาเกิดขึ้นแก่พระนางอุทุมพร ด้วยความรักใน
พระมหาสัตว์ เพราะได้ทรงสดับพระราชาตรัสฉะนั้น แต่นั้นพระนางจึงทรง
คิดว่า เราจักยังพระราชาให้ทรงอุ่นพระหฤทัยด้วยอุบายหนึ่ง ในกาลเมื่อ
พระราชาบรรทมหลับ เราจักส่งข่าวไปยังมโหสถผู้กนิษฐภาดาของเรา ลำดับ
นั้น พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์
ผู้ยังมโหสถให้ดำรงอยู่ในอิสริยยศใหญ่ ภายหลังมาทรงทำการดังนี้แก่เขาจะ
เป็นไรไป แล้วทูลเล้าโลมพระราชาว่า พระองค์ทรงสถาปนามโหสถในตำแหน่ง

เสนาบดี ได้ยินว่า บัดนี้เธอคิดกบฏต่อพระองค์ ก็บุคคลผู้ปัจจามิตร มิใช่
เป็นคนเล็กน้อยเลย พระองค์ควรประหารชีวิตเขาเสียทีเดียว ขอพระองค์อย่า
ทรงพระวิตกเลย พระราชามีความโศกเบาบางก็หยั่งลงสู่นิทรารมณ์ ขณะนั้น
พระราชเทวีเสด็จลุกขึ้นเข้าสู่ห้อง ทรงพระอักษรมีความว่า ดูก่อนมโหสถ
บัณฑิตทั้ง 4 ทำลายเธอให้แตกกับพระราชา พระราชากริ้ว ตรัสสั่งบัณฑิต
ทั้ง 4 ให้ฆ่าเธอที่ประตูพระราชวังเวลาพรุ่งนี้ พรุ่งนี้เธออย่ามาสู่ราชสำนัก
ถ้าจะมาก็พึงเป็นผู้สามารถทำชาวพระนคร ให้อยู่ในเงื้อมมือเธอแล้วพึงมา
ทรงพระอักษรมีความฉะนี้แล้วสอดเข้าในห่อ เอาด้ายพันห่อแล้ว วางใน
สุพรรณภาชน์ใหม่ปิดฝาประทับพระลัญจกรประทานแก่นางข้าหลวงผู้ประพฤติ
ประโยชน์ตรัสสั่งว่า เจ้าจงนำห่อนี้ไปให้แก่มโหสถบัณฑิตผู้น้องชายน้อยของ
เรา นางข้าหลวงได้ทำตามคำสั่ง อันใคร ๆ ไม่ควรคิดว่า ทำไมนางข้าหลวง
ออกจากดำหนักข้างในในเวลากลางคืนได้ เพราะว่าพระราชาพระราชทานพร
แก่พระนางไว้ก่อนแล้ว ให้พระนางใช้ใครนำของเสวยอันมีรสออกไปให้มโหสถ
ได้ตามประสงค์ เพราะฉะนั้นใคร ๆ จึงไม่ห้ามนางข้าหลวงนั้น พระโพธิสัตว์
รับพระสุพรรณภาชน์แล้วให้นางข้าหลวงนั้นกลับ นางข้าหลวงก็ลากลับมาทูล
ความที่ตนให้พระสุพรรณภาชน์แก่มโหสถแล้วแด่พระนาง ขณะนั้นพระนาง
จึงเสด็จมาบรรทมกับพระราชสามี ฝ่ายพระโพธิสัตว์แก้ห่อหนังสือออกอ่าน
รู้ความนั้นแล้ว จัดกิจที่จะพึงทำแล้วเข้านอน ฝ่ายอาจารย์ทั้ง 4 ถือพระ-
แสงขรรค์ยืนอยู่ภายในประตูวังแต่เช้า เมื่อไม่เห็นมโหสถมาก็เสียใจ ไปเฝ้า
พระราชา ครั้นตรัสถามว่า เป็นอย่างไร ท่านทั้งหลายฆ่ามโหสถแล้วหรือ
จึงกราบทูลว่า ไม่เห็นมโหสถมา พระเจ้าข้า ฝ่ายพระมหาสัตว์พออรุณขึ้นก็
สนานกายด้วยน้ำหอม ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนะ

อันเลิศ ชำระสรีรกิจแล้ว ทำชาวพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือแล้ว ตั้งการรักษา
ในที่นั้น ๆ เป็นผู้อันมหาชนห้อมล้อม นรกไปสู่ประตูวังด้วยยศใหญ่ ฝ่าย
พระเจ้าวิเทหราชให้เปิดพระแกลประทับยืนทอดพระเนตรอยู่ ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์ลงจากรถถวายบังคมบรมกษัตริย์แล้วยืนอยู่ พระราชาทอด
พระเนตรเห็นกิริยาของมโหสถทรงดำริว่า ถ้ามโหสถเป็นข้าศึกแก่เรา ที่ไหน
เขาจะพึงไหว้เรา ลำดับนั้นก็ตรัสให้เรียกมโหสถมาเฝ้า แล้วเสด็จประทับ ณ
พระราชอาสน์ ฝ่ายมโหสถถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง บัณฑิตทั้ง 4
ก็นั่งอยู่ที่นั่น ลำดับนั้น พระราชาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถาม
มโหสถว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อวานนี้เจ้ากลับบ้านแต่ยามแรก เจ้าพึงมาเดี๋ยวนี้
เจ้าสละเสียอย่างนี้เพราะอะไร ตรัสฉะนี้แล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า
เจ้าไปบ้านแต่หัวค่ำ มาเอาบัดนี้ ใจของเจ้า
รังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ ดูก่อนเจ้าผู้มีปัญญาดุจ
แผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะฟังเจ้าบอกเรื่อง
ของเจ้า เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิโทสคโต ความว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ
บัณฑิต เมื่อวานเจ้าไปบ้านแต่หัวค่ำ คือปฐมยาม. บทว่า อิทานิ เอสิ
ความว่า บัดนี้มาด้วยอิสริยยศ. บทว่า กิมาสงฺกิเต ได้แก่ รังเกียจอะไร.
บทว่า กิมโวจ ความว่า ใคร ๆ ได้กล่าวกะเจ้าว่า อย่าไปเฝ้าพระราชาหรือ
พวกเราจะฟังคำของเจ้านั้น เชิญเจ้าบอกคือแจ้งการณ์นั้นแก่เรา.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์ถือเอาคำบัณฑิตทั้ง 4 แล้ว มีพระราชาณัติให้ฆ่าข้าพระบาท ด้วย
เหตุนั้น ข้าพระบาทจึงยังไม่มา ทูลฉะนี้แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า

มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า ข้าแต่พระปิ่นประ
ชากร กาลใดพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ ได้ตรัสข้อ
ความลับที่รับสั่งแก่อาจารย์ทั้ง 4 กับ พระนางอุทุมพร
เมื่อหัวค่ำ ข้อความลับอย่างนั้นของพระองค์ พระ-
องค์ได้เปิดเผยแล้ว ก็ข้อความลับนั้นอันข้าพระบาท
ได้ฟังแล้วในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิ เต ได้แก่ ๆ กาลใดพระองค์. บทว่า
มนฺตยิตํ ได้แก่ ตรัสแล้ว. บทว่า เทสํ ความว่า หัวค่ำ คือตอนกลางคืน
ถามว่า ตรัสแก่ใคร ตอบว่า แก่พระอัครมเหสี ด้วยว่าพระองค์ประทับ อยู่
ในที่ลับได้ตรัสข้อความนี้แก่พระอัครมเหสีนั้น. บทว่า คุยฺหํ ปาตุกตํ
ความว่า ความลับของพระองค์เห็นปานฉะนี้ พระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว.
บทว่า สุตํ มเมตํ ความว่า มโหสถโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ก็
ความลับนั้น ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วในขณะนั้นทีเดียว.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของมโหสถก็ทรงพระพิโรธด้วยทรง
เห็นว่า นางอุทุมพรจักส่งข่าวไปขณะนั้นเอง จึงทอดพระเนตรพระราชเทวี
มโหสถรู้กิริยานั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพิโรธพระราช
เทวีทำไม ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ อดีต อนาคต และปัจจุบันทั้งสิ้น
พระนางตรัสความลับของพระองค์แก่ข้าพระองค์จงยกไว้ก่อน ความลับของ
เสนกะและปุกกุสะเป็นต้น ใครแจ้งแก่ข้าพระองค์เล่า ปัญหาของกิ้งก่าใครบอก
แก่ข้าพระองค์ และปัญหาของเทวดาใครบอกแก่ข้าพระองค์เล่า ข้าพระองค์
ทราบความลับของชนเหล่านี้ก่อนแล้วทีเดียว เมื่อจะทูลความลับของเสนกะก่อน
จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

เสนกะได้ทำกรรมลามกไม่ใช่กรรมดีอันใด คือ
ฆ่าหญิงแพศยานางหนึ่งในสวนไม้รัง ในนครนี้เอง
แล้วถือเอาเครื่องประดับห่อด้วยผ้าสาฎกเก็บไว้ในเรือน
ของตน อยู่ในที่ลับได้แจ้งเรื่องนี้แก่สหายคนหนึ่ง
กรรมลามกอันเป็นความลับของตนเห็นปานนี้ อัน
เสนกะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ ข้าพระองค์ได้
ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภิรูปํ ความว่า เสนกะได้กระทำ
อกุศลกรรมอันลามกไม่ใช่กรรมดี คือฆ่าหญิงแพศยาชื่อโน้นในสวนไม้รังใน
นครนี้เอง แล้วถือเอาเครื่องประดับท่อด้วยผ้าสาฎกของหญิงนั้นแหล่. เก็บไว้
ในที่โน้นในเรื่อนของตน. บทว่า สขิโนว รโหคโต อสํสิ ความว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ครั้งนั้น เสนกะอยู่ในที่ลับได้บอกเรื่องนั้นแก่สหายคนหนึ่ง
เรื่องแม้นั้น ข้าพระองค์ก็ได้ฟังแล้ว ข้าพระองค์มิได้คิดกบฏต่อสมมติเทพ
เสนกะนั่นแหละเป็นผู้คิดกบฏ ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์ด้วยคนกบฏ จง
โปรดให้จับเสนกะ.
พระราชาทอดพระเนตรดูเสนกะแล้วมีราชกระทู้ถามว่า จริงหรือ
เสนกะ ก็ได้ทรงรับกราบทูลตอบว่า จริงพระเจ้าข้า จึงรับสั่งให้จำเสนกะใน
เรือนจำ ฝ่ายมโหสถเมื่อจะกราบทูลข้อความลับของปุกกุสะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่
ปุกกุสะ เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา
ปุกกุสะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่น้องชายน้อย ความที่
ปุกกุสะเป็นโรคเรื้อน เป็นข้อความลับเห็นปานนี้ อัน

ปุกกุสะได้ทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้าพระองค์ได้
ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อราชปฺปตฺโต ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสะนั้น เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิด
คือไม่ควรจะถูกต้องพระราชา พระองค์บรรทมที่ขาของปุกกุสะบ่อย ๆ ด้วยเข้า
พระหฤทัยว่า ขาของปุกกุสะอ่อน ที่แท้ขาของปุกกุสะนั้นมีสัมผัสอ่อนเพราะ
ผ้าพันแผล พระเจ้าข้า.
พระราชาทอดพระเนตรดูปุกกุสะแล้ว ตรัสถามว่า จริงหรือปุกกุสะ
ครั้นได้ทรงสดับรับสารภาพว่าจริง จึงรับสั่งให้เอาตัวเข้าเรือนจำ มโหสถ-
บัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของกามินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
กามินทะอันอาพาธซึ่งลามก กล่าวคือยักษ์ชื่อ
นรเทวะสิงแล้วเป็นเหมือนสุนัขบ้าร้องอยู่ กามินทะ
อยู่ในที่ลับได้แจ้งความลับนี้แก่บุตร ความลับเห็น
ปานนี้ อันกามินทะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภรูโป ความว่า กามินทะนั้นอัน
อาพาธใดถูกต้องแล้วร้องเหมือนสุนัขบ้า อาพาธนั้นคือยักษ์นรเทวะสิงเป็น
อาพาธต่ำช้าลามก กามินทะอันอาพาธนั้นถูกต้องแล้ว ไม่สมควรเข้าไปสู่
ราชสกุล พระเจ้าข้า.
พระราชาทอดพระเนตรดูกามินทะแล้วตรัสถามว่า จริงหรือกามินทะ
กามินทะทูลรับสารภาพ จึงตรัสสั่งให้นำกามินทะเข้าสู่เรือนจำ ฝ่ายมโหสถ
บัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตนะอันโอฬาร
มี 8 คดแด่พระเจ้ากุสราชผู้เป็นพระอัยยกาของพระองค์
มณีรัตนะนั้นเดี๋ยวนี้ตกลงมือเทวินทะ ก็เทวินทะอยู่ใน
ที่ลับได้แจ้งแก่มารดา ข้อความลับเห็นปานนี้ อัน
เทวินทะทำให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้าพระองค์ได้
ฟังแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตามหสฺส ได้แก่ พระเจ้ากุสราชผู้
เป็นพระอัยยกาของพระองค์. บทว่า ตทชฺช หตฺถํ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า มณีรัตนะซึ่งสมมติว่าเป็นมงคลนั้น เคี้ยวนี้ตกถึงมือของเทวินทะ
แล้ว.
พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า จริงหรือเทวินทะ ครั้นเทวินทะกราบ-
ทูลสารภาพว่าจริง จึงโปรดให้ส่งเทวินทะเข้าเรือนจำ อาจารย์ทั้ง 4 ตั้งใจจะ
ฆ่ามโหสถ กลับต้องเข้าเรือนจำเองทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์กราบทูล
ว่า อันบุคคลไม่ควรบอกความลับของตนแก่บุคคลอื่นด้วยเหตุนี้ อาจารย์ทั้ง
4 กราบทูลว่า ควรบอก ก็ถึงความพินาศใหญ่ เมื่อจะแสดงธรรมให้ยิ่ง ได้
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
การซ่อนความลับไว้นั่นแหละดี การเปิดเผย
ความลับไม่ประเสริฐเลย บุคคลผู้มีปัญญา ในเมื่อ
ทำความลับยังไม่สำเร็จ พึงอดทนไว้ ข้อความลับ
สำเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย.

บุคคลไม่ควรเปิดเผยข้อความลับเผย ควรรักษา
ข้อความลับนั้นไว้ ดุจบุคคลรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น
ข้อความลับอันบุคคลผู้รู้แจ้งไม่ทำให้ปรากฏนั่นแลดี.
บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คน
ไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความในใจแก่บุคคลที่อามิส
ลากไป และแก่คนไม่ใช่มิตร.
ผู้มีปรีชาย่อมอดทนต่อคำด่าคำบริภาษ และการ
ประหารแห่งบุคคลผู้รู้ข้อความลับซึ่งผู้อื่นไม่รู้ เพราะ
กลัวแต่แพร่ความลับที่คิดไว้ ประหนึ่งคนเป็นทาส
อดทนต่อคำด่าเป็นต้นแห่งนาย ฉะนั้น ชนทั้งหลาย
รู้ความลับที่ปรึกษากันของบุคคลผู้หนึ่งเพียงใด ความ
หวาดสะดุ้งของบุคคลนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพียงนั้น เพราะ
เหตุนั้น ผู้ฉลาดไม่ควรสละความลับ.
บุคคลกล่าวความลับในเวลากลางวัน พึงหา
โอกาสที่เงียบ เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่ำคืน อย่า
ปล่อยเสียงให้เกินเขต เพราะว่าคนแอบฟังความ ย่อม
จะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น ความลับ
ที่ปรึกษากันจะถึงความแพร่งพรายทันที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถิยา แปลว่า แก่สตรี. บทว่า อมิตฺ-
ตสฺส จ
ความว่า ไม่ควรบอกแก่ศัตรู. บทว่า สํหีโร ความว่า ก็บุคคล
ใดถูกอานิสอย่างใดอย่างหนึ่งลากไป คือถึงการพูดชักชวนและสงเคราะห์ ไม่พึง
บอกความลับแก่บุคคลแม้นั้น. บทว่า หทยตฺเถ โน ความว่า ก็บุคคลใด

ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม ปากพูดอย่างหนึ่ง ใจคิดอย่างหนึ่ง ไม่พึงบอก
แก่บุคคลแม้นั้น. บทว่า อสมฺพุทธํ ได้แก่ อันผู้อื่นไม่รู้ ปาฐะว่า อสมฺโพธํ
ก็มีความว่า ไม่ควรให้ผู้อื่นรู้. บทว่า ติติกฺขติ ความว่า ย่อมอดกลั้น
คำบ้าง คำบริภาษบ้าง การประหารบ้างเสมือนทาส. บทว่า มนฺตินํ ความว่า
ผู้มีความรู้ทั้งหหลายย่อมรู้ข้อที่ปรึกษากันนั้นในระหว่างผู้มีความรู้ทั้งหลายเพียง
ใด. บทว่า ตาวนฺโต ความว่า ความหวาดสะดุ้งของบุคคลนั้นเพียงนั้นนั้น
ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผู้รู้ความลับแม้เหล่านั้น. บทว่า น วิสฺสเช ความว่า
ไม่พึงสละ คือไม่ควรให้ผู้อื่นรู้. บทว่า วิวิจฺจ ความว่าถ้าต้องการจะปรึกษา
ความลับในกลางวัน พึงปรึกษาในที่ปกปิดให้ทำโอกาสให้เงียบ บทว่า
นาติเวลํ ความว่า ก็เมื่อพูดความลับในราตรี ไม่พึงทำเสียงดังเปล่งเสียง
เกินเวลาคือเกินขอบเขต. บทว่า อุปสฺสูติกา ได้แก่ ชนผู้พึงเข้าไปสู่สถานที่
ปรึกษายืนอยู่ที่นอกฝาเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ด้วยเหตุนั้น ความลับทีปรึกษากันนั้นจะถึงความแพร่งพรายทันทีทีเดียว.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ ถ้อยคำแห่งมโหสถก็ทรงพิโรธว่าอาจารย์
เหล่านั้นปองร้ายกันเอง มาลงเอามโหสถว่าเป็นผู้ปองร้ายเรา จึงมีพระราชดำรัส
สั่งราชบุรุษว่า พวกเจ้าจงไป จงนำอาจารย์ทั้ง 4 นั้น ออกจากพระนคร ให้
นอนหงายบนหลาวแล้วตัดศีรษะเสีย เมื่ออาจารย์ทั้ง 4 อัน ราชบุรุษมัดมือ
ไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยไม้เรียวร้อยที่คราวละ 4 คราวละ 4 แล้วนำไปสู่ประหาร
ชีวิต มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาจารย์เหล่านี้เป็นอมาตย์เก่าของ
พระองค์ ขอพระองค์ทรงงดโทษแก่อาจารย์เหล่านี้ พระราชาพระราชทาน
อนุญาต แล้วให้เรียกอาจารย์ทั้ง 4 มา ตรัสสั่งยกให้เป็นทาสีแห่งมโหสถ ก็แต่
มโหสถทูลยกให้เป็นไทยในเวลานั้นนั่นเอง พระราชาตรัสสั่งให้ขับไล่อาจารย์
ทั้ง 4 จากพระราชอาณาจักร มโหสถทูลขอพระราชทานโทษว่า ขอได้โปรด

อดโทษแก่คนอันธพาลเหล่านั้น ขอให้ทรงยกย่องอยู่ในฐานันดรนั้น พระราชา
ทรงเลื่อมใสในมโหสถเกินเปรียบ ด้วยทรงดำริว่า มโหสถได้มีเมตตาเห็นปานนี้
ในเหล่าปัจจามิตร มโหสถจักไม่มีเมตตาเห็นปานนี้ในชนเหล่าอื่นอย่างไร
จำเดิมแต่นั้น นักปราชญ์ทั้ง 4 เป็นผู้หมดพยศ ดุจงูถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว
ไม่อาจจะกล่าวอะไรอีก.
จบปัญหาบัณฑิต 5
จบปริภินทกถา

จำเดิมแต่กาลนั้นมา มโหสถบัณฑิตถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่
พระเจ้ากรุงมิถิลา มโหสถคิดว่า ก็เราดูแลเศวตฉัตรอันเป็นราชสมบัติของ
พระราชา ควรที่เราจะไม่ประมาท ดำริฉะนี้จึงให้ทำกำแพงใหญ่ในพระนคร
และให้ทำกำแพงน้อยอย่างนั้น ทั้งหอรบที่ประตูและที่ระหว่าง ๆ ให้ขุดคู 3 คู
คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง ให้ซ่อมแซมเรือนเก่า ๆ ภายในพระนคร ให้ขุด
สระโบกขรณีใหญ่ ให้ฝังท่อน้ำในสระนั้น ทำฉางทั้งปวงในพระนครให้เต็ม
ด้วยธัญญาหารให้นำพืชหญ้ากับแก้และกุมุทจากพวกดาบสผู้คุ้นเคยในสกุล ผู้มา
แต่หิมวันตประเทศมาปลูกไว้ ให้ชำระล้างท่อน้ำให้น้ำไหลเข้าออกสะดวก ให้
ซ่อมแซมสถานที่ทั้งหลายมีศาลาเก่าภายนอกพระนครเป็นต้น เพราะเหตุการณ์
อะไร มโหสถจึงให้ตกแต่งบ้านเมืองดังนั้น เพราะจะป้องกันภัยอันจะมาถึงใน
กาลข้างหน้า มโหสถได้ถามพวกพาณิชผู้มาแต่ประเทศนั้น ๆ ว่ามาแต่ไหน
เมื่อได้รับตอบว่า มาแต่สถานที่โน้น จึงซักถามว่า อะไรเป็นที่ชอบพระราช
หฤทัยของพระราชาแห่งพวกท่าน ได้ความแล้วก็ทำความนับถือต่อพวกนั้นแล้ว
ส่งกลับไป แล้วเรียกโยธาร้อยเอ็ดของตนมากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเครื่อง
บรรณาการที่เราจะให้แล้วไปสู่ราชธานีร้อยเอ็ด ถวายบรรณาการเหล่านี้แด่

พระราชาเหล่านั้น เพื่อต้องการให้พระราชาเหล่านั้นรักตน แล้วอยู่บำรุง
พระราชาเหล่านั้น ดูกิริยาหรือความคิดแห่งพระราชาเหล่านั้น ส่งข่าวมาให้
เรารู้ แล้วอยู่ในที่นั้น เราจะเลี้ยงบุตรและภรรยาของเหล่าท่าน สั่งดังนี้แล้ว
จารึกกุณฑล ฉลองพระบาทพระขรรค์และสุวรรณมาลาให้เป็นอักษรในราชา-
ภรณ์นั้น ๆ เพื่อพระราชาเหล่านั้น ๆ แล้ว ตั้งสัตยาธิษฐานว่า กิจของเรา
ย่อมมีเมื่อใด อักษรเหล่านี้ จงปรากฏเมื่อนั้น แล้วมอบให้โยธาร้อยเอ็ดเหล่านั้น
ไป โยธาเหล่านั้นไปในประเทศนั้น ๆ ถวายบรรณาการแด่พระราชาเหล่านั้น
เมื่อพระราชาเหล่านั้น ตรัสถามว่ามาธุระอะไร ก็ทูลว่ามาบำรุงพระองค์ครั้น
ตรัสถามว่า มาแต่ไหน ก็ไม่ทูลตามตรง ทูลว่า มาจากที่อื่น เมื่อทรงรับ ก็อยู่
รับราชการในภายใน.
กาลนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า สังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ให้
เตรียมศัสตราวุธและเรียกระดมกองทัพ ทหารของมโหสถที่วางให้สดับข่าว และ
ระวังเหตุการณ์ ที่ส่งไปอยู่ ณ ราชสำนักแห่งพระเจ้าสังขพลกราชนั้น ได้ส่ง
ข่าวสาสน์มายังมโหสถว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบประพฤติเหตุในนครนี้ว่า พระเจ้า
สังขพลกราชจักทรงทำราชกิจชื่อนี้ ขอท่านจงส่งสุวบัณฑิต (นกแก้วฉลาด)
ไปทราบความเองโดยถ่องแท้ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ฟังข่าวนั้นจึงเรียก
สุวโปดกลูกนกแก้วมากล่าวว่า เจ้าจงไปสืบข่าวว่า พระราชาองค์หนึ่งมีพระนาม
ว่าสังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ทำราชกิจชื่อนี้ แล้วจงเที่ยวไปในสกลชมพูทวีป
นำประพฤติเหตุมาเพื่อเรา กล่าวฉะนี้แล้วให้สุวโปดกกินข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง
ให้ดื่มน้ำผึ้ง แล้วเอาน้ำนั้นหุงร้อยหนหุงพันหนทาขนปีก แล้วให้จับที่หน้าต่าง
เบื้องปราจีนทิศปล่อยไป สุวบัณฑิตนั้นไปในที่นั้น รู้ประพฤติเหตุแห่งพระเจ้า
สังขพลกราชแต่สำนักทหารของมโหสถนั้นโดยแน่นอนแล้ว เมื่อจะตรวจ
ชมพูทวีปทั้งสิ้นถึงอุตรปัญจาลนครในกัปปิลรัฐ.

กาลนั้น พระราชามีพระนามว่าจุลนีพรหมทัต ครองราชสมบัติใน
อุตรปัญจาลนครนั้น พราหมณ์ชื่อเกวัฏเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดพร่ำถวายอรรถ
ธรรมแก่พระราชานั้น ในเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่ง ปุโรหิตนั้นตื่นขึ้นแลดูห้องประ-
กอบด้วยสิริอันประดับแล้ว เห็นยศใหญ่ของตนด้วยแสงสว่างแห่งประทีป จึงคิด
ว่ายศแห่งเรานี้ ใคร ๆ ให้เรา ก็คิดได้ว่า ไม่ใช่ของคนอื่น เป็นของพระเจ้าจุลนี
พรหมทัตพระราชทานแก่เรา ควรเราจักจัดแจงให้พระราชาผู้พระราชทานยศ
เห็นปานนี้แก่เรา ให้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป เราก็จักได้เป็นอัครปุโรหิต
ของพระองค์ คิดฉะนั้นแล้วเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้า ทูลถามถึงสุขไสยาตาม
ธรรมเนียมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้อความอันข้าพระบาทจะพึงทูล
ปรึกษามีอยู่ เมื่อพระราชาทรงอนุญาตให้กราบทูล จึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า สถานที่ลับในพระนครไม่มี ขอเสด็จไปพระราชอุทยาน
พระราชาทรงเห็นชอบด้วย จึงเสด็จไปพระราชอุทยานกับปุโรหิต วางพลนิกาย
ไว้ภายนอกให้รักษา แล้วเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยานกับพราหมณ์เท่านั้น ประ-
ทับนั่ง ณ แผ่นศิลาเป็นมงคล ครั้งนั้น สุวโปดกเห็นกิริยาของพระราชากับ
พราหมณ์ จึงคิดว่า อันเหตุการณ์พึงมีในกิริยาของพระราชากับพราหมณ์นี้
วันนี้เราจักได้ฟังอะไร ๆ ที่ควรแจ้งแก่มโหสถ คิดฉะนี้แล้วบินเข้าไปสู่พระ-
ราชอุทยาน จับเร้นอยู่ระหว่างใบไม้รังอันเป็นมงคล พระราชาตรัสให้เกวัฏ
ทูลเรื่อง พราหมณ์จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระองค์ทรงทำไว้ในพระกรรณ
ของพระองค์แต่ที่นี้ ความคิดนี้จักชื่อว่ารู้กัน 4 หู ถ้าพระองค์ทรงทำตามคำ
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักทำพระองค์ให้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของเกวัฏ ก็ทรงโสมนัสด้วยความเป็นผู้มีความ
ปรารถนาใหญ่ จึงตรัสว่า กล่าวไปเถิดอาจารย์ เราจักทำตามคำของท่าน
พราหมณ์เกวัฏจึงทูลบรรยายความคิดว่า ข้าแต่สมมติเทพ เราทั้งหลายจักเรียก

ระดมกองทัพแล้วล้อมเมืองน้อยยึดเอาไว้ก่อน ข้าพระบาทจักเข้าสู่เมืองทาง
ประตูน้อยแล้วแจ้งแก่พระราชานั้นว่า กิจด้วยการรบของพระองค์ไม่มี โภค-
สมบัติเป็นของพวกข้าพระเจ้าทั้งสิ้น พระองค์จักคงเป็นพระราชาอยู่อย่างนั้น
ก็ถ้าพระองค์จักรบ ก็จะพ่ายแพ้โดยส่วนเดียว เพราะความที่พลและพาหนะ
ของพวกข้าพระเจ้ามาก ถ้าพระราชานั้นจักทำตามคำของพวกเรา พวกเราจัก
จับพระราชานั้นไว้ ถ้าพระราชานั้น จักไม่ทำตามคำของเราไซร้ พวกเราจักรบ
แล้วให้พระราชานั้นถึงความสิ้นพระชนม์ แล้วถือเอากองทัพนครนั้น เป็น
2 ไปยึดเอาเมืองอื่นต่อไป ถือเอาราชสมบัติในสกลชมพูทวีปโดยอุบายนี้
แล้วดื่มชัยบาน พวกเรานำพระราชาร้อยเอ็ดมาสู่เมืองเรา แล้วให้ดื่มสุรา
เจือยาพิษในอุทยานแล้วยังพระราชาทั้งหมดให้สิ้นพระชนม์ แล้วทิ้งพระศพ
ของพระราชาเหล่านั้นเสียในคงคา ก็จักทำราชสมบัติในราชธานีร้อยเอ็ดอยู่ใน
เงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์จักเป็นอัครราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วย
ประการฉะนี้ พระราชาทรงยินดีตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ เราจักทำอย่างนั้น
พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ความคิดนี้ชื่อว่าความคิดรู้กัน 4 หู เพราะว่า
บุคคลอื่นไม่อาจมาล่วงรู้ เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์อย่าชักช้า รีบยกกองทัพ
ออกทีเดียว พระราชาได้ทรงสดับคำนั้น ก็ทรงโสมนัสรับว่า ดีแล้ว.
สุวโปดกได้ฟังเรื่องนั้นทั้งหมด ในกาลเมื่อพราหมณ์กับพระราชา
คิดการนี้จบลง จึงประหนึ่งบินลงจับกิ่งไม้รังที่ห้อย ยังมูลให้ตกลงบนศีรษะ
แห่งเกวัฏแล้วร้องขึ้นว่า นี้อะไรกัน พอเกวัฏแหงนขึ้นก็ยังมูลให้ทกลงในปาก
ร้องกิริ ๆ บินขึ้นจากกิ่งไม้รังกล่าวว่า แน่ะเกวัฏ ท่านสำคัญว่าความคิดของ
ท่านรู้กันแต่ 4 หูหรือ บัดนี้รู้กันเป็น 6 หูแล้ว จักรู้กันเป็น 8 หูอีก แล้ว
จักรู้กันหลายร้อยหูทีเดียว ในเมื่อชนทั้งหลายกล่าวว่า ช่วยกันจับ ๆ ให้ได้
ดังนี้ ก็บินไปสู่กรุงมิถิลาโดยกำลังเร็วดุจลม เข้าไปสู่เคหสถานแห่งมโหสถ

บัณฑิต ก็ความประพฤตินี้เป็นวัตรของสุวโปดก คือถ้าว่าข่าวมาแต่ที่ไร ๆ
ควรบอกแก่มโหสถผู้เดียว ที่นั้นสุวโปดกก็ลงจับที่จะงอยป่าแห่งมโหสถ ถ้าว่า
ควรฟังแต่นางอมราเทวี สุวโปดกก็ลงจับที่ตัก ถ้าว่ามหาชนควรสดับ สุวโปดก
ก็ลงจับที่พื้นกาลนั้นสุวโปดกลงจับ ที่จะงอยป่าแห่งมโหสถด้วยสัญญานั้น มหา-
ชนก็หลีกไปด้วยรู้กันว่า 7 ความลับ พึงมีมโหสถพาสุวโปดกขึ้นไปสู่พื้นชั้นบน
แล้วถามว่า พ่อได้เห็นได้ฟังอะไรมาหรือ ลำดับนั้น สุวโปดกจึงกล่าวกะมโหสถ
ว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่เห็นภัยอะไร ๆ แต่สำนักพระราชาอื่นในสกลชมพู-
ทวีป ก็แต่พราหมณ์ชื่อเกวัฏ ผู้เป็นปุโรหิตของพระราชาจุลนีพรหมทัต พา
พระราชาไปอุทยานแล้วทูลความคิดอันรู้แต่ 4 หู ข้าพเจ้าจับอยู่ระหว่างกิ่งไม้รัง
ยังมูลให้ตกลงในปากแห่งพราหมณ์เกวัฏแล้วมานี่ กล่าวฉะนี้แล้วบอกกิจที่ได้
เห็นที่ได้ฟังทั้งปวงแก่มโหสถ ครั้นมโหสถถามว่า ก็พระเจ้าจุลนีรับจะทำตาม
หรือไม่ สุวโปดกตอบว่ารับจะทำตาม มโหสถจึงทำกิจที่ควรทำแก่นกนั้น คือ
ให้นอนในกรงทองคำ มีเครื่องลาดอันอ่อน แล้วคิดว่า ชะรอยเกวัฏไม่รู้จัก
ความที่เราชื่อมโหสถบัณฑิต เราจักให้ถึงที่สุดแห่งความคิดที่เขาคิดกันนั้นใน
บัดนี้ จึงถ่ายสกุลเข็ญใจในเมืองออกอยู่นอกเมือง นำสกุลมีอิสริยยศซึ่งอยู่ใกล้
ประตูชนบทในแคว้นเจ้ามาอยู่ภายในเมือง ให้สะสมธัญญาหารไว้เป็นอันมาก.
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเชื่อคำแห่งเกวัฏ อันหมู่เสนาแวดล้อมแล้ว
เสด็จไปล้อมเมืองหนึ่ง ฝ่ายเกวัฏก็ข้าไปในเมืองนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว ยัง
พระราชาในเมืองนั้นให้หมายรู้แล้ว ทำเมืองนั้นให้เป็นของตน ทำกองทัพ
ทั้ง 2 ให้เป็นกองเดียวกันไปล้อมเมืองอื่น ก็ยึดเมืองทั้งปวงได้หมดโดยลำดับ
พระเจ้าจุลนีตั้งอยู่ในโอวาทของพราหมณ์เกวัฏ ยกเสียแต่พระเจ้าวิเทหราช
นอกนั้นก็ได้พระราชาทั้งหลายในสกลชมพูทวีปอันเหลืออยู่ ให้เป็นของพระองค์
ด้วยประการฉะนี้.

บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวถึงมโหสถเนืองนิตย์ว่า นครทั้งหลายมี
ประมาณเท่านี้ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตยึดไว้ได้แล้ว ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ฝ่ายมโหสถบัณฑิตส่งข่าวตอบไปยังบุรุษที่วางไว้เหล่านั้นว่า เราเป็นผู้มิได้
ประมาทอยู่ในที่นี้แล้ว แม้พวกเจ้าทั้งหลายก็อย่าได้วิตกถึงเรา จงเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่เถิด.
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยกทัพไปยึดนครนั้น ๆ สิ้น 7 ปี 7 เดือน
7 วัน ก็ได้ราชสมบัติในสกลชมพูทวีป จึงตรัสกะเกวัฏปุโรหิตว่า นครทั้ง
หลายเท่านี้ เราได้ไว้แล้ว ๆ เราจักยึดราชสมบัติของพระเจ้าวิเทหราช ณ กรุง
มิถิลา ปุโรหิตทูลค้านว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกเราไม่ควรจะยึดราช-
สมบัติในนครที่มโหสถอยู่ เพราะว่านโหสถนั้นเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยความรู้ และ
เป็นผู้ฉลาดในอุบายอย่างนี้ ๆ ปุโรหิตทูลห้ามพระเจ้าจุลนี พรรณนาคุณสมบัติ
ของมโหสถ ดุจบุคคลยกมณฑลแห่งดวงจันทร์ขึ้นกล่าว เพราะว่าปุโรหิตนี้
เป็นผู้ฉลาดในอุบายเอง ฉะนั้นจึงยังพระราชาให้กำหนดด้วยอุบายว่า ข้าแต่
เทพเจ้า ราชสมบัติในมิถิลานครเป็นของเล็กน้อย ราชสมบัติในสกลชมพูทวีป
เป็นของพอแก่เราทั้งหลาย ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในนครมิถิลาแก่เรา
ทั้งหลายเล่า ฝ่ายพระราชาทั้งหลายอันเหลือก็กล่าวว่า เราทั้งหลายจักยึด
ราชสมบัติในกรุงมิถิลาแล้วดื่มชัยบาน ฝ่ายเกวัฏก็ทูลห้ามพระราชาเหล่านั้น
แล้วให้พระราชาเหล่านั้นรู้ด้วยอุบายว่า เราทั้งหลายจักยัดราชสมบัติในวิเทหรัฐ
ทำอะไร พระราชานั้นก็เป็นดุจของเราทั้งหลายขอพระองค์ทั้งหลายเสด็จกลับ
เถิด พระราชาเหล่านั้น ได้ฟังคำของเกวัฏ ต่างก็เสด็จกลับนครของตน ๆ.
เหล่าบุรุษที่วางไว้สดับเหตุการณ์ ก็ส่งข่าวแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนี
พรหมทัตอันพระราชาร้อยเอ็ดแวดล้อมจะมาสู่กรุงมิถิลา แต่ก็กลับสู่เมืองของ

ตน ฝ่ายมหาสัตว์ก็ส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้ว่า จำเดิมแต่นี้ พวกเจ้าจง
คอยดูกิริยาของพระเจ้าจุลนี ฝ่ายพระจุลนีทรงปรึกษากับอาจารย์เกวัฏว่า บัดนี้
เราจักทำกิจอย่างไร ครั้นเกวัฏทูลว่า เราจักดื่มชัยบาน จึงให้ประดับอุทยาน
แล้ว ตรัสสั่งพวกราชเสวกว่า พวกเจ้าจงตระเตรียมสุราไว้ในไหสักร้อยไหพันไห
ตระเตรียมของบริโภคมีรส คือปลาและเนื้อเป็นต้น มีอย่างต่าง ๆ ไว้ให้เพียงพอ
กาลนั้นมีบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งประพฤติเหตุนั้นให้มโหสถทราบ ก็แต่บุรุษ
ที่มโหสถวางไว้เหล่านั้นหารู้ไม่ว่า พระเจ้าจุลนีประกอบสุราด้วยยาพิษ ใคร่
จะฆ่าพระราชาร้อยเอ็ดให้สิ้นพระชนม์ชีพ ฝ่ายพระโพธิสัตว์รู้ความนั้น แต่
สุวโปดก จึงส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้นั้นว่า เจ้าทั้งหลายรู้วันที่จะดื่มสุรา
แน่นอนแล้วจงบอกแก่เรา บุรุษที่วางไว้นั้นก็ทำตามสั่ง มโหสถดำริว่า เมื่อ
บัณฑิตเช่นเรามีอยู่ พระราชามีประมาณเท่านี้ไม่ควรสิ้นพระชนม์ชีพ เราจัก
เป็นที่พึ่งของพระราชาเหล่านั้น คิดฉะนี้แล้วเรียกพวกทวยหาญที่เป็นบริวาร
สหชาตพันคนนั้นมาแจ้งว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ได้ยินว่า พระราชาจุลนีให้
ตกแต่งพระราชอุทยาน แล้วแวดล้อมไปด้วยพระราชาร้อยเอ็ดประสงค์จะดื่ม
สุรา เจ้าทั้งหลายจงไปในที่นั้น ในเมื่ออาสน์ของพระราชาทั้งหลายเขาแต่งตั้ง
แล้ว ในเมื่อพระราชาองค์หนึ่งยังไม่นั่ง เจ้าทั้งหลายจงชิงเอาอาสน์ซึ่งตั้งอยู่
ในลำดับต่อกับอาสน์แห่งพระเจ้าจุลนี ประกาศว่า นี้เป็นราชอาสน์มีค่ามาก
แห่งพระราชาของพวกเรา ดังนี้ ในเมื่อข้าราชการฝ้ายนั้นกล่าวว่า ท่านทั้ง
หลายเป็นคนของใคร พึงกล่าวตอบว่า เป็นข้าราชการของพระเจ้าวิเทหราช
เมื่อพวกข้าราชการฝ่ายนั้นกล่าวกะพวกเจ้าว่า เราทั้งหลายเมื่อไปล้อมยึดเอา
นครนั้น ๆ ถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ก็หาเห็นพระราชาอันมีนามว่าวิเทหะ
สักวันหนึ่งไม่ พระราชาที่พวกท่านอ้างนั้น จักชื่อว่าพระราชากระไรได้ ท่าน
ทั้งหลายจงไป จงถือเอาอาสน์ในที่สุดแห่งอาสน์ เมื่อกล่าวฉะนี้แล้วก็จัก

ถุ้มเถียงกัน พวกเจ้าก็จงเถียงว่า พระราชาอื่นยกพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสียแล้ว
จะยิ่งกว่าพระราชาของเราในที่นี้ไม่มี กล่าวฉะนี้แล้ว จงถุ้มเถียงให้มากขึ้น
แล้วพูดว่า เมื่อพวกเราไม่ได้แม้ซึ่งอาสน์เพื่อพระราชาของพวกเรา พวกเรา
จักไม่ให้ท่านทั้งหลายดื่มสุราและเคี้ยวกินมัจฉมังสะ ณ บัดนี้ แล้วบันลือโห่ร้อง
ยังความสะดุ้งให้เกิดแก่ข้าราชการ ฝ่ายนั้นด้วยเสียงดัง แล้วค่อยทุบไหสุรา
ทั้งปวงเสียด้วยค้อนใหญ่ แล้วเทสาดมัจฉมังสาหารเสีย ทำให้บริโภคไม่ได้
แล้วเข้าไปสู่ระหว่างแห่งเสนาโดยเร็ว ดุจเหล่าอสูรเข้าไปสู่เทพนคร แล้วทำ
เสียงให้อึกทึกครึกโครมประกาศว่า เราทั้งหลายเป็นคนของมโหสถบัณฑิตใน
กรุงมิถิลา ถ้าท่านทั้งหลายสามารถก็จงจับพวกเรา ให้ข้าราชการเหล่านั้นรู้ความ
ที่พวกเจ้ามาแล้ว จงมาเถิด มโหสถแจ้งให้สหชาตโยธาของตนรู้ฉะนี้แล้วส่งไป
ทวยหาญสหชาตบริวารของมโหสถรับคำสั่งไหว้มโหสถแล้ว ผูกสอดอาวุธ 5
ออกจากกรุงมิถิลาไปในราชอุทยานแห่งพระเจ้าจุลนีเข้าไปสู่พระราชอุทยานอัน
ตกแต่งแล้วดุจนันทนวันเทพอุทยานฉะนั้น เห็นสิริราชสมบัติอันประดับแล้ว
ตั้งแต่พระราชบัลลังก์พระราชาร้อยเอ็ดซึ่งมีเศวตฉัตรอันยกแล้ว ได้ทำกิจทั้งปวง
โดยนัย อันพระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว ยังมหาชนให้เอิกเกริกแล้วบ่ายหน้ากลับ
กรุงมิถิลา ฝ่ายราชบริษัทข้างกรุงปัญจาละก็กราบทูลประพฤติเหตุแด่พระราชา
เหล่านั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงพิโรธว่า พวกกรุงมิถิลามาทำอันตรายแก่
สุราที่ประกอบยาพิษเห็นปานนี้ของเราเสีย ฝ่ายพระราชาร้อยเอ็ดก็พิโรธว่า พวก
กรุงมิถิลามาทำให้พวกเราไม่ได้ดื่มชัยบาน ส่วนพลนิกายก็ขัดใจว่า เราทั้งหลาย
ไม่ได้ดื่มสุราอันหามูลค่ามิได้ ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตตรัสเรียกพระราชา
เหล่านั้นมา รับสั่งว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมา เรา
ทั้งหลายจักไปกรุงมิถิลา ตัดเศียรพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยพระขรรค์ แล้วย่ำ
เหยียบเสียด้วยบาท แล้วประชุมดื่มชัยบาน ท่านทั้งหลายจงเตรียมยกกองทัพ

ไป ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จในที่ลับตรัสข้อความนี้แก่เกวัฏอีกว่า เราทั้งหลายจัก
จับปัจจามิตรผู้ทำอันตรายแก่มงคลเห็นปานนี้ของพวกเรา พวกเราจักเป็นผู้อัน
เสนา 18 อักโขภิณี พร้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดแวดล้อมไป ท่านอาจารย์
จงไปด้วยพราหมณ์เกวัฏ ดำริด้วยความที่คนเป็นผู้ฉลาดว่า อันเราไม่อาจจะเอา
ชนะมโหสถบัณฑิต ความละอายจะมีแก่พวกเราเป็นแน่ เราจักยังพระราชา
ให้กลับพระดำริ ลำดับนั้น เกวัฏจึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช นั่นหาใช่
กำลังของพระเจ้าวิเทหราชไม่ นั่นเป็นการจัดแจง นั่นเป็นอานุภาพของมโหสถ
บัณฑิต กรุงมิถิลาอันเขารักษาแล้ว ดุจทำที่ราชสีห์รักษาแล้ว อันใคร ๆ ไม่
อาจยึดเอา ความอายจักมีแก่พวกเราอย่างเดียว ไม่ควรไป ณ กรุงมิถิลา ฝ่าย
พระราชาจุลนีเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาในราชอิสริยยศด้วยถือพระองค์ว่าเป็น
กษัตริย์ จึงตรัสว่า มโหสถจักทำอะไรเราได้ ตรัสฉะนี้แล้วเป็นผู้อันพระราชา
ร้อยเอ็ดแวดล้อมเสด็จออกไปด้วยเสนากำหนด 18 อักโขภิณี ฝ่ายอาจารย์
เกวัฏ เมื่อไม่อาจจะให้พระเจ้าจุลนีเธอคำของตน ก็โดยเสด็จไปด้วย ด้วยคิด
เห็นว่า เราไม่ควรจะประพฤติให้เป็นข้าศึกต่อพระราชา.
ฝ่ายสหชาตโยธาของมโหสถกลับถึงกรุงมิถิลาโดยราตรีเดียว แจ้งกิจที่ตน
ได้ทำแก่มโหสถ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวก่อนว่า พระเจ้าจุลนีเป็น
ผู้อันพระราชาร้อยเอ็ดห้อมล้อมเป็นราชบริพาร เสด็จมาด้วยทรงมุ่งจะจับพระ-
เจ้าวิเทหราช ขอท่านผู้เป็นบัณฑิตอย่าประมาท มโหสถได้รับข่าวจากเหล่าบุรุษ
ที่วางไว้เนืองนิตย์ว่า วันนี้พระเจ้าจุลนีเสด็จถึงสถานที่นั้น วันนี้ถึงสถานที่นั้น
ก็วันนี้จักเสด็จถึงกรุงมิถิลา พระมหาสัตว์ได้ทราบข่าวนั้นก็ยิ่งเป็นผู้ไม่ประมาท
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจักกรีธาทัพมา
ยึดเมืองเรา ก็ได้ทรงฟังเสียงกึกก้องไม่ขาดเสียง ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนี

พรหมทัตพร้อมด้วยพลนิกายถือคบเพลิงนับด้วยแสนดวง ส่องมรรคาเสด็จมา
ถึงแต่หัวค่ำ แล้วให้ล้อมเมืองมิถิลาไว้ทั้งสิ้น ลำดับนั้นแม่ทัพก็ให้ตั้งหมู่พล
ในที่นั้น ๆ ล้อมกรุงมิถิลาด้วยปราการคือช้าง ด้วยปราการคือรถ ด้วยปราการ
คือม้า เหล่าพลนิกายได้ยินบันลือลั่น ปรบมือ ผิวปาก คำรนร้องอยู่ กรุง
มิถิลากำหนดทั้งสิ้น 7 โยชน์ ก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน ด้วยแสงสว่าง
ประทีปและแสงสว่างเครื่องประดับ สมัยนั้นราวกะว่าเป็นการที่ปฐพีจะแตก
สลายด้วยศัพท์สำเนียงแห่งม้ารถและดุริยางค์ดนตรีเป็นต้น นักปราชญ์ทั้ง 4 คือ
เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ เทวินทะได้ยินเสียงโห่ร้องโกลาหลไม่รู้เรื่อง ก็
เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแด่พระมหาราชเจ้า เสียงโห่ร้องอื้ออึง
มาก ก็แต่ข้าพระองค์ไม่ทราบเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร ควรที่จะทรงพิจารณ์ให้
ทราบเรื่อง พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของอาจารย์ทั้ง 4 ก็ทรงคิดว่า
พระเจ้าพรหมทัตจักเสด็จมาแล้ว จึงเปิดพระแกลทอดพระเนตร ก็ทรงทราบว่า
เสด็จมาแล้ว ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย ทรงเห็นชัดว่า ชีวิตของเราไม่มีละ
พรุ่งนี้พระเจ้าพรหมทัตจักยังพวกเราทั้งมวลให้สิ้นชีวิต ทรงเห็นฉะนี้ก็ประทับ
นั่งตรัสอยู่กับอาจารย์ทั้ง 4 ส่วนพระโพธิสัตว์รู้ว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสด็จ
มาถึงแล้ว เป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามดุจราชสีห์ จัดการรักษาในพระนครทั้งสิ้นแล้ว
คิดว่า เราจักเล้าโลมพระราชาจึงขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ ถวายบังคมพระราชา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นมโหสถมา
เฝ้าก็ค่อยสบายพระหฤทัย ทรงดำริว่า คนอื่นยกมโหสถบัณฑิตผู้บุตรของเรา
จะชื่อว่าสามารถเปลื้องเราจากทุกข์ ย่อมไม่มี เมื่อจะรับสั่งกับมโหสถ ได้ตรัส
คาถาแรกในมหาอุมมังคชาดกนี้ ว่า

ดูก่อนพ่อมโหสถ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเจ้ากรุง
ปัญจาละเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่
เหล่า กองทัพของพระเจ้ากรุงปัญจาละนี้นั้นพึง
ประมาณไม่ได้ มีกองช่างโยธา กองราบ ล้วนแต่
ฉลาดในสงความทั้งปวง สามารถจะนำข้าศึกมาได้ มี
เสียงอื้ออึง ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียง
สังข์.
มีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ มีธงเกลื่อน
กล่นด้วยช้างม้า สมบูรณ์ด้วยเหล่าคนมีศิลป์ ตั้งมั่น
ด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้แกล้วกล้า.
กล่าวกันว่า ในกองทัพนี้ มีราชบุรุษ 10 คนเป็น
ผู้ฉลาด มีปัญญา ประชุมปรึกษากันในที่ลับ พระ
ชนนีของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเป็นที่ 11 ย่อมทรงสั่ง
สอนชาวปัญจาลนคร.
ที่นั้น บรรดาชนเหล่านี้ พระราชาร้อยเอ็ดผู้
เรืองยศ ตามเสด็จพระเจ้าปัญจาลราช ถูกชิงแว่นแคว้น
กลัวมรณภัย ตกอยู่ในอำนาจของชาวปัญจาลนคร.
เป็นผู้ทำตามพระราชกระแสที่ดำรัส ไม่มีความ
ปรารถนาก็จำต้องกล่าวคำเป็นที่รัก ตามเสด็จพระเจ้า-
ปัญจาลราช เป็นผู้มีอำนาจมาก่อน ไม่มีความปรารถนา
ก็ต้องอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราช.
กรุงมิถิลาถูกกองทัพนั้น แวดล้อมเป็น 3 ชั้น
ราชธานีของชาววิเทหรัฐถูกขุดเป็นคูโดยรอบ.

กองทัพที่แวดล้อมกรุงมิถิลาโดยรอบนั้นปรากฏ
เหมือนดาวบนท้องฟ้า ดูก่อนพ่อมโหสถ พ่อจงรู้ว่า
พวกเราจักพ้นทุกข์ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเสนาย ความว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ
ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่เหล่า นับได้
18 อักโขภิณี มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นผู้นำ. บทว่า ปญฺจาลิยา ได้แก่
เป็นของมีอยู่ของพระเจ้าปัญจาลราช. บทว่า วิทฺธิมตี ความว่า ประกอบ
ด้วยกำลังของช่างไม้ผู้เที่ยวแบกทัพสัมภาระที่นำมาเพื่อการช่าง. บทว่า
ปตฺติมตี ได้แก่ อันบุรุษผู้ก่อเอาสิ่งประเสริฐน้อยใหญ่รักษาแล้ว. บทว่า
สพฺพสงฺคามโกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในสงความทั้งปวง. บทว่า โอหารินี
ความว่า สามารถแอบเข้าไปในกองทัพไม่มีใครเห็น ตัดศีรษะข้าศึกนำมาได้.
บทว่า สทฺทวตี ได้แก่ ไม่สงัดจากเสียง 10 ประการ. บทว่า เภริสงฺ-
ขปฺปโพธนา
ความว่า ในที่นั้น ไม่สามารถจะให้รู้ด้วยคำสั่งว่า จงมา จงรุก
จงรบ จงอย่าไปเป็นต้นแต่กิจเช่นนั้นจะให้รู้กันได้ในที่นี้ ด้วยเสียงกลองและ
ด้วยเสียงสังข์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียงสังข์.
บทว่า โลหวิชฺชา ในบาทคาถาว่า โลหวิชฺชา อลงฺการา นี้นั้น เป็น
ชื่อของโล่เช่นเสื้อเกราะหมวกเกราะเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ
เป็นศิลปโลหะ. บทว่า อลงฺการ ได้แก่ เป็นเครื่องประดับของพระราชา
และมหาอมาตย์ของพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในบาทคาถานี้จึงมีเนื้อความ
ดังนี้ว่า ชื่อว่ามีวิทยาทางโลกธาตุ มีเครื่องประดับ เพราะสว่างไสวไปด้วย
วิทยาทางโลกธาตุและด้วยเครื่องประดับ. บทว่า ธชนี ความว่า ประกอบ
ด้วยธงทั้งหลายที่ยกขึ้นบนรถเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยทองเป็นต้น รุ่งเรืองด้วย
วัตถุต่าง ๆ. บทว่า วามโรหินี ความว่า ทหารเหล่านั้น ท่านเรียกว่า วามโรหินี

เพราะเมื่อขึ้นช้างขึ้นม้า ย่อมขึ้นข้างซ้าย ประกอบด้วยทหารเหล่านั้น คือ
เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างและม้าซึ่งประมาณมิได้. บทว่า สิปฺปิเยหิ ความว่า
สมบูรณ์ด้วยดี คือเกลื่อนกล่นด้วยเหล่าทหารที่ถึงความสำเร็จในศิลปะ 18
อย่างมีหัตถีศิลปะและอัศวศิลปะเป็นต้น. บทว่า สูเรหิ ความว่า แน่ะพ่อ
ได้ยินว่า กองทัพนี้ตั้งมั่นด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้มีความบากบั่นเสมอด้วยราชสีห์.
บทว่า อาหุ ความว่า กล่าวกันว่าในกองทัพนี้มีบัณฑิต 10 คน. บทว่า
รโหคตา ความว่า มีปกติไปในที่ลับ คือมีปกตินั่งปรึกษากันในที่ลับ เล่า
กันว่า บัณฑิตเหล่านั้นเมื่อได้คิดกันวันสองวัน ก็สามารถจะกลับเอาแผ่นดิน
ขึ้นตั้งไว้ในอากาศได้. บทว่า เอกาทสี ความว่า ได้ยินว่า. พระชนนีของ
พระเจ้าจุลนีนั้น ประกอบด้วยปัญญายิ่งกว่าบัณฑิต 10 คนนั้น พระชนนีนั้น
เป็นคนฉลาดที่ 11 ของบัณฑิตเหล่านั้น สั่งสอนพร่ำสอนกองทหารปัญจาละ.
เล่ากันมาว่า วันหนึ่งมีบุรุษคนหนึ่งถือข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุก
หนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน คิดจะข้ามแม่น้ำ ก็ลงถึงท่ามกลางแม่น้ำ
ไม่อาจจะข้ามได้ จึงกล่าวกะชนทั้งหลายผู้ยืนอยู่ริมฝั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุกหนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน ของ
ข้าพเจ้ามีอยู่ในมือ บุคคลผู้สามารถยังข้าพเจ้าให้ได้ข้ามจากฝั่งนี้ ข้าพเจ้าจัก
ให้สิ่งที่ข้าพเจ้าชอบใจซึ่งมีอยู่ในมือ ลำดับนั้น มีบุรุษหนึ่งถึงพร้อมด้วยกำลัง
นุ่งผ้ามั่นแล้วข้ามลงสู่แม่น้ำ จับแขนบุรุษนั้นให้ข้ามลงไปแล้วกล่าวว่า ท่าน
จงให้สิ่งที่ควรให้แก่ข้าพเจ้า บุรุษนั้นกล่าวตอบว่า ท่านจงถือเอาข้าวสารหนึ่ง
ทะนานหรือข้าวสุกหนึ่งห่อ บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่คิดชีวิต
พาท่านข้ามฟาก ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยของสองสิ่งนั้น ท่านจงให้กหาปณะ
แก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจนั้นจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้พูดว่า ข้าพเจ้า
จะให้สิ่งที่ชอบใจจากของ 3 อย่างแก่ท่าน บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ให้สิ่งที่ข้าพเจ้า

ชอบใจแก่ท่าน ท่านอยากได้ก็จงถือเอา บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงพูดแก่บุคคล
ผู้หนึ่งผู้ยืนอยู่ใกล้ บุคคลผู้นั้นก็กล่าวตอบว่า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจให้
ของที่ชอบใจแก่ท่าน ท่านรับเอาเถิด บุรุษผู้พาข้ามฟากกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เอา
แล้วพาบุรุษผู้จะให้ของชอบใจไปสู่ที่วินิจฉัย แจ้งแก่อมาตย์ผู้วินิจฉัยทั้งหลาย
ฝ่ายอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้น ได้ฟังข้อความทั้งปวงก็วินิจฉัยอย่างนั้น บุรุษผู้พา
ข้ามฟากไม่ยินดีด้วยวินิจฉัยแห่งอมาตย์เหล่านั้น จึงกราบทูลพระราชา ฝ่าย
พระราชาจุลนีให้เรียกอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้นมา ทรงฟังคำของชนทั้ง 2 แต่
สำนักอมาตย์ผู้วินิจฉัย เมื่อไม่ทรงทราบจะวินิจฉัยอย่างอื่น จึงทรงวินิจฉัย
ทับสัตย์ บุรุษผู้พาข้ามฟากได้ฟังพระราชวินิจฉัยดังนั้น ก็พูดขึ้นหน้าพระที่นั่งว่า
พระองค์ทำข้าพระองค์ผู้สละชีวิตลงสู่แม่น้ำให้มีโทษ ขณะนั้นพระชนนีแห่ง
พระเจ้าจุลนีมีพระนามว่าสลากเทวี ประทับนั่งอยู่ใกล้ ทรงทราบความที่พระ-
ราชาวินิจฉัยผิด จึงตรัสว่า พ่อวินิจฉัยคดีที่วินิจฉัยผิดดีแล้วหรือ พระเจ้า
จุลนีทูลพระราชมารดาว่า ข้าพระเจ้าทราบเท่านี้ ถ้าว่าพระมารดาทรงทราบ
ยิ่งกว่านี้ไซร้ ขอได้ทรงวินิจฉัยอีกเถิด พระนางสลากเทวีจึงรับสั่งว่า ดีละพ่อ
แม่จะวินิจฉัย จึงรับสั่งให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจมาแล้วตรัสว่า
เจ้าจงมา จงวางของ 3 อย่างที่เจ้าถืออยู่ไว้ที่ภาคพื้น แล้วตรัสถามว่า เมื่อ
เจ้าลอยอยู่ในน้ำ เจ้าพูดว่ากระไรกะบุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากคนนี้ ครั้นบุรุษผู้ว่า
จะให้ของที่ชอบใจทูลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงถือ
เอาของที่เจ้าชอบใจของเจ้า ณ บัดนี้ บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจจึงถือเอาถุง
กหาปณะหนึ่งพัน ลำดับนั้น พระนางจึงให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจ
มาในกาลเมื่อเดินไปได้หน่อยหนึ่ง ตรัสถามว่า เจ้าชอบกหาปณะหนึ่งพันหรือ
ครั้นได้ทรงฟังทูลตอบว่า ชอบกหาปณะหนึ่งพัน พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เจ้า

พูดกะบุรุษผู้พาข้ามฟากนี้ว่า เราจักให้ของที่ชอบใจจากของ 3 อย่างนี้แก่เขา
หรือไม่ได้พูด ครั้นได้ทรงฟังตอบว่า ได้พูด จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจง
ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากนี้นั่นแล บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบ
ใจได้ฟังพระวินิจฉัยฉะนั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญได้ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษ
ผู้พาตนข้ามฟากนั้น ขณะนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตและอมาตย์ทั้งหลายยินดี
ในพระวินิจฉัยนั้นต่างแซ่ซ้องสาธุการ จำเดิมแต่นั้น ความที่พระนางเจ้าสลาก-
เทวีพระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีเป็นผู้เป็นไปด้วยพระปัญญา ก็บังเกิดปรากฏ
ในที่ทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงหมายเอาพระนางเจ้าองค์นี้ จึงตรัสว่า มาตา
เอกาทสี
เป็นต้น.
บทว่า ขตฺยา ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อจฺฉินฺนรฏฺฐา
ความว่า ถูกพระเจ้าจุลนีพรหมทัตชิงแว่นแคว้นยืดครอง. บทว่า พฺยถิตา
ความว่า กลัวแต่มรณภัย ไม่ทรงเห็นสิ่งอื่นที่จะพึงถือเอา. บทว่า ปญฺจาลีนํ
วสํ คตา
ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราชนี้ ก็บทนี้เป็น
ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ยํ วทา ตกฺกรา ความว่า
อาจกระทำตามพระราชกระแสที่ตรัส. บทว่า วสิโน คตา ความว่า เมื่อ
ก่อนมีอำนาจเอง แต่เดี๋ยวนี้อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนี. บทว่า ติสนฺธิ
ความว่า ถูกล้อมด้วยกำแพง 4 เหล่านั้นคือ ถูกล้อมด้วยกำแพง คือ ช้างเป็น
ชั้นแรก ถัดนั้นล้อมด้วยกำแพงคือรถ ถัดนั้น ล้อมด้วยกำแพงคือม้า ถัดนั้น
ล้อมด้วยกำแพงคือพลราบ ชื่อว่าล้อม 3 ชั้น คือระหว่างกองช้างกับกองรถ
เป็นชั้น 1 ระหว่างกองรถกับกองม้าเป็นชั้น 1 ระหว่างกองม้ากับกองพลราบ
เป็นชั้น 1. บทว่า ปริกฺขญฺญติ ความว่า บัดนี้ นครนี้ถูกขุดโดยรอบ
เหมือนเขาประสงค์จะยกขึ้นถือไป. บทว่า อุทฺธํ ตารกชาตาว ความว่า

กองทัพที่ล้อมรอบกรุงมิถิลานั้น ปรากฏด้วยอาวุธทั้งหลายมีท่อนไม้เป็นต้น
คลายร้อยหลายพัน เหมือนดาวบนท้องฟ้า. บทว่า วิชานาหิ ความว่า
ดูก่อนพ่อมโหสถ ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม คนอื่นที่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
ผู้ฉลาดในอุบายเช่นเจ้าไม่มี อนึ่ง ชื่อว่าความเป็นบัณฑิตย่อมรู้กัน ได้ในฐานะ
เห็นปานนี้ เพราะคนอื่นเช่นเจ้าไม่มี ฉะนั้น เจ้าเท่านั้นจงรู้ว่า พวกเราจัก
พ้นความทุกข์นี้ได้อย่างไร.
พระมหาสัตว์ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชดังนี้แล้ว ดำริว่า
พระราชานี้ทรงกลัวมรณภัยเหลือเกิน ก็แพทย์เป็นที่พึ่งอาศัยของคนไข้
โภชนาหารเป็นที่พึ่งอาศัย องคนหิว น้ำดื่มเป็นที่พึ่งอาศัยของคนกระหาย เว้น
เราเสีย คนอื่นที่เป็นที่พึ่งอาศัยของพระราชานี้ไม่มี เราจักปลอบโยนพระองค์
ให้เบาพระหฤทัย ครั้งนั้น พระมหาสัตว์มิได้ครั่นคร้าม ดุจราชสีห์บันลือ-
สีหนาท ณ พื้นมโนศิลา กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์อย่าทรงกลัวเลย จงเสวยราชสมบัติให้เป็นสุขเถิด ข้าพระองค์จัก
ทำกองทัพซึ่งนับได้ 18 อักโขภิณีนี้ ให้เป็นผู้มีใช่เจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่พัน
ท้องอยู่ให้หนีไป ดุจบุคคลเงื้อก้อนดินให้กาหนีไป และดุจบุคคลขึ้นธนูให้
ลิงหนีไปฉะนั้น กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ 9 ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ทรง
เหยียดพระยุคลบาทให้ผาสุก เชิญเสวยและรื่นรมย์ใน
กามสมบัติเถิด พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจะละกองทัพ
ชาวปัญจาละหนีไป.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
ทรงเหยียดพระยุคลบาท กล่าวคือเสวยราชย์ของพระองค์ตามสบายเถิด และเมื่อ

ทรงเหยียด อย่าได้คิดเรื่องการสงคราม โปรดเสวยและรื่นรมย์ในกามสมบัติ
เถิด พระเจ้าจูลนีพรหมทัตนี้จักทรงทิ้งกองทัพนี้หนีไป.
มโหสถบัณฑิตยังพระราชาให้อุ่นพระหฤทัยแล้วออกมาให้ยังกลองแจ้ง
เรื่องเล่นมหรสพเที่ยวป่าวร้องในพระนคร กล่าวกะชาวพระนครว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้วิตกเลย จงยังวัตถุทั้งหลายมีดอกไม้ของหอม
เครื่องลูบไล้ น้ำดื่มและโภชนะเป็นต้นให้ถึงพร้อมแล้วเริ่มเล่นมหรสพ มโห-
สถกล่าวกะชาวพระนครว่า ชนทั้งหลายในที่นั้น ๆ จงดื่มใหญ่ จงเล่นดีดสี
ตีเป่า จงประโคมดนตรี จงฟ้อนรำ จงโห่ร้อง จงเฮฮา จงบันลือเสียงให้
เอิกเกริก จงตบมือให้สนุก จงขับร้องตามสบาย ค่าใช้จ่ายสำหรับพวกท่าน
ทั้งหลาย เป็นของเราจัดให้ทั้งนั้น เราผู้มีนามว่ามโหสถบัณฑิต พวกท่าน
จักได้เห็นอานุภาพของเรา ยังชาวพระนครให้เบาใจแล้ว ชาวพระนครได้ทำ
ตามนั้น ชนทั้งหลายอยู่นอกเมืองย่อมได้ยินเสียงมีเสียงขับประโคมเป็นต้น
ก็พากันเข้าสู่ภายในเมืองทางประตูน้อย ผู้รักษาทั้งหลายย่อมไม่จับกุมบุคคลที่
ตนเห็นแล้ว ๆ นอกจากพวกศัตรู เพราะฉะนั้น คนเดินเข้าออกมิได้ขาด
บุคคลเข้าไปในเมืองย่อมเห็นคนเล่นมหรสพ.
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับเสียงโกลาหลในกรุงมิถิลา จึง
ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ในเมื่อพวกเราล้อมเมือง
ด้วยกองทัพนับด้วยอักโขภิณีตั้งอยู่แล้ว ความกลัวหรือเพียงความพรั่นพรึงย่อม
ไม่มีแก่ชาวเมือง ชาวเมืองร่าเริงปีติโสมนัส ประโคมฟ้อนรำขับโห่ร้องเกรียว
กราว ตบมือ คุกคาม มีเหตุการณ์เป็นไฉน ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้
ก็ทูลมุสาแด่พระราชาว่า ข้าแต่เทพเจ้า พวกเรามีกิจอันหนึ่งเข้าไปในเมือง
ทางประตูน้อย เห็นประชาชนชาวเมืองเล่นการมหรสพ ได้ซักถามว่า พระ-

ราชาในสกลชมพูทวีปมาล้อมเมืองของท่านทั้งหลายตั้งอยู่แล้ว แต่พวกท่านเป็น
ผู้ประมาทเหลือเกิน เหตุการณ์เป็นอย่างไร ชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวตอบว่า
พระราชาของเราทั้งหลายทรงปรารถนาอย่างหนึ่ง ได้มีในกาลเมื่อยังทรงพระ-
เยาว์ว่า ในเมื่อเมืองเราอันพระราชาในสกลชมพูทวีปล้อมแล้ว พวกเราจักเล่น
มหรสพ วันนี้ความปรารถนาของพระราชาแห่งพวกเราถึงที่สุด เพราะฉะนั้น
ทางราชการจึงป่าวร้องให้ชาวเมืองเล่นมหรสพ ดื่มใหญ่ในที่ของตน ๆ พระ-
เจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงฟังถ้อยคำของพวกบุรุษที่มโหสถวางไว้ ก็ทรงขัดเคือง
ตรัสสั่งเสนาว่า ท่านทั้งหลายจงไป จงรีบถมเมืองข้างนี้ด้วยข้างนี้ด้วย จง
ทำลายคู จงทำลายกำแพง จงทำลายประตูหอรบ เข้าไปในเมือง เอาศีรษะ
ชาวเมืองมาด้วยเกวียนร้อยเล่ม ดุจเอาฟักเขียวมาฉะนั้น จงตัดเศียรพระเจ้า
วิเทหราชนำมา โยธาผู้กล้าหาญ ทั้งหลายได้ฟังพระราชดำรัสสั่ง ก็กุมอาวุธ
มีประการต่าง ๆ ไปสู่ที่ใกล้ประตูหอรบ ถูกทวยหาญของมโหสถประทุษร้าย
ด้วยการเทสาดเปือกตมระคนด้วยก้อนกรวดและเลนระคนด้วยทราย และการ
ทิ้งก้อนศิลาก็ถอยกลับลงสู่คูด้วยคิดจะทำลายกำแพง เหล่าโยธาตั้งอยู่บนประตู
เชิงเทินภายใน ก็ทำให้ข้าศึกถึงความพินาศใหญ่ ด้วยเครื่องสังหารมีลูกศร
หอกและโตมรเป็นต้น โยธาของมโหสถย่อมเบียดเบียนโยธาของพระเจ้าจุลนี
สำแดงวิการแห่งมือเป็นต้น และด่าบริภาษขู่ด้วยประการต่าง ๆ พูดยั่วให้โกรธ
ว่า พวกเจ้ามีร่างกายเหน็ดเหนื่อย จงมาดื่มเคี้ยวกินสักหน่อยซิ แล้วสาดสุรา
ทิ้งภาชนะสุราและโยนมัจฉมังสะ กับทั้งไม้เสียบมัจฉมังสะลงไป ส่วนพวก
สัตว์ก็ดื่มเคี้ยวกินเดินไปมาบนกำแพง โยธากรุงปัญจาละไม่อาจจะทำอะไรได้
ก็ไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลเหล่าอื่นยก
ท่านผู้มีอานุภาพแล้ว ไม่สามารถจะเอาชัยชนะได้ พระเจ้าจุลนีประทับแรม
อยู่ 4 - 5 ราตรี เมื่อไม่ทรงเห็นอุบายที่จะหักเอาเมืองมิถิลาได้จึงตรัสถาม
เกวัฏว่า อาจารย์ พวกเราไม่สามารถจะยึดพระนครได้ แม้คนคนหนึ่ง ก็ไม่

สามารถจะเข้าใกล้ จะควรทำอย่างไร เกวัฏกราบทูลสนองว่า ช่างก่อนเถอะ
พระเจ้าข้า ธรรมดาเมืองมีน้ำภายนอก เราจักเอาเมืองได้ด้วยสิ้นน้ำ พวกใน
เมืองลำบากด้วยน้ำจักเปิดประตูเมืองออกมา พระราชาทรงเห็นชอบด้วยว่า
อุบายนี้ดี จำเดิมแต่นั้นมา พวกข้างกองทัพก็มิให้ใครนำน้ำเข้าไปในเมือง บุรุษ
ที่มโหสถวางไว้ก็เขียนหนังสือผูกปลายลูกศรยิงส่งข่าวเข้าไปในเมือง เพราะ
มโหสถตั้งอาณัติไว้ว่า ใครพบหนังสือที่ปลายลูกศรจงนำมาให้เราดังนี้ ครั้งนั้น
บุรุษคนหนึ่งเห็นหนังสือที่ปลายลูกศรก็เอาไปแสดงแก่มโหสถ มโหสถรู้ข่าวนั้น
จึงนึกว่า พระเจ้าจุลนีไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้ผ่าไม้ไผ่ยาว
60 ศอกออกเป็น 2 ซีก รานปล้องออกหมดแล้วประกบกันเข้าอีกรัดด้วยหนัง
ทาโคลนข้างบน ให้หว่านโตนดสายบัวและพืชบัวขาว ซึ่งได้มาแต่ดาบสผู้มี
ฤทธิ์นำมาแต่หิมวันตประเทศ ในเลนใกล้ฝั่งสระโบกขรณี วางไม้ไผ่ไว้ข้างบน
กรอกน้ำลงไป คืนเดียวเท่านั้นเกิดดอกขึ้นไป ๆ ถึงปลายไม้ไผ่สูงพันราว 1 ศอก
ลำดับนั้น มโหสถยังบุรุษทั้งหลายของตนให้ถอนสายบัวนั้น โยนให้พวกข้าศึก
ด้วยคำว่า พวกท่านจงถวายสายบัวนี้แก่พระเจ้าจุลนี เหล่าบุรุษของมโหสถทำ
สายบัวนั้นให้เป็นวลัยแล้วร้องบอกว่า แน่ะท่านทั้งหลายผู้เป็นข้าบาทของพระ-
เจ้าจุลนีพรหมทัต เหล่าท่านอย่าตายด้วยความหิวเลย จงรับเอาดอกอุบลนี้
ประดับ เคี้ยวกินสายบัวให้อิ่มหนำ ร้องบอกฉะนี้แล้วโยนลงไป บุรุษคนหนึ่ง
ที่มโหสถวางไว้จึงถือเอาสายบัวนั้น นำไปถวายพระเจ้าจุลนี กราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอได้ทอดพระเนตรสายบัวนี้ สายบัวยาวเท่านี้ เร้าทั้งหลายไม่
เคยเห็นมาแต่ก่อนจนบัดนี้ ครั้นเมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงวัดดู
ก็วัดสายบัวอันยาว 60 ศอก ทูลว่า 80 ศอก ในเมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า
บัวนั้นเกิดในที่ไหน บุรุษคนหนึ่งที่มโหสถวางไว้กราบทูลเท็จว่า วันหนึ่ง
ข้าพระเจ้ากระหายน้ำเข้าไปในเมืองทางประตูน้อยด้วยคิดจะดื่มสุรา ได้เห็น

สระโบกขรณีใหญ่ทั้งหลายที่ขุดไว้เพื่อประโยชน์แห่งชาวเมืองเล่นน้ำ มหาชน
นั่งในเรือเก็บดอกบัว ดอกบัวนี้เกิดริมฝั่งสระโบกขรณีนั้น ก็แต่สายบัวอันเกิด
ในที่ลึกยาวราว 100 ศอก พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้สดับข้อความนั้น จึงตรัส
แก่เกวัฏว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ พวกเราไม่อาจจะยึดเอาเมืองนี้ด้วยให้สิ้นน้ำ
ท่านเลิกความคิดนี้เสียเถิด พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จักยึดเอา
เมืองนี้ด้วยให้สิ้นข้าว เพราะธรรมดาว่านครต้องมีข้าวภายนอก พระราชาตรัส
ให้ทำอย่างนั้น มโหสถบันฑิตรู้ข่าวนั้น โดยนัยหนหลังจึงนึกว่าพราหมณ์เกวัฏ
ไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้เทโคลนตามบนกำแพงเมือง แล้ว
ให้หว่านข้าวเปลือกในที่นั้น ธรรมดาความประสงค์ของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย
ย่อมสำเร็จราตรีเดียวเท่านั้น ข้าวเปลือกก็งอกขึ้นบนกำแพงเมือง พระเจ้าจุลนี
ทอดพระเนตรเห็นต้นข้าวนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นอะไรปรากฏเขียวอยู่บนกำแพง
เมือง บุรุษที่มโหสถวางไว้ได้ฟังพระราชกระแส ก็เป็นเหมือนคอยชิงมาแต่
พระโอฐสนองพระราชดำรัส จึงกราบทูลว่าข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า บุตรแห่ง
คฤหบดีอันมีนามว่ามโหสถบัณฑิต คิดเห็นภัยในอนาคตกาล จึงให้ขนข้าวเปลือก
แต่แคว้นขึ้นฉางหลวงไว้ แล้วเก็บงำข้าวเปลือกที่เหลือไว้ริมกำแพง ได้ยินว่า
ข้าวเปลือกเหล่านั้น แห้งไปด้วยแดด ชุ่มไปด้วยฝน และข้าวกล้าทั้งหลาย
ก็เกิดขึ้นพร้อมในที่นั้น วันหนึ่งข้าพเจ้าเข้าไปโดยประตูน้อยด้วยกิจอันหนึ่ง
เห็นกองข้าวเปลือกริมกำแพงก็หยิบข้าวเปลือกมาจากกองนั้น ทั้งไว้ริมทาง
ทีนั้นหมู่ชนเมื่อจะพูดกับข้าพระเจ้าว่าชะรอยท่านจะหิว จึงบอกว่า ท่านจงเอา
ชายผ้าห่อข้าวเปลือกไปเรือนของท่านให้ตำหุงกินซิ พระเจ้ากรุงปัญจาละได้สดับ
ดังนั้น จึงตรัสกะพราหมณ์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยให้สิ้นธัญญาหาร
อุบายอื่นมีหรือ เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นเราจักยึดเอาด้วยสิ้นฟืน ขึ้นชื่อว่า

เมืองย่อมมีฟืนภายนอก พระราชาตรัสให้ดำเนินการอย่างนั้น ฝ่ายมโหสถรู้ข่าว
นั้นดังหนหลัง ให้ทำกองฟืนประมาณเท่าภูเขา ให้ปรากฏล่วงพ้นข้าวเปลือก
บนกำแพง พวกคนของมโหสถเมื่อกล่าวเยาะเย้ยเล่นกับโยธาของพระเจ้าจุลนี
จึงกล่าวว่า ถ้าพวกท่านหิวจงหุงข้าวกินเสีย แล้วโยนฟืนใหญ่ ๆ ลงไปให้ฝ่าย
พระราชาจุลนีทอดพระเนตรเห็นฟืนเป็นอันมากกองพ้นกำแพงเมือง จึงตรัส
ถามว่า นั่นอะไร บุรุษที่มโหสถวางไว้จึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า
บุตรคฤหบดีผู้นี้นามว่ามโหสถเห็นภัยในอนาคตจึงให้ขนฟืนมากองไว้หลังเรือน
แห่งเหล่าสกุล และให้กองไว้ริมกำแพงเมืองก็มิใช่น้อย พระเจ้ากรุงปัญจาละ
ได้สดับดังนั้นจึงตรัสกะอาจารย์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยสิ้นฟืน
ท่านจงเลิกอุบายนี้เสีย พราหมณ์เกวัฏทูลว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตก
อุบายอื่นยังมี พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า อุบายอย่างไรอีก เรายังไม่เห็นที่สุด
อุบายของท่าน เราไม่สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ เราจักกลับเมืองของเรา
เกวัฏจึงทูลว่า ความอายว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตกับพระราชาร้อยเอ็ด ไม่
สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ จักมีแก่พวกเรา มโหสถจักเป็นบัณฑิตอย่างไร
แม้ข้าพระองค์ก็เป็นบัณฑิตแท้จริง พวกเราจักทำเลสอันหนึ่ง พระราชาตรัสว่า
เลสอะไร เกวัฏจึงทูลสนองว่า พวกเราจักทำธรรมยุทธ์ พระราชาตรัสถามว่า
อะไรเรียกว่าธรรมยุทธ์ เกวัฏทูลตอบว่า เสนาจักไม่ต้องรบ ก็แต่บัณฑิต
ทั้งสองของพระราชาทั้งสองจักอยู่ในที่เดียวกัน ในบัณฑิตทั้งสองนั้น บัณฑิต
ใดจักไหว้ บัณฑิตนั้นจักแพ้ ก็มโหสถไม่รู้ความคิดนี้ และข้าพระองค์ก็เป็น
ผู้แก่กว่า มโหสถยังเป็นหนุ่ม เห็นข้าพระองค์ก็จักไหว้ มโหสถไหว้ข้าพระองค์
เมื่อใด ชาวแคว้นวิเทหะก็จักชื่อว่า อันพวกเราชนะแล้ว ที่นั้นพวกเราจักยัง
วิเทหรัฐให้ปราชัยแล้วยึดไว้เป็นเมืองของตน ความอายจักไม่มีแก่พวกเราด้วย
ประการฉะนี้ รบด้วยเลสนี้ชื่อว่าธรรมยุทธ์ ฝ่ายมโหสถได้ทราบรหัสเหตุ

เหมือนหนหลัง จึงคิดว่า ถ้าเราแพ้เกวัฏ เราก็ไม่ใช่บัณฑิต ส่วนพระเจ้าจุลนี
พรหมทัตตรัสว่า อุบายนี้งามละอาจารย์ ให้เขียนราชสาสน์ความว่า พรุ่งนี้
ธรรมยุทธ์จักมี ชนะหรือปราชัยโดยธรรมโดยเสมอจักมีแก่บัณฑิตทั้งสอง
ผู้ใดไม่ทำธรรมยุทธ์ ผู้นั้นชื่อว่าพ่ายแพ้ ดังนี้ แล้วส่งไปถวายพระเจ้าวิเทห-
รัฐทางประตูน้อย พระเจ้ากรุงมิถิลาได้ทรงสดับราชสาสน์นั้น ให้เรียกมโหสถ
มาแจ้งเนื้อความนั้น มโหสถกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ขอสมมติเทพ
พระราชทานราชสาสน์ตอบไปว่า ชาวกรุงมิถิลาจักเตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ไว้
ทางประตูด้านปัศจิมทิศ กองทัพกรุงปัญจาละจงมาสู่สนามธรรมยุทธ์ พระเจ้า
วิเทหราชได้ทรงฟังคำของมโหสถจึงพระราชทานราชสาสน์ ตอบแก่ทูตผู้มาแล้ว
นั้นเอง มโหสถให้เตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ทางประตูด้านปัศจิมทิศ ด้วยคิดว่า
ปราชัยจักมีแก่เกวัฏวันพรุ่งนี้ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ร้อยเอ็ดคนก็ล้อม
เกวัฏไว้เพื่อประโยชน์แก่การรักษามโหสถด้วยคิดว่า ใครจะรู้เหตุการณ์เหตุการณ์
อะไรจักเกิดมี ส่วนพระราชาร้อยเอ็ดก็ไปสู่สนามธรรมยุทธ์ ยืนคอยดูทางปรา-
จีนทิศ พราหมณ์เกวัฏก็ไปเช่นนั้นเหมือนกัน ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์สนาน
น้ำหอมแต่เช้าทีเดียวแล้ว นั่งผ้ามาแต่แคว้นกาสีราคานับด้วยแสนกหาปณะ
แล้วประดับเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ไปสู่พระ-
ทวารด้วยบริวารใหญ่ ครั้นได้พระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าว่า บุตรของเราจงเข้ามา
ดังนี้ ก็เข้าไปถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นได้สดับ
พระราชดำรัสถามถึงเหตุที่มาเฝ้า จึงกราบทูลว่า จักไปสนามธรรมยุทธ์ครั้น
ตรัสถามว่า จะต้องการอะไร จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะลวงเกวัฏ
ด้วยแก้วมณี ควรที่ข้าพระองค์จะได้มณีรัตนะ 8 คด พระราชาก็ทรงอนุญาต
มโหสถรับมณีรัตนะนั้นแล้วถวายบังคมพระราชาลงจากพระราชนิเวศน์ มีโยธา
สหชาตพันหนึ่งแวดล้อม ขึ้นสู่รถอันประเสริฐเทียมด้วยม้าเศวตสินธพอันควร

ค่าเก้าแสนกหาปณะถึงริมประตูเวลากินอาหารเช้า ฝ่ายเกวัฏยืนคอยดูทางมาแห่ง
มโหสถ ด้วยคิดว่ามโหสถจักมาถึงบัดนี้ ๆ เป็นเสมือนยื่นคอด้วยแลหา เหงื่อ
ไหลโซมด้วยความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ฝ่ายมโหสถเต็มไปด้วยความเป็นผู้มี
บริวารมาก ดุจมหาสมุทรท่วมทับ เป็นผู้มิได้สยดสยองมิได้พองขนดุจไกร-
สรสีหราช ให้เปิดประตูออกจากพระนคร ลงจากรถดำเนินไปโดยว่องไว
องอาจดุจพระยาราชสีห์ พระราชาร้อยเอ็ดเห็นสิริรูปแห่งพระโพธิสัตว์ ก็ยัง
ศัพท์สำเนียงเอิกเกริกสรรเสริญเกียรติพระโพธิสัตว์ให้เป็นไปว่า ได้ยินว่า
บุตรสิริวัฒกเศรษฐี ผู้มีนามว่า มโหสถบัณฑิต เป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีใคร
เปรียบด้วยความปรีชาในสกลชมพูทวีป ฝ่ายมโหสถมีสิริสมบัติหาที่เปรียบมิได้
คือมณีรัตนะเดินตรงไปหาพราหมณ์เกวัฏ ส่วนปุโรหิตเกวัฏเห็นมโหสถบรม-
โพธิสัตว์ ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้ลุกขึ้นต้อนรับกล่าวว่า ท่านมโหสถบัณฑิต
เราทั้งสองเป็นบัณฑิตเหมือนกัน เมื่อพวกข้าพเจ้ามาอยู่ที่นี้นานเพราะท่าน
ท่านไม่สั่งสักว่าเครื่องบรรณาการมาบ้าง เพราะเหตุไรท่านจึงได้ทำอย่างนี้
ลำดับนั้น มโหสถกล่าวตอบเกวัฏว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าหาบรรณาการที่
สมควรแก่ท่าน พึ่งได้มณีวันนี้เอง ท่านจงรับเอามณีรัตนะนี้ มณีรัตนะอื่น
อย่างนี้หาไม่ได้ทีเดียว เกวัฏเห็นมณีรัตนะอันรุ่งเรืองอยู่ในมือมโหสถก็คิดว่า
มโหสถจักประสงค์ให้เรา จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนี้ท่านจงให้แล้วเหยียดมือคอย
รับ มโหสถจึงกล่าวว่า ท่านคอยรับเถิดแล้วโยนไปให้ตก ณ นิ้วมือที่เหยียดรับ
ลำดับนั้น เกวัฏไม่อาจทานแก้วมณีอันมีน้ำหนักด้วยนิ้วมือ แก้วมณีก็พลาด
ตกใกล้เท้ามโหสถ เกวัฏก็น้อมกายลงแทบเท้าแห่งมโหสถ ด้วยใคร่จะถือเอา
เพราะความโลภ ลำดับนั้น มโหสถก็ไม่ให้เกวัฏลุกขึ้นได้ จับคอเกวัฏไว้ด้วย
มือข้างหนึ่ง จับชายกระเบนไว้ด้วยมือข้างหนึ่ง กล่าวว่า ลุกขึ้นซิ ท่านอาจารย์

ข้าพเจ้าเป็นเด็กเท่ากับหลานของท่าน ท่านอย่าไหว้ข้าพเจ้าเลย แล้ว ยังหน้า
ของเกวัฏให้สีลงที่พื้นกลับไปกลับมา จนหน้าเปื้อนด้วยโลหิตแล้วกล่าวว่า ดู
ก่อนคนอันธพาล เจ้าหวังการไหว้แต่เราหรือ กล่าวฉะนั้นแล้วจับคอซัดไป
เกวัฏไปตกลงในที่ราวหนึ่งอุสุภ ลุกขึ้นหนีไป โยธาของมโหสถก็หยิบเอา
แก้วมณีไว้ เสียงมโหสถร้องว่า ลุกขึ้นเถิด ๆ อย่าไหว้เราเลย ดังนี้ ได้ยิน
ทั่วบริษัท ส่วนบริษัทของมโหสถก็กล่าวว่า เกวัฏไหว้เท้ามโหสถแล้วโห่ร้อง
แซ่เป็นเสียงเดียวกัน พระราชาร้อยเอ็ด ตลอดพระเจ้าจุลนีก็ได้เห็นเกวัฏน้อม
กายลงแทบเท้ามโหสถ พระราชาเหล่านั้นคิดว่า บัณฑิตของพวกเราไหว้
มโหสถบัณฑิตแล้ว บัดนี้พวกเราเป็นอันพ่ายแพ้ มโหสถจักไม่ให้ชีวิตแก่
พวกเรา คิดฉะนี้แล้วต่างก็ขึ้นม้าของตน ปรารภเพื่อหนีตรงไปอุตตรปัญจาละ
บริษัทของพระโพธิสัตว์เห็นพระราชาเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงบอกกันว่า พระ
เจ้าจุลนีพรหมทัตพาพระราชาร้อยเอ็ดหนีไปแล้ว แล้วโห่ร้องกันอีก พระราชา
ทั้งปวงได้สดับเสียงนั้นกลัวแต่มรณภัยก็พากันแตกกองทัพหนีไป บริษัทของ
พระโพธิสัตว์ก็บันลือสำเนียงเกรียวกราวโกลาหลใหญ่ พระมหาสัตว์เป็นผู้
เสนางคนิกรแวดล้อมกลับเข้าสู่กรุงมิถิลา.
ฝ่ายกองทัพของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตหนีไปได้ 3 โยชน์ ฝ่ายเกวัฏก็
ขึ้นม้าแล้วเช็ดโลหิตที่หน้าผากไปถึงกองทัพ นั่งอยู่บนหลังม้ากล่าวว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าหนีไปเลย เราไม่ได้ไหว้บุตรคฤหบดี
ผู้ชื่อว่ามโหสถดอก ท่านทั้งหลายหยุดเถิด เสนาไม่เชื่อไม่หยุดคงเดินไป พา
กันด่าขู่เกวัฏ กล่าวว่า แน่ะพราหมณ์ชั่ว ผู้มีธรรมเป็นบาป ท่านกล่าวว่า เรา
จักทำธรรมยุทธ์ แล้ว มาไหว้มโหสถผู้คราวหลาน ผู้ไม่เพียงพอจะไหว้ กิจที่
พวกข้าพเจ้าจะพึงทำแก่ท่านไม่มี กล่าวฉะนี้แล้ว ก็ไม่พึงถ้อยคำของเกวัฏ คง

เดินไปนั่นเที่ยว เกวัฏไปโดยเร็วถึงกองทัพจึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านจงเชื่อเราเถิด เราไม่ได้ไหว้มโหสถ มโหสถลวงเราด้วยแก้วมณี
ยังพระราชาทั้งปวงเหล่านั้น ให้รู้โดยอาการต่าง ๆ ให้เชื่อถ้อยคำของตน ยังกอง
ทัพอันแตกกระจัดกระจายแล้วนั้น ให้กลับควบคุมกันเป็นปกติ ก็เสนาใหญ่
ถึงเพียงนั้น หากจะถือกำฝุ่นหรือก้อนดินก้อนหนึ่งซัดไปไซร้ กองฝุ่นและดิน
ราวเท่ากำแพงเมือง พึงยังดูให้เต็ม ก็แต่ความประสงค์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้ง
หลายย่อมสำเร็จ เพราเหตุนั้น แม้บุคคลผู้หนึ่งหันหน้าเฉพาะเมืองซัดกำฝุ่นหรือ
ก้อนดินจึงไม่มีเลย กองทัพแม้ทั้งปวงกลับถึงสถานที่ตั้งค่ายของตน พระราชา
จุลนีตรัสถามเกวัฏว่า เราจักทำอย่างไร อาจารย์ เกวัฏทูลตอบว่า เราทั้งหลาย
ไม่ให้ใคร ๆ ออกจากประตูน้อย ตัดการเข้าออกเสีย ชาวเมืองออกไม่ได้ก็จัก
เดือดร้อนเปิดประตู ทีนั้นพวกเราจักจับเหล่าปัจจามิตรได้ พระราชาตรัส
รับรองว่า อุบายนี้งาม ฝ่ายมโหสถรู้ข่าวนั้น โดยนัยหนหลังจึงคิดว่า เมื่อกองทัพ
ปัญจาลนครล้อมอยู่ในที่นี้นาน พวกเราจักไม่มีความผาสุก ควรที่จะให้กองทัพ
นั้นหนีไปด้วยอุบาย จักให้หนีไปเสียด้วยความคิด มโหสถพิจารณาหาคน
ฉลาดคิดคนหนึ่ง ก็เห็นพราหมณ์หนึ่งชื่ออนุเกวัฏ จึงให้เรียกตัวมาแจ้งว่า
แน่ะอาจารย์ ควรที่ท่านจะช่วยงานอันหนึ่งของพวกเรา อนุเกวัฏถามว่า
ข้าพเจ้าจะทำอะไร ขอให้ท่านบอก มโหสถบัณฑิตจึงชี้แจงให้อนุเกวัฏทราบว่า
ท่านอาจารย์จงขึ้นไปอยู่ตามกำแพงเมือง เมื่อเห็นกองรักษาฝ่ายเราประมาท
จงโยนขนมและปลาเนื้อเป็นต้น เพื่อพวกกองทัพของพระเจ้าจุลนีในระหว่าง ๆ
แล้วร้องบอกว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านจงเคี้ยวกินสิ่งนี้ ๆ อย่ากระสัน
เดือดร้อนเลย จงพยายามอยู่สักสองสามวันเถิด ชาวเมืองมิถิลาก็เดือนร้อนดุจ
ไก่เดือดร้อนตายอยู่ในกรงฉะนั้น ไม่ช้านานก็จะเปิดประตูเมืองเพื่อพวกท่าน
ต่อแต่นั้น พวกท่านจงจับพระเจ้ากรุงมิถิลาและมโหสถผู้ดุร้าย กองรักษาของ

พวกเราได้ฟังถ้อยคำของท่าน ก็จักด่าคุกคามท่าน จะเป็นเหมือนจับมือและ
เท้าท่าน ประหารด้วยซีกไม้ไผ่ให้กองทัพพระเจ้าจุลนีเห็น แล้วให้ท่านลงจาก
กำแพงเมือง มุ่นผมท่านให้เป็นจุก 5 หย่อม แล้วโรยผงอิฐลงบนศีรษะท่าน
แล้วให้ท่านทัดดอกยี่โถ แล้วตีท่านเล็กน้อยพอให้เห็นเป็นรอยที่หลังท่าน แล้ว
ให้ท่านขึ้นบนกำแพงเมือง ให้ท่านนั่งในสาแหรกเอาเชือกผูกโรยหย่อนลงไป
นอกกำแพงเมือง แล้วแสดงให้กองทัพของพระเจ้าจุลนีได้ยินว่า แน่ะอ้ายโจร
ทำลายความคิด เองจงไป พวกกองทัพของพระเจ้าจุลนีจักพาท่านไปเฝ้าพระ
เจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็นจักตรัสถามท่านว่า ท่านมีความผิด
อย่างไร ที่นั้นท่านควรทูลอย่างนี้แด่พระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
แต่ก่อนข้าพระเจ้ามียศใหญ่ มโหสถโกรธข้าพระเจ้าว่า เป็นผู้ทำลายความคิด
จึงทูลพระเจ้าวิเทหราชแล้วชิงเอายศของข้าพระเจ้าเสียทั้งหมด ข้าพระเจ้าคิด
ว่า จักขอให้พวกพลของพระองค์ตัดศีรษะของบุตรคฤหบดีผู้ชิงยศของข้าพระ
เจ้าไป คิดฉะนี้แล้วได้เห็นโยธาของพระองค์เดือนร้อน จึงให้ของควรเคี้ยว
ควรกินแก่โยธาเหล่านั้น มโหสถใส่ใจข้าพระเจ้าผู้มีเวรเก่าไว้ด้วยเหตุมีประ
มาณเท่านี้ จึงให้ข้าพระเจ้าถึงความพินาศนี้ ชนทั้งปวงของพระองค์รู้เหตุทั้ง
หมด ท่านจงยังพระเจ้าจุลนีพรหมทัตให้เชื่อโดยประการต่าง ๆ เมื่อเกิดความ
คุ้นเคยกันแล้ว จึงทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราช จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ได้
ข้าพระบาทมาแล้ว พระองค์อย่าได้ทรงวิตกเลย บัดนี้พระชนมชีพของพระ-
เจ้าวิเทหราชและชีวิตของมโหสถจะไม่มี เพราะข้าพระเจ้ารู้สถานที่มั่นคง
สถานที่ไม่มีกำลัง และสถานที่มีหรือไม่มีสัตว์ร้ายมีจระเข้เป็นต้น ในดูแห่ง
กำแพงในเมืองนี้ ข้าพระบาทจักยึดเอาเมืองถวายพระองค์โดยกาลไม่นานเลย
ครั้นทูลอย่างนี้ พระราชาจุลนีจักทรงเชื่อประทานรางวัลแก่ท่าน แต่นั้นจะให้
ท่านปกครองกองทัพและพาหนะของพระองค์ ทีนั้นท่านจงคุมกองทัพของ

พระเจ้าจุสนีให้ลงในคูที่มีจระเข้ร้าย กองทัพของพระเจ้าจุลนีก็จักไม่ลงด้วยกลัว
จระเข้ กาลนั้นท่านจงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถยุยงให้กองทัพแตกร้าว
เป็นกบฏต่อพระองค์แล้ว ใคร ๆ ตั้งแต่พระราชาร้อยเอ็ดและพราหมณ์เกวัฏ
ที่จะไม่รับสินบนมโหสถไม่มี ชนเหล่านี้ที่แวดล้อมโดยเสด็จทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็น
พวกของมโหสถ อันเสวกามาตย์ของพระองค์มีแต่ข้าพระบาทคนเดียวเท่านั้น
ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงเชื่อ จงมีพระราชโองการแก่พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดว่า
เธอทั้งหลายจงแต่งองค์มาหาเรา ดังนี้ ทีนั้นพระองค์ก็จะพึงทอดพระนคร
เห็นอักษรในราชาภรณ์มีภูษาทรงเครื่องประดับและพระขรรค์เป็นต้น อัน
มโหสถจารึกนามของตนถวายไว้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็จะพึงทรงเชื่อ ท่าน
ทูลฉะนี้ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็จักทรงทำตามอย่างนั้น จักทอดพระเนตร
เห็นอักษรที่จารึกชื่อมโหสถในราชาภรณ์เหล่านั้น ก็จักทรงเชื่อและกลัวสะดุ้ง
พระหฤทัยส่งพระราชาเหล่านั้นกลับไป แล้วจักตรัสหารือท่านว่า บัดนี้เรา
จักทำอย่างไรดี ท่านบัณฑิต ท่านควรกราบทูลพระองค์ดังนี้ว่า มโหสถเป็น
คนเจ้ามายามาก ถ้าพระองค์จักประทับอยู่สิ้นวันเล็กน้อย มโหสถก็จักทรงทำ
ปวงเสนาของพระองค์ให้อยู่ในเงื้อมมือตนแล้วจับพระองค์ เราทั้งหลายอย่า
เนิ่นช้า รีบขึ้นม้าหนีไปเสียในระหว่างมัชฌิมยามวันนี้ ขอมรณภัยของพวกเรา
จงอย่ามีในคนอื่นเลย พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงฟังคำของท่านดังนั้นก็
จักทรงทำตาม ท่านจงกลับในเวลาที่พระเจ้าจุลนีหนีไป แล้วยังพวกโยธาของ
เราให้รู้ พราหมณ์อนุเกวัฏได้ฟังคำชี้แจงนั้น ก็กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ดี
แล้ว ข้าพเจ้าจักทำตามคำของท่าน มโหสถจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านควร
ทนต่อการประหารเล็กน้อย อนุเกวัฏกล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ยกเสีย
แต่ชีวิตและมือเท้าของข้าพเจ้า เหลือจากนั้น ท่านจงทำตามชอบใจของท่าน
มโหสถจึงให้สิ่งของแก่เหล่าชนในเรือนของอนุเกวัฏแล้ว ทำพราหมณ์ให้ถึง

ประการอันแปลกโดยนัยที่กล่าวแล้ว แล้วให้นั่งในสาแหรกเอาเชือกผูกโรยลง
ไปให้แก่พวกเสวกของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต.
ลำดับนั้น พวกเสนาก็จับอนุเกวัฏนำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต พระ
ราชาทรงทดลองแล้ว ก็ทรงเชื่อพราหมณ์อนุเกวัฏ จึงพระราชทานรางวัลแก่
อนุเกวัฏแล้วให้ปกครองเสนา ฝ่ายอนุเกวัฏก็ยังเสนาให้ลงในสถานที่มีจระเข้ร้าย
พลนิกายถูกจระเข้ทั้งหลายขบกัด ถูกกองรักษาที่อยู่บนหอรบยิงพุ่งเอาด้วยศร
หอกและโตมร ก็ถึงความพินาศใหญ่ จำเดิมแต่นั้น ๆ ก็ไม่อาจเข้าไปใกล้ด้วย
ความกลัวอันตรายเห็นปานนั้น ลำดับนั้น อนุเกวัฏเข้าเฝ้าพระเจ้าจุลนีพรหมทัต
ทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า พวกคนรบเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ไม่มี มีแต่พวกรับสิน
บนทั้งนั้น ถ้าพระองค์ไม่เชื่อ จงให้พวกเหล่านั้นมา จักทอดพระเนตรเห็นอักษร
จารึกชื่อมโหสถในเครื่องอุปโภคมีผ้านุ่งที่นุ่งอยู่เป็นต้น พระเจ้ากรุงอุตตรปัญ
จาละให้ทำอย่างนั้น ก็ทอดพระเนตรเห็นอักษรในผ้าเป็นต้นแห่งพวกนั้นทั้งหมด
ก็เข้าพระทัยแน่ว่าพวกนี้รับสินบน จึงตรัสถามอนุเกวัฏว่า บัดนี้เราควรจะทำ
อย่างไร ท่านอาจารย์ ครั้นอนุเกวัฏทูลตอบว่า กิจอื่นที่ควรทำไม่มี พระเจ้าข้า
ถ้าพระองค์ทรงรีรออยู่ มโหสถจักจับพระองค์ ส่วนอาจารย์เกวัฏ ก็สาละวนอยู่
แต่แผลที่หน้าผากเท่านั้น แต่รับสินบนเหมือนกัน เพราะแกรับมณีรัตนะ
แล้ว ยังพระองค์ให้หนีไปสิ้น 3 โยชน์ ให้ทรงเชื่อถือแล้วให้กลับ แกนี้แหละยุยง
ให้กองทัพแตก ข้าพระองค์ไม่สมัครจะอยู่แม้สักคืนเดียว ควรจะหนีเสียใน
ระหว่างเที่ยงคืนวันนี้ ยกข้าพระองค์เสีย บุคคลอื่นจะเป็นผู้ร่วมพระหฤทัย
ไม่มี ครั้นอนุเกวัฏทูลฉะนี้ ก็ตรัสสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านอาจารย์จงผูกม้าที่
นั่งแล้วตระเตรียมยาน อนุเกวัฏรู้ความที่พระเจ้าจุลนีจะหนีโดยทรงวินิจฉัยแน่
จึงทูลให้อุ่นพระหฤทัยว่า อย่ากลัวเลย พระเจ้าข้า แล้วออกไปข้างนอกสั่ง

พวกบุรุษที่มโหสถวางไว้ว่า วันนี้พระเจ้าอุตตรปัญญาจาละจะหนี ท่านทั้งหลาย
อย่าหลับเสีย สั่งฉะนี้แล้วผูกม้าที่นั่งมั่นคง อย่างที่รั้งไว้จะให้หยุดมันยิ่งสำคัญ
ว่าวิ่งหนีตะบันไป แล้วนำมันมาไว้ในระหว่างมัชฌิมยามแล้วกราบทูลว่า ม้า
ที่นั่งเตรียมผูกไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอทรงทราบเวลาเสด็จ พระราชาก็ขึ้นม้า
หนีไป ฝ่ายอนุเกวัฏก็ขึ้นม้าทำเหมือนโดยเสด็จด้วยหน่อยหนึ่งก็กลับ ม้าที่นั่ง
ที่ผูกมั่นคงแม้พระราชารั้งให้หยุด ก็พาพระราชาหนีไปอย่างเดียว ฝ่ายอนุเกวัฏ
เข้าในหมู่เสนาก็ร้องอึงขึ้นว่า พระราชาจุลนีพรหมทัตเสด็จหนีไปแล้ว พวก
บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ร้องบอกกันกับพวกของตน ฝ่ายพระราชาร้อยเอ็ดได้
สดับเสียงนั้น ก็สำคัญว่า มโหสถเปิดประตูเมืองออกมา บัดนี้เขาจักไม่ไว้
ชีวิตพวกเรา ก็กลัวสะดุ้งตกใจ ไม่เหลียวแลเครื่องอุปโภคบริโภคพากันหนี
ไปแต่ที่นั้น ๆ ชนทั้งหลายก็ร้องเอ็ดกันขึ้นว่า แม้พระราชาร้อยเอ็ดก็เสด็จหนี
ไปแล้ว กองรักษาอยู่ ที่บนประตูหอรบได้ยินเสียงนั้น ก็โห่ร้องตบมือกันขึ้น
ขณะนั้น พระนครมิถิลาทั้งสิ้น ทั้งภายในภายนอกก็บันลือเสียงสนั่นหวั่นไหว
เป็นอันเดียวกัน เพียงดังแผ่นดินแยกออก เพียงดังท้องทะเลปั่นป่วนฉะนั้น
พลนิกาย 18 อักโขภิณีกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าใจว่า พระเจ้าจุลนีและ
พระราชาร้อยเอ็ดถูกมโหสถจับไว้ได้แล้ว ก็ทั้งแม้ผ้าสาฎกที่พันท้องของตน ๆ
เสียหนีไป สถานที่ตั้งกองทัพว่างเปล่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตพาพระราชา
ร้อยเอ็ดไปสู่นครของตน วันรุ่งขึ้นพลนิกายชาวกรุงมิถิลาเปิดประตูเมืองออก
มาแต่เช้า เห็นสิ่งของกองอยู่เป็นอันมาก จึงแจ้งแก่มโหสถว่า ข้าแต่ท่าน
บัณฑิต พวกเราจักทำอย่างไร มโหสถกล่าวว่า ทรัพย์ที่พวกข้าศึกทิ้งไว้
ตกเป็นของพวกท่าน พวกท่านจงถวายสิ่งที่เป็นของพระราชาทั้งปวงแด่พระ-
ราชาของเราทั้งหลาย จงนำสิ่งเป็นของเศรษฐีและเกวัฏมาให้แก่เรา ชาวเมือง
จงถือเอาสิ่งที่เหลือจากนี้ เมื่อชนทั้งหลายนำรัตนภัณฑ์มีค่ามากไปอยู่ กินเวลา

ล่วงไปถึงกึ่งเดือน ก็แต่ชนทั้งหลายนำของอันเหลือจากนั้นไป กินเวลาถึง 4
เดือน พระโพธิสัตว์ให้รางวัลเป็นอันมากแก่พราหมณ์อนุเกวัฏ ได้ยินว่า จำเดิม
แต่นั้นมา ชาวกรุงมิถิลาก็บังเกิดมั่งคั่งมั่งมีเงินแลทอง รัตนะมีค่ามากก็เกิดมี
มากหลาย.
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตประทับอยู่ ณ เมืองอุตตรปัญจาละกับพระราชา
ร้อยเอ็ดเหล่านั้น ล่วงไปปีหนึ่ง.
อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์เกวัฏแลดูหน้าด้วยกระจกก็เห็นแผลที่หน้าผาก
จึงคิดว่า นี้มโหสถทำไว้ มโหสถทำเราให้อายแก่พระราชาทั้งหลายมีประมาณ
เท่านี้ คิดฉะนี้ก็เกิดโกรธขึ้น คิดว่า เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้สามารถเห็น
หลังแห่งมโหสถ ก็นึกได้ว่า อุบายมีอยู่ ลงสันนิษฐานแน่ว่า พระราชธิดาของ
พระราชาแห่งเรามีพระนามว่า ปัญจาลจันที มีพระรูปโฉมอุดมเปรียบด้วย
เทพอัปสร เราจักให้พระนางนั้นแก่พระเจ้าวิเทหราช โลมเธอด้วยกาม แล้ว
นำเธอผู้เป็นดังปลากลืนเบ็ดกับมโหสถมา ฆ่าเสียทั้งสองคนแล้วดื่มชัยบาน
ตระหนักแน่ฉะนี้แล้ว จึงเข้าเฝ้ากราบทูลแด่พระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ยังมีความคิดอีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของเกวัฏ จึงตรัสว่า
แน่ะท่านอาจารย์ พวกเราไม่เป็นเจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่พันท้อง เพราะ
อาศัยความคิดของท่าน บัดนี้ท่านจักทำอะไรอีก นิ่งเสียทีเถิด เกวัฏจึงทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า อุบายอื่นเช่นอุบายนี้ไม่มี พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงกล่าวให้ฟัง พราหมณ์เกวัฏทูลว่า ถ้าจะทูล ควรอยู่แต่สอง พระเจ้าข้า
พระราชาทรงเห็นชอบด้วย พราหมณ์จึงเชิญเสด็จพระราชาขึ้นบนปราสาท
ให้เสด็จเข้าไปในห้องบรรทมแล้วทูลว่า เราทั้งหลายจักโลมพระเจ้าวิเทหราช
ด้วยกิเลส แล้วเอาตัวมาฆ่าเสียพร้อมกับมโหสถ พระราชาตรัสว่า อุบายนี้งาม
แต่เราจักเล้าโลมนำเขามาอย่างไร เกวัฏทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระ-

ราชธิดาของพระองค์ผู้มีพระนามว่า ปัญจาลจันที ทรงรูปโฉมงดงาม พวกเรา
จักให้จินตกวีประพันธ์รูปสมบัติอันทรงสิริ และความงามแห่งอิริยาบถสี่ของ
พระราชธิดานั้น ด้วยประพันธ์เป็นเพลงขับ แล้วให้ผู้ชำนาญขับร้องกาพย์กลอน
เหล่านั้น ในกรุงมิถิลา ให้มีใจความว่า เมื่อจอมนรินทร์ปิ่นวิเทหรัฐ ไม่ได้
นารีรัตน์เห็นปานนี้ ราชสมบัติก็ไม่มีประโยชน์อะไร ดังนี้ รู้ว่าพระเจ้า
วิเทหราชปฏิพัทธ์เกี่ยวเนื่องด้วยการฟังนั่นแล ข้าพระองค์จักไปในกรุงมิถิลา
กำหนดวันมารับพระราชธิดาอภิเษก เมื่อข้าพระองค์กำหนดวันกลับมาแล้ว
พระเจ้าวิเทหราชก็จักเป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด พามโหสถมา ภายหลังเรา
ทั้งหลายก็จักฆ่าพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถเสีย พระเจ้าจุลนีได้สดับคำของ
เกวัฏแล้วทรงยินดีรับรองว่า อุบายของท่านงาม เราทั้งหลายจักทำอย่างนั้น
ก็นางนกสาลิกาที่เลี้ยงไว้ในที่บรรทมแห่งพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ได้ฟังความติด
นั้นแล้วได้ทำให้ประจักษ์ พระเจ้าจุลนีให้เรียกพวกจินตกวีเก่ามาพระราชทาน
ทรัพย์เป็นอันมาก แล้วแสดงพระราชธิดาแก่พวกนั้น ตรัสว่า เจ้าทั้งหลายจง
ประพันธ์กาพย์กลอนอาศัยรูปสมบัติของธิดานี้ พวกจินตกวีเหล่านั้นก็ประพันธ์
เพลงขับอย่างจับใจยิ่งแล้วขับถวายพระราชา พระราชาก็พระราชทานทรัพย์
เป็นอันมากแก่พวกนั้นอีก นางฟ้อนรำทั้งหลายเรียนกาพย์กลอนแต่สำนัก
จินตกวีทั้งหลายแล้วไปขับร้องในมณฑลมหรสพ เพลงขับเหล่านั้นได้แพร่ไป
ด้วยประการฉะนี้ เมื่อเพลงขับเหล่านั้นได้แพร่ไปในหมู่ประชาชน พระเจ้า
จุลนีตรัสให้เรียกพวกกับร้องทั้งหลายมาตรัสสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงจับนกใหญ่
ให้มาก ขึ้นสู่ต้นไม้ในราตรี นั่งขับร้องอยู่บนต้นไม้นั้น ครั้นเวลาใกล้รุ่ง
จงผูกกังสดาลที่คอนกเหล่านั้นปล่อยขึ้นไปแล้วจึงลงจากต้นไม้ พระเจ้าจุลนี
ให้ทำดังนั้น เพื่อเหตุให้เป็นของปรากฏว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ขับร้อง
พรรณนาพระรูปโฉมแห่งพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงปัญจาละ พระเจ้าจุลนี

ตรัสเรียกเหล่าจินตกวีนั้นมาอีกตรัสว่า บัดนี้เจ้าทั้งหลายจงพรรณนาสรรเสริญ
ว่า นางกุมาริกาเห็นปานนี้หาสมควรแก่พระราชาอื่นในพื้นชมพูทวีปไม่ นาง
สมควรแก่พระเจ้าวิเทหราชกรุงมิถิลา และอิสริยยศของนางนี้ผู้เดียวควรแก่
พระเจ้าวิเทหราช ดังนี้ ผูกให้เป็นเพลงขับ จินตกวีเหล่านั้นทำตามรับสั่งแล้ว
ขับถวายให้ทรงสดับ พระเจ้าจุลนีก็พระราชทานทรัพย์แก่พวกนั้นแล้วตรัสสั่ง
ว่า เจ้าทั้งหลายจงไปสู่กรุงมิถิลา แล้วขับโดยอุบายนี้แหละในกรุงมิถิลานั้นอีก
จินตกวีเหล่านั้นเมื่อขับเพลงขับเหล่านั้น ไปถึงกรุงมิถิลาโดยลำดับ ก็ขับ ณ
โรงมหรสพ มหาชนได้ฟังเพลงขับเหล่านั้นก็ยังเสียงโห่ร้องเกรียวกราวให้เป็น
ไป ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พวกนั้น พวกนั้นขับบนต้นไม้ในเวลาราตรี
ครั้นใกล้รุ่งก็ผูกกังสดาลที่คอนกทั้งหลายแล้วลงจากต้นไม้ เสียงโกลาหลเป็น
อันเดียวกันว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็ขับร้องพรรณนาพระรูปโฉมของพระราชธิดา
พระเจ้ากรุงปัญจาละ ดังนี้ ได้มีในพระนครทั้งสิ้น เพราะได้ยินเสียงกังสดาล
ในอากาศ พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับเสียงนั้น จึงให้เรียกพวกนักประพันธ์
กาพย์กลอนมาให้เล่นมหรสพในพระราชนิเวศน์แล้ว ทรงดำริว่า ได้ยินว่า
พระเจ้าจุลนีมีพระราชประสงค์จะประทานพระราชธิดาผู้ทรงรูปโฉมอันอุดมเห็น
ปานนี้แก่เรา ทรงดำริฉะนี้ก็ทรงยินดี ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่
นักประพันธ์เหล่านั้น พวกนั้นก็กลับนำความมากราบทูลพระเจ้าจุลนีพรหมทัต
ลำดับนั้น อาจารย์เกวัฏจึงกราบทูลพระเจ้าจุสนีว่า บัดนี้ข้าพระบาทจักไปเพื่อ
กำหนดวัน พระราชาตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ ท่านควรจะเอาอะไรไปบ้าง
เกวัฏกราบทูลว่า ควรเอาบรรณาการบ้างเล็กน้อยไป พระเจ้าข้า ก็ทรงอนุญาต
เกวัฏก็ถือเอาเครื่องบรรณาการไปด้วยบริวารใหญ่ ถึงวิเทหรัฐเสียงโกลาหล
เป็นอันเดียวกันได้บังเกิดในกรุงมิถิลา เพราะได้ฟังการมาของเกวัฏว่า ได้ยินว่า

พระเจ้าจุลนีกับพระเจ้าวิเทหราชจักกระทำสัมพันธไมตรีต่อกัน ฝ่ายพระเจ้า
จุลนีจักประทานพระธิดาของพระองค์ แด่พระราชาของพวกเรา ได้ยินว่า
พราหมณ์เกวัฏมาเฝ้าเพื่อกำหนดวันเสด็จไปอภิเษก พระเจ้าวิเทหราชได้ทรง
ฟังคำนั้น แม้พระมหาสัตว์ก็ได้ฟังเหมือนกัน ความปริวิตกได้มีแก่พระมหาสัตว์
ว่า การที่เกวัฏมาย่อมไม่ชอบใจเรา เราจักรู้เหตุนั้นโดยความเป็นจริง ดังนี้
เพราะได้ยินคำลือนั้น มโหสถจึงส่งข่าวไปยังบุรุษที่วางไว้ในสำนักของพระเจ้า
จุลนีว่า เจ้าจงรู้ข้อความนี้ตามความเป็นจริงส่งข่าวมาให้รู้ ลำดับนั้น พวกบุรุษ
ที่วางไว้จึงส่งข่าวตอบมาว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่รู้ข้อความนี้โดยความเป็นจริง
พระเจ้าจุลนีกับเกวัฏนั่งปรึกษากันอยู่ในห้องบรรทม ก็แต่นกสาลิกาที่เลี้ยงไว้
ในที่บรรทมของพระเจ้าจุลนีรู้ความคิดอันนี้ พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว
คิดว่า เราจักไม่ให้เกวัฏเห็นบ้านเมืองที่จัดดีแล้ว จำแนกดีแล้ว อย่างที่
ปัจจามิตรไม่มีโอกาส มโหสถจึงให้ล้อมทางที่มาทั้งสองข้าง และเบื้องบนด้วย
เสื่อลำแพน ตั้งแต่ประตูพระนครจนถึงพระราชนิเวศน์ และตั้งแต่พระราช-
นิเวศน์จนถึงเรือนตน ให้เขียนภาพโปรยดอกไม้ที่พื้น ให้ตั้งหม้อน้ำมีน้ำเต็ม
และให้ปักต้นกล้วยผูกธงไว้ เกวัฏเข้าสู่พระนคร เมื่อไม่เห็นเมืองที่จำแนกดี
แล้วก็คิดว่า พระราชาให้ตกแต่งมรรคาไว้รับเรา ไม่รู้ว่า เขาทำเพื่อไม่ให้เห็น
บ้านเมือง เกวัฏไปเฝ้าถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช ถวายเครื่องบรรณาการ
ทูลปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงทำสักการะ
สัมมานะแล้ว เมื่อจะกราบทูลถึงเหตุการณ์ที่ตนมา ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
พระราชามีพระราชประสงค์จะทรงทำสันถว-
ไมตรี จะประทานรัตนะทั้งหลายแด่พระองค์ แต่นี้ไป
ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำที่น่ารัก จงมา

จงกล่าววาจาอันอ่อนหวาน เป็นวาจาที่น่ายินดี
ปัญจาลรัฐและวิเทหรัฐทั้งสองนั้น จงเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺถวกาโม เต ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระราชประสงค์จะทรงทำ
สันถวไมตรีกับด้วยพระองค์. บทว่า รตนานิ ความว่า จะประทานรัตนะ
ทั้งหลายตั้งต้นแต่พระราชธิดาซึ่งเป็นอิตถีรัตนะแต่พระองค์. บทว่า อาคจฺ-
ฉนฺตุ
ความว่า ได้ยินว่า ตั้งแต่นี้ไป ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำ
ที่น่ารัก คุมเครื่องบรรณาการแต่อุตตรปัญจาลนคร มาในมิถิลานครนี้ และ
แต่มิถิลานครั้น ไปในอุตตรปัญจาลนครั้นนั้น. บทว่า เอกา ภวนฺตุ ความว่า
ขอรัฐทั้งสองนั้นจงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทีเดียว ดุจน้ำในคงคาไหลร่วมกับ
น้ำในยมุนาฉะนั้น.
ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เกวัฏได้กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระเจ้าใคร่จะส่งมหาอมาตย์อื่นมา ก็ไม่
สามารถจะแจ้งข่าวให้เป็นที่ชอบพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น จึงส่งข้าพระเจ้า
มาโดยพระราชโองการว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงยังพระเจ้าวิเทหราชให้ทรง
ทราบดีแล้วพาเสด็จมา ดังนี้ ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ขอพระองค์เสด็จ
ราชดำเนินไป จักได้พระราชธิดามีรูปงามนัก และสันถวไมตรีกับพระราชา
ของข้าพระองค์ทั้งหลายจักดำรงมั่นแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ
คำของเกวัฏแล้วทรงโสมนัส ข้องอยู่ด้วยอันได้ทรงฟังว่า จักได้พระราชธิดา
รูปงามที่สุด จึงตรัสว่า แน่ะอาจารย์ ได้ยินว่า ความวิวาทในเพราะธรรมยุทธ์
ได้มีแก่ท่านและมโหสถ ท่านจงไปหามโหสถบุตรเรา ท่านทั้งสองเป็นบัณฑิต
จงยังกันและกันให้ขมาโทษ ปรึกษาหารือกันแล้วจงกลับมา เกวัฏได้ฟัง

พระราชดำรัส ก็ไปด้วยคิดว่า เราจักพบมโหสถ ฝ่ายพระมหาสัตว์รู้ว่าเกวัฏ
จะมายังสำนักตนวันนั้น จึงคิดว่า การที่เราจะเจรจากับเกวัฏผู้มีกรรมอันลามก
เป็นธรรมดาจงอย่าได้มีเลย คิดดังนี้แล้ว จึงดื่มเนยใสหน่อยหนึ่งแต่เช้า ผู้รักษา
เรือนเอาโคมัยสดเป็นอันมากละเลงเรือนมโหสถ และเอาน้ำมันทาเสาทั้งหลาย
แต่ตั้งเตียงผ้าไว้หนึ่งเตียงสำหรับเป็นที่นอนแห่งมโหสถ นอกจากนี้ให้เก็บ
เสียสิ้นไม่ว่าเตียงหรือตั่ง มโหสถได้ให้สัญญาแก่ชนบริวารว่า เมื่อพราหมณ์
ปรารถนาจะพูดกับพวกเจ้า พวกเจ้าพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะพราหมณ์ ท่าน
อย่าพึงพูดกับท่านบัณฑิต เพราะวันนี้ท่านบัณฑิตดื่มเนยใส ในเมื่อเราทำ
อาการจะพูดกับเกวัฏ พวกเจ้าพึงห้ามเสียว่า ท่านดื่มเนยใสอย่างแรง ท่าน
อย่าพูด มโหสถจัดอย่างนี้แล้วนุ่งผ้าแดง วางคนรักษาไว้ที่ซุ้มประตูทั้ง 7 ชั้น
แล้วนอนบนเตียงผ้า ฝ่ายเกวัฏยืนที่ซุ้มประตูที่ 1 ของเรือนมโหสถ ถามว่า
บัณฑิตอยู่ไหน ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็ห้ามพราหมณ์เกวัฏว่า แน่ะพราหมณ์
ท่านอย่าส่งเสียง ถ้าท่านอยากจะมา จงนานิ่ง ๆ เพราะวันนี้ท่านบัณฑิตดื่ม
เนยใสอย่างแรง ท่านจักต้องไม่ทำเสียงอื้ออึง ชนทั้งหลายที่ซุ้มประตูนอกจากนี้
ก็กล่าวห้ามพราหมณ์อย่างนั้น เกวัฏล่วงชั้นประตูที่ 7 ก็ถึงสำนักมโหสถ
มโหสถแสดงอาการจะพูด ลำดับนั้น ชนทั้งหลายกล่าวห้ามว่า ท่านอย่าได้พูด
เพราะท่านดื่มเนยใสอย่างแรง ประโยชน์อะไรด้วยการพูดกับพราหมณ์ร้ายนี้
เกวัฏไปสำนักมโหสถบัณฑิต ไม่ได้นั่ง ไม่ได้แม้ที่ยืนอาศัยอาสนะ ต้องยืน
เหยียบโคมัยสดอยู่ ลำดับนั้น คนใช้ของมโหสถคนหนึ่ง แลดูเกวัฏแล้วเลิก
ตาขึ้น คนหนึ่งแลดูแล้วยักคิ้ว คนหนึ่งแลดูแล้วงอศอกเงื้อ คนบางพวก
แสดงวิการมีวิการมือและเท้าเป็นต้น เกวัฏเห็นกิริยาของพวกมโหสถ ก็เก้อเขิน
กล่าวว่า แน่ะท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าลาไปละ เมื่อคนอื่น ๆ กล่าวว่า แน่ะ
พราหมณ์ร้ายถ่อย แกอย่าส่งเสียง ถ้าว่าแกขืนส่งเสียง พวกเราจักทำลาย

กระดูกแกเสีย ก็เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกใจ กลับไปไม่เหลียวหลัง ลำดับนั้น
คนหนึ่งลุกขึ้นตีหลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ คนหนึ่งประหารหลังด้วยฝ่ามือ คนหนึ่ง
ไสคอผลักไปในระหว่าง เกวัฏทั้งกลัวทั้งตกใจออกไปสู่พระราชวัง ดุจมฤคพ้น
จากปากราชสีห์ พระเจ้าวิเทหราชทรงดำริว่า วันนี้บุตรของเราได้ฟังประพฤติ
เหตุนี้แล้วจักเป็นผู้ยินดี ธรรมสากัจฉาใหญ่จะพึงมีแก่บัณฑิตทั้งสอง วันนี้
บัณฑิตทั้งสองจักยังกันและกันให้ขมาโทษ เป็นลาภของเราหนอ พระองค์
ทอดพระเนตรเห็นเกวัฏ เมื่อจะตรัสถามอาการสังสนทนากับมโหสถบัณฑิต
จึงตรัสคาถานี้ว่า
ดูก่อนอาจารย์เกวัฏ ท่านได้พบกับมโหสถ เป็น
อย่างไรหนอ เชิญกล่าวข้อความนั้นเถิด มโหสถกับ
ท่านต่างงดโทษกันแล้วกระมัง มโหสถยินดีแล้วกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิชฺฌตฺโต ความว่า เพื่อระงับ
การทะเลาะกันที่เป็นไปในสนามธรรมยุทธ์ มโหสถได้งดโทษให้ท่าน และ
ท่านก็ได้งดโทษให้มโหสถแล้วหรือ. บทว่า กจฺจิ ตุฏโฐ ความว่า มโหสถ
ได้ฟังประพฤติเหตุที่พระราชาของพวกท่านส่งมา ยินดีแล้วกระมัง.
ลำดับนั้น เกวัฏทูลว่า พระองค์อย่าทรงถือมโหสถว่าเป็นบัณฑิตเลย
พระเจ้าข้า คนที่ชื่อว่าเป็นอสัตบุรุษยิ่งกว่ามโหสถไม่มี แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษที่ชื่อมโหสถเป็น
คนเลว ไม่น่าชื่นชม กระด้าง มิใช่สัตบุรุษ ไม่พูด
อะไรสักคำ เหมือนคนใบ้คล้ายคนหนวก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภิรูโป ได้แก่ มิใช่ชาติบัณฑิต.
บทว่า น กิญฺจิตฺถํ ความว่า มโหสถไม่กล่าวข้อความอะไร ๆ กับเรา ด้วย

เหตุนั้นแล เราจึงเข้าใจเขาว่าไม่ใช่บัณฑิต เกวัฏกล่าวโทษของพระโพธิสัตว์
ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำของเกวัฏแล้ว ไม่ทรงยินดี ไม่ทรง
คัดค้าน โปรดให้พระราชทานเสบียงและเรือนพักอยู่แก่เกวัฏและเหล่าบริวาร
ที่มาด้วย ทรงส่งเกวัฏไปด้วยรับสั่งว่า เชิญท่านอาจารย์ไปพักผ่อน ดังนี้แล้ว
ทรงดำริว่า มโหสถบุตรของเราเป็นผู้ฉลาดในปฏิสันถาร ได้ยินว่า เขาไม่ได้
ทำปฏิสันถารกับเกวัฏเลย ไม่แสดงความยินดี เขาจักเห็นภัยอะไร ๆ ในอนาคต
ดำริฉะนี้แล้ว ก็เริ่มกถาขึ้นเองตรัสคาถานี้ว่า
บทมนต์นี้เห็นได้แสนยากโดยแท้ ข้อความที่ดี
อันนระผู้มีความเพียรเห็นแล้ว ความจริง กายของเรา
ก็หวั่นไหว ใครจักละแคว้นของตนไปสู่เงื้อมมือของ
คนอื่นเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ความว่า บทมนต์นี้ที่บุตรของเรา
เห็นแล้ว คนอื่นนอกนี้เห็นได้แสนยากโดยแท้. บทว่า นรวิริเยน ความว่า
ข้อความที่ดีอันนระผู้มีความเพียรจักเห็นแล้ว. บทว่า สยํ ความว่า ใครจัก
ละแว่นแคว้นของตนไปสู่เงื้อมมือของคนอื่นเล่า.
เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงนึกถึงข้อความนั้นว่า บุตรของเราจักเห็น
โทษในการมาของพราหมณ์เกวัฏ ด้วยว่าเกวัฏนี้ เมื่อมา จักมิได้มาเพื่อต้องการ
สันถวไมตรี แต่แกคงมาเพื่อเล้าโลมเราด้วยกามคุณแล้วพาไปเมืองของตนเอา
ตัวไว้ บุตรของเราจักเห็นภัยในอนาคตนั้นแล้ว ทรงนึกอยู่อย่างนี้ ก็ทั้งกลัว
ทั้งสะดุ้งประทับนั่งอยู่ บัณฑิตทั้ง 4 คนมาเฝ้า พระราชาตรัสถามเสนกะว่า
การที่เราจะไปอุตตรปัญจาลนครนำพระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีมาท่านชอบใจ
อยู่หรือ เสนกะกราบทูลว่า พระองค์รับสั่งอะไร พระเจ้าข้า เพราะว่าควรที่

พระองค์จะนำสิริซึ่งมาถึงอย่าให้หนีไปเสีย หากพระองค์เสด็จไปกรุงปัญจาละ
ก็จักได้รับพระราชธิดามา กษัตริย์องค์อื่นยกเสียแต่พระเจ้าจุลนีพรหมทัต จัก
เป็นผู้เสมอด้วยพระองค์ย่อมไม่มีในพื้นสกลชมพูทวีป เพราะอะไร เพราะ
พระองค์ได้พระราชธิดาของพระราชาผู้เป็นใหญ่มาเป็นมเหสี จริงอยู่ พระเจ้า
จุลนีพรหมทัตเป็นพระราชาเลิศในพื้นสกลชมพูทวีป ใคร่จะยกพระราชธิดา
ผู้ทรงพระรูปโฉมอันอุดมถวายแด่พระองค์ ก็ด้วยทรงเห็นว่า พระราชานอกนี้
เป็นคนของเรา พระเจ้าวิเทหราชพระองค์เดียวเสมอเรา ขอพระองค์ทรงทำ
ตามคำของพระเจ้าจุลนีเถิด แม้พวกข้าพระองค์ก็จักได้ผ้าและเครื่องประดับ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยพระองค์ พระเจ้าวิเทหราชตรัสถามอาจารย์อีก 3 คน
ที่เหลือ อาจารย์เหล่านั้นก็กราบทูลเช่นเดียวกัน เมื่อพระราชากำลังรับสั่งอยู่
กับอาจารย์ทั้ง 4 พราหมณ์เกวัฏออกจากเรือนพักรับรองมาถวายบังคมพระ
ราชาด้วยคิดว่า เราจักทูลลาพระราชากลับ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ข้าพระองค์ไม่อาจรอช้า จักทูลลากลับ พระราชาทรงทำสักการะแก่เกวัฏแล้ว
ทรงส่งเขากลับไป พระมหาสัตว์รู้ว่าเกวัฏกลับแล้ว จึงอาบน้ำแต่งกายไปเฝ้า
พระราชา ถวายบังคมพระราชาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระราชาทรง
ดำริว่า มโหสถบัณฑิตบุตรเราเป็นผู้มีความคิดมาก ถึงฝั่งแห่งมนต์ ย่อมรู้
ข้อความทั้งหลายทั้งในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นนักปราชญ์ จักรู้ว่าควร
หรือไม่ควรที่เราจะไปในกรุงปัญจาละ พระองค์มิได้ตรัสเรื่องของพระองค์ที่ทรง
คิดไว้ก่อน เป็นผู้กำหนัดยินดีเพราะราคะ หลงเพราะโมหะ เมื่อจะตรัสถาม
จึงตรัสคาถานี้ว่า
พวกเราทั้ง 6 คน เป็นบัณฑิตมีปัญญาสูงสุดดุจ
แผ่นดิน มีมติเสมอกันเป็นเอกฉันท์ทีเดียว พ่อมโหสถ
แม้เจ้าก็จงทำมติว่า ไปหรือไม่ไป หรืออยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนํ ความว่า พ่อบัณฑิต พวกเรา
6 คน คือ พราหมณ์เกวัฏ 1 เรา 1 และอาจารย์ 4 คนเหล่านั้น. บทว่า
เอกาว มติ ความว่า มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกัน ร่วมกันเหมือนน้ำแม่น้ำ
คงคาไหลร่วมกับน้ำแม่น้ำยมุนาฉะนั้น. บทว่า เย ความว่า พระเจ้าวิเทหราช
ตรัสว่า พวกเราทั้ง 6 คนเป็นบัณฑิตสูงสุด มีปัญญาสูงสุดดุจแผ่นดินเหล่านั้น
ย่อมชอบใจการที่พระเจ้าจุลนีนำพระราชธิดามา. บทว่า ฐานํ ได้แก่ อยู่ใน
ที่นี้เท่านั้น. บทว่า มตึ กโรหิ ความว่า ชื่อว่าความชอบใจของพวกเรา
ยังเอาเป็นประมาณไม่ได้ แม้เจ้าก็จงแสดงความคิดว่า การที่พวกเราไปปัญ-
จาลนครเพื่อประโยชน์อาวาหมงคล หรือไม่ไปหรืออยู่ในที่นี้เท่านั้น เจ้าชอบ
อย่างไร.
พระมหาสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้นจึงคิดว่า พระราชาองค์นี้เป็นผู้
ละโมบในกามารมณ์ ถือเอาคำของอาจารย์ 4 คนเหล่านี้ ด้วยความเป็นอันธพาล
ย่อมไม่ทรงทราบโทษที่จะเสด็จไป เราจักชี้โทษในการเสด็จไป แล้วจักให้
กลับพระหฤทัยเสีย คิดฉะนั้นแล้วจึงกล่าว 4 คาถาว่า
ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ทรงทราบพระเจ้า-
จุลนีพรหมทัตทรงมีอานุภาพมาก มีพลมาก ก็พระ-
ราชานั้นปรารถนาเพื่อปลงพระชนมชีพของพระองค์
ดุจนายพรานฆ่ามฤคด้วยมฤคี ฉะนั้น.

ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อ ย่อมกลืนเบ็ดที่คด
ซึ่งปกปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้จักความ
ตายของมัน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรง
ปรารถนากาม ย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดาของ
พระเจ้าจุลนี เหมือนปลาไม่รู้จักความตายของตน
ฉะนั้น.

ถ้าพระองค์เสด็จไปยังปัญจาลนคร จักต้องสละ
พระองค์ทันที ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ ดุจภัยมาถึงมฤค
ด้วยตามไปถึงทางประตูบ้าน ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราช พระมหาสัตว์เรียกพระเจ้าวิเทหราช.
บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ มียศใหญ่. บทว่า มหพฺพโล ได้แก่ ประกอบ
ด้วยพลนับได้ 18 อักโขภิณี. บทว่า มารณตฺถํ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่
ความตาย. บทว่า โอกจเรน ได้แก่ แม่เนื้อตัวล่อเหยื่อ ก็นายพรานฝึก
แม่เนื้อตัวหนึ่งแล้วเอาเชือกผูกนำไปป่า พักไว้ในที่พวกเนื้อหากิน แม่เนื้อนั้น
ต้องการนำเนื้อโง่มาสำนักตน จึงร้องดังยั่วราคะด้วยสัญญาของตน เนื้อโง่
แวดล้อมด้วยฝูงเนื้อนอนที่พุ่มไม้ในป่า ไม่ให้สัญญาในแม่เนื้อที่เหลือ ได้ฟัง
เสียงของแม่เนื้อนั้น มีใจผูกพันเพราะเกี่ยวข้อง ด้วยฟังเสียงของแม่เนื้อนั้น
ลุกออกไป ชูคอเข้าไปหาแม่เนื้อตัวนั้น ยืนให้ความสะดวกอย่างมากแก่นาย
พราน นายพรานใช้หอกคมกริบแทงเนื้อนั้นให้สิ้นชีวิตในที่นั่นเอง ในเรื่องนั้น
พระเจ้าจุลนี เหมือนนายพราน พระราชธิดาของพระองค์เหมือนแม่เนื้อล่า
เหยื่อ พราหมณ์เกวัฏเหมือนอาวุธในมือของนายพราน อธิบายว่า นายพราน
ต้องการฆ่าเนื้อด้วยเนื้อล่อเหยื่อฉันใด พระเจ้าจุลนีต้องการฆ่าพระเจ้าวิเทหราช
ด้วยพระราชธิดา ฉันนั้น. บทว่า อามคิทฺโธ ความว่า ปลาแม้อยู่ในน้ำลึก
ร้อยวาต้องการเหยื่อคือของสดที่เขาปิดที่คดของเบ็ดไว้นั้น กลืนเบ็ดเข้าไปย่อม
ไม่รู้ความตายของตน. บทว่า ธีตรํ ความว่า พระองค์ทรงปรารถนากาม
ย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีนั้นเป็นเช่นกับเหยื่อที่พรานเบ็ด
คือพระเจ้าจุลนีทรงวางปิดเบ็ดคือคำพูดของพราหมณ์เกวัฏไว้ เหมือนปลาไม่รู้
เหยื่อ คือความตายของมัน. บทว่า ปพฺจาลํ ได้แก่ อุตตรปัญจาลนคร.

บทว่า อตฺตํ ได้แก่ ตน. บทว่า ปนฺถานุปฺปนฺนํ ความว่า ภัยใหญ่จัก
มาถึงเนื้อตัวเดินไปตามทางที่ประตูบ้าน เมื่อพวกมนุษย์ถืออาวุธออกจากบ้าน
เพื่อต้องการเนื้อ พวกที่เห็นนั้น ๆ ย่อมฆ่าเนื้อนั้นเสีย ฉันใด มรณภัยใหญ่
จักมาถึงคือจักเข้าถึงพระองค์แม้เมื่อเสด็จอุตตรปัญจาลนคร ฉันนั้น พระมหา-
สัตว์ทูลข่มพระราชาด้วย 8 คาถา ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าวิเทหราชถูกพระมหาสัตว์ข่มอย่างเหลือเกินทีเดียว ก็ทรงพิโรธ
ว่า มโหสถนี้หมิ่นเราดุจทาสของตน ไม่สำคัญว่าเราเป็นพระราชา รู้ราช-
สาสน์ที่พระอัครราชส่งมาสำนักเราว่า จักประทานพระราชธิดาดังนี้แล้ว ไม่
กล่าวคำประกอบด้วยมงคลแม้คำหนึ่งมากล่าวกะเราว่า เป็นเหมือนเนื้อโง่
เป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด และเป็นเหมือนเนื้อเดินตามทางถึงประตูบ้านจักถึง
ความตาย ครั้นกริ้วแล้วได้ตรัสคาถาเป็นลำดับว่า
พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลายที่กล่าว
ถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุดในสำนักเจ้า เจ้า
เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา
ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลามฺหเส ความว่า เป็นคนเขลา.
บทว่า เอลุมูคา ได้แก่ พวกเรานี่แหละมีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย. บทว่า
อุตฺตมคฺถานิ ได้แก่ เหตุให้ได้นางแก้วอันอุดม. บทว่า ตยี ลปิมฺหา
ความว่า กล่าวในสำนักของท่าน. บทว่า กิเมว ความว่า เมื่อจะติเตียนเขา
จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรง
หมายเนื้อความว่า บุตรคฤหบดีย่อมเจริญด้วยถือหางไถนาตั้งแต่เป็นหนุ่ม
เท่านั้น จึงตรัสด้วยพระราชประสงค์นี้เองว่า เจ้าย่อมรู้งานของบุตรคฤหบดี

เท่านั้น ย่อมไม่รู้งานที่เป็นมงคลของกษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อญฺเญ ความว่า
คนอื่น ๆ คืออาจารย์เกวัฏหรืออาจารย์เสนกะเป็นต้น รู้จักความเจริญคือมงคล
ของกษัตริย์เหล่านั้น ฉันใด เจ้ารู้จักความเจริญเหล่านั้น ฉันนั้นละหรือ การรู้
จักกิจการของบุตรคฤหบดีนั่นแหละสมควรแก่เจ้า.
พระเจ้าวิเทหราชด่าบริภาษมโหสถแล้วตรัสว่า บุตรคฤหบดีทำ
อันตรายแห่งมงคลแก่เรา ท่านทั้งหลายจงนำเขาออกไปเสีย แล้วตรัสคาถา
เพื่อให้นำมโหสถออกไปว่า
ท่านทั้งหลายจงไสคอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจาก
แว่นแคว้นของเรา เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การ
ได้รัตนะของเรา.

มโหสถรู้ว่า พระราชากริ้ว จึงคิดว่า หากว่าใครอื่นทำตามพระราช
ดำรัสจับมือหรือคอเรา นั่นไม่ควรแก่เรา เราจะละอายตลอดชีวิต เพราะ
ฉะนั้น เราจักออกไปเสียเอง คิดฉะนี้แล้วจึงถวายบังคมพระราชา ลุกจากที่นั่ง
กลับไปสู่เคหสถานแห่งตน ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชรับสั่งดังนั้น ด้วยอำนาจพระ-
พิโรธเท่านั้น หาได้ตรัสสั่งใคร ๆ ให้ทำดังนั้นไม่ เพราะพระองค์มีพระมนัส
เคารพในพระโพธิสัตว์ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า พระราชาองค์นี้เป็น
อันธพาลเกินเปรียบ ย่อมไม่ทรงทราบประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์แด่พระองค์
เป็นผู้ปรารถนาในกาม ทรงทราบแต่ว่า จักได้พระราชธิดาของพระเจ้าจุลนี
หาทรงทราบภัยในอนาคตไม่ เมื่อเสด็จไปกรุงปัญจาละก็จักถึงความพินาศใหญ่
หาควรที่เราจะทำพระราชดำรัสไว้ในใจไม่ เพราะพระองค์ทรงมีพระอุปการะ
แก่เรามาก พระราชทานยศใหญ่แก่เรา ควรที่เราจะเป็นปัจจัยแห่งพระองค์
แล้วดำริต่อไปว่า เราจักส่งสุวโปดกไปก่อน รู้ความจริงแล้วไปเองภายหลัง
ดำริฉะนี้แล้ว จึงเรียกสุวโปดกมา แล้วส่งไป ณ กรุงปัญจาละนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นมโหสถบัณฑิตได้หลีกไปจากราชสำนัก
ของพระเจ้าวิเทหราช ที่นั้นได้เรียกนกสุวบัณฑิตชื่อ
มาธูระ*ผู้เป็นทูตมาสั่งว่า แน่ะสหายตัวมีปีกเขียว เจ้า
จงมาทำการขวนขวายเพื่อเรา นางนกสาลิกาที่เขาเลี้ยง
ไว้ ณ ที่บรรทมของพระเจ้าปัญจาลราชมีอยู่ ก็นางนก
นั้นเป็นนกฉลาดในสิ่งทั้งปวง เจ้าจงถามนางนกนั้น
โดยพิสดาร นางนกนั้นรู้ความลับทุกอย่างของพระเจ้า
ปัญจาลราชและของพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตรทั้งสอง
นั้น นกสุวบัณฑิตชื่อมาธูระตัวมีปีกเขียวรับคำมโหสถ
ว่า เออ แล้วได้ไปสู่สำนักนางนกสาลิกา แต่นั้น นก
สุวบัณฑิตชื่อมาธูระนั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้เรียกนางนก
สาลิกาตัวมีกรงงาม พูดเพราะมาถามว่า เธอพออดทน
อยู่ในกรงงามดอกหรือ เธอมีความผาสุกในเพศดอก
หรือ ข้าวตอกกับน้ำผึ้งเธอได้ในกรงงามของเธอดอก
หรือ ดูก่อนสหายสุวบัณฑิต ความสุขมีแก่ฉันและ
ความสบายก็มี อนึ่งข้าวตอกกับน้ำผึ้งฉันก็ได้เพียงพอ
ดูก่อนสหาย ท่านมาแต่ไหน หรือว่าใครใช้ท่านมา
ก่อนแต่นี้ฉันไม่เคยเห็นท่าน หรือได้ยินเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หริตปกฺโข ได้แก่ มีปีกเสมอด้วย
ใบไม้เขียว. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ความว่า มโหสถกล่าวกะนกสุวบัณฑิตซึ่ง
มาจับที่ตักในเมื่อตนกล่าวว่า มานี่สหาย เจ้าจงทำการขวนขวายของเรา
* อรรถกถาเป็น มาถูระ

อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้อื่นที่เป็นมนุษย์ไม่อาจทำได้ เมื่อนกสุวบัณฑิตถามว่า ข้าพเจ้า
จะทำอะไรนาย มโหสถก็กล่าวว่า สหาย คนอื่นเว้นพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์-
เกวัฏ ย่อมไม่รู้เหตุที่พราหมณ์เกวัฏมาโดยความเป็นทูต คนสองคนเท่านั้น
นั่งปรึกษากันในห้องบรรทมของพระเจ้าจุลนี แต่มีนางนกสาลิกาที่พระเจ้า
ปัญจาลราชนั้นเลี้ยงไว้ในที่บรรทม ได้ยินว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับนั้น
เจ้าจงไปในที่นั้น ทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนกับนางนกสาลิกานั้น ถาม
ความลับของพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏ กะนางนกสาลิกานั้น โดยพิสดาร
จงถามนางนกสาลิกานั้น ในประเทศที่มิดชิด อย่างที่ใคร ๆ อื่นจะไม่รู้เรื่องนั้น
ก็ถ้าใครได้ยินเสียงของเจ้า ชีวิตของเจ้าจะไม่มี ฉะนั้น เจ้าจงถามค่อย ๆ ใน
ที่มิดชิด. บทว่า สา เนสํ สพฺพํ ความว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับทุก
อย่างของชนทั้งสองเหล่านั้น คือ พระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตร.
บทว่า อาโม ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุวโปดกนั้นอันมโหสถบัณฑิต
ทำสักการะโดยนัยก่อนนั้นแลส่งไปแล้ว รับคำของมโหสถว่า เออ ไหว้พระ-
มหาสัตว์ทำประทักษิณแล้วบินออกทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ไปนครชื่ออริฏฐปุระ
ในแคว้นสีพี ด้วยความเร็วปานลม กำหนดประพฤติเหตุในประเทศนั้นแล้ว
ไปสำนักของนางนกสาลิกา ไปอย่างไร ก็สุวโปดกนั้นจับที่ยอดแหลมอันเป็น
ทองของพระราชนิเวศน์ ส่งเสียงอย่างไพเราะอาศัยราคะ เพราะเหตุไร นาง
นกสาลิกาได้ฟังเสียงนี้แล้ว จักส่งเสียงรับเป็นสัญญาให้รู้ว่าฉันจักไปหา แม้นาง
นกสาลิกานั้น ได้ฟังเสียงของสุวโปดกแล้ว ก็จับที่สุวรรณบัญชรใกล้ที่บรรทม
ของพระราชา มีจิตกำหนัดด้วยราคะ ส่งเสียงรับสามครั้ง สุวโปดกบินไป
หน่อยหนึ่งส่งเสียงบ่อย ๆ เกาะที่ธรณีสีหบัญชรโดยลำดับ ตามกระแสเสียงที่
นางนกสาลิกากระทำ ตรวจดูว่าไม่มีอันตราย บินไปสำนักของนางนกสาลิกา
นั้น นางนกสาลิกาได้กล่าวกะสุวโปดกในที่นี้ว่า มาเถิดสหาย จงจับที่สุวรรณ

บัญชร สุวโปดกก็บินไปจับ. บทว่า อามนฺตยี ความว่า สุวโปดกนั้น บินไป
อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนจึงเรียกนางนกสาลิกา
นั้น. บทว่า สุฆรํ ได้แก่ กรงงาม เพราะความเป็นที่อยู่ในกรงทอง. บทว่า
เวเส ได้แก่ ประกอบด้วยเพศ คือมีชาติตามเพศ ได้ยินว่า นกสาลิกาชื่อว่า
มีชาติตามเพศในหมู่นกทั้งหลาย เหตุนั้นจึงเรียกนกสาลิกานั้นอย่างนี้. บทว่า
ตว ความว่า เรากล่าวในเรือนงามของท่าน. บทว่า กจฺจิ เต มธุนา ลาชา
ความว่า สุวโปดกถามว่า เธอได้ข้าวตอกกับน้ำผึ้งดอกหรือ. บทว่า กุโต นุ
สมฺม อาคมฺม
ความว่า นางนกสาลิกาถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาจากไหน
เข้าไปในที่นี้. บทว่า กสฺส วา ความว่า หรือว่าใครส่งท่านมาในที่นี้.
สุวโปดกได้ฟังคำของนางนกสาลิกาแล้ว คิดว่า ถ้าเราบอกว่ามาแต่
มิถิลา นางนกสาลิกานี้แม้ถึงความตาย ก็จักไม่ทำความคุ้นเคยกับเรา ก็เรา
กำหนดนครอริฏฐปุระ ในแคว้นสีพีมาแล้ว ฉะนั้นเราจกทำมุสาวาทกล่าวว่า
พระเจ้าสีวิราชทรงส่งมาแต่ที่นั้น คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาเลี้ยงไว้ในที่บรรทม บน
ปราสาทของพระเจ้าสีวิราช พระราชาพระองค์นั้นเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่ถูกขัง
จากที่ขังนั้น ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺเธ ความว่า พระราชาพระองค์นั้น
โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งปวงจากที่ขัง เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
เนื้อโปรดให้ปล่อยอย่างนี้ พระองค์ตรัสว่า พวกท่านจงเชื่อเราปล่อยมันไป
ข้าพเจ้านั้นออกจากกรงทองที่เปิดไว้ ถือเอาอาหารในที่นั้น ๆ ตามที่ปรารถนา
ภายนอกปราสาทแล้วอยู่ในกรงทองนั่นเอง ไม่เหมือนเธอซึ่งอยู่ในกรงเท่านั้น
ตลอดกาลเป็นนิจอย่างนี้.

ลำดับนั้น นางนกสาลิกาให้ข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ที่วางอยู่ในกระเช้าทอง
และน้ำผึ้งเพื่อตนแก่สุวโปดก แล้วถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาแต่ที่ไกล มาใน
ที่นี้เพื่อประสงค์อะไร สุวโปดกได้ฟังคำนางนกสาลิกา ใคร่จะฟังความลับ
จึงมุสาวาทกล่าวว่า
นางนกสาลิกาตัวหนึ่งพูดอ่อนหวานเป็นภรรยา
ของฉัน เหยี่ยวได้ฆ่านางนกสาลิกานั้นเสียในห้องที่
บรรทม ต่อหน้าฉันผู้อยู่ในกรงงามซึ่งเห็นอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เมกา ความว่า หางนกสาลิกา
ตัวหนึ่งเป็นภรรยาของฉันนั้น. บทว่า ทุติยาสิ ความว่า ได้เป็นภรรยา.
บทว่า มุญฺชุภาณิกา แปลว่า พูดไพเราะ.
ลำดับนั้น นางนกสาลิกาถามสุวโปดกว่า ก็อย่างไรเหยี่ยวจึงได้ฆ่า
ภรรยาของท่านเสีย สุวโปดกเมื่อจะบอกแก่นางนกสาลิกาจึงกล่าวว่า เธอจงฟัง
วันหนึ่งพระราชาของฉันเสด็จไปเล่นน้ำ ตรัสเรียกฉันไปตามเสด็จ ฉันจึงพา
ภรรยาไปตามเสด็จเล่นน้ำกลับมากับพระราชานั้น ขึ้นปราสาทกับพระองค์พา
ภรรยาออกมาจากกรง จับอยู่ที่โพรงตำหนักยอดเพื่อผึ่งสรีระ ขณะนั้นมีเหยี่ยว
ตัวหนึ่งบินมาเพื่อโฉบเราทั้งสองผู้ออกจากกำหนักยอด ฉันกลัวแต่ภัยคือความ
ตายบินหนีโดยเร็ว แต่นางนกสาลิกาคราวนั้นมีครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น นางจึง
ไม่อาจหนี ทีนั้นเหยี่ยวก็ยังนางให้ตายต่อหน้าฉัน ผู้เห็นอยู่แล้วพาหนีไป
ทีนั้นพระราชาของฉันทอดพระเนตรเห็นฉันร้องไห้ด้วยความโศกถึงนาง จึง
ตรัสถามว่า เจ้าร้องไห้ทำไม ได้ทรงฟังความข้อนั้นแล้วรับสั่งว่า พอละเจ้า
อย่าร้องไห้ จงแสวงหาภรรยาอื่น เมื่อฉันได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ประโยชน์
อะไรด้วยภรรยาอื่น ผู้ไม่มีอาจารมรรยาท ไม่มีศีล แม้ที่นำมาแล้ว ผู้เดียว

เที่ยวไปดีกว่า รับสั่งว่า แน่ะสหาย ข้าเห็นนางนกสาลิกาตัวหนึ่ง ถึงพร้อมด้วย
ศีลาจารวัตรเช่นกับภรรยาของเจ้า ก็นางนกสาลิกาเห็นปานนี้ เขาเลี้ยงไว้ในที่
บรรทมของพระเจ้าจุลนีมีอยู่ เจ้าจงไปในที่นั้น ถามใจของเขาดู ให้เขาทำ
โอกาส ถ้าเจ้าชอบใจเขา จงมาบอกแก่เรา ภายหลังเราหรือพระเทวีจักไปนำ
นางนั้นมาด้วยบริวารใหญ่ ตรัสฉะนี้แล้วทรงส่งฉันมาในที่นี้ ฉันจึงมาด้วย
เหตุนั้น กล่าวฉะนี้แล้วสุวโปดกจึงกล่าวว่า
ฉันรักใคร่ต่อเธอจึงมาในสำนักของเธอ ถ้าเธอ
พึงให้โอกาส เราทั้งสองก็จะได้อยู่ร่วมกัน.

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดกก็ดีใจ แต่ยังไม่ให้สุวโปดกรู้ว่าตน
ปรารถนา ทำเป็นไม่ปรารถนากล่าวว่า
นกแขกเต้า ก็พึงรักใคร่กับนางนกแขกเต้า
นกสาลิกา ก็พึงรักใคร่กับนางนกสาลิกา การที่นก
แขกเต้าจะอยู่ร่วมกับนางนกสาลิกาดูกระไรอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโว ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต
นกแขกเต้านั่นแลพึงรักใคร่นางนกแขกเต้าซึ่งมีชาติเสมอกันของตน. บทว่า
กีทิโส ความว่า ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกทีมีชาติไม่เสมอกัน จะเป็นอย่างไร
เพราะนกแขกเต้าเห็นนางนกแขกเต้าที่มีชาติเสมอกัน ก็จักละนางนกสาลิกาแม้
เชยชิดกันมานาน ความพลัดพรากจากของรักนั้นจักเป็นไปเพื่อทุกข์ใหญ่ ฉะนั้น
แต่ไหนแต่ไรมา ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกที่มีชาติไม่เสมอกัน ย่อมไม่เหมาะสม
เลย.
สุวโปดกได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า นางนกสาลิกานี้หาได้หาเราไม่ ยังทำ
การบริหารอีกด้วย คงจักปรารถนาเราเป็นแน่ เราจักให้นางนกสาลิกานี้เชื่อถือ
เราด้วยอุปมาต่าง ๆ คิดฉะนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า

เออก็ผู้ใดใคร่ในกามกับนางจัณฑาล ผู้นั้นทั้ง
หมดย่อมเป็นเช่นกับนางจัณฑาลนั้น เพราะว่าบุคคล
ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลิกามปิ ได้แก่ ซึ่งนางจัณฑาล.
บทว่า สทิโส ความว่า การอยู่ร่วมกันทุกอย่างย่อมเป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น
เพราะมีจิตเป็นเช่นเดียวกัน. บทว่า กาเม ความว่า เพราะในเรื่องกาม
จิตเท่านั้นเป็นประมาณ ชาติหาเป็นประมาณไม่.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สุวบัณฑิตเมื่อจะนำเรื่องอดีตมาชี้แจง
เพื่อแสดงความต่างชาติกัน ไม่เป็นประมาณในหมู่มนุษย์ก่อน จึงกล่าวคาถา
เป็นลำดับว่า
พระราชมารดาของพระเจ้าสีวี พระนามว่า
ชัมพาวดี มีอยู่ พระนางเป็นหญิงจัณฑาล ได้เป็น
พระมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพกัณหโคตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺพาวตี ความว่า พระชนนีของ
พระเจ้าสีพีราช พระนามว่า ชัมพาวดี ได้เป็นหญิงจัณฑาล พระนางได้เป็น
พระอัครมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพผู้เป็นพี่ชายของพี่น้อง 10 คนของ
กัณหายนโคตร.
ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเจ้าวาสุเทพเสด็จออกจากกรุงทวารวดี ประพาส
พระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นกุมาริการูปงามคนหนึ่งเป็นจัณฑาล จาก
บ้านคนจัณฑาลเจ้าสู่พระนครด้วยธุระบางอย่าง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระองค์มีจิตปฏิพัทธ์ มีรับสั่งให้ถามว่า ชาติอะไร แม้ได้สดับว่า ชาติจัณฑาล
ก็ยังมีรับสั่งให้ถามว่ามีสามีหรือไม่ ทรงสดับว่ายังไม่มีสามี จึงพานางกุมาริกา

นั้นกลับจากที่นั้นทีเดียวนำไปพระราชนิเวศน์ ทรงตั้งเป็นอัครมเหสี พระนาง
นั้นประสูติพระโอรสพระนามว่า สีวี เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระเจ้าสีวี
จึงครองราชสมบัติในกรุงทวาราวดี สุวโปดกกล่าวคำนี้ หมายเอาเจ้าสีวีนั้น.
สุวบัณฑิตนำอุทาหรณ์นี้มาอย่างนี้แล้วกล่าวว่า กษัตริย์แม้เห็นปานนี้
ยังสำเร็จสังวาสกับหญิงจัณฑาล ใครจะว่าอะไรในเราทั้งสองซึ่งเป็นสัตว์
ดิรัจฉานเล่า ความชอบใจในการร่วมประเวณีกันและกันต่างหาก เป็นข้อสำคัญ
กล่าวฉะนี้แล้ว เมื่อจะชักอุทาหรณ์อื่นมาอีก จึงกล่าวว่า
กินรีชื่อรัตนวดีมีอยู่ แม้นางก็ได้ร่วมรักกะดาบส
ชื่อวัจฉะ มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์กับมฤดีก็มี มนุษย์
และสัตว์ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺฉํ ความว่า กะดาบสผู้มีชื่ออย่างนั้น
ก็กินรีนั้นได้ร่วมรักกะดาบสนั้นอย่างไร ในอดีตกาล มีพราหมณ์คนหนึ่งเห็น
โทษในกามทั้งหลาย จึงละยศใหญ่ออกบวชเป็นฤๅษี สร้างบรรณศาลาอยู่ ณ
หินวันตประเทศ กินนรเป็นจำนวนมากอยู่ ณ ถ้าแห่งหนึ่งใกล้บรรณศาลาของ
ฤๅษีนั้น แมลงมุมตัวหนึ่งอยู่ ณ ประตูถ้ำนั้น มันได้กัดศีรษะของกินนรเหล่า
นั้นดื่มกินโลหิต ธรรมดากินนรทั้งหลายหากำลังมิได้ เป็นชาติขลาด แม้
แมลงมุมตัวนั้นก็ใหญ่โตมาก กินนรทั้งหลายไม่อาจจะทำอะไรมันได้จึงเข้าไป
หาดาบสนั้น ทำปฏิสันถารแล้วดาบสถามถึงเหตุที่มา จึงพากันบอกว่า มี
แมลงมุมตัวหนึ่งประหารชีวิตของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่เห็นผู้อื่นจะเป็น
ที่พึ่งได้ ขอท่านจงฆ่ามันเสียทำความสวัสดีแก่พวกข้าพเจ้า ดาบสได้ฟังคำ
ดังนั้นก็รุกรานว่า พวกเองไปเสีย บรรพชิตทั้งหลายเช่นเราไม่ทำปาณาติบาต
บรรดากินนรเหล่านั้น มีกินรีชื่อรัตนาวดี ยังไม่มีผัว กินนรเหล่านั้นจึงตกแต่ง

กินรีรัตนวดีนั้น แล้วพาไปหาดาบส กล่าวว่า กินรีนี้จงเป็นผู้บำเรอเท้าท่าน
ท่านจงฆ่าปัจจามิตรของพวกเราเสีย ดาบสเห็นกินรีรัตนวดีก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึง
สำเร็จร่วมอภิรมย์กับกินรีนั้นแล้วไปยืนที่ประตูถ้ำ ตีแมลงมุมออกมาหากินด้วย
ค้อนให้สิ้นชีวิต ดาบสนั้นอยู่สมัครสังวาสกับกินรีนั้น มีบุตรธิดาแล้วทำกาลกิริยา
ณ ที่นั้นแล กินรีรัตนวดีนั้นรักใคร่ดาบสชื่อวัจฉะ ด้วยประการฉะนี้ สุวโปดก
นำอุทาหรณ์นี้มา เมื่อจะแสดงว่า วัจฉดาบสเป็นมนุษย์ยังสำเร็จสังวาสกับกินรี
นั้นผู้เป็นดิรัจฉานได้ จะกล่าวไยถึงเราทั้งสองเป็นนกเป็นดิรัจฉานด้วยกันจะ
ร่วมสังวาสกันไม่ได้เล่า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์ด้วย
มฤคีอยู่ ดังนี้ มนุษย์เราทั้งหลายอยู่ร่วมกับดิรัจฉานมีอยู่ คือปรากฏอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.
นางนกสาลิกานั้น ได้ฟังคำของสุวโปดกแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่นาย ขึ้น
ชื่อว่าจิตจะเป็นอย่างเดียวไปตลอดกาล ย่อมไม่มี ฉันกลัวแต่ความพลัดพราก
จากท่านที่รักจะสหาย สุวบัณฑิตแม้นั้น เป็นผู้ฉลาดในมายาสตรี ฉะนั้นเมื่อจะ
ทดลองนางนกสาลิกา จึงกล่าวคาถาอีกว่า
เอาเถอะ แม่สาลิกาผู้พูดเพราะ ฉันจักไปละ
เพราะถ้อยคำของเธอนั้นเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์ เธอดู
หมิ่นฉันนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจกฺขานุปทํ เหตํ ความว่า คำที่
เธอกล่าวทั้งหมดนั้นเป็นแนวทางให้รู้ประจักษ์ คือเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์. บท
ว่า อติมญฺญสิ ความว่า เธอล่วงเกินดูหมิ่นฉันแน่ว่า นกแขกเต้านี้ย่อม
ปรารถนาเท่านั้น เธอไม่รู้สารสำคัญของฉัน พระราชาก็บูชาฉัน ฉันหาภรรยา
ได้ไม่ยาก ฉันจักแสวงหานกตัวอื่นเป็นภรรยา ฉันจักไปละ.

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดก เป็นเหมือนหัวจะแตก เป็น
เหมือนถูกกามรดีที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยการเห็นสุวโปดกนั้นตามเผาผลาญอยู่ ทำที
เป็นไม่ปรารถนาด้วยมายาสตรีของตน ได้กล่าวหนึ่งคาถาครึ่งว่า
ดูก่อนมาธูรสุวบัณฑิต สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้
ขอเชิญท่านอยู่ ณ ที่นี้จนกว่าจะได้เห็นพระราชา จน
ได้ฟังเสียงตะโพนและได้เห็นอานุภาพของพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สิรี ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต
สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้ งานที่ผู้ด่วนได้กระทำย่อมไม่งาม ขึ้นชื่อว่าการครอง
เรือนนั้นหนักยิ่ง ต้องคิดพิจารณาก่อนจึงทำ ขอเชิญท่านอยู่ในที่นี้ จนกว่า
จะได้เห็นพระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยยศใหญ่. บทว่า โสสิ ความว่า
ท่านจักได้ฟังเสียงตะโพนเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรีอื่น ๆ ที่เหล่านารี
ผู้มีรูปโฉมอุดมมีลีลาเสมอด้วยกินรีบรรเลงอยู่ในเวลาสายัณห์ และจักได้เห็น
อานุภาพและสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ท่านจะด่วนไปทำไมเล่าสหาย
แม้ข้ออ้างท่านก็ยังไม่รู้ อยู่ก่อนเถิด ฉันจักให้รู้จักภายหลัง.
ลำดับนั้น นกทั้งสองก็กระทำเมถุนสังวาสในสายัณหสมัยนั้นเอง มี
ความสามัคคีบันเทิงอยู่ร่วมเป็นที่รักกัน ครานั้นสุวโปดกคิดว่า บัดนี้นางนก
สาลิกาจักไม่ช่อนความลับแก่เรา ควรที่เราจักถามนางแล้วไปในทำนองนี้ จึง
กล่าวว่า แน่ะสาลิกา อะไรหรือนาย ฉันอยากจะถามอะไรเจ้าสักหน่อย ถาม
เถิดนาย เรื่องนั้นงดไว้ก่อน วันนี้เป็นวันมงคลของเรา ไว้วันอื่นฉันจักรู้
นางนกสาริกากล่าวว่า ถ้าคำที่ถามประกอบด้วยมงคล ก็จงถาม ถ้ามิใช่ ก็อย่า
เพิ่งถาม สุวบัณฑิตตอบว่า กถานั้นเป็นมงคลกถา ที่รัก ถ้าเช่นนั้นก็จงถาม
เถิด ลำดับนั้นสุวบัณฑิตกล่าวว่า ถ้าเธออยากฟังเรื่องนั้น ฉันก็จักกล่าวแก่เธอ
เมื่อจะถามความลับนั้น จงกล่าวหนึ่งคาถากึ่งว่า

เสียงเซ็งแซ่นี้ฉันได้ยินภายนอกชนบทว่า พระ-
ราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชมีพระฉวีวรรณดังดาว
ประกายพรึก พระเจ้ากรุงปัญจาลราชจักถวายพระ-
ราชธิดานั้น แก่ท้าววิเทหรัฐ คือจักมีการอภิเษก
ระหว่างพระเจ้าวิเทหราชกับพระราชธิดานั้น.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า เสียงเซ็งแซ่นี้มาก บทว่า ติโรชนปเท
สุโต
ความว่า ปรากฏคือรู้กันทั่ว คือแผ่ไปในรัฐอื่นในชนบทอื่น แผ่ไป
อย่างไร พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชรุ่งเรื่องราวกะดาวประกายพรึก
มีพระฉวีวรรณเสมอด้วยดาวประกายพรึกนั้น มีอยู่ พระเจ้าปัญจาลราชจัก
ประทานพระราชธิดานั้นแก่ชาววิเทหรัฐ. บทว่า โส วิวาโห ภวิสฺสติ
ความว่า ฉันได้ฟังเสียงที่แผ่ไปอย่างนี้นั้น จึงคิดว่า กุมาริกานี้ทรงพระรูปโฉม
อุดม และพระเจ้าวิเทหราชก็เป็นข้าศึกของพระเจ้าจุลนี พระราชาอื่น ๆ
ที่อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็มีอยู่เป็นอันมาก พระเจ้าจุลนีไม่
ประทานแก่พระราชาเหล่านั้น เหตุไรจึงจะประทานพระราชธิดาแก่พระเจ้า
วิเทหราชเสีย.
นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวบัณฑิตนั้นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า นาย
เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอวมงคลในวันมงคล สุวโปดกจึงย้อนถามว่า ฉัน
กล่าวว่ามงคล เธอกล่าวว่าอวมงคล นี่อะไรกันนาย การทำมงคลเห็นปานนี้
จงอย่าได้มีแก่ชนเหล่านั้นแม้เป็นอมิตร สุวโปดกให้นางนกสาสิกาแจ้งเรื่อง
นางว่าไม่กล้าพูด สุวโปดกจึงว่า ที่รัก จำเดิมแต่กาลที่เธอบอกความลับที่เธอ
รู้แก่ฉันไม่ได้ การร่วมอภิรมย์กันฉันสามีภรรยา ก็ชื่อว่า ไม่มี นางนกสาลิกา
ถูกสุวโปดกแค่นไค้นักก็กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง แล้วกล่าวว่า

แน่ะมาธูระ การที่เหล่าอมิตรทำวิวาหมงคลเช่น
นี้เหมือนกับการที่พระเจ้าปัญจาลราชจักทำวิวาหมงคล
พระราชธิดากับพระเจ้าวิเทหราช ขออย่าได้มีเลย.

ครั้นนางนกสาลิกากล่าวคาถานี้แล้ว สุโปดกซักถามอีกว่า เพราะ
เหตุไร เธอกล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง ฉันจะ
กล่าวโทษในเรื่องนี้แก่ท่านอีก แล้วกล่าวคาถานอกนี้ว่า
พระราชาผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวปัญจาละจักทรง
นำพระเจ้าวิเทหราชมาแล้ว แต่นั้นก็จักฆ่าพระเจ้า-
วิเทหราชเสีย เพราะพระเจ้าจุลนีมิใช่สหายของพระ
เจ้าวิเทหราช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต นํ ฆาตยิสฺสติ ความว่า พระ-
เจ้าวิเทหราชจักเสด็จมาพระนครนี้ในกาลใด พระเจ้าจุลนีจักไม่ทรงทำความ
เป็นสหาย คือมิตรธรรมด้วยพระเจ้าวิเทหราชในกาลนั้น จักไม่ประทาน
พระราชธิดาแก่พระเจ้าวิเทหราชนั้น แม้เพื่อทอดพระเนตร ได้ยินว่า พระเจ้า
วิเทหราชนั้น มีอรรถธรรมานุศาสน์อยู่คนหนึ่งชื่อมโหสถบัณฑิต พระเจ้าจุลนี
จักฆ่ามโหสถนั้น พร้อมกับพระเจ้าวิเทหราช พราหมณ์เกวัฏปรึกษากับพระเจ้า
จุลนีว่า เราจักฆ่าคนทั้งสองนั้นเสียแล้ว ดื่มชัยบาน จึงไปกรุงมิถิลาเพื่อจับ
มโหสถนั้นมา.
นางนกสาลิกาบอกความลับแก่สุวบัณฑิตโดยไม่เหลือ ด้วยประการ
ฉะนี้ สุวบัณฑิตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวชมเกวัฏว่า อาจารย์เกวัฏเป็นคน
ฉลาดในอุบาย การฆ่าพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยอุบายเห็นปานนี้น่าอัศจรรย์แล้ว
กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยอวมงคลเห็นปานนี้แก่เรา นิ่งเสียนอนกันเถิด.

รู้ความสำเร็จแห่งกิจที่มา อยู่กับนางนกสาลิกานั้นในราตรีนั้น แล้วกล่าวว่า
ที่รัก ฉันจักไปแคว้นสีวี ทูลความที่ฉันได้ภรรยาที่ชอบใจ แด่พระเจ้าสีวี
และพระเทวี แล้วกล่าวเพื่อให้นางนกสาลิกาอนุญาตให้ตนไปว่า
เอาเถิด เธอจงอนุญาตให้ฉันไปสัก 7 ราตรี
เพียงให้ฉันได้กราบทูลพระเจ้าสีวิราชและพระมเหสีว่า
ฉันได้อยู่ในสำนักของนางนกสาลิกาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเหสีโน ได้แก่ พระมเหสีของพระ
เจ้าสีวิราชนั้น. บทว่า อาวสโถ ได้แก่ ที่เป็นอยู่. บทว่า อุปนฺติกํ ความว่า
ครั้งนั้นสุวโปดกกล่าวว่า ฉันจักบอกพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้นว่า เชิญ
เสด็จไปสำนักของนางนกสาลิกานั้น ดังนี้ ในวันที่ 8 จักนำมาที่นี้ จักพาเธอ
ไปด้วยบริวารใหญ่ เธออย่าได้กระวนกระวายจนกว่าฉันจะมา.
นางนกสาลิกาได้ฟังดังนั้น ไม่ปรารถนาจะแยกกับสุวโปดกเลย แต่
ไม่อาจจะปฏิเสธคำของเขาได้ จึงกล่าวคาถาเป็นลำดับว่า
เอาเถิด ฉันอนุญาตให้ท่านไปประมาณ 7 ราตรี
ถ้าท่านไม่กลับมายังสำนักของฉันโดย 7 ราตรี ฉัน
จะสำคัญตัวฉันว่าหยั่งลงแล้ว สงบแล้ว ท่านจักมาใน
เมื่อฉันตายแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺเญ โอกนฺตสนฺตํ ความว่า
เนื้อเป็นเช่นนั้น ฉันจะกำหนดตัวฉันว่าปราศจากชีวิตแล้ว เมื่อท่านไม่มาใน
วันที่ 8 จักมาเมื่อฉันตายแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านอย่ามัวชักช้า.
ฝ่ายสุวบัณฑิตกล่าวด้วยวาจาว่า ที่รัก เธอพูดอะไร แม้ฉันเมื่อไม่เห็น
เธอในวันที่ 8 จะมีชีวิตอยู่ที่ไหนได้ แต่ใจคิดว่า เจ้าจะเป็นหรือตาย ก็ไม่มี

ประโยชน์อะไรแก่เรา บินขึ้นบ่ายหน้าไปสีวีรัฐ ไปได้หน่อยหนึ่งยังกลับมา
สำนักของนางนกสาลิกานั้นอีก กล่าวว่า ที่รัก ฉันไม่เห็นรูปสิริของเธอ ไม่
อาจจะทิ้งเธอไปได้ ฉะนั้น ฉันจึงกลับมา กล่าวฉะนั้นแล้วบินขึ้นอีก ไปกรุง
มิถิลา ลงจับที่จะงอยบ่ามโหสถบัณฑิต พระมหาสัตว์อุ้มในรูปบนปราสาทด้วย
สัญญานั้นแล้วไต่ถาม จึงแจ้งประพฤติเหตุนั้น ทั้งหมดแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถ
ก็ได้ให้สิ่งตอบแทนความชอบแก่สุวโปดกนั้น โดยนัยหนหลังนั่นแล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้นแล นกมาธูรสุวบัณฑิตได้บินไปแจ้ง
แก่มโหสถว่า คำนี้เป็นคำของนางนกสาลิกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิกาย วจนํ อิทํ ความว่า สุว-
โปดกได้แจ้งข้อความทั้งปวงโดยพิสดารว่าคำนี้ เป็นคำของนางนกสาลิกา.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงดำริว่า เมื่อเราไม่อยากให้เสด็จ พระราชา
ก็จักเสด็จ ครั้นเสด็จไปแล้วก็จักถึงความพินาศใหญ่ ทีนั้นเมื่อพระราชาประ-
ทานยศเห็นปานนี้แก่เรา เราจักถือตามพระราชดำรัสไว้ในใจแล้วไม่สนอง
พระเดชพระคุณของพระองค์ ความครหาก็จักมีแก่เรา เพราะฉะนั้นเราจักล่วง
หน้าไปก่อนพระองค์ แล้วเฝ้าพระเจ้าจุลนี สร้างนครเป็นที่ประทับอยู่แห่ง
พระเจ้าวิเทหราช ทำให้เป็นนครที่จำแนกดีแล้ว ให้ทำอุโมงค์เป็นทางเดิน
ยาวราว 1 คาวุต อุโมงค์ใหญ่ราวกึ่งโยชน์ แล้วอภิเษกพระนางปัญจาลจันที
ราชธิดาของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ให้เป็นบาทบริจาริกาแห่งพระราชาของเรา
ในเมื่อพระราชาร้อยเอ็ดพร้อมด้วยพลนิกาย 18 อักโขภิณีแวดล้อมตั้งอยู่ เรา
จักปลดเปลื้องพระราชาของเราให้พ้นไป ดุจเปลื้องดวงจันทร์จากปากอสุรินทร-
ราหูฉะนั้น แล้วพาเสด็จสู่พระนครมิถิลา ชื่อว่าราชกรณียกิจที่จะมีมาของพระ-
ราชาต้องเป็นภารธุระแห่งเรา เมื่อมโหสถดำริอย่างนี้ก็เกิดปีติในสรีระ ด้วย
กำลังแห่งความปีติ มโหสถเมื่อจะเปล่งอุทาน จึงกล่าวกึ่งคาถาว่า

บุคคลบริโภคโภคสมบัติในเรือนของผู้ใด พึง
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นทีเดียว.

เนื้อความของกึ่งคาถานั้นมีว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้อิสริยยศใหญ่
บริโภคโภคสมบัติแต่สำนักของพระราชาใดพึงประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่
เกื้อกูล ที่เป็นความเจริญ แด่พระราชานั้นแม้จะทรงด่าบริภาษประหารจับคอ
คร่าออกไปก็ตาม ด้วยทวารทั้งสามมีกายทวารเป็นต้น บัณฑิตทั้งหลายไม่พึง
ทำกรรมคือการประทุษร้ายมิตรเลย.
ครั้นดำริดังนี้แล้ว ก็อาบน้ำแต่งตัวไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคม
แล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จักเสด็จ
ไปอุตตรปัญจาลนครหรือ พระราชาตรัสตอบว่า เออ จะไป เมื่อเราไม่ได้นาง
ปัญจาลจันที จะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ เจ้าอย่าทิ้งเรา จงไปกับเรา
ประโยชน์ 2 ประการ คือเราได้นารีรัตนะและราชไมตรีของพระเจ้าจุลนีกับเรา
จักตั้งมั่น จักสำเร็จเพราะเหตุเราทั้งสองไปในกรุงปัญจาละนั้น ลำดับนั้น
มโหสถเมื่อจะทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์จักไปก่อนสร้างพระราชนิเวศน์
เพื่อพระองค์ พระองค์ควรเสด็จไปในเมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวมากราบทูล เมื่อ
ทูลอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา 2 คาถา ว่า
ข้าแต่พระจอมประชาชน เอาเถิด ข้าพระองค์
จักไปสู่ปัญจาลบุรีที่น่ารื่นรมย์ดีก่อน เพื่อสร้างพระ-
ราชนิเวศนี้ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ ข้าแต่
บรมกษัตริย์ ครั้นข้าพระองค์สร้างพระราชนิเวศน์
ถวายแล้ว ส่งข่าวมากราบทูลพระองค์เมื่อใด พระองค์
พึงเสด็จไปเมื่อนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวเทหสฺส ได้แก่ แด่พระองค์ผู้เป็น
พระเจ้าวิเทหราช. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงเสด็จมา.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทั้งทรงร่าเริง ทั้งทรงโสมนัส
ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า มโหสถไม่ทิ้งเราจึงดำรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อพ่อไป
ก่อน พ่อควรจะได้อะไรไปบ้าง ครั้น มโหสถกราบทูลตอบว่า ควรได้พลและ
พาหนะไป จึงตรัสว่า พ่อปรารถนาสิ่งใด จงเอาสิ่งนั้นไป มโหสถจึงกราบ
ทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้เปิดเรือนจำ 4 เรือน ไห้ถอดเครื่องจำคือ โซ่ตรวน
แห่งโจรทั้งหลายส่งไปกับข้าพระองค์ ครั้นพระราชทานพระราชานุญาตให้ทำ
ตามชอบใจ จึงให้เปิดเรือนจำให้พวกโจรที่กล้าเป็นทหารใหญ่ผู้สามารถยัง
กิจการในที่ที่ไปแล้ว ๆ ให้เสร็จแล้วกล่าวว่า เจ้าทั้งหลายจงบำรุงเราแล้ว ให้
สิ่งของแก่ชนเหล่านั้น แล้วพาเสนา 18 เหล่าผู้ฉลาดในศิลปะต่าง ๆ มีช่างไม้
ช่างเหล็กช่างหนังช่างศิลาช่างเขียนช่างอิฐเป็นต้นไป ให้เอาเครื่องอุปกรณ์เป็น
อันมาก มีมีดขวานจอบเสียมเป็นต้นไปด้วย เป็นผู้มีกองพลใหญ่ห้อมล้อมออก
จากนครไป.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้ไปสู่บุรีที่น่ารื่นรมย์ดี
ของพระเจ้าปัญจาลราชก่อน เพื่อสร้างพระราชนิเวศน์
ถวายพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เมื่อไปในที่ทั้งหลายนั้น ก็ให้สร้างบ้านบ้านหนึ่งใน
ระยะทางโยชน์หนึ่ง ๆ แล้วกล่าวกะอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงเตรียม
จัดช้างม้าและรถไว้ในกาลเมื่อพระเจ้าวิเทหราชรับพระนางปัญจาลจันทีกลับไป
แล้วพาพระราชาเสด็จไป ห้ามเหล่าปัจจามิตรอย่าให้ประทุษร้ายได้ ให้เสด็จ

ถึงกรุงมิถิลาโดยเร็ว สั่งฉะนี้แล้ววางอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ไว้ ก็ครั้นมโหสถไป
ถึงฝั่งคงคาจึงเรียกอมาตย์ชื่ออานันทกุมารมาสั่งส่งไปว่า ดูก่อนอานันทะ ท่าน
จงพาช่างไม้ 300 คนไปเหนือคงคาให้ถือเอาไม้แก่นสร้างเรือประมาณ 300 ลำ
แล้วถากไม้ในที่นั้นนั่นแหละ บันทุกไม้เบา ๆ ในเรือเอามาโดยพลัน เพื่อ
ต้องการสร้างเมือง ส่วนมโหสถเองขึ้นเรือข้ามฟากไปฝั่งโน้น นับทางด้วยหมาย
เท้าก้าวไปจำเดิมแต่สถานที่ขึ้นจากเรือ ก็กำหนดว่า ที่นี้กึ่งโยชน์ อุโมงค์ใหญ่
จักมีในที่นี้ นครที่ตั้งพระราชนิเวศน์แห่งพระเจ้าวิเทหราชจักมีในที่นี้ จำเดิม
แต่พระราชนิเวศน์นี้ อุโมงค์เป็นทางเดินจักมีในที่ราว 1 คาวุตจนถึงพระราช
มณเฑียร กำหนดฉะนี้แล้วเข้าไปสู่กรุงอุตตรปัญจาละ พระเจ้าจุลนีทรงสดับว่า
มโหสถมาถึงก็ทรงโสมนัสยิ่งว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ เราจัก
เห็นหลังแห่งเหล่าปัจจามิตร เมื่อมโหสถมา พระเจ้าวิเทหราช จักมาไม่ช้า
ทีนั้นเราจักฆ่าข้าศึกทั้งสองเสีย เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น กรุงอุตตร-
ปัญจาละทั้งสิ้นเอิกเกริกโกลาหลว่า ได้ยินว่า ผู้นี้ชื่อมโหสถบัณฑิต ได้ยินว่า
พระราชาร้อยเอ็ดอันมโหสถนี้ให้หนีไป ราวกะบุคคลไล่กาให้หนีไปด้วยก้อนดิน
พระมหาสัตว์ไปสู่พระทวารในขณะที่ชาวเมืองดูชมรูปสมบัติของตนอยู่ ให้กราบ
ทูลพระเจ้าจุลนีให้ทรงทราบ ครั้นได้รับพระราชานุญาตให้เข้าเฝ้า จึงเข้าไป
ถวายบังคมพระราชายืนอยู่ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีทรงทำปฏิสันถารตรัสถามมโหสถว่า พระราชา
ของเจ้าจักเสด็จมาเมื่อไร มโหสถทูลว่า จักเสด็จมาในกาลเมื่อข้าพระองค์
ส่งข่าวไปทูล พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า ก็ตัวเจ้ามาเพื่อประโยชน์อะไร
มโหสถทูลว่า มาเพื่อสร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชา ของข้าพระองค์
พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว แต่นั้นก็โปรดให้พระราชทานเสบียงแก่เสนา
ของมโหสถ และพระราชทานสิ่งของเป็นอันมากและเรือนที่อยู่แก่มโหสถ
แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เจ้าอย่าเดือดร้อน จงทำราชการที่ควรทำอยู่กับข้า

จนกว่าพระราชาของเจ้าจะเสด็จมา ได้ยินว่า มโหสถขึ้นไปสู่พระราชนิเวศน์
ยืนอยู่แทบเชิงบันไดได้กำหนดว่า ประตูอุโมงค์อันเป็นทางเดินจักมีในที่นี้
ความปริวิตกได้มีแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนีตรัสว่า เจ้าจงทำกิจที่ควรทำแก่
พวกเราบ้าง ดังนี้ ในเมื่อขุดอุโมงค์ ก็ควรจะให้ทำอย่างที่บันไดนี้จะไม่ทรุดลง
ลำดับนั้น มโหสถจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อ
ข้าพระองค์เข้ามาเฝ้ายืนอยู่ที่เชิงบันได ตรวจดูนวกรรมในที่นี้ เห็นโทษที่
บันไดใหญ่ ถ้าข้อความที่กราบทูลนี้ชอบด้วยพระราชดำริ ข้าพระองค์จะเอาไม้
ทั้งหลายมาปูลาดลงให้เป็นที่พอใจ พระเจ้าจุลนีทรงอนุญาต มโหสถกำหนด
ดีแล้วว่า ช่องประตูอุโมงค์จักมีในที่นี้ จึงให้นำบันไดออกเสีย ให้ปูลาดแผ่น
กระดานเพื่อต้องการมิให้มีฝุ่นในที่ที่จะเป็นประตูอุโมงค์ แล้วพาดบันไดไว้ตาม
เดิมมิให้หวั่นไหว มิให้ทรุดลงได้ เมื่อพระราชาไม่ทรงทราบโทษที่จะพึงมี
ก็เข้าพระหฤทัยว่า มโหสถทำด้วยความภักดีในเรา มโหสถให้ทำนวกรรม
ตลอดวันนั้นอย่างนี้แล้ว รุ่งขึ้นจึงกราบทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ถ้าข้าพระองค์พึงเลือกหาสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้าพระองค์ ข้าพระ-
องค์พึงปฏิบัติทำให้ชอบใจ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต ยกเสียแต่
พระราชนิเวศน์ของข้า นอกนี้ในกรุงทั้งหมด เจ้าปรารถนาที่ใดเป็นพระราช-
นิเวศน์ของพระเจ้าวิเทหราช เจ้าจงเอาที่นั้น มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นแขกมา ประชาชนคนของพระองค์ที่เป็นคน
สนิทมีมาก คนเหล่านั้นครั้นเมื่อข้าพระองค์เอาเรือนของเขา ก็จักเกิดทะเลาะ
กับพวกข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จักทำอะไรกับพวกเหล่านั้นได้
พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าอย่าถือเอาคำของพวกนั้น สถานที่ใด
เจ้าชอบใจ เจ้าจงถือเอาสถานที่นั้นทีเดียว มโหสถจึงกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่

สมมติเทพ พวกนั้นจักมากราบทูลพระองค์บ่อย ๆ ความสำราญแห่งพระหฤทัย
ของพระองค์ และแห่งใจของข้าพระองค์จักไม่มี ก็ถ้าว่าพระองค์ทรงปรารถนา
คนรักษาประตูควรเป็นคนของข้าพระองค์ จนกว่าข้าพระองค์จักหาสถานที่เป็น
พระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของข้าพระองค์ได้ แต่นั้น พวกนั้นเข้าประตูไม่ได้
ก็จักไม่มา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็จักทรงพระสำราญ และข้าพระองค์ก็จัก
สบายใจ พระราชาจุลนีทรงอนุญาต พระมหาสัตว์ตั้งคนของตนไว้ในที่ทั้งปวง
คือที่เชิงบันใด หัวบันใด และประตูใหญ่ สั่งว่าพวกเจ้าอย่าให้ใคร ๆ เข้าไป.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ตำหนักพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนีก่อน
แล้วสั่งคนทั้งหลายว่า เจ้าทั้งหลายจงจัดการรื้อตำหนัก คนใช้เหล่านั้นก็ปรารภ
เพื่อจะรื้ออิฐและขุดดินตั้งแต่ซุ้มประตู พระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีได้สดับข่าว
นั้น จึงเสด็จมารับสั่งว่า พวกเจ้าจะให้รื้อตำหนักของข้าเพื่ออะไร ชนเหล่านั้นจึง
ทูลตอบว่า มโหสถให้รื้อใคร่เพื่อให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งพระราชาของตน
พระราชชนนีจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น อยู่ด้วยกันในตำหนักนี้ก็แล้วกัน ชน
เหล่านั้นทูลตอบว่า พลพาหนะของพระราชาแห่งพวกข้าพระองค์มีมากตำหนัก
นี้ย่อมไม่พอกันอยู่ ข้าพระองค์จักให้สร้างที่ประทับใหม่ให้ใหญ่ พระราชชนนี
จึงรับสั่งว่า พวกเจ้าไม่รู้จักข้า ข้าเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าจุลนี ข้าจัก
ไปหาลูกข้า จักรู้กันเดี๋ยวนี้ ชนเหล่านั้นจึงทูลว่า ข้าพระองค์จักรื้อตามพระ-
ราชดำรัส ถ้าพระองค์อาจ ก็จงห้าม พระนางสลากเทวีกริ้วรับสั่งว่า ข้ารู้จัก
กิจที่ข้าพึงทำแก่พวกเจ้าเดี๋ยวนี้ ตรัสแล้วเสด็จไปประตูพระราชนิเวศน์ ลำดับ
นั้น คนเฝ้าประตูก็ห้ามพระราชมารดาว่า แกอย่าเข้าไป พระราชมารดาตรัสว่า
ข้าเป็นพระราชชนนี ชนเหล่านั้นก็ทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้า
จุลนีตรัสสั่งไว้ว่า อย่าให้ใคร ๆ เข้าไป เพราะฉะนั้นพระองค์จงเสด็จกลับไป

เสีย พระนางสลากเทวีเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นที่พึ่งอันพึงยึดถือ ก็เสด็จกลับ
มาทอดพระเนตรตำหนักของพระองค์ประทับยืนอยู่ ลำดับนั้น ชนผู้หนึ่งจึง
ทูลพระนางนั้นว่า แกทำอะไรในที่นี้ จงไป ๆ ว่าแล้วลุกขึ้นไสพระศอให้ล้มลง
ยังภูมิภาค พระนางเจ้าทรงดำริว่า พวกนี้พระราชาลูกเราสั่งแล้ว แน่ ใครไม่
สามารถจะทำอย่างนี้ ด้วยประการอื่น เราจักไปหามโหสถ จึงเสด็จไปหา
มโหสถ ตรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ ท่านให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพราะอะไร มโหสถ
ไม่พูดกับพระนางเจ้า แต่บุรุษผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้ทูลว่า พระนางจะตรัสอะไรกะ
มโหสถ พระนางเจ้าจึงรับสั่งว่า มโหสถให้รื้อตำหนักข้าพเจ้าเพื่ออะไร บุรุษ
นั้นทูลว่า เพื่อทำที่ประทับแห่งพระเจ้าวิเทหราช พระราชมารดารับสั่งว่า
เมืองใหญ่ถึงเพียงนี้ ทำไมจะหาที่ทำพระราชนิเวศน์ในที่อื่นไม่ได้ เจ้าจงรับ
สินบนแสนกหาปณะนี้แล้วให้ทำพระราชนิเวศน์ในสถานที่อื่นเถิด บุรุษนั้นทูล
ตอบว่า ดีแล้ว พระแม่เจ้า ข้าพระองค์จักให้ละตำหนักของพระนาง แต่
พระนางอย่ารับสั่งการที่ข้าพระองค์รับสินบนแก่ใคร่ ๆ เพราะว่าชนเหล่าอื่นจะ
พากันให้สินบนแก่พระองค์แล้วไม่อยากละเรือนของตน พระนางสลากเทวีรับ
สั่งตอบว่า การที่ข้าพูดให้ใครรู้นั้น เป็นที่น่าอายแก่ข้าว่า พระราชมารดาได้
ให้สินบน ดังนี้ เพราะฉะนั้นข้าจักไม่บอกแก่ใคร บุรุษนั้นทูลรับว่า ดีแล้ว
แล้วรับเอากหาปณะ 1 แสนจากพระนาง ก็ละตำหนักนั้นไปเรือนเกวัฏให้ทำ
เหมือนกับทำแก่ตำหนักพระนางสลากเทวีนั้น เกวัฏโกรธไปสู่ราชทวาร เหล่า
คนรักษาประตูก็ประหารที่หลังเกวัฏด้วยซีกไม้ไผ่ หนังที่หลังเกวัฏก็เป็นแนว
ขึ้น เกวัฏไม่เห็นจะพึ่งอะไรได้ก็กลับบ้านให้กหาปณะ 1 แสนแก่บุรุษนั้น
มโหสถถือเอาสถานที่ตั้งเรือนในนครทั้งสิ้นด้วยอุบายนี้ รับสินบนได้กหาปณะ
ในที่นั้น ๆ ประมาณ 9 โกฏิ พระโพธิสัตว์พิจารณาในนครทั้งสิ้นแล้วไปเฝ้า
พระเจ้าจุลนี พระราชาตรัสถามว่า เป็นอย่างไร พ่อบัณฑิต สถานที่ตั้ง

พระราชนิเวศน์เจ้าหาได้หรือยัง มโหสถกราบทูลว่า ชื่อว่าใครจะไม่ให้ ย่อม
ไม่มี แต่ครั้นเมื่อเรือนอันข้าพระองค์ถือเอา ชนเจ้าของก็ย่อมลำบาก การทำ
ความที่ชนเหล่านั้น ต้องพลัดพรากจากของรัก ไม่สมควรแก่ข้าพระองค์ เพราะ
ฉะนั้น ข้าพระองค์จักสร้างพระนครให้เป็นสถานที่ประทับแห่งพระราชาของข้า
พระองค์ ในที่โน้นระหว่างคงคากับพระนครนี้ ในที่ 1 คาวุตแต่ที่นี้ ภายนอก
พระนครนี้.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับก็ยินดี ด้วยทรงเห็นว่า การรบกันภายในเมือง
เป็นการลำบาก เสนาฝ่ายเราหรือเสนาฝ่ายอื่นก็อาจรู้ยาก การทำยุทธนาการ-
ภายนอกเมืองเป็นการง่าย จักได้ไม่ต้องทุบตีกันตายในเมือง ทรงเห็นฉะนี้
จึงตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงให้สร้างในสถานที่ที่เจ้ากำหนดเถิด มโหสถกราบ
ทูลว่า ข้าพระองค์จักให้ทำในที่ที่กราบทูลและขอพระราชทานอนุญาตแล้วนั้น
ชาวพระนครอย่าพึงไปสู่ที่ทำนวกรรมของข้าพระองค์ เพื่อหาฟืนและใบไม้
เพราะว่าเมื่อชาวเมืองไป จักเกิดทะเลาะวิวาทกัน ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ความ
สำราญพระราชหฤทัยจักไม่มีแด่พระองค์ และความสบายใจก็จักไม่มีแก่ข้า-
พระองค์ พระเจ้าจุลนีตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต เจ้าจงห้ามไม่ให้ใครไปยัง
ประเทศนั้น มโหสถทูลต่อไปว่า ข้าแต่สมมติเทพ ช้างทั้งหลายของข้าพระองค์
ชอบเล่นน้ำ เมื่อน้ำเกิดขุ่นมัวขึ้น ถ้าชาวเมืองจักขัดเคืองพวกข้าพระองค์ว่า
จำเดิมแต่มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส ขอพระองค์กรุณาอดกลั้นในเรื่อง
นี้ อย่ากริ้วพวกข้าพระองค์ พระเจ้าเจ้าจุลนีตรัสว่า ช้างทั้งหลายของพวกเจ้า
พวกเจ้า จงปล่อยให้เล่นเถิด ตรัสฉะนี้แล้วให้ป่าวร้องว่า ผู้ใดออกจากที่นี้
ไปสู่ที่สร้างพระนครของมโหสถ จักปรับไหมผู้นั้นพันกหาปณะ มโหสถถวาย
บังคมลาพระเจ้าจุลนีพาพวกของตนออกจากพระนครปรารภเพื่อสร้างพระนคร
ในสถานที่กำหนดไว้ ให้สร้างบ้านชื่อคัคคลิริมฝั่งคงคาฟากโน้น ให้ช้างม้ารถ
พาหนะโคมีกำลังอยู่ในบ้านนั้น พิจารณาการสร้างพระนคร แบ่งการงานทั้งปวง

ว่า ชนเท่านี้ทำกิจชื่อนี้ เป็นต้น และได้เริ่มการงานในอุโมงค์ ประตูอุโมงค์
ใหญ่อยู่ริมฝั่งคงคา ชนทั้งหลายราว 6,000 คน ขุดอุโมงค์ใหญ่ นำกรวด
ทรายที่เทลง ๆ นั้น คงคาก็ขุ่นมัวไหลไป ชาวเมืองก็พากันกล่าวว่า ตั้งแต่
มโหสถมา พวกเราไม่ได้ดื่มน้ำใส คงคาขุ่นมัวไหลไป เหตุเป็นอย่างไรหนอ
ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็แจ้งแก่ชาวเมืองว่า ได้ยินว่า หมู่ช้างของมโหสถ
เล่นน้ำ ทำให้น้ำในคงคาขุ่นเป็นตม เพราะเหตุนั้น คงคาจึงขุ่นมัวไหลไป
ธรรมดาว่าความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ เพราะเหตุนั้น
รากไม้ ศิลา กรวดทั้งปวงในอุโมงค์ย่อมจมหายไปในพื้นดิน ประตูแห่ง
อุโมงค์ซึ่งเป็นทางเดินอยู่ในเมืองนั้น ชนทั้งหลายราว 3,000 คน ขุดอุโมงค์
ซึ่งเป็นทางเดิน ให้บรรจุกรวดทรายด้วยถุงหนังไปถมในนครนั้น ให้คลุกเคล้า
ดินและทรายที่เทไว ๆ กับน้ำก่อกำแพง และทำกิจอื่น ๆ ด้วย ประตูทางเข้า
มหาอุโมงค์มีทางในเมือง ประกอบด้วยประตูเป็นคู่ มียนตร์สูง 18 ศอก ก็
ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูนั้นก็เปิด ก่ออิฐ 2 ข้าง
แห่งมหาอุโมงค์แล้วให้ฉาบปูน ปูไม้บังเบื้องบนเอาดินเหนียวยาอุดช่องแล้ว
ทาขาว ก็ในอุโมงค์นั้นมีประตูทั้งหมด คือประตูใหญ่ 80 ประตูน้อย 64
ทุกประตูประกอบด้วยยนตร์ ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า
ประตูทั้งหมดก็ปิด ในเมื่อเหยียบกดเครื่องสลักห้ามอันหนึ่งเข้า ประตูทั้งหมด
ก็เปิด โคมดวงไฟมีมากกว่าร้อย มี 2 ข้างของมหาอุโมงค์ โคมดวงไฟทั้งสิ้น
ประกอบด้วยยนตร์ ครั้นเมื่อเปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็เปิดสว่างพร้อม
กันหมด ครั้นเมื่อปิดยนตร์อันหนึ่ง โคมดวงไฟก็ปิดมืดพร้อมกันหมด ก็
ห้องบรรทมร้อยเอ็ดห้องสำหรับพระราชาร้อยเอ็ด มีอยู่ 2 ข้างแห่งมหาอุโมงค์
ทอดเครื่องลาดต่าง ๆ ไว้ในห้องบรรทมทุกห้อง ที่ประทับนั่งแห่งหนึ่ง ๆ ยก
เศวตฉัตรไว้ทุกแห่ง รูปสตรีทำด้วยเส้นป่านรูปหนึ่ง ๆ งดงามยิ่ง ตั้งไว้อาศัย

พระราชสีหาสน์และพระราชมหาสยนะองค์หนึ่งๆ ประดิษฐานไว้แล้ว ถ้าว่า
บุคคลไม่จับต้องรูปนั้น ก็ไม่อาจรู้ว่าไม่ใช่รูปคน อนึ่ง พวกช่างเขียนผู้ฉลาด
ได้ทำจิตรกรรมเขียนอย่างวิจิตรต่าง ๆ ทั้ง 2 ข้างแห่งมหาอุโมงค์แสดงภาพทั้ง
ปวงไว้ในอุโมงค์ แบ่งเขียนเป็นต้นว่าภาพสักกเทวราชเยื้องกรายมีหมู่เทวดา
แวดล้อมและเขาสิเนรุ เขาบริภัณฑ์ สาคร มหาสาคร ทวีป 8 ป่าหิมพานต์
สระอโนดาต พื้นศิลา ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สวรรค์ชั้นกามาพจรมีจาตุ
มหาราชิกาเป็นต้น และสมบัติ 7 ประการ เกลี่ยกรวดทรายซึ่งมีสีดุจแผ่นเงินที่
ภาคพื้น แสดงดอกปทุมห้อยตามช่องเบื้องบน แสดงร้านตลาดขายของมี
ประการต่าง ๆ ทั้ง 2 ข้าง ห้อยพวงของหอมพวงบุปผชาติเป็นต้น ในที่นั้น ๆ
ประดับอุโมงค์เป็นราวกะสุธรรมาเทพสภา ฝ่ายช่าง 300 คนที่มโหสถให้ไป
ทำทัพสมภาระแห่งพระราชนิเวศน์และให้ต่อเรือบรรทุกมานั้น ก็ได้ท่อเรือ
300 ลำ บรรทุกทัพสัมภาระที่แต่งเสร็จแล้วมาทางคงคาแจ้งแก่มโหสถ
มโหสถนำทัพสัมภาระเหล่านั้น ไปเป็นเครื่องประกอบใช้การในพระนคร แล้ว
ให้นำเรือทั้งหลายไปรักษาไว้ในที่ปกปิด สั่งว่า เหล่าเจ้าจงนำมาในวันที่เราสั่ง
การก่อสร้างทั้งปวงในพระนครที่แล้วเสร็จ คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง กำแพง
สูง 18 ศอก ป้อมประตูเมือง ซุ้มประตูเมือง พระราชนิเวศน์เป็นต้น โรงช้าง
เป็นต้น และสระโบกขรณี มหาอุโมงค์ ชังฆอุโมงค์ พระนครทั้งหมดนี้แล้ว
เสร็จ 4 เดือน ด้วยประการฉะนี้.
ต่อนั้นล่วงมาได้ 4 เดือน พระมหาสัตว์ได้ส่งทูตไปเพื่อเชิญเสด็จ
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
มโหสถสร้างพระราชนิเวศน์เพื่อพระเจ้าวิเทห-
ราชผู้ทรงยศเสร็จแล้ว ภายหลังจึงส่งทูตทูลพระเจ้า

วิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอเชิญพระองค์
เสด็จมาบัดนี้ พระราชนิเวศนี้ที่สร้างเพื่อพระองค์
สำเร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาหิณี แปลว่า ส่งไปแล้ว.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของทูตก็ทรงโสมนัส เสด็จไปด้วย
ราชบริพารเป็นอันมาก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยจตุรงค-
เสนา เสด็จไปสู่นครอันมั่งคั่งที่มโหสถสร้างไว้ในแคว้น
กัปปิล เพื่อทอดพระเนตรพาหนะอันหาที่สุดมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตพาหนํ ได้แก่ พาหนะมีช้าง
และม้าเป็นต้นประมาณมิได้. บทว่า กปฺปิลิยํ ปุรํ ได้แก่ นครที่มโหสถ
บัณฑิตสร้างไว้ในแคว้นกัปปิละ.
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปโดยลำดับถึงฝั่งคงคา ลำดับนั้นพระมหาสัตว์
ก็ไปรับเสด็จให้เข้าสู่นครที่ตนสร้าง พระราชาเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ
ในนครนั้น สนานพระวรกายทรงแต่งพระองค์แล้ว เสวยโภชนาหารมีรสอัน
เลิศ ทรงพักผ่อนหน่อยหนึ่งแล้ว เวลาเย็นทรงสั่งราชทูตไปยังสำนักพระเจ้า-
จุลนี เพื่อให้ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึงแล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปถึงแคว้น
กัปปิละแล้ว ทรงส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้า
จุลนีพรหมทัตว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันมา

เพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ ขอพระองค์
โปรดพระราชทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ประดับ
ด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง
ข้าหลวง ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺทิตุํ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชมี
พระชนม์แก่กว่าพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีไม่พอที่จะเป็นแม้เพียงพระโอรสของ
พระเจ้าวิเทหราช แต่พระเจ้าวิเทหราชหมกมุ่นไปด้วยกิเลส จึงทรงดำริว่า
พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระที่เราผู้เป็นพระชามาตาควรถวายบังคม ไม่ทรง
ทราบความคิดของพระเจ้าจุลนี จึงทรงส่งสาสน์ถวายบังคมไป. บทว่า
ททาหิทานิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงส่งสาสน์ไปว่า พระองค์โปรด
เรียกหม่อมฉันมาว่าจะประทานพระราชธิดา ขอได้โปรดประทานพระราชธิดา
นั้นแก่หม่อมฉันในบัดนี้เถิด. บทว่า สุวณฺณปฏิจฺฉนฺนํ ได้แก่ ประดับ
ด้วยเครื่องประดับทองคำ.
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับถ้อยคำของราชทูตก็ทรงโสมนัส ดำริว่า
บัดนี้ปัจจามิตรของเราจักไปข้างไหนพ้น เราจักตัดศีรษะเขาทั้งสองคนแล้วดื่ม
ชัยบาน เมื่อจะทรงแสดงพระโสมนัสส่วนเดียวให้ปรากฏ จึงพระราชทาน
รางวัลแก่ราชทูตแล้ว ตรัสคาถาเป็นลำดับมาว่า
ดูก่อนพระเจ้าวิเทหราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์หาฤกษ์อาวาห-
มงคลไว้ หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาประดับด้วย
ราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นาง
ข้าหลวงแด่พระองค์.

ในคาถานั้น พระเจ้าจุลนีได้สดับสาสน์ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ตรัส
เรียกพระเจ้าวิเทหราชนั้นดุจเสด็จอยู่เฉพาะพระพักตร์ว่า เวเทห อีกนัยหนึ่ง
ทรงสั่งให้ราชทูตไปทูลว่า พระเจ้าพรหมทัตจุลนีตรัสอย่างนี้ จึงตรัสอย่างนี้.
ราชทูตได้ฟังดังนั้น จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชกราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงหาฤกษ์ที่สมควรแก่การพระราชพิธีอาวาหมงคล
พระเจ้าจุลนีจะถวายพระราชธิดาแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจึงส่งราชทูตไป
อีกว่า วันนี้แหละฤกษ์ดี.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า .
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชก็ได้ทรงหาพระฤกษ์
ครั้นหาพระฤกษ์ได้แล้วจึงได้ทรงส่งพระราชสาสน์ไป
ถวายพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์โปรดพระราช-
ทานพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์ ประดับด้วยราชา-
ลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางข้าหลวง
ให้เป็นมเหสีของหม่อมฉัน ณ บัดนี้เถิด.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า
หม่อมฉันจะถวายพระราชธิดาผู้งดงามทั่วองค์
ประดับด้วยราชาลังการล้วนแต่ทองคำ ห้อมล้อมด้วย
หมู่นางข้าหลวง แด่พระองค์ในบัดนี้.

ครั้นพระเจ้าจุลนีตรัสคาถานี้แล้ว ตรัสลวงว่า จะส่งไปเดี๋ยวนี้ ๆ ดังนี้
ได้ประทานสัญญาแก่พระราชาร้อยเอ็ดว่า ท่านทั้งปวงกับเสนา 18 อักโขภิณี
จงเตรียมออกรบ วันนี้เราจักตัดศีรษะข้าศึกทั้งสอง พรุ่งนี้จักได้ดื่มชัยบาน
พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้นทั้งหมดก็ออกในขณะนั้นทีเดียว ฝ่ายพระเจ้ากรุง

ปัญจาละเมื่อจะเสด็จออกทำการยุทธ์ ก็ยังพระนางสลากเทวี ผู้พระราชมารดา
พระนางนันทาเทวี ผู้พระมเหสี พระปัญจาลจันทะ ผู้ราชโอรส พระนาง-
ปัญจาลจันที ผู้พระราชธิดา รวม 4 องค์ ให้อยู่ในตำหนักเดียวกันกับนาง
สนมทั้งหลาย จึงเสด็จออกสงคราม.
ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์ทำราชสักการะเป็นนักหนา แด่พระเจ้า
วิเทหราชพร้อมพวกเสนาที่โดยเสด็จ ชนบางพวกดื่มสุรา บางพวกเคี้ยวกิน
มัจฉมังสาหาร บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอน เพราะมาแต่ทางไกล ฝ่ายพระเจ้า
วิเทหราชทรงพาอาจารย์ทั้ง 4 มีเสนกะเป็นต้น ประทับนั่ง ณ พื้นพระราช-
มณเฑียรที่ตกแต่งแล้ว ท่ามกลางราชบริพาร ฝ่ายพระเจ้าจุลนีล้อมนครที่
พระเจ้าวิเทหราชประทับ ให้ติดต่อกัน 3 ชั้น ย่นเข้าเป็น 4 ด้วยกองทัพ 18
อักโขภิณี มีคนจุดคบเพลิงนับด้วยแสน ๆ ครั้นอรุณขึ้นก็เตรียมยึดเมืองตั้งอยู่
มโหสถรู้ความก็ส่งโยธา 300 คนของตนไปสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจงไปตามทาง
อุโมงค์ จับราชมารดา มเหสี ราชบุตร และราชธิดาของพระเจ้าจุลนีมาทางอุโมงค์
อย่าให้อยู่นอกประตูมหาอุโมงค์ ให้อยู่ภายในอุโมงค์ ตั้งรักษาอยู่จนกว่าข้า
จะมา จึงนำออกจากอุโมงค์ให้อยู่ในโรงกว้างใหญ่ในกาลเมื่อข้าไป ชนเหล่านั้น
รับคำสั่งมโหสถก็ไปทางอุโมงค์ เปิดไม้ลาดไว้ที่เชิงบันได แล้วมัดมือเท้าคน
รักษาในที่เชิงบันได หัวบันไดและพื้นตำหนัก และนางบำเรอมีนางค่อมแตระ
เป็นต้น แล้วปิดปากชนเหล่านั้น ให้อยู่ในที่กำบังนั้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเครื่อง
เสวยที่จัดไว้ถวายพระเจ้าจุลนี ทิ้งของอะไร ๆ เสีย ทำลายภาชนะทำให้ป่นปี้
เสีย แล้วขึ้นสู่เบื้องบนปราสาท กาลนั้นพระนางสลากเทวีทรงสำคัญว่า ที่ไหน
จะมีใครรู้จักพระนันทาเทวี ราชบุตรราชธิดา เหตุอะไรจักเกิดมี จึงให้บรรทม
อยู่ ณ พระยี่ภู่เดียวกันกับพระองค์ โยธาเหล่านั้นยืนร้องเรียกที่ประตูห้อง

พระนางจึงออกมาตรัสถามว่า ทำไมพ่อ โยธาเหล่านั้นจึงแสร้งทูลว่า ข้าแต่
พระเทวี พระราชาของพวกเรายังพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถให้ถึงความสิ้น
ชีวิตแล้ว แวดล้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดเป็นเอกราชในสกลชมพูทวีป ดื่ม
ชัยบานใหญ่ด้วยพระเกียรติยศใหญ่ ส่งข้าพระองค์ทั้งหลายมาเพื่อพาเสด็จไป
ทั้ง 4 พระองค์ พระราชมารดาเป็นต้นทรงเธอ จึงเสด็จลงจากปราสาทถึง
เชิงบันได โยธาเหล่านั้น ก็พาเสด็จไปเข้าทางอุโมงค์ พระราชมารดาเป็นต้น
ตรัสว่า ข้าอยู่ในที่นี้สิ้นกาลเท่านี้ ยังไม่เคยลงสู่ทางนี้ โยธาเหล่านั้นทูลว่า
ข้าแต่พระเทวีเจ้า ชนทั้งปวงหาได้ลงสู่ทางนี้ไม่ เพราะทางนี้เป็นทางมงคล
วันนี้พระราชาตรัสสั่งให้นำเสด็จโดยทางนี้ เพราะเป็นวันมงคล พระราชมารดา
เป็นต้นทรงเชื่อ ลำดับนั้น โยธาบางพวกพาพระราชมารดาเป็นต้น มาบ้าง
บางพวกกลับไปเปิดคลังรัตนะในพระราชนิเวศน์ ถือเอาทรัพย์ตามปรารถนา
มาบ้าง ฝ่ายพระราชมารดาเป็นต้น เบื้องหน้าแต่จะถึงมหาอุโมงค์ เห็นอุโมงค์
ราวกะเทพสภาอันประดับแล้ว ก็ทรงสำคัญว่า จัดไว้เพื่อประโยชน์แด่พระราชา
ลำดับนั้น โยธาเหล่านั้นพาพระราชมารดาเป็นต้น ไปสู่สถานที่ใกล้มหาคงคา
ให้ประทับในห้องอันตกแต่งแล้วภายในอุโมงค์ พวกหนึ่งอยู่รักษา พวกหนึ่ง
ไปแจ้งการที่ได้นำพระราชมารดาเป็นต้น มาแล้วแก่มโหสถโพธิสัตว์ มโหสถได้
ฟังคำของโยธาเหล่านั้นก็มีความโสมนัสว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราจักถึง
ที่สุด จึงไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระเจ้า
วิเทหราชทรงดำริว่า พระเจ้าจุลนีจักนำพระราชธิดามาให้เราบัดนี้ ก็เสด็จลุก
จากราชบัลลังก์ ทอดพระเนตรทางช่องพระแกลเห็นพระนครมีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกัน ด้วยคบเพลิงนับด้วยแสนดวงมิใช่แสนเดียว อันกองทัพใหญ่
ล้อมรอบแล้ว ก็ทรงฉงนสนเท่ห์รำพึงว่า นั่นอะไรกันหนอ เมื่อจะทรงหารือ
อาจารย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย จึงตรัสคาถานี้ว่า

กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น
กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมสำคัญอย่างไรกันหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ มญฺญนฺติ ความว่า พระเจ้า
วิเทหราชตรัสถามว่า พระเจ้าจุลนีโปรดปรานหรือกริ้วพวกเรา บัณฑิตทั้งหลาย
เข้าใจกันอย่างไรหนอ.
อาจารย์เสนกะได้ฟังตรัสถามจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย คบเพลิงมากเหลือเกินปรากฏอยู่ ชะรอยพระเจ้า
จุลนีจะพาพระราชธิดามาถวายพระองค์ ฝ่ายอาจารย์ปุกกุสะกราบทูลว่า พระเจ้า
จุลนีจักทรงอารักขาเพื่อทรงทำอาคันตุกสักการะแด่พระองค์ บัณฑิตทั้งสี่เหล่า
นั้นชอบใจอย่างใดก็กราบทูลอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช
เมื่อได้ทรงสดับเสียงคนในกองทัพบอกสั่งกันว่า เสนาทั้งหลายจงตั้งอยู่ในที่โน้น
ท่านทั้งหลายจงรักษาในที่โน้น อย่าประมาท และทอดพระเนตรเห็นเสนาผูก
สอดเกราะ ก็เป็นผู้อันมรณภัยคุกคาน เมื่อทรงหวังสดับถ้อยคำแห่งพระ-
มหาสัตว์ จึงตรัสคาถานอกนี้ว่า
กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ อันเป็น
กองทัพสวมเกราะตั้งอยู่ จุดคบเพลิงสว่างไสว ดูก่อน
มโหสถบัณฑิต พวกนั้น จักทำอะไรกันหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ กาหนฺติ ปณฺฑิต ความว่า
พ่อบัณฑิต เจ้าคิดอย่างไรหนอ เสนาเหล่านั้นจักกระทำอะไรแก่พวกเรา.
พระมหาสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น จึงคิดในใจว่า เราจักทำ
พระราชาผู้อันธพาลนี้ให้สะดุ้งสักหน่อย ภายหลังจึงแสดงกำลังปัญญาของเรา
ให้ปรากฏทำให้พระองค์เบาพระหฤทัย คิดฉะนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตมี
กำลังมาก ล้อมพระองค์ไว้ประทุษร้ายพระองค์ พระองค์
จักปลงพระชนม์พระองค์.

คนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระเจ้าวิเทหราชเป็นต้นก็ตกใจกลัวตาย พระราชา
พระศอแห้ง พระเขฬะไม่มีในพระโอฐ เกิดเร่าร้อนในพระสรีระ พระองค์
ทรงกลัวต่อมรณภัย คร่ำครวญตรัสคาถา 2 คาถาว่า
ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน
ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตาของ
ช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอกฉันใด ใจของ
เราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุพฺเพธติ ความว่า แน่ะพ่อมโหสถ
ใจของข้าย่อมหวั่นไหว ราวกะว่าใบอ่อนของโพธิ์ใบต้องลมใหญ่ฉะนั้น. บทว่า
อนฺโต ฌายติ โน พหิ ความว่า หัวใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ในภายใน
แต่ไม่ปรากฏในภายนอกราวกะเตาของช่างทองนั้น.
พระมหาสัตว์ได้ฟังพระเจ้าวิเทหราชทรงคร่ำครวญ คิดว่า พระราชา
นี้เป็นอันธพาล ไม่ทำตามคำของเราในวันอื่น ๆ เราจักข่มพระองค์ให้ยิ่งขึ้น
จึงทูลว่า
ข้าแต่บรมกษัตริย์ พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว
เป็นไปล่วงความคิด มีความคิดทำลายเสียแล้ว บัดนี้
บัณฑิตทั้ง 4 ผู้มีความคิดจงป้องกันพระองค์เถิด พระ-
องค์ไม่ทรงทำตามคำของข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์ใคร่
ประโยชน์นี้แสวงหาความเกื้อกูล ทรงยินดีแล้วด้วย
พระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์ ดุจมฤคตกหลุม

ฉะนั้น ปลาอยากกินของสดคือเหยื่อย่อมกลืนเบ็ดอัน
งอซึ่งปิดไว้ด้วยเนื้ออันเป็นเหยื่อ มันย่อมไม่รู้ความ
ตายของตน ฉันใด ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้มี
ความปรารถนาในกามย่อมไม่ทรงทราบพระราชธิดา
ของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นดุจเหยื่อ ราวกะปลาไม่รู้จัก
เหยื่อคือความตายของตน ฉันนั้น นั่นเทียว ถ้าพระ-
องค์เสด็จนครปัญจาละ จักต้องสละพระองค์ทันที
ภัยใหญ่จักถึงพระองค์ดุจภัยมาถึงมฤคตัวตามไปถึงทาง
ประตูบ้าน ฉะนั้น ข้าแต่พระจอมประชา บุรุษผู้ไม่
ประเสริฐ เป็นเหมือนงูอยู่ในพกพึงกัดเอา ผู้มีปัญญา
ไม่พึงทำไมตรีกับบุรุษเช่นนั้น เพราะการคบบุรุษชั่ว
เป็นทุกข์โดยแท้ ข้าแต่พระจอมประชากร บุรุษผู้มี
ศีล เป็นพหูสูตนี้พึงรู้คุณแห่งไมตรีนั้นกับบุรุษนั้นนั่น
เที่ยว เพราะการคบสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นสุขโดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺโต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์เป็นผู้ประมาทเพราะความใคร่. บทว่า มนฺตนาตีโต ความว่า เป็น
ผู้ก้าวล่วงความคิดที่ข้าพระองค์เห็นภัยในอนาคตคิดกำหนดตัดด้วยปัญญา.
บทว่า ภินฺนมนฺโต ความว่า เป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว คือ ความคิด
ใดที่พระองค์ทรงยึดถือร่วมกับอาจารย์เสนกะเป็นต้น ความคิดนั้นทรงทำลาย
แล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดทำลายเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้ก้าวล่วงความ
คิดนั่นแล. บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า มโหสถแสดงว่า อาจารย์ 4 คนมี
เสนกะเป็นต้นเหล่านั้นจงรักษาพระองค์ในบัดนี้เถิด ข้าพระองค์เห็นกำลังของ

อาจารย์เหล่านั้น. บทว่า อกตฺวามจฺจสฺส ความว่า ไม่ทรงทำตามคำของ
ข้าพระองค์ผู้เป็นอมาตย์สูงสุด. บทว่า อตฺตปีติรโต ความว่า เป็นผู้ทรง
ยินดียิ่งแล้ว ด้วยพระปีติอันเศร้าหมองของพระองค์. บทว่า มิโค กูเฏว
โอหโต
ความว่า มฤคมาด้วยความโลภเหยื่อคิดอยู่ในบ่วงหลุม ฉันใด
พระองค์ไม่ทรงเชื่อคำของข้าพระองค์ เสด็จมาด้วยความโลภว่าจักได้พระราช
ธิดาปัญจาลจันที บัดนี้จึงทรงเป็นเหมือนมฤคที่ติดในบ่วงหลุม ฉันนั้น.
สองคาถาว่า ยถาปิ มจฺโฉ เป็นต้น มโหสถบัณฑิตกล่าวเพื่อแสดงว่า
อุปมานี้ข้าพระองค์นำมาแล้วในกาลนั้น แม้คาถาว่า สเจ คจฺฉสิ เป็นต้น
มโหสถบัณฑิตก็กล่าวเพื่อแสดงว่า ข้าพระองค์นำอุปมาแม้นี้ถวายพระองค์
มิใช่เพียงเท่านี้อย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า อนริยรูโป ได้แก่ บุรุษผู้ไร้ความ
ละอาย มีชาติของตนชั่วเช่นพราหมณ์เกวัฏ. บทว่า น เตน เมตฺตึ ความว่า
พระองค์ไม่ควรทำมิตรธรรมกับคนเช่นนั้น แต่พระองค์ทรงมีเมตตาพราหมณ์
เกวัฏ ถือคำของเขา. บทว่า ทุกฺโข ความว่า ขึ้นชื่อว่าการสมาคมกับคน
เห็นปานนี้ ทำครั้งเดียว ก็เป็นทุกข์ เพราะนำทุกข์ใหญ่มาทั้งในโลกนี้ทั้งใน
โลกหน้า. บทว่า ยํ เตฺวว ตัดบทเป็น ยํ ตุ เอว อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ
ก็อย่างนี้แหละ. บทว่า สุโข ความว่า เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า
ทีเดียว.
ลำดับนั้น มโหสถข่มพระเจ้าวิเทหราชยิ่งขึ้น ด้วยหวังว่าพระองค์จัก
ไม่ทรงทำอย่างนี้อีก เมื่อจะนำพระดำรัสที่ตรัสไว้ในกาลก่อนมาแสดง จึงทูลว่า
ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นคนเขลา บ้าน้ำลาย
ที่กล่าวถึงเหตุแห่งการได้รัตนะสูงสุดในสำนักข้า-
พระองค์ ข้าพระองค์เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความ

เจริญเหมือนคนอื่นเขาได้อย่างไร ท่านทั้งหลายจง
ไสคอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจากแว่นแคว้นของเรา
เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การได้รัตนะของเรา.

ครั้นมโหสถกล่าวคาถา 2 คาถานี้แล้ว จึงกล่าวข่มอย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นบุตรคฤหบดี จักรู้จักความเจริญเหมือนคน
อื่น ๆ มีเสนกะเป็นต้น ผู้เป็นบัณฑิตของพระองค์ซึ่งรู้ความเจริญฉะนั้นได้
อย่างไร วาทะนั้นไม่ใช่โคจรของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รู้ศิลปะแห่งคฤหบดีแท้
ข้อความนี้ปรากฏแก่เสนกะเป็นต้น คนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต วันนี้พระองค์ถูก
กองทัพ 18 อักโขภิณีล้อมไว้ คนทั้งหลายมีเสนกะเป็นต้นจงเป็นที่พึ่งของ
พระองค์ ก็พระองค์รับสั่งให้ไสคอข้าพระองค์ฉุดออกไปเสีย บัดนี้ พระองค์
ตรัสถามข้าพระองค์ทำไม พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า
มโหสถบัณฑิตกล่าวโทษที่เราทำไว้เท่านั้น เพราะเขารู้ภัยในอนาคตนี้มาก่อน
นั่นเอง เพราะเหตุนั้น เขาจึงกล่าวข่มเราเหลือเกิน แต่เราก็ไม่หยุดงาน
ตลอดกาลเท่านี้เลย มโหสถนี้จักทำความสวัสดีแก่เราแน่แท้ ลำดับนั้น พระ-
เจ้าวิเทหราชเมื่อจะยึดมโหสถเป็นที่พำนัก จึงตรัสคาถา 2 คาถาว่า
ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ทิ่มแทง
เพราะโทษที่ล่วงไปแล้ว เจ้ามาทิ่มแทงข้าดุจม้าที่เขา
ผูกไว้ด้วยประตักทำไม ถ้าเห็นว่าเราจะพ้นภัยได้หรือ
เห็นว่าเราจะปลอดภัยได้ ก็จงสั่งสอนเราโดยความ
สวัสดีนั้นแหละ เจ้าจะทิ่มแทงเราเพราะโทษที่ล่วงไป
แล้วทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานุวิชฺฌนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ถือเอาโทษที่ล่วงไปแล้วมาทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก. บทว่า อสฺสํว
สมฺพนฺธํ
ความว่า เจ้าทิ่มแทงเรา ราวกะม้าที่เขาผูกไว้อย่างดี เพราะถูก
เสนาข้าศึกล้อมไว้ทำไม. บทว่า เตเนว มํ ความว่า เจ้าจงสั่งสอนเรา คือ
จงให้เราสบายใจ ด้วยความสวัสดีนั้นว่า พระองค์จักพ้นภัยด้วยอาการอย่างนี้
พระองค์จักปลอดภัยด้วยอาการอย่างนี้ ด้วยว่า เว้นเจ้าเสียแล้ว คนอื่นเป็นที่
พึ่งอาศัยของเราไม่มี.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นอันธพาลเหลือเถิด
ไม่รู้จักบุรุษวิเศษ เราจักให้พระองค์ลำบากเสียหน่อยหนึ่งแล้วจักเป็นที่พึ่งของ
พระองค์ภายหลัง ดำริฉะนี้แล้ว ทูลว่า
ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป
ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้า
พระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์ได้ ขอพระ-
องค์ทรงทราบเองเถิด ช้าง ม้า นก ยักษ์ ผู้มีฤทธิ์
มียศ สามารถไปได้ทางอากาศมีอยู่ ช้างเป็นต้น ซึ่งมี
อิทธานุภาพเห็นปานนั้นที่พระองค์มีอยู่ แม้เหล่านั้น
ก็พึงพาพระองค์ไปได้ ข้าแต่บรมกษัตริย์ กรรมของ
มนุษย์ที่เป็นไปล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่
ยินดีได้ยาก ข้าพระองค์ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระ
องค์โดยทางอากาศได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
กรรมชื่อว่าปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้ ที่เหล่ามนุษย์ซึ่งเป็นมนุษย์ในอดีตพึง
ทำนี้ ชื่อว่าเป็นไปล่วงแล้ว. บทว่า ทุกฺกรํ ทุรภิสมฺภวํ ความว่า อันใคร ๆ

ไม่อาจแก้ไข ไม่อาจต่อสู้. บทว่า น ตํ สกฺโกมิ ความว่า ข้าพระองค์
ไม่สามารถจะปลดเปลื้องพระองค์จากภัยนี้. บทว่า ตฺวํ ปชานสฺสุ ขตฺติย
ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงทราบสิ่งที่ควรกระทำใน
เครื่องนี้เองเถิด. บทว่า เวทายสา ได้แก่ ช้างที่สามารถไปทางอากาศ. บทว่า
ยสฺส ได้แก่ พระราชาพระองค์ใด. บทว่า ตลาวิธา ความว่า ช้างทั้งหลาย
ที่เกิดในตระกูลฉัททันต์หรือตระกูลอุโบสถมีอยู่ ช้างเหล่านั้นพึงพาพระราชา
นั้นไป. บทว่า อสฺสา ความว่า ม้าทั้งหลายที่เกิดในตระกูลพญาม้าพลาหก.
บทว่า ปกฺขี กล่าวหมายเอาครุฑ. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ เหล่ายักษ์มีสา-
ตาคิรยักษ์เป็นต้น. บทว่า อนฺตลิกฺเขน ความว่า ข้าพระองค์ไม่สามารถ
จะปลดเปลื้องพระองค์โดยทางอากาศ คือไม่สามารถจะพาพระองค์นำไปถึงกรุง
มิถิลาทางอากาศได้.
พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำของมโหสถดังนั้นก็จำนนประทับนั่งอยู่
ลำดับนั้น อาจารย์เสนกะคิดว่าบัดนี้ ยกมโหสถบัณฑิตเสีย ที่พึ่งอื่นของพระราชา
และของพวกเราไม่มี ก็พระราชาทรงฟังคำของมโหสถ ทรงครั่นคร้ามต่อ
มรณภัย ไม่ทรงสามารถจะตรัสอะไร ๆ ได้ เราจักอ้อนวอนมโหสถบัณฑิต
ให้ช่วย เมื่อเสนกะจะอ้อนวอนได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า
บุรุษผู้ยังไม่เห็นฝั่งในมหาสมุทร ได้ที่พำนักใน
ประเทศใด เขาย่อมได้ความสุขในประเทศนั้น ฉันใด
ท่านมโหสถขอท่านได้เป็นที่พึ่งของพวกเรา และของ
พระราชา ฉันนั้น ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าพวก
ข้าพเจ้าเหล่ามนตรี ขอท่านช่วยปลดเปลื้องพวกเรา
จากทุกข์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีรทสฺสี ความว่า ผู้เรือแตกกลางทะเล
เมื่อไม่เห็นฝั่ง. บทว่า ยตฺถ ความว่า เมื่อถูกกำลังคลื่นซัดลอยไป ได้ที่พึ่ง
ในประเทศใด. บทว่า ปโมจย ความว่า อาจารย์เสนกะอ้อนวอนว่า เมื่อก่อน
คราวกองทัพตั้งล้อมกรุงมิถิลา ท่านได้ปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นภัย แม้บัดนี้
ก็ท่านนี่แหละจงช่วยปลดเปลื้องพวกเราให้พ้นจากทุกข์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะข่มอาจารย์เสนกะจึงได้กล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านอาจารย์เสนกะ กรรมของมนุษย์ที่เป็นไป
ล่วงแล้ว ทำได้ยาก เป็นแดนเกิดที่ยินดีได้ยาก ข้าพเจ้า
ไม่สามารถจะปลดเปลื้องท่านได้ ขอท่านจงทราบเอา
เองเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวํ ปชานสฺสุ เสนก ความว่า
ท่านอาจารย์เสนกะ ข้าพเจ้าไม่สามารถ ท่านจงนำพระราชานี้สู่กรุงมิถิลาทาง
อากาศเถิด.
พระเจ้าวิเทหราชเมื่อไม่ทรงเห็นเครื่องยึดถือที่จะพึงทรงยึดถือ ทรง
ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ไม่สามารถจะตรัสอะไร ๆ กับพระมหาสัตว์ได้ ทรงดำริ
ว่า บางคราวแม้เสนกะก็รู้อุบายอะไร ๆ เราจะถามเขาดูก่อนเมื่อตรัสถามจึงตรัส
คาถาว่า
ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เสนกะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ กิจฺจํ ความว่า ท่านจะสำคัญสิ่งที่
ควรทำอย่างไรในกาลนี้ พวกเราถูกมโหสถสละแล้ว ถ้าท่านรู้ ก็จงบอกแก่เรา.

อาจารย์เสนกะได้ฟังดังนั้น คิดว่า พระราชาตรัสถามอุบายกะเรา
งามหรือไม่งาม จงยกไว้ เราจักกล่าวอุบายอย่างหนึ่งแด่พระองค์ คิดฉะนี้ เเล้ว
กล่าวคาถาว่า
พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ
มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน อย่าทันให้พระราชา
พรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวารโต ความว่า พวกเราจงปิดประตู
ก่อไฟที่ประตูนั่น. บทว่า วิกนฺตนํ ความว่า จงจับศัสตราห้ำหั่นกันและกัน.
บทว่า หิสฺสาม ความว่า พวกเราจักละชีวิตพลัน ปราสาทที่ตกแต่งแล้ว
นั่นแลจักเป็นจิตกาธารไม้ของพวกเรา.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังดังนั้นก็เสียพระหฤทัยจึงตรัสว่า ท่าน
อาจารย์เสนกะจงทำจิตกาธารเห็นปานนั้นแก่บุตรภรรยาของตนเถิด แล้วตรัส
ถามปุกกุสะเป็นต้น พวกนั้นก็กราบทูลด้วยถ้อยคำแสดงความเขลาตามสมควร
แก่ตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า
ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์ปุกกุสะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

ปุกกุสะกราบทูลว่า
พวกเราควรกันยาพิษตายละชีวิตเสียพลัน อย่า
ทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเราให้ลำบากนาน.

พระราชาตรัสถามกามินทะว่า
ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์กามินทะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

กามินทะกราบทูลว่า
พวกเราพึงเอาเชือกผูกให้ตาย หรือโดดลงบ่อ
ให้ตายเสีย อย่าทันให้พระราชาพรหมทัตฆ่าพวกเรา
ให้ลำบากนาน.

พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า
ท่านจงฟังคำนี้ของข้าพเจ้า ท่านเห็นภัยใหญ่
นั่นหรือ บัดนี้ข้าพเจ้าขอถามอาจารย์เทวินทะ ท่านจะ
สำคัญสิ่งที่ควรทำอย่างไรในกาลนี้.

เทวินทะกราบทูลว่า
พวกเราจงเอาไฟเผาเสียตั้งแต่ประตู หรือจงจับ
มีดฆ่ากันและกันละชีวิตเสียพลัน ถ้ามโหสถไม่
สามารถจะปลดเปลื้องพวกเราโดยง่าย.

อนึ่ง บรรดาอาจารย์ทั้ง 4 เทวินทะคิดว่า พระราชานี้ทรงทำอะไร
มาตรัสถามพวกเรา ในเมื่อไฟมีอยู่มาทรงเป่าหิงห้อย ยกมโหสถบัณฑิตเสียแล้ว
คนอื่นจะสามารถทำความสวัสดีแก่พวกเราในเวลานี้ย่อมไม่มี พระองค์ไม่ตรัส
ถามมโหสถ มาตรัสถามพวกเรา พวกเราจะรู้อะไร คิดฉะนี้แล้ว เมื่อไม่เห็น
อุบายอื่น จึงกล่าวคำที่เสนกะกล่าวแล้วนั่นเอง เมื่อจะสรรเสริญมโหสถ จึง
กล่าวบททั้ง 2 ว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความประสงค์ในเรื่อง
นั้นเป็นดังนี้ พวกเราทั้งหมดจะวิงวอนมโหสถนั่นแหละ
ก็ถ้าว่าแม้เมื่อวิงวอน มโหสถก็ไม่สามารถจะปลด-
เปลื้องพวกเราโดยง่าย ภายหลังพวกเราจักทำตามคำ
เสนกะ.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของเทวินทะดังนั้น ทรงระลึกถึงโทษ
ที่พระองค์ได้ทำแก่พระโพธิสัตว์ในกาลก่อน ก็ไม่ทรงสามารถจะตรัสกับมโหสถ
ทรงคร่ำครวญจนมโหสถได้ยินถนัด ตรัสว่า
บุคคลแสวงหาแก่นของต้นกล้วย ย่อมไม่ได้
ฉันใด เราทั้งหลายแสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์
ก็ย่อมไม่ประสบปัญหานั้น ฉันนั้น บุคคลแสวงหา
แก่นแห่งไม้งิ้ว ย่อมหาไม่ได้ ฉันใด เราทั้งหลาย
แสวงหาอุบายเครื่องพ้นจากทุกข์ ย่อมไม่ประสบปัญ-
หานั้น ฉันนั้น การอยู่ของต่างทั้งหลายในสถานที่
ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้าง
เหล่านั้นอยู่ในสถานที่อันไม่มีน้ำ ชื่อว่ามิใช้ประเทศ
ย่อมตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด
แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของมนุษย์ชั่ว เป็นคน
พาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ
ฉันนั้น.
ใจของเราสั่น และปากก็แห้งผาก เราเป็นเหมือน
ถูกไฟไหม้กลางแดด ไม่บรรลุถึงความเย็นใจ เตา
ของช่างทองรุ่งเรืองภายใน ไม่รุ่งเรืองภายนอก ฉันใด
ใจของเราย่อมเร่าร้อนอยู่ภายใน ไม่ปรากฏภายนอก
ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทฺทลิโน ความว่า บุรุษผู้มีความ
ต้องการด้วยแก่น แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่ได้แก่นแต่ต้นกล้วยนั้น เพราะต้นกล้วย
ไม่มีแก่น ฉันใด เราทั้งหลายแม้แสวงหาอุบายเครื่องพ้นทุกข์นี้ ถามบัณฑิต

5 คน ก็ไม่ประสบปัญหานั้น. บทว่า นาชฺฌคมามฺหเส ความว่า เรา
ทั้งหลายไม่ประสบปัญหานั้น ดุจบุคคลไม่ได้ฟังอุบายที่เราทั้งหลายถาม แม้ใน
คาถาที่สองก็นัยนี้แหละ. บทว่า กุญฺชรานํ วนูทเก ความว่า การอยู่ของ
ช้างทั้งหลายในที่ไม่มีน้ำ ชื่อว่าอยู่ในที่มิใช่ประเทศ เพราะว่าช้างเหล่านั้น
เมื่ออยู่ในชัฏป่าอันหาน้ำมิได้เห็นปานนั้น ชื่อว่ามิใช่ประเทศ ย่อมตกอยู่ใน
อำนาจของปัจจามิตรเร็วพลัน ฉันใด แม้การที่เราทั้งหลายอยู่ในที่ใกล้ของ
มนุษย์ชั่วเป็นคนพาลหาความรู้มิได้ ก็ชื่อว่าอยู่ในสถานที่มิใช่ประเทศ ฉันนั้น
ก็บรรดาบัณฑิตมีประมาณเท่านี้ แม้คนหนึ่งซึ่งจะเป็นที่พึ่งอาศัยของเราในบัดนี้
ก็ไม่มี พระเจ้าวิเทหราชทรงบ่นเพ้อไปต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้.
มโหสถบัณฑิตได้สดับดังนั้น คิดว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงลำบาก
เหลือเกิน ถ้าเราไม่เล้าโลมพระองค์ให้สบายพระหฤทัย พระองค์จักมีพระ-
หฤทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ จึงได้กราบทูลเล้าโลม.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
แต่นั้น มโหสถผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญาเห็นประ-
โยชน์ เห็นพระเจ้าวิเทหราชถึงความทุกข์ จึงได้
กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์
อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจใน
ทางรถ ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย ข้า
พระองค์จักเปลื้องพระองค์ผู้ดุจดวงจันทร์หรือดวง
อาทิตย์อันราหูจับแล้ว หรือดุจช้างจมติดในเปือกตม
หรือดุจงูติดอยู่ในกระโปรง หรือดุจนกติดอยู่ในกรง
หรือเหล่าปลาอยู่ในข่าย ผู้มีพลและพาหนะคุมล้อม
อยู่ให้พ้นจากความลำเค็ญ ข้าพระองค์จักยังกองทัพ

ปัญจาละให้หนีไป ดุจไล่ฝูงกาด้วยก้อนดิน ข้าพระ-
องค์มิได้เปลื้องพระองค์ ผู้เสด็จอยู่ในที่คับขันให้พัน
จากทุกข์ ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์นั้นจะมี
ประโยชน์อะไร หรือบุคคลเช่นข้าพระองค์นั้นเป็น
อมาตย์จะมีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ความว่า มโหสถเมื่อเล้าโลมพระเจ้า
วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ประหนึ่งทำเมฆฝนให้ตกในป่าไฟไหม้ ได้
กราบทูลคำนี้ว่า มา ตฺวํ ภายิ มหาราช เป็นต้น. บทว่า สนฺนํ ใน
คาถานั้น แปลว่า ติดอยู่. บทว่า เปฬพนฺธํ ได้แก่ งูที่อยู่ภายในกระโปรง.
บทว่า ปญฺจาลํ ได้แก่ กองทัพปัญจาละซึ่งเป็นกองทัพของพระเจ้าปัญจาลราช
แม้ใหญ่อย่างนี้. บทว่า พาหยิสฺสามิ แปลว่า จักให้หนีไป. บทว่า อาทู
เป็นนิบาตในอรรถว่าชื่อ ความว่า ชื่อว่าปัญญาของข้าพระองค์จะมีประโยชน์
อะไร. บทว่า อมจฺโจ วาปิ ตาทิโส ความว่า หรืออมาตย์ผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญาเช่นนั้นเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ผู้เปลื้องพระองค์ที่ถูกความ
ตายเบียดเบียนอยู่อย่างนี้ให้พ้นจากทุกข์ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไร ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า พระองค์โปรดสำคัญว่า มโหสถนี้ชื่อว่ามาก่อน มาเพื่อ
ประโยชน์อะไร ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย
ข้าพระองค์จักเปลื้องพระองค์ให้พ้นจากทุกข์นี้ มโหสถบัณฑิตเล้าโลมพระเจ้า
วิเทหราชให้สบายพระหฤทัย ด้วยประการฉะนี้.
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของมโหสถ ก็กลับได้ความอุ่น
พระหฤทัยว่า บัดนี้เราได้ชีวิตแล้ว เมื่อพระโพธิสัตว์บันลือสีหนาท ชน
ทั้งปวงเหล่านั้นก็พากันยินดี ลำดับนั้น เสนกะถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต
ท่านเมื่อพาพวกเราทั้งหมดไป จักไปได้ด้วยอุบายอย่างไร มโหสถแจ้งว่า

ข้าพเจ้าจักนำไปทางอุโมงค์ซึ่งตกแต่งไว้ พวกท่านจงเตรียมไปเถิด เมื่อจะสั่ง
โยธาให้เปิดประตูอุโมงค์ กล่าวว่า
แน่ะพ่อหนุ่ม ๆ พวกเจ้าจงลุกมา จงเปิดประตู
อุโมงค์ ประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ พระเจ้า
วิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์จักเสด็จไปโดยอุโมงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาณว เป็นชื่อเรียกคนหนุ่ม. บทว่า
มุขํ โสเธถ ความว่า จงเปิดประตูอุโมงค์. บทว่า สนฺธิโน ความว่า
จงเปิดประตูห้องติดต่อเครื่องยนตร์ คือจงเปิดประตูห้องนอนร้อยเอ็ดห้อง จง
เปิดประตูโคมดวงประทีปร้อยเอ็ดโคม.
คนใช้ของมโหสถเหล่านั้นลุกไปเปิดประตูอุโมงค์ อุโมงค์ทั้งสิ้นมี
แสงสว่างทั่วไป สว่างไสวประหนึ่งเทวสภาทีได้ประดับแล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พวกคนรับใช้ของมโหสถบัณฑิตได้ฟังคำของ
มโหสถแล้ว จึงเปิดประตูอุโมงค์และเครื่องสลักห้าม
อันประกอบด้วยยนตร์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาริโน ได้แก่ ผู้ทำการขวนขวาย
ช่วยเหลือ. บทว่า ยนฺตยุตฺเต จ อคฺคเฬ ได้แก่ บานประตูที่ถึงพร้อม
ด้วยลิ่มสลัก.
พวกนั้น เปิดประตูอุโมงค์แล้วแจ้งให้มโหสถทราบ มโหสถก็กราบทูล
นัดพระราชาว่า ได้เวลาแล้วพระเจ้าข้า ขอเชิญเสด็จลงจากปราสาท พระราชา
ก็เสด็จลง เสนกะเปลื้องเครื่องพันศีรษะแล้วผลัดผ้าหยักรั้ง ลำดับนั้น มโหสถ
เห็นกิริยาแห่งเสนกะ จึงถามว่า นั่นท่านอาจารย์ทำอะไร เสนกะตอบว่า
แน่ะบัณฑิต ธรรมดาทั้งหลายไปโดยอุโมงค์ ต้องเปลื้องผ้าโพกหยักรั้งไป

มโหสถจึงแจ้งว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ท่านอย่าสำคัญว่า คนเข้าอุโมงค์ต้องก้ม
คุกเข่าเข้าไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยช้างจงขึ้นช้างไป ถ้าท่านใคร่จะไปด้วยม้า
จงขึ้นม้าไป เพราะอุโมงค์สูง ประตูกว้างสูง 18 ศอก ท่านจงประดับตกแต่ง
ตัวตามชอบใจไปก่อนพระราชา ฝ่ายพระโพธิสัตว์จัดให้เสนกะไปก่อน ให้
พระราชาเสด็จไปท่ามกลาง ตนเองไปภายหลัง เหตุไรมโหสถจึงจัดอย่างนี้
เพราะพระเจ้าวิเทหราชจะได้ไม่ทอดพระเนตรอุโมงค์อันตกแต่งแล้ว ค่อย ๆ
เสด็จไป ข้าวต้มข้าวสวยของเคี้ยวเป็นต้นประมาณไม่ได้ มีไว้เพื่อมหาชนใน
อุโมงค์ คนเหล่านั้นเคี้ยวดื่มพลางแลชมอุโมงค์ไป ฝ่ายพระมหาสัตว์ทูลเตือน
พระเจ้าวิเทหราชว่า เชิญเสด็จไป เชิญเสด็จไป พระเจ้าข้า ตามเสด็จไป
เบื้องหลัง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรอุโมงค์ซึ่งเป็นดังเทวสภาอันตกแต่ง
แล้วพลางเสด็จไป.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
เสนกะเดินไปก่อน มโหสถเดินไปข้างหลัง
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จดำเนินไปท่ามกลางพร้อมด้วย
อมาตย์ห้อมล้อมเป็นราชบริพาร.

คนหนุ่มผู้รับใช้ของมโหสถเหล่านั้นรู้ว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมา จึง
นำพระนางสลากเทวีพระราชมารดาพระเจ้าจุลนี พระนางนันทาเทวีมเหสี
พระเจ้าจุลนี และพระปัญจาลจันทราชกุมาร พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารี
ผู้เป็นราชโอรสราชธิดาของพระเจ้าจุลนี ออกจากอุโมงค์ให้ประทับอยู่ ณ
พลับพลากว้างใหญ่ ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์กับมโหสถ
กษัตริย์ทั้ง 4 คือ พระนางสลากเทวี พระนางนันทาเทวี ปัญจาลจันทกุมาร
ปัญจาลจันทีกุมารี ได้ทอดทัศนาการเห็นพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถก็ทราบว่า

พวกเราตกอยู่ในเงื้อมมือผู้อื่นโดยไม่สงสัย เหล่าคนของมโหสถจับพวกเรามา ก็
ครั่นคร้ามต่อมรณภัย ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งร้องอึง.
ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จไปรักษาอยู่ ณ สถานที่ 1 คาวุตใกล้ฝั่ง
คงคา ด้วยทรงเกรงพระเจ้าวิเทหราชจะหนี ก็พระเจ้าจุลนีในเมื่อราตรีเงียบสงัด
ได้ทรงฟังเสียงร้องของกษัตริย์ทั้ง 4 เป็นผู้ใคร่จะตรัสว่า เสียงนั้นเป็นเสียง
นางนันทาเทวี แต่ก็หาได้ตรัสอย่างไรไม่ ด้วยทรงเกรงความเย้ยหยันว่า
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระนางนันทาเทวีที่ไหน พระมหาสัตว์เชิญให้
พระนางปัญจาลจันทีราชกุมารีประทับบนกองรัตนะแล้วอภิเษกในที่นั้น แล้ว
กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุการณ์นี้ พระราช
กุมารีนี้จงเป็นมเหสีของพระองค์ เรือ 300 ลำได้เทียบอยู่แล้ว พระเจ้า
วิเทหราชเสด็จลงจากพลับพลากว้างขึ้นสู่เรืออันตกแต่งแล้ว แม้กษัตริย์ทั้ง 4
ก็ขึ้นสู่เรือ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากอุโมงค์ขึ้นสู่เรือ
แล้ว มโหสถรู้ว่าพระองค์ขึ้นสู่เรือแล้ว ได้ถวาย
อนุศาสน์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าจุลนีพรทมทัตนี้
เป็นพระสัสสุระของพระองค์ ข้าแต่พระจอมประชากร
พระนางนันทาเทวีนี้เป็นพระสัสสูของพระองค์ การ
ปฏิบัติพระราชมารดาของพระองค์อย่างใด จงมีแก่
พระสัสสูของพระองค์อย่างนั้น ข้าแต่พระราชา
พระเชษฐภาดาร่วมพระอุทรพระมารดาเดียวกันโดย
ตรงของพระองค์ทรงรักใคร่อย่างใด พระปัญจาล-
จันทราชกุมาร พระองค์ควรทรงรักใคร่อย่างนั้น

พระนางปัญจาลจันทีนี้ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้า
พรหมทัตที่พระองค์ทรงปรารถนา พระองค์จงทำ
ความใคร่ของพระองค์แก่พระนาง พระนางจงเป็น
พระมเหสีของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า อนุสาสิ ความว่า ได้ยินว่า มโหสถ
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลบางคราว พระเจ้าวิเทหราชอาจกริ้วแล้วฆ่า
พระชนนีของพระเจ้าจุลนีเสีย พึงสำเร็จสังวาสกับพระนางนันทาเทวีผู้มีพระรูป
งดงาม พึงฆ่าพระราชกุมารเสียก็ได้ จำเราจักถือปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราช
ไว้ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวถวายอนุศาสน์ด้วยคำว่า อยํ เต เป็นต้น. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อยํ เต สสฺสุโร ความว่า พระปัญจาลจันทกุมารนี้
เป็นพระโอรสของพระเจ้าจุลนีผู้เป็นพระสัสสุระของพระองค์ เป็นพระกนิษฐ-
ภาคาของพระนางปัญจาลจันที บัดนี้พระเจ้าจุลนีเป็นพระสัสสุระของพระองค์.
บทว่า อยํ สสฺสุ ความว่า พระมารดาของพระนางปัญจาลจันทีนี้ พระนามว่า
นันทาเทวี เป็นพระสัสสูของพระองค์. บทว่า ยถา มาตุ ความว่า บุตร
ย่อมกระทำวัตรปฏิบัติแก่มารดา ฉันใด พระองค์จงมีการกระทำวัตรปฏิบัติแก่
พระนางนันทาเทวี ฉันนั้น ยังมาตุสัญญาซึ่งมีกำลังกว่าให้ปรากฏ อย่าทรง
แลดูพระนางนันทาเทวีด้วยโลภจิตไม่ว่าในกาลไร ๆ. บท นิยโก ความว่า
เป็นผู้เกิดภายใน คือเกิดด้วยบิดามารดาเดียวกัน. บทว่า ทยิตพฺโพ แปลว่า
พึงประพฤติเป็นที่รัก. บทว่า ภริยา ความว่า พระนางปัญจาลจันทีนี้จักเป็น
มเหสีของพระองค์ พระองค์อย่าทรงดูหมิ่นพระนางนี้ มโหสถบัณฑิตได้ถือ
ปฏิญญาของพระเจ้าวิเทหราชอย่างนี้.
พระเจ้าวิเทหราชทรงรับคำว่าดีแล้ว ก็มโหสถไม่กล่าวอะไร ๆ ปรารภ
ถึงพระราชชนนีพระเจ้าจุลนี เพราะเหตุไรจึงไม่กล่าวปรารภถึง เพราะพระ-

ราชชนนีนั้นทรงพระชราแล้ว พระโพธิสัตว์ยืนกล่าวเรื่องทั้งปวงอยู่ริมฝั่งคงคา
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเป็นผู้ใคร่จะเสด็จไปด้วยความพ้นจากทุกข์ใหญ่
จึงตรัสกะมโหสถว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจะยืนอยู่ริมฝั่งคงคาทำอะไร แล้วตรัส
คาถาว่า
ดูก่อนมโหสถ เจ้าจงรีบขึ้นเรือ เจ้าจะยืนอยู่
ริมฝั่งคงคาทำไมหนอ เราทั้งหลายพ้นจากทุกข์แล้ว
โดยยาก จงไปบัดนี้เถิด.

พระมหาสัตว์ได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ การโดย
เสด็จด้วยพระองค์ยังไม่ควรแก่ข้าพระองค์ก่อน แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า การที่ข้าพระองค์ผู้เป็น
นายกแห่งเสนา มาทอดทิ้งเสนางคนิกรเสีย เอาแต่
ตัวรอด หาชอบไม่ ข้าพระองค์จักนำมาซึ่งเสนางค-
นิกรในกรุงมิถิลาที่พระองค์ละไว้ และสิ่งของที่
พระเจ้าพรหมทัตประทานแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า นิเวสนมฺหิ
ท่านกล่าวหมายเอาพระนคร. บทว่า ปริโมจเย แปลว่า พึงปลดเปลื้อง.
บทว่า ปริหาปิตํ แปลว่า ทิ้งไว้.
มโหสถกล่าวคาถาดังนี้ แล้วกราบทูลว่า ก็เมื่อเหล่าชนมาแต่ทางไกล
บางพวกเคี้ยวกิน บางพวกดื่ม บางพวกเหน็ดเหนื่อยก็นอนหลับ ไม่รู้การที่
พวกเราออกจากอุโมงค์แล้ว บางพวกเจ็บป่วย ทำงานมากับข้าพระองค์ตลอด
4 เดือน เป็นคนมีอุปการะแก่ข้าพระองค์ ก็บรรดาชนเหล่านั้นมีมาก ข้า-
พระองค์ไม่อาจจะทิ้งแม้คนหนึ่งไป แต่ข้าพระองค์จักกลับนำมาซึ่งเสนาทั้งปวง
ของพระองค์ และทรัพย์ที่พระเจ้าจุลนีประทานมิให้เหลือไว้ ขอพระองค์อย่า

เฉื่อยช้าในที่ไหนรีบเสด็จ ขอพระองค์ทรงละช้างม้าพาหนะเป็นต้น ที่
ข้าพระองค์วางไว้ในหนทางเป็นระยะซึ่งเหน็ดเหนื่อยแล้ว ๆ เสีย เสด็จขึ้น
พระยานมาศที่สามารถเข้าสู่กรุงมิถิลาเสียโดยเร็วพลัน.
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสดาถาว่า
ดูก่อนบัณฑิต เจ้าเป็นผู้มีเสนาน้อย จักข่ม
พระเจ้าจุลนีผู้มีเสนามากตั้งอยู่อย่างไร เจ้าเป็นผู้ไม่มี
กำลัง จักลำบากด้วยพระเจ้าจุลนีผู้มีกำลัง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ครอบงำ. บทว่า
วิหญฺญิสฺสสิ แปลว่า จักลำบาก.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า
ถ้าบุคคลมีความคิด แม้มีเสนาน้อย ย่อมชนะ
บุคคลผู้ไม่มีความคิดที่มีเสนามากได้ พระราชาพระองค์
เดียว ย่อมชนะพระราชาทั้งหลายได้ ดุจดวงอาทิตย์
อุทัยกำจัดความมืด ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความคิด
คือมีปัญญา คือฉลาดในอุบาย. บทว่า อมนฺตินํ ได้แก่ ผู้ไม่ฉลาดในอุบาย.
บทว่า ชินาติ ความว่า ผู้มีปัญญาย่อมชนะผู้มีปัญญาทราม. บทว่า ราชา
ราชาโน
ความว่า พระราชาเห็นปานนี้แม้พระองค์เดียว ก็ย่อมชนะพระราชา
ทั้งหลายที่มีปัญญาทรามแม้มาก เหมือนอย่างอะไร. บทว่า อาทิจฺโจวุทยนฺ-
ตมํ
ความว่า ดวงอาทิตย์อุทัยส่องแสงสว่าง กำจัดความมืด ฉันใด ผู้มี
ปัญญาย่อมชนะและย่อมไพโรจน์ราวกะดวงอาทิตย์ ฉันนั้น.
ก็แลครั้นทูลดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช
กราบทูลว่า เชิญพระองค์เสด็จไปเถิด แล้วส่งเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชทรงนึก

ถึงคุณของพระโพธิสัตว์ว่า เราพ้นจากเงื้อมมือข้าศึกแล้วหนอ และความ
ประสงค์ของเราก็ถึงที่สุดแล้ว เพราะได้นางปัญจาลจันทีราชธิดาพระเจ้าพรหม-
ทัตแล้ว ก็บังเกิดพระปีติปราโมทย์ เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณของมโหสถแก่
เสนกะ จึงตรัสดาถาว่า
แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต
เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเราผู้
ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนกที่
ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุขํ วต ความว่า การอยู่ร่วมด้วย
บัณฑิตทั้งหลาย นี้เป็นสุขยิ่ง เป็นสุขยิ่งกว่าหนอ. บทว่า อิติ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า เหตุ มีคำอธิบายว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ เพราะมโหสถปลดเปลื้อง
พวกเราที่ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า การอยู่ร่วมด้วยเหล่า
บัณฑิตอย่างนี้ นี้เป็นสุขดีหนอ.
อาจารย์เสนกะได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น เมื่อจะสรรเสริญคุณของ
มโหสถ จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ
สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวก
เราผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูง
นกที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จขึ้นจากแม่น้ำ ถึงบ้านที่มโหสถให้
สร้างไว้ทุกระยะ 1 โยชน์ ชนทั้งหลายที่มโหสถวางไว้ในบ้านนั้น ๆ ก็จัดช้าง
พาหนะข้าวน้ำเป็นต้นถวายพระราชา พระราชายังช้างม้ารถที่เหน็ดเหนื่อย

แล้ว ๆ ให้กลับ เปลี่ยนสัตว์พาหนะนอกนี้ ถึงบ้านอื่นด้วยสัตว์พาหนะเหล่านั้น
ล่วงบรรดา 100 โยชน์ด้วยอุบายนี้ รุ่งเช้าก็เสด็จเข้ากรุงมิถิลา.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไปสู่ประตูอุโมงค์ เปลื้องดาบที่ตนเหน็บไว้ออก คุ้ย
ทรายที่ประตูอุโมงค์ฝังดาบนั้นไว้ในทรายนั้น ก็แลครั้นฝังดาบแล้วก็เข้าไปสู่
อุโมงค์แล้วออกจากอุโมงค์เข้าสู่เมืองที่สร้างไว้ ขึ้นปราสาทอาบน้ำหอมแล้ว
บริโภคโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วไปสู่ที่นอนอันประเสริฐ เมื่อนึกว่ามโนรถ
ของเราถึงที่สุดแล้วก็หลับไป ฝ่ายพระเจ้าจุลนีตรวจเสนางคนิกรแล้ว เสด็จถึง
นครนั้นโดยกาลล่วงไปแห่งราตรีนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พระเจ้าจุลนีผู้มีกำลังมากรักษาการตลอดราตรี
ทั้งสิ้น ครั้นอรุณขึ้นก็เสด็จถึงอุปการนคร พระเจ้า-
กรุงอุตตรปัญจาละพระนามว่า จุลนีผู้มีกำลังมาก
เสด็จทรงช้างที่นั่งตัวประเสริฐมีกำลัง อายุ 60 ปี
ได้ตรัสการทัพกะเสนาของพระองค์ พระองค์ทรง
สวมเกราะแก้วมณี พระหัตถ์จับศร ได้ตรัสกะพวก
เหล่าทวยหาญผู้รับใช้ ซึ่งชำนาญในศิลป์เป็นอันมาก
ประชุมกันอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสิณํ ได้แก่ ตลอดราตรีทั้งสิ้นไม่เหลือ.
บทว่า อุเทนฺตํ ได้แก่ขึ้นไปอยู่. บทว่า อุปการํ ความว่า เสด็จถึงนคร
ที่ได้ชื่อว่า อุปการ เพราะพระมหาสัตว์สร้างเทียบเคียงปัญจาลนคร บทว่า
อโวจ ความว่า ได้ตรัสกะเสนาของพระองค์. บทว่า เปสิเย ได้แก่ ผู้ทำ
การรับใช้ของพระองค์. บทว่า อชฺฌภาสิตฺถ ความว่า ตรัสยิ่งแล้ว คือ

ได้ตรัสก่อนกว่านั่นเอง. บทว่า ปุถุคุมฺเพ ความว่า ผู้ดำรงอยู่ในศิลปะเป็น
อันมาก คือรู้ศิลปะเป็นอเนก.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อความเหล่านั้นโดยย่อ พระศาสดาจึงตรัสว่า
พระเจ้าจุลนีตรัสกะกองช้าง กองม้า กองรถ
กองราบ ผู้มีศิลปธนู ผู้ยิ่งแม่น ยิ่งขนทรายก็ไม่พลาด
ผู้ประชุมกันอยู่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาสนมฺหิ ได้แก่ ผู้ชำนาญในการยิง
ธนู. บทว่า กตหตฺเถ ได้แก่ ผู้ยิงแม่นเพราะยิงไม่ผิดพลาด.
บัดนี้ พระเจ้าจุลนีเมื่อจะตรัสสั่งให้จับเป็นพระเจ้าวิเทหราช จึงตรัสว่า
เจ้าทั้งหลายจงไสช้างพลายมีกำลัง อายุ 60 ปี
ช้างทั้งหลายจงย่ำยีนครที่พระเจ้าวิเทหราชทรงสร้างไว้
ดีแล้วเสีย ลูกศรอันขาวด้วยเขี้ยวงา ปลายแหลมคม
สามารถแทงกระดูกได้ เกลี้ยงเกลา เหล่านี้จงตกลงดัง
ห่าฝนด้วยกำลังธนู เหล่าโยธารุ่นหนุ่มสวมเกราะ
แกล้วกล้า มีอาวุธประกอบด้วยด้ามอันวิจิตร เหล่า
ช้างใหญ่แล่นมา จงหันหน้าสู้ช้างทั้งหลาย หอกทั้ง
หลายที่ขัดด้วยน้ำมันแล้ว มีแสงเป็นประกายวะวับ
รุ่งเรืองตั้งอยู่ ดังดาวประกายพรึก มีรัศมีมาก เมื่อ
เหล่าโยธาต้องเรามีกำลังคืออาวุธ ทรงสังวาลคือเกราะ
ไม่ล่าหนีในสงครามเช่นนี้ พระเจ้าวิเทหราชจักพ้น
ไปได้ที่ไหน หากจะเป็นเหมือนนกบินไปทางอากาศ
ก็จักทำได้อย่างไร ก็โยธาของเราทั้งหมด 39,000 ซึ่ง
เราเที่ยวไปทั่วแผ่นดิน ไม่เห็นเทียมทัน สามารถตัด

ศีรษะข้าศึกเอามาคนละศีรษะได้ อนึ่ง ช้างพลายทั้ง
หลายอันประดับแล้ว มีกำลังอายุ 60 ปี เหล่าโยธาหนุ่มๆ
มีผิวพรรณดังทองคำงดงามอยู่บนคอ โยธาทั้งหลายมี
เครื่องประดับสีเหลือง นุ่งผ้าสีเหลือง ห่มผ้าเฉวียง
บ่าสีเหลืองงดงามอยู่บนคอช้าง ดังเทพบุตรทั้งหลาย
ในนันทนวัน ดาบทั้งหลายมีสีดังปลาสลาด ขัดถูด้วย
น้ำมัน แสงวะวับ อันเหล่าโยธาผู้วีรบุรุษทำเสร็จแล้ว
มีคมเสมอ มีคมยิ่ง เงาวับ ดาบทั้งหลายหาสนิมมิได้
ทำด้วยเหล็กกล้ามั่นคง อันเหล่าโยธาผู้มีกำลัง เชี่ยว
ชาญในวิธีประหาร ถือเป็นคู่มือแล้ว เหล่าโยธาผู้ถึง
พร้อมด้วยความงามดังทองคำ สวมเสื้อสีแดงกวัด
แกว่งดาบย่อมงดงามดังสายฟ้าแลบวาบอยู่ในระหว่าง
ก้อนเมฆ เหล่าโยธาผู้กล้าหาญสวมเกราะ สามารถยัง
ธงให้สะบัดในอากาศ ฉลาดในการใช้ดาบและเกราะ
ถือดาบ ฝึกมาอย่างชำนาญสามารถจะตัดคอช้างใหญ่
ขาดตกลง (แต่กาลก่อน) ท่านเป็นผู้อันหมู่ชนเช่นนี้
แวดล้อม แต่กาลนี้ ความพ้นภัยของท่านไม่มี เรา
ไม่เห็นราชานุภาพของท่านที่จะเป็นเหตุให้ท่านไปกรุง
มิถิลาได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺตี ได้แก่ มีงาสมบูรณ์. บทว่า
วจฺฉทนฺตมุขา ได้แก่ มีหน้าเช่นเหล็กสกัด. บทว่า ปนุณฺณา แปลว่า
เกลี้ยงเกลา. บทว่า สมฺปตนฺตุตรีตรา ความว่า ลูกศรเห็นปานนี้เหล่านั้น
จงตกลง คือจงมาพร้อมกันแล้ว ๆ เล่า ๆ พระเจ้าจุลนีมีพระดำรัสสั่งว่า พวก

เจ้าจงหลั่งฝนคือลูกศร ให้เป็นเหมือนฝนลูกเห็บตก. บทว่า มาณวา ได้แก่
ทหารหนุ่ม. บทว่า จมฺมิโน ได้แก่ ถือโล่. บทว่า จิตฺตทณฺฑยุตาวุธา
ความว่า ประกอบด้วยอาวุธที่มีด้ามวิจิตร. บทว่า ปกฺขนฺทิโน ได้แก่ ผู้
แล่นเข้าสงความ. บทว่า มหานาคา ความว่า แม้เมื่อช้างใหญ่ทั้งหลายทำ
โกญจนาทมา โยธาทั้งหลายก็สามารถที่จะยืนนิ่งจับงาทั้งสองของช้างเหล่านั้น
ถอนออกเสียได้. บทว่า สตรํสาว ตารกา ความว่า มีรัศมีมากราวกะ
ดาวประกายพรึก. บทว่า อาวุธพลวนฺตานํ ได้แก่ ประกอบด้วยกำลัง
อาวุธ. บทว่า คุณิกายุรธารินํ ความว่า เกราะท่านเรียกว่า คุณี ผู้ทรงไว้
ซึ่งเกราะทั้งหลายด้วย ซึ่งเครื่องประดับ คือกำไลแขนทั้งหลายด้วย หรือผู้ทรง
ไว้ซึ่งกำไลแขนกล่าวคือเกราะ. บทว่า สเจ ปกฺขีว กาหตุ ความว่า พระ-
เจ้าจุลนีตรัสว่า ถ้าจักบินไปได้ทางอากาศเหมือนนก แม้อย่างนั้น ก็จักพ้นไป
ได้อย่างไร. บทว่า ตึส เม ปุริสนาวุโตฺย ความว่า ท่านเรียกบุรุษ
39,000 ว่า ตึสนาวุโตฺย ดังนี้. บทว่า สพฺเพ เจเกกนิจฺจิตา ความว่า
พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า โยธาของเราสามารถแย่งอาวุธจากมือคนอื่น ๆ ตัด
ศีรษะปัจจามิตรทั้งหลายได้ เป็นโยธาที่คัดเลือกเป็นคน ๆ อยู่ประจำการะ บทว่า
เกวลํ มหิมํ จรํ ความว่า เที่ยวไปตลอดแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น. บทว่า เยสํ
สมํ น ปสฺสามิ
ความว่า พระเจ้าจุลนีทรงแสดงว่า เราไม่เห็นโยธาเหล่านั้น
ที่เหมือนโยธาของเราซึ่งมีความสามารถเท่านี้ ทองท่านเรียกว่า จารุ ในบทว่า
จารุทสฺสนา ความว่า มีวรรณะดังทอง. บทว่า ปีตาลงฺการา ได้แก่ มี
เครื่องประดับสีเหลือง. บทว่า ปีตวสนา ได้แก่ นุ่งผ้าเหลือง. บทว่า
ปีตุตฺตรนิวาสนา ได้แก่ มีผ้าห่มเหลือง. บทว่า ปาฐีนวณฺณา ได้แก่
เช่นกับปลาสลาด. บทว่า เนตฺตึสา แปลว่า พระขรรค์. บทว่า นรวีเรหิ
ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีความเพียร. บทว่า สุนิสฺสิตา ได้แก่ ลับ

อย่างดี คมกริบ. บทว่า เวลุลาฬิโน ความว่า โชติช่วง ดังดวงอาทิตย์
เที่ยงวัน. บทว่า สกฺกายสมยา ความว่า ทำด้วยเหล็กกล้าที่ให้นกกระเรียน
เคี้ยวเจ็ดครั้งถือเอา. บทว่า สุปฺปหารปฺปหาริภิ ได้แก่ โยธามือแม่น.
บทว่า โลหิตกญฺจูปธาริตา ความว่า ประกอบด้วยเสื้อสีแดง. บทว่า ปวกา
ได้แก่ สามารถสะบัดธงในอากาศ. บทว่า อสิจมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่
ฉลาดในการใช้ดาบและเกราะ. บทว่า ผรุคฺคหา ได้แก่ ผู้ถือดาบ. บทว่า
สิกฺขิตรา ได้แก่ ฝึกอย่างเหลือเกินในการถือดาบนั้น. บทว่า นาคกฺขนฺธ-
นิปาติโน
ความว่า สามารถใช้พระขรรค์ตัดคอช้างให้ตกลง. บทว่า นตฺถิ
โมกฺโข
ความว่า พระเจ้าจุลนีตรัสว่า พ่อเปรตวิเทหะ ครั้งก่อน ท่าน
รอดพ้นได้ด้วยอานุภาพมโหสถบุตรคฤหบดี แต่บัดนี้ท่านไม่มีทางรอดพ้นเลย.
บทว่า ปภาวนฺเต ความว่า บัดนี้เราไม่เห็นราชานุภาพของท่านที่เป็นเครื่อง
ให้กลับไปกรุงมิถิลาได้ วันนี้ท่านเป็นเหมือนปลาเข้าแหที่ทอดไว้.
พระเจ้าจุลนีตรัสคุกคามพระเจ้าวิเทหราชอย่างนี้แล้ว ทรงทำในพระ-
หฤทัยว่า เราจักจับเป็นพระเจ้าวิเทหราชให้ได้ในบัดนี้ จึงทรงเตือนช้างที่นั่ง
ด้วยพระแสงขออันประดับเพชร แล้วตรัสสั่งเสนาว่า พวกเจ้าจงจับ จงทำลาย
จงแทง เสด็จถึงอุปการนครประหนึ่งจะถมทับเสีย ลำดับนั้น บุรุษทั้งหลายที่
มโหสถวางไว้ ก็พาพวกของตนแวดล้อมมโหสถไว้ ด้วยคิดว่า ใครจะรู้ อะไร
จักมี ขณะนั้น พระโพธิสัตว์ลุกจากที่นอนอันเป็นสิริ ชำระร่างกายแล้ว บริโภค
อาหารเช้า ประดับตกแต่งตัวนุ่งผ้ามาแต่แคว้นกาสีราคาตั้งแสน ห่มรัตกัมพล
เฉียงอังสา ถือไม้เท้าทองที่สำหรับใช้อันหนึ่ง ซึ่งขจิตด้วยรัตนะ 7 สวมรอง
เท้าทอง เหล่าสตรีที่ตกแต่งแล้วดุจเทพอัปสรพัดอยู่ด้วยวาลวีชนี เปิดสีหบัญชร
บนปราสาทซึ่งตกแต่งแล้ว แสดงตนแด่พระเจ้าจุลนี เดินกลับไปกลับมาด้วย
ลีลาดังท้าวสักกเทวราช.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็นสิริรูปอันอุดมของมโหสถ ก็ไม่
สามารถจะยังพระมนัสให้เลื่อมใส เร่งไสช้างที่นั่งเข้าไปด้วยทรงคิดว่า เราจัก
จับมโหสถให้ได้ในบัดนี้ มโหสถโพธิสัตว์คิดว่า พระเจ้าจุลนีนี้ด่วนมาด้วยทรง
สำคัญว่า เราได้ตัวพระเจ้าวิเทหราชแล้วในที่นี้เอง ชะรอยจะไม่ทรงทราบว่า
เราจับพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีของพระองค์ส่งถวายแด่พระราชาของ
พวกเราแล้ว ฉะนั้น เราจักสำแดงหน้าของเราให้เช่นกับแว่นทองแล้วกล่าวกับ
พระเจ้าจุลนี พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่หน้าว่างเปล่งเสียงไพเราะ เมื่อจะกล่าว
เย้ยหยันกับพระเจ้าจุลนี จึงทูลว่า
พระองค์ด่วนไสช้างที่นั่งตัวประเสริฐมาทำไม
หนอ พระองค์มีพระหฤทัยร่าเริงแล้วเสด็จมา คงจะ
เข้าพระทัยว่าทรงเป็นผู้ได้ประโยชน์แล้ว ขอพระองค์
ทรงลดแล่งธนูนั่นลงเสียเถิด ทรงทิ้งลูกธนูเสียเถิด
ทรงเปลื้องเกราะอันงามโชติช่วงด้วยแก้วไพฑูรย์ แก้ว
มณีนั่นออกเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุญฺชรํ ได้แก่ ช้างตัวประเสริฐ. บทว่า
ปหฏฺฐรูโป ความว่า มีพระหฤทัยร่าเริงแล้วยินดีแล้ว คือทรงโสมนัส. บทว่า
อาคมสิ แปลว่า เสด็จมา. บทว่า ลทฺธตฺโถสฺมิ ความว่า พระองค์เข้า
พระหฤทัยว่า เรามีประโยชน์อันสำเร็จแล้ว คือความปรารถนาของเราถึงที่สุด
แล้ว. บทว่า โอหเรตํ ความว่า พระองค์ทรงนำลง คือเอาลง คือทิ้งธนู
กล่าวคือแล่งนั่นเสีย ประโยชน์อะไรด้วยธนูนั่นแก่พระองค์. บทว่า ปฏิสํหร
ความว่า จงนำออกประทานแก่ผู้อื่น หรือเก็บไว้ในที่มิดชิด พระองค์จักใช้
ลูกธนูทำอะไร. บทว่า จมฺมํ ความว่า แม้เกราะนั่นก็โปรดนำออกเสีย เพราะ
เกราะนี้พระองค์ทรงสวมตั้งแต่เมื่อวาน โปรดทิ้งเสียเถิด อย่าให้มันเบียดเบียน

พระวรกายของพระองค์เลย อย่าทำพระวรกายของพระองค์ให้ลำบากเลย โปรด
เสด็จเข้าพระนครของพระองค์แต่เช้าเถิด พระโพธิสัตว์ได้ทำความเย้ยหยันกับ
พระเจ้าจุลนี ดังนี้.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของมโหสถแล้ว ตรัสว่า บุตรคฤหบดีนี้
ทำการเย้ยหยันกับเรา วันนี้เราจักรู้กิจที่จะพึงทำแก่เจ้า เมื่อทรงคุกคามมโหสถ
ตรัสว่า
เจ้าเป็นผู้มีผิวหน้าผ่องใส และกล่าวถ้อยคำเคย
ยิ้มแย้ม ความถึงพร้อมแห่งผิวพรรณเช่นนี้ ย่อมมีใน
เวลาใกล้ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิหิตปุพฺพญฺจ ภาสสิ ความว่า
เจ้ายิ้มแย้มก่อนแล้วกล่าวภายหลัง ชื่อว่ากล่าวถ้อยคำเคยยิ้มแย้ม เจ้าไม่นับเรา
ในเรื่องอะไร ๆ. บทว่า โหติ โข ความว่า ธรรมดาความถึงพร้อมแห่งผิว
พรรณเห็นปานนี้ ย่อมมีแก่คนในเวลาใกล้ตายเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่าน
ผ่องใส วันนี้เราจักตัดศีรษะของเจ้าแล้วดื่มชัยบาน.
ในเวลาที่มโหสถทูลกับพระเจ้าจุลนีนั้นอย่างนี้ ฝ่ายพลนิกายเป็นอัน
มากได้เห็นรูปสิริแห่งพระมหาสัตว์ จึงได้ไปสู่สำนักของพระเจ้าพรหมทัตด้วย
คิดว่า พระราชาของพวกเราทรงปรึกษามโหสถ ตรัสอะไรกันหนอ พวกเรา
จักฟังพระดำรัสและถ้อยคำแห่งพระราชาและมโหสถ ฝ่ายมโหสถบัณฑิตได้ฟัง
พระดำรัสของพระเจ้าจุลนีแล้ว คิดว่า พระเจ้าจุลนีไม่ทรงรู้จักเราว่ามโหสถ
บัณฑิต เราจักไม่ให้ฆ่าเราได้ คิดฉะนี้จึงทูลว่า ความคิดของพระองค์กระจาย
แล้ว พระเจ้าข้า เรื่องที่พระองค์และเกวัฏคิดด้วยใจ ไม่เกิดแล้ว แต่เรื่องที่
กล่าวด้วยปาก เกิดแล้ว เมื่อจะประกาศข้อความนั้น จึงทูลว่า

ข้าแต่ขัตติยราช พระดำรัสที่พระองค์ตรัสคุกคาม
ไร้ประโยชน์เสียแล้ว พระองค์เป็นผู้มีพระดำริกระจาย
ไปทั่วแล้ว พระองค์จับพระเจ้าวิเทหราชไม่ได้หรอก
ดังม้าสินธพอันม้ากระจอกไล่ไม่ทัน พระเจ้าวิเทหราช
พร้อมเหล่าอมาตย์ราชบริพาร เสด็จข้ามคงคาไปแล้ว
แต่วันวานนี้ เมื่อพระองค์จักติดตามไปก็จักตก เหมือน
กาบินไล่ตามพระยาหงส์ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภินฺนมนฺโตสิ ความว่า มโหสถกล่าวว่า
พระองค์อย่าได้เข้าพระหฤทัยว่า ความคิดของเราที่ปรึกษากับเกวัฏในห้องสิริ-
ไสยานั้น ไม่มีใครรู้ ความคิดนั้น ข้าพระองค์รู้แล้วก่อนทีเดียว ฉะนั้น พระองค์
จึงเป็นผู้มีพระดำริกระจายไปทั่วแล้ว. บทว่า ทุคฺคณฺโห หิ ตยา ความว่า
ข้าแต่พระมหาราช พระราชาของพวกข้าพระองค์ พระองค์ทรงจับได้ยาก
เหมือนม้าสินธพกับม้ากระจอก พระองค์เหมือนคนขี่ม้ากระจอก ไม่อาจที่จะจับ
พระราชาของพวกข้าพระองค์ซึ่งเหมือนคนขี่ม้าอาชาไนยมีกำลังเร็ว มโหสถ
แสดงว่า เกวัฏเหมือนม้ากระจอก พระองค์เหมือนคนขี่ม้ากระจอก ข้าพระองค์
เหมือนม้าสินธพมีกำลังเร็ว พระราชาของพวกข้าพระองค์เหมือนคนขี่ม้าสินธพ.
บทว่า ติณฺโณ หิยฺโย ความว่า พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยเหล่าอมาตย์
ข้าราชบริพารเสด็จข้ามน้ำไปแต่วันวานนี้แล้ว มิได้เสด็จหนีไปพระองค์เดียว
เสียด้วย. บทว่า อนุชวํ ความว่า ก็ถ้าพระองค์จักไล่ตาม คือจักติดตาม
พระเจ้าวิเทหราช กาบินไล่ตามพระยาหงส์ทองจักตกในระหว่างนั่นแล ฉันใด
พระองค์จักตก คือจักถึงความพินาศในระหว่างนั่นแล ฉันนั้น มโหสถทูล
ดังนี้.

บัดนี้ พระมหาสัตว์มิได้พรั่นพรึงประดุจพระยาไกรสรราชสีห์ เมื่อจะ
นำอุทาหรณ์มา จึงทูลว่า
สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่ามฤค เห็น
ดอกทองกวาวบานในรัตติกาล ก็สำคัญว่าชิ้นเนื้อ เข้า
ล้อมต้นอยู่ ครั้นเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว พระอาทิตย์
ขึ้น สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ต่ำช้ากว่ามฤค เห็นดอก
ทองกวาวบานแล้ว ก็หมดหวังฉันใด ข้าแต่พระราชา
พระองค์ทรงล้อมพระเจ้าวิเทหราช ก็จักทรงหมดหวัง
เสด็จไป เหมือนสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเห็นดอกทองกวาว
ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวาน ได้แก่ เห็นด้วยแสงจันทร์.
บทว่า ปริพฺยุฬฺหา ความว่า ยืนล้อมด้วยหวังว่า จักเคี้ยวกินชิ้นเนื้อแต่เช้า
ทีเดียวแล้วจักไป. บทว่า วีติวตฺตาสุ ความว่า สุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นได้ยืนอยู่
อย่างนั้น ในราตรีใด ๆ เมื่อราตรีนั้น ๆ ล่วงไปแล้ว. บทว่า ทิสฺวา ความว่า
สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายเห็นดอกทองกวาวแต่เช้าทีเดียว รู้ว่า นี้ไม่ใช่เนื้อ ก็หมด
หวังพากันหนีไป. บทว่า สิงฺคาลา ความว่า สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายล้อมต้น
ทองกวาวแล้วหมดหวังไป ฉันใด แม้พระองค์ก็ฉันนั้น ทรงทราบว่าพระเจ้า
วิเทหราชไม่มีในที่นี้ ก็จักหมดหวังเสด็จไป คือจักพาเสนาหนีไป มโหสถ
แสดงดังนี้.
พระเจ้าจุลนีทรงสดับคำไม่พรั่นพรึงของมโหสถนั้น ทรงคิดว่า บุตร
คฤหบดีนี้เป็นคนกล้าเกินกล่าวแล้ว มันคงให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จหนีไปแล้ว
โดยไม่ต้องสงสัย ก็กริ้วเหลือเกิน ทรงรำพึงว่า เมื่อก่อน พวกเราไม่เป็น
เจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่คาดพุงเพราะมโหสถ บัดนี้ปัจจามิตรอยู่ในเงื้อมมือ

ของพวกเราแล้ว ก็มโหสถให้หนีไป มโหสถเป็นคนทำความฉิบหายแก่พวกเรา
มากหนอ เราจักทำโทษอันควรทำแก่คนสองคน รวมแก่มโหสถนี้คนเดียว
เมื่อจะทรงสั่งลงโทษแก่มโหสถ จึงตรัสว่า
เจ้าทั้งหลายจงตัดมือและเท้า หูและจมูกของ
มโหสถผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่ใน
เงื้อมมือแล้วไปเสีย เจ้าทั้งหลายจงเสียบมโหสถผู้ปล่อย
พระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่ในเงื้อมมือแล้วไป
เสียในกล่าวย่างมันให้ร้อน ดุจย่างเนื้อฉะนั้น บุคคล
แทงหนังโคที่แผ่นดิน หรือเกี่ยวหนังราชสีห์ หรือเสือ
โคร่งฉุดมาด้วยขอ ฉันใด ข้าจักให้เจ้าทั้งหลายทิ่มแทง
มโหสถ ผู้ปล่อยพระเจ้าวิเทหราชศัตรูของข้า ซึ่งอยู่
ในเงื้อมมือแล้วไปเสีย แล้วฆ่าเสียด้วยหอก ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตปปํ ความว่า จงเสียบบุตรคฤหบดี
นี้ในหลาวย่างไฟ เหมือนเสียบเนื้อมฤคเป็นต้นที่ควรย่าง ฉะนั้น. บทว่า
สีหสฺส อโถ พฺยคฺฆสฺส ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคลเอาขอเกี่ยวหนัง
ราชสีห์เป็นต้น ฉุดมา ฉันใด จงทำแก่มโหสถ ฉันนั้น. บทว่า เวธยิสฺสามิ
ได้แก่ จักให้แทง.
พระมหาสัตว์ได้ฟังพระดำรัสดังนั้นก็หัวเราะ คิดว่าพระราชานี้ไม่รู้ว่า
เราส่งพระมเหสีและพระวงศานุวงศ์ของพระองค์ไปกรุงมิถิลาแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงคิดลงกรรมกรณ์แก่เรา แต่อาจยิงเราด้วยศร หรือทำโทษอย่างอื่นตามชอบ
พระหฤทัยของพระองค์ด้วยความพิโรธ เอาเถิด เราจะแจ้งเหตุการณ์เพื่อทำให้
พระองค์โศกาดูรเสวยทุกข์ บรรทมสลบอยู่บนหลังช้างที่นั่งนั่นเอง คิดฉะนั้นแล้ว
จึงทูลว่า

ถ้าพระองค์ตัดมือและเท้า หูและจมูกของข้า-
พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์เป็นอาทิ
แห่งพระปัญจาลจันทราชโอรส พระนางปัญจาลจันที
ราชธิดา และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระองค์
พระเจ้าวิเทหราชจักให้ตัดพระหัตถ์เป็นต้น ของพระ-
ราชโอรสพระราชธิดาและพระมเหสีของพระองค์อย่าง
นั้นเหมือนกัน ถ้าพระองค์เสียบเนื้อข้าพระองค์ในหลาว
ย่างให้ร้อน พระเจ้าวิเทหราชก็จักให้เสียบเนื้อพระ-
ปัญจาลจันทราชโอรส พระนางปัญจาลจันทีราชธิดา
และพระนางนันทาเทวีมเหสีของพระองค์ ย่างให้ร้อน
พระเจ้าวิเทหราชจักให้เสียบเนื้อพระราชโอรสพระราช
ธิดาและพระมเหสีของพระองค์ ย่างให้ร้อนอย่างนั้น
เหมือนกัน.
ถ้าพระองค์จักทิ่มแทงข้าพระองค์ด้วยหอก พระ-
เจ้าวิเทหราชก็จักให้ทิ่มแทงพระปัญจาลจันทราชโอรส
พระนางปัญจาลจันทีราชธิดา และพระนางนั้นทาเทวี
มเหสีของพระองค์ด้วยหอก พระเจ้าวิเทหราชจักทิ่ม-
แทงพระราชโอรสพระราชธิดา และพระมเหสีของ
พระองค์ด้วยหอกอย่างนั้นเหมือนกัน.
ข้อความดังกราบทูลมาอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้ง
สอง คือพระเจ้าวิเทหราชกับข้าพระองค์ได้ปรึกษา
ตกลงกันไว้แล้วเป็นความลับ โล่หนังมีน้ำหนัก 100
ปละ ที่ช่างหนังทำสำเร็จแล้วด้วยมีดของช่างหนึ่งย่อม

ช่วยป้องกันตัว เพื่อห้ามกันลูกศรทั้งหลาย ฉันใด
ข้าพระองค์เป็นผู้นำความสุข บรรเทาทุกข์ถวายพระ-
เจ้าวิเทหราชผู้เรืองยศ ก็จำต้องทำลายลูกศร คือ พระ
ดำริของพระองค์ ด้วยโล่หนัง คือ ความคิดของข้า
พระองค์ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฉทยิสฺสติ ความว่า พระเจ้าวิเทหราช
ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีตัดมือเท้าของมโหสถบัณฑิตแล้ว ก็จักให้
ตัด. บทว่า ปุตฺต ทารสฺส ความว่า พระราชาของพวกข้าพระองค์จักให้
ตัดมือเท้าของคน 3 คน คือพระราชโอรสพระราชธิดา 2 และพระอัครมเหสี 1
เพราะตัดมือเท้าของข้าพระองค์คนเดียวเป็นเหตุ. บทว่า เอวํ โน มนฺติตํ
รโห
ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์และพระเจ้าวิเทหราชได้
ปรึกษาตกลงกันไว้ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระเจ้าจุลนีรับสั่งให้กระทำกรรมใด ๆ
แก่ของพระองค์ในกรุงปัญจาละนี้ พระเจ้าวิเทหราชพึงกระทำกรรมนั้น ๆ แก่
พระราชโอรสพระราชธิดาและพระมเหสีของพระองค์ในกรุงมิถิลานั้น. บทว่า
ปลสตํ ความว่า หนังน้ำหนักประมาณ 100 ปละที่ให้ขี้เถ้าเป็นอันมากกัด
ให้อ่อนนุ่ม มีดของช่างหนัง ท่านเรียกว่า โกนฺติมนฺตา ในบทว่า โกนฺติ-
มนฺตาสุนิฏฺฐิตํ
โล่หนังสำเร็จด้วยดี เพราะรอยตัดทั้งหลายทำด้วยมีดของ
ช่างหนังนั้น. บทว่า ตนุตาณาย ความว่า โล่หนังนั้น เข้าถึงความป้องกัน
สรีระ เพื่อป้องกันลูกศรทั้งหลาย คือ ป้องกันลูกศรทั้งหลายรักษาสรีระไว้ได้
ฉันใด. บทว่า สุขาวโห ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า แม้ข้าพระองค์
ก็เป็นผู้นำความสุขมาถวายแด่ พระราชาของพวกข้าพระองค์โดยห้ามปัจจามิตร
ทั้งหลาย เหมือนโล่หนังสำหรับป้องกันลูกศรของพระองค์. บทว่า ทุกฺขนูโท
ความว่า ข้าพระองค์นำมาซึ่งความสุขทางกายและทางใจ บรรเทาความทุกข์.

บทว่า มตินฺเต ความว่า เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จักต้องทำลายความคิด
คือปัญญาของพระองค์ ด้วยความคิดของข้าพระองค์เหมือนป้องกันลูกศรด้วย
โล่หนังหนัก 100 ปละนั้น.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงพระดำริว่า บุตรคฤหบดีพูด
อย่างนี้ทำไม ได้ยินว่า เราทำกรรมกรณ์แก่เขาอย่างใด พระเจ้าวิเทหราชจัก ทรง
ทำกรรมกรณ์แก่โอรสและมเหสีของเราอย่างนั้น บุตรคฤหบดีไม่รู้ว่าเราจัดการ
อารักขาโอรสและมเหสีของเราอย่างดี บัดนี้เขาจักตายจึงบ่นเพ้อด้วยกลัวตาย
นั่นเอง เราไม่เชื่อคำของเขา มโหสถคิดว่า พระราชาสำคัญตัวเราว่า พูดด้วย
ความกลัวตาย เราจักให้พระองค์ทรงทราบเสีย จึงทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เชิญเถิด ขอเชิญ พระองค์
ทอดพระเนตรดูภายในเมืองของพระองค์ซึ่งว่างเปล่า
นางสนม และกุมารทั้งหลายตลอดถึงพระชนนีของ
พระองค์ ข้าพระองค์ให้นำออกจากอุโมงค์ถวายไปแด่
พระเจ้าวิเทหราชแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมงฺคา ความว่า ข้าพระองค์สั่งคน
หนุ่ม ๆ ของข้าพระองค์ไปพาพระวงศานุวงศ์เหล่านั้นลงจากปราสาทน้ำมาทาง
อุโมงค์นั่นแล แล้วนำออกจากอุโมงค์ใหญ่ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชไปแล้ว.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นจึงทรงคิดว่า บุตรคฤหบดีนี้กล่าวหนัก
แน่นเหลือเกิน อนึ่ง เมื่อคืนนี้เราได้ยินเสียงเหมือนเสียงนางนันทาเทวีข้างแม่-
น้ำคงคา มโหสถนี้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก บางทีพึงกล่าวจริง ทรงคิดฉะนี้
แล้ว เกิดความโศกมีกำลัง ดำรงพระสติไว้ทำเป็นไม่โศก เมื่อจะตรัสเรียก
อมาตย์คนหนึ่งมาส่งไปให้รู้ความ จึงตรัสคาถาว่า

เจ้าจงไปภายในเมืองของเรา ตรวจตราดูคำของ
มโหสถนี้จริงหรือเท็จอย่างไร.

อมาตย์นั้นพร้อมด้วยบริวารไปสู่พระราชนิเวศน์ เปิดพระทวารเข้าไป
ภายใน ได้เห็นเหล่าคนผู้รักษาพระราชนิเวศน์ และเหล่าบริจาริกานารีที่ค่อม
แคระเป็นต้น ถูกผูกมือและเท้าอุดปากติดกับไม้นาคทันต์ทั้งหลาย ภาชนะใน
ห้องเครื่องแตกทำลาย ขาทนียโภชนียะเกลื่อนกล่นในที่นั้น และห้องประกอบ
ด้วยสิริมีประตูเปิด มีการปล้นรัตนะ ซึ่งเหล่าปัจจามิตรเปิดประตูคลังรัตนะ
กระทำแล้ว ได้เห็นฝูงกาเข้าไปทางพระทวารและพระแกลซึ่งเปิดทิ้งไว้เที่ยวอยู่.
พระราชนิเวศน์หาสิริมิได้ เช่นกับบ้านที่ทิ้งแล้ว หรือประหนึ่งพื้นสุสาน จึง
กลับมา เมื่อจะกราบทูลแด่พระราชา จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถทูลอย่างใด
ข้อความนั้นก็เป็นอย่างนั้น พระราชนิเวศน์ทั้งปวง
ว่างเปล่า ดุจที่ลงหากินแห่งกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กากปตนกํ ยถา ความว่า เป็นราวกะ
ว่าบ้านที่ทิ้งไว้ใกล้ฝั่งทะเล เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงกา ที่มาด้วยกลิ่นหอมของ
ปลา.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงสะทกสะท้านด้วยความโศกเกิดแต่
ความพลัดพรากจากกษัตริย์ทั้ง 4 พระองค์ก็ทรงพิโรธพระโพธิสัตว์เกินเปรียบ
ดุจงูพิษถูกตีด้วยท่อนไม้ว่า ความทุกข์ของเรานี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยบุตรคฤหบดี
มโหสถเห็นพระอาการกริ้วของพระเจ้าจุลนี จึงคิดว่า พระราชาผู้มีพระยศใหญ่
พระองค์นี้พึงเบียดเบียนเราด้วยขัตติยมานะ ด้วยสามารถแห่งความโกรธในกาล
บางคราวว่า เราจะต้องการด้วยกษัตริย์ทั้ง 4 ไปทำไม ไฉนเราจะทำพระนาง
นันทาเทวี ให้เป็นเหมือนพระราชานี้ยังไม่เคยเห็น พึงสรรเสริญสรีรวรรณ

แห่งพระนางนั้น ที่นั้นพระราชาก็จะทรงระลึกถึงพระนางนั้น ก็จักไม่ทำอะไร ๆ
แก่เราด้วยทรงรักใคร่ในพระมเหสีของพระองค์ ด้วยทรงคะนึงว่า ถ้าเราฆ่า
มโหสถเสีย เราก็จักไม่ได้สตรีรัตนะเห็นปานนี้ มโหสถคิดฉะนี้แล้ว ยืนอยู่
บนปราสาทเพื่อการรักษาตัว ได้นำแขนซึ่งมีวรรณะดุจวรรณะแห่งทองคำออกใน
ระหว่างรัตกัมพลเมื่อจะสรรเสริญพระนางนั้น ด้วยสามารถแห่งอันกราบทูล
บรรดาที่พระนางนั้นเสด็จไป จึงทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระนางนันทาเทวีเสด็จ
ไปแล้วจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีพระสรีราพยพอันงาม
สรรพ มีพระโสณีควรเปรียบกับแผ่นทองคำธรรมชาติ
มีปกติตรัสประภาษไพเราะเสนาะดังเสียงลูกหงส์ ข้า
แต่พระมหาราชเจ้า พระนางนันทาเทวี อันข้าพระองค์
นำเสด็จออกไปจากอุโมงค์นี้ เป็นผู้มีสรรพางดงามน่า
ทัศนา ทรงพระภูษาโกไสยมีพระรูปอำไพดุจสุวรรณ
สายรัดพระองค์นั้นก็งามทำด้วยกาญจนวิจิตรมีพระบาท
สดใสพระโลหิตขึ้นแดงอันแถลงเบญจกัลยาณี ชี้ไว้
เป็นแบบด้วยสามารถแห่งพระฉวี พระมังสา พระเกศา
พระเส้นเอ็น และพระอัฐิงามดี มีสายรัดพระองค์
แก้วมณีแถมสุวรรณ ดวงพระเนตรนั้นเปรียบกับตา
นกพิราบ มีพระสรีรภาพอันโสภณ ริมพระโอฐแดง
ดุจผลตำลึงสุกก็ปานกัน มีบั้นพระองค์บางอย่างประ-
หนึ่งจะรวบกำรอบทีเดียว มีบั้นพระองค์เล็กเรียวดุจ
เถานาคลดาเกิดแล้วดี แลดุจกาญจนไพที พระศกของ
พระนางนันทาเทวียาวดำปลายช้อยเล็กน้อยดุจปลายมีด

พระนางเจ้านั้น มีดวงพระเนตรเขื่องราวกะดวงตาแห่ง
ลูกมฤค 1 ขวบเกิดดีแล้ว หรือดุจเปลวเพลิงในเหมัน-
ตฤดู แม่น้ำใกล้ภูผาหรือหมู่ไม้ดาดาษไปด้วยไม้ไผ่
เล็ก ๆ ย่อมงดงาม ฉันใด เส้นพระโลมธาตุก็อ่อน
งดงาม ฉันนั้น พระนางมีพระเพลางามดังงวงกุญชร
งาม มีพระถันยุคลดังคู่ผลมะพลับทองงามเป็นที่หนึ่ง
มีพระสัณฐานพึงพอดีไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก พระโลมา
ของพระนางเจ้านั้นมีพองามไม่มากเกิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ท่านแสดงถึงอุโมงค์. บทว่า
โกสุมฺภผลกสุสฺโสณี ความว่า มีพระโสณีงามปานแผ่นทองคำอันไพศาล.
บทว่า หํสคคฺครภาณินี ความว่า ประกอบด้วยการเปล่งเสียงเสนาะไพเราะ
จับใจ คล้ายเสียงลูกหงส์ที่เที่ยวหากินอยู่. บทว่า โกเสยฺยวสนา ได้แก่
ทรงผ้าไหมขจิตด้วยทอง. บทว่า สามา ได้แก่ มีสรีระดังทอง บทว่า
ปาเรวตกฺขี ความว่า มีดวงพระเนตรเช่นกับนกพิราบในฐานอันเลิศทั้งหลาย
ในประสาททั้งห้า. บทว่า สุตนู แปลว่า มีพระสรีระงาม บทว่า พิมฺโพฏฺฐา
ได้แก่ มีริมพระโอฐแดงดังผลตำลึงสุก. บทว่า ตนุมชฺฌิมา ความว่า
มีบั้นพระองค์บางดังว่าจะกำได้รอบ. บทว่า สุชาตา ภุชคลฏฺฐีว ความว่า
มีบั้นพระองค์งามดุจหน่อไม้มีสีแดงต้องลมไหวในเวลาเมื่อทรงเยื้องกรายงาม
ไพโรจน์ดุจเถานาคลดาเกิดดีแล้ว. บทว่า เวทีว ความว่า มีบั้นพระองค์
ปานกาญจนไพที. บทว่า อีสกคฺคปเวลฺลิตา ความว่า พระเกศาช้อยที่
ปลายนิดหน่อย ชื่อว่า ปลายช้อยเล็กน้อย ช้อยดุจปลายมีด. บทว่า มิคจฺฉาปีว
ความว่า ประกอบด้วยดวงตาเขื่อง ดุจลูกมฤค 1 ขวบเกิดที่เชิงเขา. บทว่า
เหมนฺตคฺคิสิขาริว ความว่า งามดุจเปลวไฟในฤดูหนาว เพราะมีแสงสว่าง.

บทว่า ขุทฺทเวฬุภิ ความว่า งามด้วยแถวโลมชาติบาง ๆ เหมือนอย่างแม่น้ำ
ที่ดาดาษด้วยไม้ไผ่เล็ก ๆ ย่อมงามฉะนั้น. บทว่า กลฺยาณี ความว่า ประกอบ
ด้วยความงาม 5 อย่าง คือ งามผิว งามเนื้อ งามผม งามเส้นเอ็นและงาม
กระดูก. บทว่า ปฐมา ติมฺพรุตฺถนี ความว่า พระนางนันทาเทวีนั้นมี
พระยุคลถันชิดกัน สมบูรณ์ด้วยสัณฐาน ปานประหนึ่งคู่แห่งผลมะพลับทอง
ที่วางไว้บนแผ่นทองฉะนั้น งามเป็นที่หนึ่ง คือ สูงสุด.
เมื่อพระมหาสัตว์พรรณนารูปสิริของพระนางนันทาเทวีอย่างนี้แล้ว
พระนางเธอได้เป็นเหมือนพระเจ้าจุลนีไม่เคยได้ทอดพระเนตรเห็นมาก่อน
พระองค์เกิดความเสน่หามีกำลัง.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทราบว่า พระเจ้าจุลนีมีความเสน่หาเกิดขึ้นจึง
ได้กล่าวคาถาเป็นลำดับไปว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพาหนะสมบูรณ์ด้วยสิริ พระ-
องค์ ทรงยินดีด้วยการทิวงคตของพระนางนันทาเทวี
เป็นแน่ ข้าพระองค์และพระนางนันทาเทวีจะไปสู่
สำนักยมราชเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิริพาหน ความว่า มโหสถกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาราชผู้มีพาหนะถึงพร้อมด้วยสิริ พระองค์ย่อมทรงยินดีด้วยการ
ทิวงคตของพระนางนันทาเทวีผู้ทรงพระรูปอันอุดมอย่างนี้แน่. บทว่า คจฺฉาม
ความว่า ก็ถ้าพระองค์จักฆ่าข้าพระองค์ พระราชาของข้าพระองค์ก็จักฆ่า
พระนางนันทาเทวีอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระนางนันทาเทวีและข้าพระ-
องค์ก็จักไปสำนักของยมราช ยมราชเห็นข้าพระองค์ทั้งสองแล้วก็จักให้พระนาง
นันทาเทวีแก่ข้าพระองค์เท่านั้น เมื่อข้าพระองค์แม้ตายแล้ว ก็ยังได้นางแก้ว
เช่นนั้น จักเสียประโยชน์อะไรเล่า ข้าพระองค์แลไม่เห็นความเสื่อมเพราะตัว

ต้องตาย พระเจ้าข้า ได้ยินว่า มโหสถกราบทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้.
พระมหาสัตว์สรรเสริญพระนางนันทาเทวีในฐานะเท่านี้ หาสรรเสริญ
กษัตริย์อีก 3 องค์ไม่ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุไร เพราะธรรมดาสัตว์
ทั้งหลายย่อมไม่ทำสิเนหาอาลัยในชนอื่น ๆ ดุจในภรรยาที่รัก หรือว่าชนทั้ง
หลาย เมื่อไม่ระลึกถึงมารดา ก็จักไม่ระลึกถึงบุตรและธิดา เพราะเหตุนั้น
พระโพธิสัตว์จึงสรรเสริญพระนางนันทาเทวีเท่านั้น ไม่สรรเสริญพระราช-
มารดา เพราะทรงพระชราแล้ว ในเนื้อพระมหาสัตว์สรรเสริญพระนางนันทา
เทวีด้วยเสียงอ่อนหวาน พระนางนันทาเทวีก็ได้เป็นเหมือนมาประทับอยู่หน้าที่
นั่งพระเจ้าจุลนี แต่นั้นพระเจ้าจุลนีจึงทรงคิดว่า ยกมโหสถบัณฑิตเสีย บุคคล
อื่นที่ชื่อว่าสามารถจะพามเหสีที่รักของเรามาให้แก่เรา ย่อมไม่มี ลำดับนั้น
เมื่อพระเจ้าจุลนีทรงระลึกพระนางเจ้านั้น ความโศกก็เกิดขึ้น พระโพธิสัตว์
จึงทูลเล้าโลมพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์อย่าทรงวิตกเลย พระราชเทวี พระ-
ราชโอรส และพระราชชนนีของพระองค์ ทั้ง 3 องค์จักเสด็จกลับมา
ข้าพระองค์กลับไปนั่นแหละเป็นกำหนดแน่ในการเสด็จกลับแห่งกษัตริย์ทั้ง 3
องค์นั้น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์วางพระหฤทัยเสียเถิด พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีทรงคิดว่า เราให้ทำการพิทักษ์รักษาเมืองของ
เราเป็นอันดี แล้วมาดังล้อมอุปการนครนี้ด้วยพลพาหนะถึงเท่านี้ มโหสถยัง
นำพระเทวีโอรสธิดา และพระชนนีของเรา จากเมืองเราซึ่งรักษาดีแล้วอย่างนี้
ไปให้พระเจ้าวิเทหราชได้ และเมื่อพวกเราตั้งล้อมอยู่อย่างนี้ มโหสถยัง
พระเจ้าวิเทหราชทั้งพลพาหนะให้หนีไป แม้สักคนหนึ่งก็หามีใครรู้ไม่ มโหสถ
รู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์หรือ หรือเพียงอุบายบังตาหนอ เมื่อจะตรัสถามข้อความ
กะมโหสถ จึงตรัสคาถาว่า

เจ้ารู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์ หรือเจ้าได้ทำอุบาย
เพียงบังตา ในการที่เจ้าปล่อยพระเจ้าวิเทหราชผู้เป็น
ศัตรูของข้า ซึ่งตกอยู่ในเงื้อมมือข้าแล้ว.

มโหสถได้พึงรับสั่งจึงทูลว่า ข้าพระองค์รู้เล่ห์กลอันเป็นทิพย์ จริงอยู่
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียนเล่ห์กลอันเป็นทิพย์ไว้ครั้น เมื่อภัยมาถึง ก็ปลดเปลื้อง
ตนบ้าง ผู้อื่นบ้างให้พ้นทุกข์ ทูลฉะนี้แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมบรรลุเล่ห์กลอันเป็นทิพย์ บัณฑิตชนผู้มีความรู้
เหล่านั้น จึงเปลื้องตนจากทุกข์ได้ เหล่าโยธารุ่นหนุ่ม
เป็นคนฉลาด เป็นทหารขุดอุโมงค์ ของข้าพระองค์
มีอยู่ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปกรุงมิถิลา โดยทางที่
ทหารเหล่านี้ทำไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพมายีธ ตัดบทเป็น ทิพฺพมายํ
อิธ.
บทว่า มาณวปุตฺต ได้แก่ เหล่าโยธารุ่นหนุ่มผู้บำรุง. บทว่า เยสํ
กเตน
ได้แก่ ที่พวกเขาทำไว้. บทว่า มคฺเคน ได้แก่ โดยอุโมงค์ที่
ตกแต่งไว้.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำนี้แล้ว ก็ใคร่จะทอดพระเนตรอุโมงค์โดย
ทรงคิดว่า มโหสถแจ้งว่า ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชได้เสด็จไปโดยอุโมงค์ที่
ตกแต่งไว้ อุโมงค์เป็นอย่างไรหนอ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์รู้ว่า พระเจ้าจุลนีมี
พระราชประสงค์จะทอดพระเนตรอุโมงค์ จึงคิดว่า พระราชาใคร่จะทอดพระ-
เนตรอุโมงค์ เราจักแสดงอุโมงค์แก่พระองค์ เมื่อจะแสดง จึงได้กล่าวคาถา
นี้ว่า

เชิญเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญพระองค์ทอดพระ-
เนตรอุโมงค์ที่ได้สร้างไว้ดีแล้ว งามรุ่งเรืองด้วย
ระเบียบแห่งกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ
กองพลราบ ซึ่งสำเร็จดีแล้วตั้งอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถีนํ ความว่า ขอเชิญพระองค์ทอด
พระเนตรอุโมงค์ที่งามรุ่งเรื่องด้วยระเบียบแห่งกองพลช้างเป็นต้นเหล่านั้นที่นาย
ช่างทำด้วยโปตถกรรม (การแกะสลัก) และจิตรกรรม (การเขียนภาพ) มี
แสงสว่างเป็นอย่างเดียวกันเช่นกับเทวสภาที่ตกแต่งแล้ว.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มโหสถได้ทูลต่อไปว่า อุโมงค์ซึ่งตกแต่ง
แล้ว ข้าพระองค์ให้สร้างไว้ด้วยปัญญาของข้าพระองค์ เป็นราวกะปรากฏแล้ว
ในที่ตั้งขึ้นแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ พระองค์จงทอดพระเนตรประตูใหญ่
80 ประตูน้อย 64 ห้องนอน 101 โคมดวงประทีป 101 พระองค์จงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงบันเทิงกับด้วยข้าพระองค์ เสด็จเข้าไปสู่อุปการนครกับด้วย
ราชบริพาร ทูลฉะนี้แล้วให้เปิดประตูเมือง พระเจ้าจุลนีพระราชาร้อยเอ็ด
แวดล้อมเสด็จเข้าสู่เมือง พระมหาสัตว์ลงจากปราสาทถวายบังคมพระเจ้าจุลนี
พาพระราชาพร้อมด้วยราชบริพารเข้าสู่อุโมงค์ พระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรเห็น
อุโมงค์ราวกะเทวสภา เมื่อจะทรงพรรณนาคุณแห่งพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้งหลายเช่นนี้ เหล่านี้
อย่างตัวเจ้า อยู่ในเรือน ในแว่นแคว้นแห่งผู้ใด เป็น
ลาภของชาววิเทหรัฐและชาวกรุงมิถิลาผู้ได้อยู่ร่วมกับ
ผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเทหานํ ความว่า เป็นลาภของชาว
วิเทหะ คือของชนบทที่เป็นบ่อเกิด คือเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งเหล่าบัณฑิตเห็นปาน

นี้หนอ. บทว่า ยสฺสิเม อีทิสา ความว่า บัณฑิตทั้งหลายผู้ฉลาดในอุบาย
เหล่านี้ คือเห็นปานนี้ อยู่ในเรือนเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือใน
แว่นแคว้นเดียวกัน ของผู้ใดเป็นลาภของผู้นั้นหนอ. บทว่า ยถา ตฺวมสิ
ความว่า ชนทั้งหลายย่อมได้เพื่ออันอยู่ในรัฐเดียวกัน ในชนบทเดียวกัน ใน
นครเดียวกัน ในเรือนเดียวกัน กับบัณฑิตเช่นนั้นเหมือนอย่างตัวท่านนั่น
แหละ เป็นลาภของชนเหล่านั้น คือของชาววิเทหรัฐและชาวกรุงมิถิลา ผู้ได้
อยู่ร่วมกับท่าน พระเจ้าจุลนีพรหมทัตมีพระดำรัสดังนี้.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้แสดงห้องนอน 101 ห้องแด่พระเจ้าจุลนี
ครั้นประตูห้องหนึ่งเปิด ประตูทั้งหมดก็เปิด ครั้นประตูห้องหนึ่งปิด ประ
ทั้งหมดก็ปิด เมื่อพระราชาทอดพระเนตรพลางเสด็จไปข้างหน้า มโหสถโดย
เสด็จไปข้างหลัง เสนาทั้งปวงก็เข้าไปสู่อุโมงค์ พระราชาเสด็จออกจากอุโมงค์
มโหสถรู้ว่าเสด็จออก จึงตามออกมาบ้าง ไม่ให้ชนทั้งปวงออก ปิดประตู
อุโมงค์เหยียบเครื่องสลักยนตร์ ประตูใหญ่ 80 ประตูน้อย 64 ประตูห้อง
นอน 101 และโคมดวงประทีป 101 ก็ปิดพร้อมกัน อุโมงค์ทั้งสิ้นก็มืด
ราวกะโลกันตนรก มหาชนทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอันมรณภัยคุกคามแล้ว พระมหา-
สัตว์หยิบดาบซึ่งคนเข้าไปฝังทรายไว้เมื่อวานนี้ แล้วโดดขึ้นจากพื้นสู่อากาศสูง
18 ศอก แล้วกลับลงมาจากอากาศ จับพระหัตถ์พระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้
เงื้อดาบให้ตกพระหฤทัยทูลถามว่า ราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเป็นของใคร
พระราชากลัวตรัสตอบว่า เป็นของเธอ แล้วตรัสว่า เธอจงให้อภัยแก่ข้า
มโหสถทูลว่า พระองค์อย่าตกพระหฤทัยกลัวเลย พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จับ
ดาบด้วยใคร่จะปลงพระชนม์ก็หาไม่ ข้าพระองค์จับเพื่อจะสำแดงปัญญานุภาพ
ของข้าพระองค์ ทูลฉะนั้นแล้วถวายดาบนั้นต่อพระหัตถ์พระราชา ลำดับนั้น
มโหสถทูลพระราชาผู้ทรงถือดาบประทับยืนอยู่ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้า

พระองค์ทรงใคร่จะฆ่าข้าพระองค์ ก็จงฆ่าด้วยดาบเล่มนี้ ถ้าพระองค์ทรงใคร่
จะพระราชทานอภัย ก็จงพระราชทาน พระราชาตรัสตอบว่า ดูก่อนบัณฑิต
ข้าให้อภัยแก่เธอจริง ๆ เธออย่าคิดอะไรเลย พระราชาจุลนีพรหมทัตกับมโหสถ
โพธิสัตว์ทั้งสองต่างจับดาบทำสาบานเพื่อไม่ประทุษร้ายต่อกันและกัน ลำดับ
นั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนบัณฑิต เธอเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยกำลังปัญญาอย่างนี้ เหตุไรไม่เอาราชสมบัติเสีย มโหสถทูลตอบว่า ถ้า
พระองค์อยากได้ ก็จะฆ่าพระราชาในสกลชมพูทวีปเสียในวันนี้แล้ว เอาราช-
สมบัติ ก็แต่การฆ่าผู้อื่นแล้วถือเอายศ นักปราชญ์ทั้งหลายไม่สรรเสริญ ลำดับ
นั้นพระราชาตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต มหาชนออกจากอุโมงค์ไม่ได้ก็คร่ำครวญ
เธอจงเปิดประตูอุโมงค์ให้ชีวิตทานแก่มหาชน มโหสถเปิดประตูอุโมงค์
อุโมงค์ทั้งสิ้นก็มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มหาชนกลับได้ความยินดี พระราชา
ทั้งปวงออกจากอุโมงค์กับเสนาไปสู่สำนักมโหสถ มโหสถสถิตอยู่ ณ พลับพลา
อันกว้างขวางกับพระราชาจุลนี ลำดับนั้น พระราชาเหล่านั้นตรัสกะมโหสถว่า
พวกข้าพเจ้าได้ชีวิตเพราะอาศัยท่าน ถ้าท่านไม่เปิดประตูอุโมงค์อีกครู่เดียว
ข้าพเจ้าทั้งปวงก็จักถึงความตายในอุโมงค์นั้นนั่นเอง มโหสถทูลตอบว่า ข้า
แต่มหาราชทั้งหลาย พระองค์ไม่เสียพระชนมชีพเพราะอาศัยข้าพระองค์ แต่
ในบัดนี้ก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนพระองค์ก็ได้อาศัยข้าพระองค์จึงยังดำรงพระ-
ชนมชีพอยู่ พระราชาเหล่านั้น ตรัสถามว่า เมื่อไร บัณฑิต มโหสถบันฑิต
จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์ทรงฟัง ทรงระลึกถึงกาลเมื่อพระเจ้าจุลนี
ยึดราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ ยกเสียแต่เมืองของพวกข้าพระองค์ แล้วกลับ
อุตตรปัญจาลราชธานี แล้วจัดแต่งสุราเพื่อดื่มชัยบานในสวนหลวงได้หรือไม่
พระราชาเหล่านั้นรับว่าระลึกได้ มโหสถจึงทูลว่า ในกาลนั้น พระราชาจุลนี
กับเกวัฏผู้มีความคิดชั่ว ประกอบกิจนั้นเพื่อปลงพระชนม์เหล่าพระองค์ด้วยสุรา

ที่ประกอบด้วยยาพิษและมัจฉมังสะเป็นต้น ทีนั้นข้าพระองค์จึงรำพึงว่า เมื่อ
เรายังมีชีวิตอยู่ เหล่าพระองค์จงอย่าได้เสียพระชนมชีพโดยหาที่พึ่งมิได้เลย
คิดในใจดังนี้จึงส่งพวกคนของข้าพระองค์ไป ให้ทำลายภาชนะทั้งปวง ทำลาย
ความคิดของพวกนั้นเสีย ได้ให้ชีวิตทานแด่พระองค์ทั้งหลาย พระราชาเหล่า
นั้นทั้งหมดได้สดับคำของมโหสถ ก็มีพระมนัสหวาดเสียว จึงทูลถามพระเจ้า
จุลนีว่า จริงหรือไม่ พระเจ้าข้า พระเจ้าจุลนีตรัสตอบว่า จริง ดีฉันเชื่อ
ถ้อยคำของอาจารย์เกวัฏได้ทำอย่างนั้น มโหสถบัณฑิตได้กล่าวจริงทีเดียว
พระราชาเหล่านั้นต่างสวมกอดพระมหาสัตว์ ตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ท่านได้
เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้รอดชีวิตเพราะท่าน ตรัสฉะนี้แล้ว
บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชาภรณ์ทั้งปวง มโหสถทูลพระเจ้าจุลนีอย่างนี้ว่า ข้า
แต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าได้ทรงคิดเลย นั่นเป็นโทษของการส้องเสพ
ด้วยมิตรลามกนั่นเอง ขอพระองค์ยังพระราชาเหล่านั้นให้งดโทษ พระราชา
พรหมทัตตรัสว่า เราได้ทำกรรมเห็นปานนี้แก่พวกท่านเพราะอาศัยคนชั่ว นั่น
เป็นความผิดของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายจงงดโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ทำ
กรรมเห็นปานนี้อีก รับสั่งฉะนั้นแล้วให้พระราชาเหล่านั้น มาโทษ พระราชา
เหล่านั้นแสดงโทษกะกันและกัน แล้วเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมต่อกัน ลำดับ
นั้น พระเจ้าจุลนีให้นำขาทนียะและโภชนียะเป็นอันมาก และดนตรีของหอม
ดอกไม้เป็นต้นมา เล่นอยู่ในอุโมงค์กับด้วยกษัตริย์ทั้งปวงตลอดสัปดาห์แล้ว
เข้าสู่พระนคร ให้ทำสักการะใหญ่แก่พระมหาสัตว์ แวดล้อมไปด้วยพระราชา
ร้อยเอ็ด ประทับนั่ง ณ พื้นพระราชมณเฑียรตรัสด้วยมีพระราชประสงค์จะให้
มโหสถบัณฑิตอยู่ในราชสำนักของพระองค์ ว่า
ข้าจะให้เครื่องเลี้ยงชีพ การบริหาร เบี้ยเลี้ยง
และบำเหน็จเพิ่มขึ้น 2 เท่า และให้โภคสมบัติอัน

ไพบูลย์อื่น ๆ เจ้าจงใช้สอยสิ่งที่ปรารถนา จงรื่นรมย์
เถิด อย่ากลับไปหาพระเจ้าวิเทหราชเลย พระเจ้า
วิเทหราชจักทำอะไรได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตึ ได้แก่ เครื่องเป็นไปแห่งชีวิตที่
อาศัยได้. บทว่า ปริหารํ ได้แก่ ให้คามและนิคม. บทว่า ภตฺตํ ได้แก่
อาหาร. บทว่า เวตนํ ได้แก่ เสบียง. บทว่า โภเค ความว่า ข้าจะให้
โภคสมบัติอันไพบูลย์แม้อื่น ๆ แก่เจ้า.
ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลห้ามพระเจ้าจุลนี ได้ทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละท่านผู้ชุบเลี้ยง
ตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูกตนเองและผู้อื่น
ติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราชยังทรงพระชนม์
อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงเป็นราชบุรุษของพระ-
ราชาอื่นเพียงนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ใดสละ
ท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผู้นั้นย่อมถูก
ตนเองและผู้อื่นติเตียนทั้งสองฝ่าย พระเจ้าวิเทหราช
ยังดำรงพระชนม์อยู่เพียงใด ข้าพระองค์ไม่พึงอยู่ใน
แว่นแคว้นของพระราชาอื่นเพียงนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตโน จ ปรสฺส จ ความว่า บุคคล
ย่อมติเตียนตนด้วยตนว่า บาปเห็นปานนี้ อันเราผู้สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนเพราะ
เหตุแห่งทรัพย์กระทำแล้ว แม้ผู้อื่นก็ย่อมติเตียนด้วยเหตุนี้ว่า ผู้นี้มีธรรม
เลวทราม สละท่านผู้ชุบเลี้ยงตนมาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ เพราะเหตุนั้น เมื่อ
พระเจ้าวิเทหราชยังดำรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในแว่นแคว้น ของ
พระราชาอื่นได้.

ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีตรัสกะมโหสถว่า แน่ะบัณฑิต ถ้าอย่างนั้น
ท่านจงให้ปฏิญญาว่าจะมาในนครนี้ ในเมื่อพระราชาของท่านทิวงคตแล้ว
มโหสถทูลสนองว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่จักมา ลำดับนั้น
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงทำมหาสักการะแก่พระโพธิสัตว์ตลอดสัปดาห์ ครั้น
ล่วงไปอีกสัปดาห์ เวลาที่มโหสถทูลลา เมื่อจะตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ข้าให้สิ่ง
นี้ ๆ แก่เจ้า จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนมโหสถบัณฑิต ข้าให้ทอง 1,000 นิกขะ
และบ้าน 80 บ้านในแคว้นกาสีแก่เจ้า ข้าให้ทาสี
400 คน และภรรยา 100 คนแก่เจ้า เจ้าจงพาเสนางค-
นิกรทั้งปวงไปโดยสวัสดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺขสหสฺสํ ความว่า 5 สุวัณณะเป็น
1 นิกขะ ให้ทอง 1,000 นิกขะ. บทว่า คาเม ความว่า บ้านเหล่าใดเก็บ
ส่วยได้ปีละหนึ่งแสนกหาปณะ ข้าให้บ้านเหล่านั้นแก่เจ้า. บทว่า กาสิสุ ได้แก่
ในแคว้นของประชาชนชาวกาสี.
กาสิกรัฐนั้นอยู่ใกล้วิเทหรัฐ เพราะฉะนั้น พระเจ้าจุลนีจึงประทานบ้าน
80 บ้านในกาสิกรัฐนั้นแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถทูลพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์
อย่าทรงวิตกถึงพระราชวงศ์เลย ข้าพระองค์ได้ทูลพระราชาของข้าพระองค์ไว้
ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จไปกรุงมิถิลาว่า ขอพระองค์จงตั้งพระนางนันทาเทวี
ไว้ในที่พระราชชนนี จงตั้งพระปัญจาลจันทกุมารไว้ในที่พระกนิษฐภาดา ทูล
ฉะนั้นแล้ว ได้อภิเษกพระนางปัญจาลจันทีราชธิดาของพระองค์กับพระเจ้า
วิเทหราช แล้วจึงได้ส่งเสด็จพระเจ้าวิเทหราช ข้าพระองค์จักส่งพระราชมารดา
พระนางนันทาเทวี และพระราชโอรสของพระองค์กลับมาโดยเร็วทีเดียว
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตรัสว่า ดีแล้ว พ่อบัณฑิต แล้วยังมโหสถให้รับฝากข้า

ชายหญิงโคกระบือและเครื่องประดับ และทองเงินช้างม้ารถอันตกแต่งแล้ว
เป็นต้นที่พึงพระราชทานแก่พระราชธิดา ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าพึงให้ทรัพย์
เหล่านั้นแก่พระปัญจาลจันทีราชบุตรีข้า เมื่อทรงพิจารณากิจอันควรทำแก่
เสนาพาหนะ จึงตรัสว่า
พวกเจ้าจงให้อาหารแก่ช้างและม้าเพิ่มขึ้นเป็น
สองเท่า เพียงใด จงเลี้ยงดูกองรถและกองราบให้อิ่ม
หนำด้วยข้าวและน้ำ เพียงนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ความว่า มิใช่เพิ่มเป็นสองเท่า
อย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้าจุลนีตรัสว่า จงให้อาหารมีข้าวเหนียวและข้าวสาลี
เป็นต้น แก่ช้างและม้าทั้งหลายจนเพียงพอ. บทว่า ตปฺเปนฺตุ ความว่า จงให้
เท่าที่ไปไม่ลำบากในระหว่างทาง ให้อิ่มหนำ.
ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงส่งมโหสถบัณฑิตไป พระเจ้าจุลนี
ตรัสว่า
พ่อบัณฑิต เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ
กองราบไป ขอพระเจ้าวิเทหมหาราชจงทอดพระเนตร
เห็นเจ้าผู้ไปถึงกรุงมิถิลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิถิลํ คตํ ความว่า ขอพระเจ้าวิเทหราช
จงทอดพระเนตรเห็นเจ้าถึงกรุงมิถิลาโดยสวัสดี.
พระเจ้าจุลนีทรงทำสักการะใหญ่แก่มโหสถบัณฑิตแล้วทรงส่งไป ด้วย
ประการฉะนี้ แม้พระราชาร้อยเอ็ดเหล่านั้น ก็ทำมหาสักการประทานบรรณา-
การเป็นอันมาก ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ในสำนักของพระราชาร้อยเอ็ด
เหล่านั้นก็แวดล้อมมโหสถ มโหสถเดินทางไปด้วยบริวารมากในระหว่างทาง
ได้ส่งคนไปเก็บส่วยแต่บ้านที่พระเจ้าจุลนีประทาน ถึงวิเทหรัฐ ฝ่ายอาจารย์

เสนกะได้วางคนไว้ในระหว่างทางสั่งว่า เจ้าจงดูพระเจ้าจุลนีเสด็จมาหรือไม่
เสด็จมา และบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งมา จงบอกข้า ฝ่ายคนผู้รับคำสั่งของเสนกะ
เห็นมโหสถมาแต่ไกลราว 3 โยชน์จึงมาแจ้งแก่เสนกะว่า มโหสถมากับบริวาร
เป็นอันมาก เสนกะได้ฟังประพฤติเหตุจึงได้ไปสู่ราชสำนัก ฝ่ายพระเจ้า
วิเทหราชประทับอยู่ ณ พื้นปราสาท ทอดพระเนตรภายนอกทางพระแกล
เห็นกองทัพใหญ่ ทรงรำพึงว่า เสนาของมโหสถน้อย ก็เสนานี้ปรากฏว่ามาก
เหลือเกิน พระเจ้าจุลนีเสด็จมากระมังหนอ ทรงรำพึงดังนี้ก็ทั้งทรงกลัวทั้งทรง
สะดุ้ง เมื่อจะตรัสถามอาจารย์ทั้ง 4 จึงตรัสว่า
เสนาคือกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบนั้น
ปรากฏมากมาย เป็นจตุรงคินีเสนาที่น่ากลัว บัณฑิต
ทั้งหลายสำคัญอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น เสนกะเมื่อจะกราบทูลข้อความนั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความยินดีอย่างสูงสุด
ย่อมปรากฏเฉพาะแด่พระองค์ มโหสถพากองทัพ
ทั้งปวงมาถึงแล้วโดยสวัสดี.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำของเสนกะจึงตรัสว่า ดูก่อนท่านเสนกะ
เสนาของมโหสถบัณฑิตน้อย ก็แต่นี่มากมาย เสนกะทูลตอบว่า มโหสถจัก
ทำให้พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใส พระเจ้าจุลนีทรงเลื่อมใสแล้วจักพระราชทาน
เสนาแก่มโหสถ พระเจ้าวิเทหราชจึงให้เอากลองตีป่าวร้องในพระนครว่า
ชาวเมืองทั้งหลายจงตกแต่งพระนครต้อนรับมโหสถบัณฑิต ชาวพระนครก็ทำ
ตามประกาศ มโหสถเข้าพระนครไปสู่ราชสำนัก ถวายบังคมพระเจ้าวิเทหราช
แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จลุกขึ้นสวมกอด
มโหสถแล้วประทับเหนือบัลลังก์อันประเสริฐ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารจึงตรัสว่า

คน 4 คน นำคนตายไปทิ้งไว้ในป่าช้าแล้วกลับ
ไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐแล้วกลับมา
ในที่นี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าเปลื้องตนพ้น
มาได้เพราะเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร หรือเพราะ
ผลอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร ชนา ความว่า แน่ะบัณฑิต
คน 4 คนนำคนตายไปป่าช้าด้วยเตียง ทิ้งคนตายนั้นไว้ในป่าช้านั้น ไม่เหลียว
แลไป ฉันใด พวกเราทิ้งเจ้าไว้ในกัปปิลรัฐมาที่นี้ ก็ฉันนั้น. บทว่า วณฺเณน
ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย. บทว่า อตฺถชาเตน
ได้แก่ ด้วยผล. บทว่า ปริโมจยิ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสถาม
มโหสถว่า เจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก เปลื้องตนพ้นมาได้ ด้วยเหตุอะไร
ด้วยปัจจัยอะไร ด้วยผลอะไร.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลตอบว่า
ข้าแต่พระจอมวิเทหรัฐ ข้าพระองค์ป้องกันข้อ
ความด้วยข้อความ ป้องกันความคิดด้วยความคิด
พระเจ้าข้า ใช่แต่เท่านั้น ข้าพระองค์ยังป้องกันพระ-
ราชา ดังสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น.

เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ป้องกัน
ข้อความที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยข้อความที่ข้าพระองค์คิดแล้ว ข้าพระองค์ป้องกัน
ความคิดที่พวกนั้นคิดไว้ ด้วยความคิดของข้าพระองค์ ใช่แต่เท่านั้น ข้า-
พระองค์ยังได้ป้องกัน พระราชาแม้นั้นผู้มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นบริวารถึงเพียงนี้
ทีเดียว ดุจสาครกั้นล้อมชมพูทวีปไว้ฉะนั้น มโหสถกล่าวกรรมที่ตนทำทั้งหมด
โดยพิสดาร.

พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงโสมนัส ลำดับนั้น
มโหสถบัณฑิตเมื่อจะทูลถึงบรรณาการที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตนให้
ทรงทราบ จึงทูลว่า
พระเจ้าจุลนีพระราชทานทอง 1,000 นิกขะ บ้าน
80 บ้านในแคว้นกาสี ทาสี 400 คน และภรรยา
100 คนแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้พาเสนางคนิกร
ของข้าพระองค์ทั้งหมดมาในที่นี้โดยสวัสดี.

แต่นั้น พระราชาทรงยินดีร่าเริงเหลือเกิน เมื่อจะตรัสสรรเสริญคุณ
ของพระมหาสัตว์ จึงทรงเปล่งอุทานนั้นนั่นแลว่า
แน่ะเสนกาจารย์ การอยู่ร่วมด้วยเหล่าบัณฑิต
เป็นสุขดีหนอ เพราะว่ามโหสถปลดเปลื้องพวกเรา
ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนก
ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ฝ่ายเสนกบัณฑิตเมื่อจะรับพระราชดำรัส ได้กล่าวคาถานั้นนั่นแลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายนำความ
สุขมาแท้จริงอย่างนี้ทีเดียว มโหสถปลดเปลื้องพวกเรา
ผู้ตกอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก ดุจบุคคลปลดเปลื้องฝูงนี้
ที่ติดอยู่ในกรง หรือฝูงปลาที่ติดอยู่ในแห ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชให้ตีกลองป่าวร้องในพระนครว่า ชาว-
เมืองจงเล่นมหรสพใหญ่ตลอดสัปดาห์ คนเหล่าใดมีความรักในตัวเรา คน
เหล่านั้นทั้งหมดจงทำสักการะและสัมมานะแก่มโหสถบัณฑิตเถิด.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
ชาวเมืองซึ่งนับว่าเกิดในแคว้นมคธ จงดีดพิณ
ทั้งปวง จงตีกลองเล็กกลองใหญ่และมโหระทึก จงพา

กันโห่ร้องบันลือเสียงให้เซ็งแซ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหญฺญนฺตุ ได้แก่ จงประโคมดนตรี.
บทว่า มาคธา สํขา ความว่า นับว่าเกิดในมคธรัฐ. บทว่า ทุนฺทภี ได้แก่
กองใหญ่.
ลำดับนั้น ชาวเมืองและชาวชนบทเหล่านั้น ตามปกติก็ใคร่จะกระทำ
สักการะแก่มโหสถบัณฑิตอยู่แล้ว ครั้นได้ยินเสียงกลองป่าวร้องก็ได้ทำสักการะ
กันเหลือล้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น ตรัสว่า
พวกฝ่ายใน พวกกุมาร พ่อค้า พราหมณ์
กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวชนบทและ
ชาวนิคม ร่วมกันนำข้าวน้ำเป็นอันมากมาให้แก่มโหสถ
บัณฑิต ชนเป็นอันมากได้เห็นมโหสถบัณฑิตกลับมา
สู่กรุงมิถิลา ก็พากันเลื่อมใส ครั้นมโหสถบัณฑิต
ถึงแล้ว ก็โบกผ้าอยู่ทั่วไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรธา จ ความว่า พวกฝ่ายในมี
พระนางอุทุมพรเทวีเป็นต้น. บทว่า อภิหารยุํ ความว่า ให้นำไปยิ่ง คือ
ส่งไป. บทว่า พหุชฺชโน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเป็นอันมาก
ทั้งชาวพระนคร ทั้งชาวบ้านสี่ประตูเมือง ทั้งชาวชนบท ได้เลื่อมใสแล้ว.
บทว่า ทิสฺวา ปณฺฑิตมาคเต ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตมากรุงมิถิลา
เห็นมโหสถบัณฑิตนั้น. บทว่า ปวตฺตถ ความว่า เมื่อมโหสถบัณฑิตถึง
กรุงมิถิลา มหาชนดีใจกล่าวว่า มโหสถบัณฑิตนี้ปลดเปลื้องพระราชาของพวก
เราที่ตกอยู่ในอำนาจของปัจจามิตรให้ปลอดภัยก่อน ภายหลังยังพระราชา
ร้อยเอ็ดให้ขมาโทษกันและกันทำให้สามัคคีกัน ยังพระเจ้าจุลนีให้เลื่อมใสพา
เอายศใหญ่ที่พระเจ้าจุลนีประทานมาแล้ว ได้โบกผ้ากันอยู่ทั่วไป.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ไปสู่ราชสำนักในวันสุดมหรสพกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ควรที่พระองค์จะส่งพระราชมารดา พระราชเทวี และ
พระราชโอรสของพระเจ้าจุลนีไปเสียโดยเร็ว พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงฟังคำ
มโหสถก็ตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงส่งไปเสีย มโหสถทำสักการะใหญ่แก่กษัตริย์
ทั่ง 3 นั้น และทำสักการสันมานะแก่เสนาผู้มากับตน ส่งกษัตริย์ทั้ง 3 แม้นั้น
กับพวกชนของตนไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ส่งภรรยา 100 คนและทาสี
400 คน ที่พระเจ้าจุลนีพระราชทานแก่ตน มอบถวายไปกับพระนางนันทา-
เทวี และส่งแม้เสนีผู้มากับด้วยตนไปกับชนเหล่านั้น.
พระนางนันทาเทวีสวมกอดพระธิดาจุมพิตที่พระเศียรแล้วตรัสว่า แม่
ลาเจ้าละ แน่ไปละ ตรัสฉะนี้ทรงกันแสงคร่ำครวญด้วยศัพท์สำเนียงอันดัง
ฝ่ายพระนางปัญจาลจันทีผู้พระธิดาทรงกราบพระราชมารดาแล้วทรงโศกาดูรทูล
ว่า พระมารดาอย่าละทิ้งลูกก่อน กษัตริย์ทั้ง 3 ออกจากพระนครด้วยบริวาร
เป็นอันมากถึงอุตตรปัญจาลนครโดยลำดับ ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัต
ตรัสถามพระราชมารดาว่า ข้าแต่พระมารดา พระเจ้าวิเทหราชทรงทำอนุเคราะห์
แด่พระองค์อย่างไร พระนางเจ้าสลากราชชนนีตรัสตอบว่า พ่อตรัสอะไร
พระเจ้าวิเทหราชตั้งแม่ไว้ในฐานเป็นเทวดาได้ทำสักการะแก่เราดังนั้นทาเทวีไว้
ในฐานเป็นพระราชมารดา ตั้งพ่อปัญจาลจันทกุมารในฐานเป็นราชกนิษฐภาดา
พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับพระราชชนนีรับสั่งก็ทรงยินดียิ่งนัก แล้วส่งบรรณาการ
เป็นอันมากไปถวายพระเจ้าวิเทหราช จำเดิมแต่นั้นกษัตริย์เจ้าพระนครทั้ง 2
ก็พร้อมเพรียงชื่นชมอยู่แล.
จบมหาอุมมังคกัณฑ์

พระนางปัญจาลจันทีได้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทห-
ราช ในปีที่ 2 พระนางเจ้านั้นประสูติพระโอรส ครั้นพระราชโอรสนั้นมี
พรรษาได้ 10 ปี พระเจ้าวิเทหราชผู้พระชนกสวรรคต มโหสถโพธิสัตว์ได้
ถวายราชสมบัติแด่พระกุมารนั้น แล้วทูลลาว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์จัก
ไปอยู่ราชสำนักพระเจ้าจุลนีพระอัยกาของพระองค์ พระราชานั้น ตรัสว่า
แน่ะบัณฑิต ท่านอย่าทิ้งข้าพเจ้าผู้ยังเด็กไปเสีย ข้าพเจ้าตั้งท่านไว้ในที่บิดา
จักทำสักการบูชา แม้พระนางเจ้าปัญจาลจันทีผู้พระชนนีก็ตรัสวิงวอนพระโพธิ-
สัตว์ว่า แน่ะบัณฑิต ในกาลเมื่อท่านไปเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
ขอท่านอย่าไปเลย มโหสถทูลว่า ข้าพระองค์ได้ถวายปฏิญาณไว้แด่พระเจ้าจุลนี
ข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะไม่ไป เมื่อมหาชนคร่ำครวญอยู่อย่างน่าสงสาร
มโหสถก็พาพวกอุปัฏฐากของตนออกจากพระนครไปถึงอุตตรปัญจาลราชธานี
พระเจ้าจุลนีทรงทราบว่ามโหสถมาถึง ก็เสด็จต้อนรับให้มโหสถเข้าพระนคร
ด้วยบริวารเป็นอันมาก ประทานเคหสถานใหญ่ให้มโหสถอยู่ แล้วประทาน
บ้าน 80 บ้านที่ประทานแล้ว แต่แรกและโภคสมบัติอื่น ๆ มโหสถก็รับราชการ
ณ ราชสำนักนั้น.
ในกาลนั้น มีปริพาชิกาคนหนึ่ง ชื่อเภรี เคยเข้าไปฉันในพระราช-
นิเวศน์ นางเป็นบัณฑิตฉลาด นางยังไม่เคยเห็นมโหสถ ได้สดับกิตติศัพท์ว่า
ได้ยินว่า มโหสถบำรุงพระราชา แม้มโหสถก็ยังไม่เคยเห็นปริพาชิกา ได้ยิน
แต่กิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า ปริพาชิกาชื่อเภรี ฉันในราชสถาน.
ฝ่ายพระนางนันทาเทวีไม่ชอบพระหฤทัยในพระโพธิสัตว์ว่า มโหสถ
ทำปิยวิปโยคให้เราลำบาก พระนางจึงตรัสสั่งเหล่าสตรีที่สนิทราว 500 คนว่า
เจ้าทั้งหลายจงพยายามหาโทษของมโหสถสักอย่างหนึ่ง แล้วทูลยุยงระหว่างพระ-

ราชาให้แตกกัน สตรีเหล่านั้นเที่ยวมองหาโทษของมโหสถอยู่ วันหนึ่งปริพา-
ชิกานั้นฉันแล้วออกไป ได้เห็นพระโพธิสัตว์มาสู่ราชุปัฏฐาน ณ พระลาน พระ-
โพธิสัตว์ไหว้ปริพาชิกาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ปริพาชิกาคิดว่า ได้ยิน
ว่า มโหสถนี้เป็นบัณฑิต เราจักรู้ความที่เธอเป็นบัณฑิตหรือไม่ใช่บัณฑิตก่อน
เมื่อจะถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ จึงแลดูมโหสถแล้วแรงมือออก ได้ยิน
ว่า นางถามปัญหาด้วยใจว่า พระเจ้าจุลนีนำมโหสถมาแต่ประเทศอื่น เดี๋ยวนี้
ทรงบำรุงเช่นไรหรือไม่ได้ทรงบำรุง พระโพธิสัตว์รู้ว่า นางเภรีปริพาชิกา
ถามปัญหาเราด้วยเครื่องหมายแห่งมือ เมื่อจะแก้ปัญหาจึงกำมือ ได้ยินว่า
มโหสถแก้ปัญหาด้วยใจว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า พระราชาทรงรับปฏิญาณของ
ข้าพเจ้าแล้วให้เรียกมา เดี๋ยวนี้เป็นผู้เหมือนกับกำพระหัตถ์ไว้มั่นยังไม่พระ-
ราชทานอะไร ๆ ที่พระองค์ยังไม่เคยพระราชทานแก่ข้าพเจ้า นางเภรีรู้ถ้อยคำ
ของมโหสถจึงยกมือขึ้นลูบศีรษะของตน นางแสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า
แน่ะบัณฑิต ถ้าท่านลำบาก เหตุไรท่านจึงไม่บวชเหมือนอาตมาเล่า พระ-
มหาสัตว์รู้ความนั้นจึงลูบท้องของตน แสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า ข้าแต่
ผู้เป็นเจ้า บุตรและภรรยาข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมาก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้ายังไม่
บวช นางเภรีถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือแล้วไปสู่อาวาสของตน ฝ่าย
มโหสถไหว้นางแล้วไปสู่ราชุปัฏฐาน.
พวกสตรีคนสนิทที่พระนางนันทาเทวีประกอบยืนอยู่ที่หน้าต่าง เห็น
กิริยานั้น จึงไปเฝ้าพระเจ้าจุลนี ทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถอยู่
ในที่เดียวกับนางเภรีปริพาชิกา เป็นผู้ใคร่จะชิงราชสมบัติ ย่อมเป็นศัตรู
ของพระองค์ พระราชาได้ทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่าพวกเจ้าได้เห็น
หรือได้ฟังอะไร สตรีเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช ปริพาชิกาฉันแล้วลง
จากปราสาท เห็นมโหสถ แล้วเหยียดมือออกหมายให้รู้ความว่า ท่าน
สามารถจะทำพระราชาให้เป็นดังฝ่ามือ หรือให้เป็นดังลานนวดข้าวให้เสมอ

แล้วทำราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน ฝ่ายมโหสถเมื่อแสดงอาการจับดาบ ได้
กำมือเข้า หมายให้รู้ว่า เราจะตัดศีรษะพระราชาโดยวันล่วงไปเล็กน้อยแล้ว
ทำราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน ปริพาชิกายกมือของตนขึ้นลูบศีรษะหมายให้รู้ว่า
ท่านจะตัดศีรษะพระราชาเท่านั้น หรือ มโหสถลูบท้อง หมายให้รู้ว่า เราจะ
ตัดกลางตัวเสียด้วย ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงไม่ประมาท ควรที่พระองค์
จะฆ่ามโหสถเสียก่อน พระเจ้าจุลนีได้ทรงฟังถ้อยคำของสตรีเหล่านั้น จึงทรง
ดำริว่า มโหสถไม่อาจจะประทุษร้ายในเรา เราจักถามปริพาชิกาก็จักรู้ความ
อีกวันหนึ่งในกาลเมื่อปริพาชิกาฉันแล้ว พระองค์เข้าไปหานางตรัสถามว่า
ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นเจ้าพบมโหสถบ้างหรือ นางทูลว่า เมื่อวานนี้อาตมะ
ฉันแล้วออกไปจากที่นี้ได้พบเธอ ตรัสถามว่าได้เจรจาสนทนาอะไรกันบ้าง
นางทูลว่า หาได้พูดอะไรกันไม่ เป็นแต่อาตมะได้ยินว่า เธอเป็นนักปราชญ์
จึงถามปัญหาเธอด้วยเครื่องหมายแห่งมือ ด้วยมนสิการว่า ถ้าเธอเป็นนักปราชญ์
เธอจักรู้ปัญหานี้ จึงได้แบมือออกให้สำคัญรู้ว่า พระราชาของท่านเป็นผู้มี
พระหัตถ์แบ หรือมีพระหัตถ์กำ คือได้ทรงสงเคราะห์อะไรท่านบ้าง หรือมิได้
ทรงสงเคราะห์ มโหสถได้กำมือให้หมายรู้ว่า พระราชารับปฏิญาณของข้าพเจ้า
ไว้แล้วตรัสเรียกมา เดี๋ยวนี้ยังไม่ได้พระราชทานอะไร ทีนั้นอาตมะจึงลูบศีรษะ
ให้หมายความว่า ถ้าท่านลำบาก ทำไมท่านไม่บวชดังอาตมะเล่าฝ่ายมโหสถ
ลูบท้องของตนให้ทราบว่า บุตรภรรยาอันข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมีมากเกินจะต้อง
ให้เต็มท้องกันมิใช่น้อย เหตุนี้จึงยังบวชไม่ได้ พระราชาจึงตรัสถานต่อไปว่า
ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า มโหสถเป็นนักปราชญ์หรือ นางเภรีทูลว่า บุคคลอื่นชื่อว่า
เป็นนักปราชญ์เช่นมโหสถย่อมไม่มีในพื้นแผ่นดิน พระราชาได้ทรงฟังถ้อยคำ
แห่งนางเภรีแล้ว ทรงนมัสการแล้วอาราธนาให้กลับ ในกาลเมื่อนางเภรีไปแล้ว
มโหสถได้เข้าไปสู่ราชุปัฏฐาน.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าได้พบ
นางเภรีปริพาชิกาบ้างหรือ มโหสถกราบทูลโดยนิยมแห่งข้อความที่นางทูล
แล้วว่า เมื่อวานนี้นางออกไปจากพระราชนิเวศน์ ข้าพระองค์ได้พบนาง
นางถามปัญหาข้าพระองค์ด้วยเครื่องหมายแห่งมืออย่างนั้น แม้ข้าพระองค์
ก็ได้แก้ปัญหาของนางอย่างนั้น พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานที่เสนาบดี
แก่มโหสถในวันนั้น ให้มโหสถรับราชกิจทั้งปวง มโหสถก็มีเกียรติยศ
ใหญ่ในระหว่างอิสริยยศที่ได้รับพระราชทาน มโหสถคิดว่า พระราชา
พระราชทานอิสริยยศยิ่งใหญ่ในคราวเดียว ก็แต่พระราชาทั้งหลายแม้ทรงใคร่
จะยังเราให้ตาย ก็ย่อมทรงทำอย่างนี้เอง ไฉนหนอเราจะทดลองพระราชาว่า
เป็นผู้มีพระหฤทัยดีต่อเราหรือหาไม่ ก็แต่บุคคลอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ นางเภรี
ปริพาชิกาผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้นแหละจักรู้ได้โดยอุบาย ครั้นคิดฉะนี้แล้ว
จึงถือของหอมมีดอกไม้เป็นต้น เป็นอันมากไปสู่อาวาสปริพาชิกา บูชาไหว้นาง
แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่วันที่ท่านกล่าวคุณกถาของข้าพเจ้าแด่
พระราชา พระราชาพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่ข้าพเจ้าราวกะว่าจะทับถม แต่
ข้าพเจ้าหาทราบยศที่พระราชทานนั้นไม่ว่า พระราชทานโดยปกติหรือโดยพิเศษ
ดีแล้ว ท่านพึงรู้ความที่พระราชาโปรดปรานข้าพเจ้าละหรือ โดยอุบายอันหนึ่ง
นางเภรีรับคำ.
อีกวันหนึ่งเมื่อไปสู่พระราชนิเวศน์ ได้คิดปัญหาชื่อว่า ทกรักขสปัญหา
ดังได้สดับมา ความปริวิตกอย่างนี้ได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า เราเป็นเหมือน
คนสอดแนม จักทูลถามพระราชาโดยอุบาย ก็จักรู้ว่า พระองค์มีพระ-
หฤทัยดีต่อมโหสถหรือหาไม่ นางไปทำภัตกิจแล้วนั่งอยู่ ฝ่ายพระราชาทรง
นมัสการนางเภรีแล้วก็ประทับนั่งอยู่ ความปริวิตกได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า ถ้า
พระราชาจักเป็นผู้มีพระหฤทัยร้ายต่อมโหสถ เราทูลถามปัญหา จักตรัสความ
ที่พระองค์มีพระหฤทัยร้ายในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นจะไม่สมควร เราจักต้อง

ทูลถามพระองค์ในที่ควรแห่งหนึ่ง นางจึงทูลว่า อาตมะปรารถนาที่ลับ พระราชา
จึงให้ชนทั้งหลายกลับไปเสีย ลำดับนั้น นางเภรีจึงทูลขอวโรกาสแด่พระราชาว่า
อาตมะจักทูลถามปัญหากะพระองค์ พระราชาตรัสอนุญาตว่า ถามเถิดผู้เป็นเจ้า
ข้าพเจ้ารู้ก็จักกล่าวแก้ ลำดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามทกรักขส-
ปัญหา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
ถ้าว่าผีเสื้อน้ำผู้แสวงหาเครื่องเส้นมนุษย์ จับเรือ
ของพระนางสลากเทวีพระราชชนนี พระนางนันทา
เทวีพระมเหสี พระติขิณมนตรีกุมารพระอนุชา ธนุ-
เสขกุมารพระสหาย เกวัฏพราหมณ์ราชปุโรหิตาจารย์
มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวม 7 ซึ่งแล่นอยู่ใน
ทะเล พระองค์จะประทานใครอย่างไรให้เป็นลำดับ
แก่ผีเสื้อน้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตนฺนํ ความว่า ของคน 7 คน
เหล่านั้น คือ พระชนนีของพระองค์ 1 พระนางนันทาเทวี 1 ติขิณมนตรีกุมาร
ธนุเสขพระสหาย 1 ปุโรหิต 1 มโหสถ 1 และพระราชา 1. บทว่า อุทกณฺณเว
ได้แก่ ในน้ำทั้งลึกทั้งกว้าง. บทว่า มนุสฺสพลิเมสาโน ความว่า แสวงหา
เครื่องเส้นด้วยมนุษย์. บทว่า คณฺเหยฺย ความว่า ผีเสื้อน้ำถึงพร้อมด้วย
เรี่ยวแรง โผล่ขึ้นจากน้ำจับเรือนั้นไว้ ก็และครั้น จับแล้วกล่าวว่า ท่านจงให้
ชน 7 คนเหล่านั้นแก่ข้าพเจ้าตามลำดับ ข้าพเจ้าจะปล่อยท่านไป เมื่อเป็น
อย่างนี้ พระองค์จะจัดลำดับให้อย่างไร. บทว่า มุญฺเจสิ ทกรกฺขโต
ความว่า พึงจัดลำดับคนที่หนึ่งถึงคนที่หกให้อย่างไร.
พระเจ้าจุลนีทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงสำแดงตามพระราชอัธยาศัย
จึงตรัสคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้าจักให้พระมารดาก่อน ให้มเหสี กนิษฐ-
ภาดา แต่นั้นให้สหาย ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่
ให้ตนเองเป็นที่ 6 ไม่ให้มโหสถแท้ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฏฺฐาหํ ความว่า เมื่อผีเสื้อน้ำเคี้ยวกิน
พราหมณ์เป็นคนที่ 5 แล้ว ลำดับนั้นข้าพเจ้าจะกล่าวว่า พ่อผีเสื้อน้ำ จงอ้าปาก
เมื่อมันอ้าปากแล้ว ข้าพเจ้าจะพันรักแร้ให้มั่น ไม่คำนึงถึงสิริราชสมบัติ
กล่าวว่า จงเคี้ยวกินข้าพเจ้าในบัดนี้ แล้วโดดเข้าปากมัน เมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิต
อยู่ จะไม่ให้มโหสถบัณฑิตอย่างแน่นอน.
ปัญหานี้จบด้วยกถามรรคเท่านี้
ความที่พระราชามีพระหฤทัยดีในพระมหาสัตว์ อันปริพาชิการู้แล้ว
ด้วยประการฉะนี้ แต่คุณของมโหสถบัณฑิตได้ปรากฏด้วยกถามรรคเพียงนี้เท่า
นั้นก็หาไม่ เพราะเหตุนั้น ความปริวิตกได้มีแก่นางเภรีว่า เราจะกล่าวคุณของ
เขานั้น ๆ ในท่ามกลางมหาชน พระราชาจักแสดงโทษของเขาเหล่านั้น แล้ว
ทรงสรรเสริญคุณของมโหสถบัณฑิต คุณของมโหสถบัณฑิตก็จักปรากฏ
ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นในท้องฟ้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้
นางจึงยังมหาชนในเมืองทั้งหมดให้ประชุมกัน แล้วทูลถามปัญหานั้น
นั่นแหละก็พระราชาอีกจำเดิมแต่เบื้องต้น ครั้นพระราชาทรงแสดงอย่างนั้น
แล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งว่าจักประทานพระชนนีก่อน
ก็ธรรมดาว่ามารดามีคุณูปการมาก พระราชมารดาของพระองค์เช่นกับมารดา
ของชนเหล่าอื่นก็หาไม่ พระราชมารดาของพระองค์มีพระอุปการะมาก เมื่อ
จะแสดงพระคุณแห่งพระราชมารดา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า

พระราชชนนีของพระองค์เป็นผู้บำรุงเลี้ยง และ
ให้ประสูติ เป็นผู้อนุเคราะห์ตลอดราตรีนาน พราหมณ์
ชื่อฉัพภิ ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็น
ผู้ฉลาดเห็นประโยชน์เป็นปกติ ทำรูปเปรียบอื่นปลด
เปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์ พระองค์จะ
ประทานพระชนนีผู้มีพระมนัสคงที่ ประทานพระ-
ชนมชีพ ผู้ให้ทรงเจริญระหว่างพระทรวง ทรงไว้ซึ่ง
พระครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปเสตา ความว่าง ทรงให้อาบ ให้ดื่ม
ให้บริโภค วันละสองสามครั้ง เลี้ยงดูพระองค์ในเวลายังทรงพระเยาว์. บทว่า
ทีฆรตฺตานุกมฺปิกา ความว่า ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระหฤทัยอ่อนตลอด
กาลนาน. บทว่า ฉพฺภิ ตยิ ปฏฺฐาสิ ความว่า พราหมณ์ชื่อว่าฉัพภิ ประ-
ทุษร้ายในพระองค์ ในกาลใด เมื่อพราหมณ์นั้นประทุษร้ายในพระองค์ พระ
ราชมารดานั้นเป็นผู้ฉลาดเห็นประโยชน์เป็นปกติ ได้ทำรูปอื่นเปรียบรูป
พระองค์ ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์.
ดังได้สดับมาว่า พระชนกของพระเจ้าจุลนี มีพระนามว่า มหาจุลนี
พระนางสลากเทวีเป็นพระมเหสีได้ทำชู้กับพราหมณ์อันมีชื่อว่าฉัพภินั้น ได้ปลง
พระชนม์พระเจ้ามหาจุลนียกราชสมบัติให้พราหมณ์ เป็นมเหสีแห่งพราหมณ์นั้น
ในกาลเมื่อพระเจ้าจุลนียังทรงพระเยาว์ วันหนึ่ง จุลนีราชกุมารทูลว่า ข้าแต่
พระมารดา หม่อมฉันหิว จึงให้ของควรเคี้ยวพร้อมกับน้ำอ้อยแก่พระโอรส
แมลงวันทั้งหลายตอมล้อมพระกุมารนั้น พระกุมารนั้นทรงคิดว่า เราจักเคี้ยว
กินของควรเคี้ยวนี้ไม่ให้มีแมลงวัน จึงเลี่ยงไปหน่อยหนึ่งแล้ว ยังหยาดแห่ง
น้ำอ้อยให้ตกลงยังพื้น แล้วไล่แมลงวันที่สำนักตนให้หนีไป แมลงวันเหล่านั้น

ก็พากันไปตอมน้ำอ้อยที่พื้นนั้น ราชกุมารเสวยของควรเคี้ยวไม่ให้มีแมลงวัน
แล้ว ล้างพระหัตถ์ทั้งสองบ้วนพระโอฐแล้วหลีกไป พราหมณ์ได้เห็นกิริยา
แห่งราชกุมารนั้นจึงคิดว่า กุมารนี้กินน้ำอ้อยไม่มีแมลงวันในบัดนี้ เจริญวัย
แล้วจักไม่ให้ราชสมบัติแก่เรา เราจักยังกุมารนั้นให้ตายเสียในเคี้ยวนี้ทีเดียว
พราหมณ์จึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่พระนางสลากเทวี พระนางตรัสตอบว่า ดี
แล้ว เทพเจ้า ข้าพระเจ้ายังพระภัสดาของตนให้สิ้นพระชนม์ด้วยความรักใน
พระองค์ ต้องการอะไรด้วยกุมารนี้แก่ข้าพระเจ้า ณ บัดนี้ ข้าพระเจ้าจักมิให้
มหาชนรู้ยังกุมารให้ตายโดยความลับ ตรัสฉะนั้นแล้วลวงพราหมณ์ว่า อุบายนี้
มีอยู่ พระนางสลากเทวีเป็นผู้มีปรีชาฉลาดในอุบาย จึงให้เรียกพ่อครัวมาตรัส
ว่า บุตรของข้าจุลนีกุมารกับบุตรของเจ้าชื่อธนุเสขกุมารเกิดวันเดียวกัน เจริญ
ด้วยกุมารแวดล้อม เป็นสหายที่รักแห่งกัน เดี๋ยวนี้ฉัพภิพราหมณ์ใคร่จะยัง
บุตรของข้าให้ตาย เจ้าจงให้ชีวิตแก่บุตรของข้า ครั้นพ่อครัวทูลว่า ดีแล้ว
พระเทวี แต่ข้าพระองค์จักทำอย่างไร จึงรับสั่งว่า บุตรของข้าจึงอยู่ในเรือน
ของเจ้าทุกวัน เจ้าและบุตรของข้าและบุตรของเจ้าจงนอนในห้องเครื่อง เพื่อ
มิให้ใครสงสัย สิ้นวันเล็กน้อย แต่นั้นรู้ว่าไม่มีใครสงสัยแล้ว วางกระดูกแพะ
ไว้ในที่นอนของเจ้าทั้งสาม แล้วจุดไฟที่ห้องเครื่องในเวลามหาชนหลับ แล้ว
อย่าให้ใครรู้ พาบุตรของข้าและบุตรของเจ้าออกจากประตูน้อยไปนอกแคว้น
อย่าบอกความที่บุตรของข้าเป็นพระราชโอรส แล้วตามรักษาชีวิตบุตรของข้าไว้
พ่อครัวรับพระเสาวนีย์ว่าสาธุ ลำดับนั้น พระนางประทานธนสารแก่พ่อครัว
นั้น พ่อครัวได้ทำอย่างนั้น พาบุตรของตนและพระราชกุมารไปสู่สากลนคร
ในมัททรัฐ แล้วบำรุงพระเจ้ามัททราช พระเจ้ามัททราชให้พ่อครัวคนเก่าออก
ประทานตำแหน่งนั้น แก่พ่อครัวใหม่นั้น แม้กุมารทั้งสองนี้ก็ไปสู่พระราชนิเวศ
กับพ่อครัวนั้น พระราชาตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้บุตรใคร พ่อครัว
ทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ พระเจ้ากรุงสากลนครตรัสว่า หน้าตาไม่เหมือน

กันไม่ใช่หรือ พ่อครัวทูลว่า คนละแม่พระเจ้าข้า ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ๆ จุลนี
ราชกุมารแลธนุเสขกุมารบุตรพ่อครัวทั้งสองเป็นผู้คุ้นเคยเล่นด้วยกันกับพระ-
ธิดาของพระราชาในพระราชนิเวศน์นั่นเอง ลำดับนั้น จุลนีราชกุมารกับ
นันทาราชธิดาของพระเจ้านัททราชได้เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์กันและกัน เพราะเห็น
กันทุกวัน จุลนีราชกุมารให้ราชธิดานำลูกข่างและเชือกบ่วงมาในสถานที่เล่น
ราชกุมารตีเศียรราชธิดาผู้ไม่นำมา ราชธิดาก็กันแสง ลำดับนั้น พระราชาได้
ทรงฟังเสียงพระธิดา จึงตรัสถามว่า ใครตีธิดาของข้า นางนมทั้งหลายมาถาม
ว่า ใครตีแม่เจ้า นางกุมาริกาคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ราชกุมารนี้ตีฉัน พระบิดา
ของเราจักลงราชทัณฑ์แก่เธอ คิดฉะนี้จึงไม่ตรัสว่าราชกุมารตี ด้วยความ
เสนหาในราชกุมารนั้น จึงตรัสว่า ใครไม่ได้ตีฉันดอก ลำดับนั้น พระเจ้า-
มัททราชได้ทอดพระเนตรเห็นจุลนีราชกุมารตี ก็เพราะได้ทอดพระเนตรเห็น
เอง ความปริวิตกได้มีแด่พระราชา กุมารนี้ไม่เหมือนพ่อครัว เป็นผู้มีรูปงาม
น่าเลื่อมใส เป็นผู้ไม่สะดุ้งกลัวเกินเปรียบ กุมารนี้ไม่ใช่บุตรพ่อครัว จำเดิม
แต่นั้นมา พระราชาก็ทรงสังเกตกุมารนั้น นางนมทั้งหลายนำของควรเคี้ยว
มาในที่เล่นถวายราชธิดา ราชธิดาก็ประทานแก่เด็กอื่น ๆ เด็กเหล่านั้น คุกเข่า
น้อมตัวลงรับ ฝ่ายจุลนีราชกุมารยืนแย่งเอาจากพระหัตถ์แห่งราชกุมารี แม้
พระราชาก็ได้ทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น ครั้งนั้น ในวันหนึ่ง ลูกข่างของจุลนี
ราชกุมารเข้าไปภายใต้ที่บรรทมน้อยของพระราชา จุลนีราชกุมารเมื่อจะหยิบ
ลูกข่างนั้น เอาไม้เขี่ยออกมาถือเอา ด้วยคิดว่า เราจักไม่เข้าภายใต้ที่บรรทม
แห่งพระราชาในปัจจันตประเทศนี้ ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น
เข้าพระหฤทัยว่า กุมารนี้ไม่ใช่บุตรแห่งพ่อครัวแน่ จึงให้เรียกพ่อครัวมา
ตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้ บุตรใคร พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ทั้ง

สองคน พระเจ้าข้า พระราชาตรัสคุกคามว่า ข้ารู้ว่าบุตรของเจ้าหรือไม่ใช่
บุตรของเจ้า เจ้าจงบอกแต่ความเป็นจริง ถ้าเจ้าไม่บอกความจริง ชีวิตของ
เจ้าจักไม่มี ตรัสฉะนั้นแล้วเงื้อพระแสงขรรค์ พ่อครัวกลัวแต่มรณภัยจึงทูลว่า
ข้าแข้เทพเจ้า ข้าพระองค์ต้องการที่ลับ ครั้นพระราชาประทานโอกาสแล้ว
จึงขอพระราชทานอภัยแล้วทูลตามความเป็นจริง พระราชาทรงทราบตามจริง
แล้ว จึงให้แต่งพระธิดาของพระองค์ประทานให้เป็นบาทบริจาริกาแก่จุลนี
ราชกุมาร.
ก็ในวันที่พ่อครัว จุลนีราชกุมาร และบุตรพ่อครัวหนี โกลาหลเป็น
อันเดียวได้มีในพระนครอุตตรปัญจาละทั้งสิ้นว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมาร และ
บุตรพ่อครัว เมื่อไฟไหม้ห้องเครื่อง ได้ไหม้เสียแล้วในภายในด้วยกัน พระ-
นางสลากเทวีทรงทราบประพฤติเหตุนั้น จึงแจ้งแก่พราหมณ์ว่า ข้าแต่เทพเจ้า
ความปรารถนาของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ได้ยินว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมาร
และบุตรพ่อครัวทั้ง 3 คน ไฟไหม้แล้วในห้องเครื่องนั่นเอง พราหมณ์ยินดี
ร่าเริง ฝ่ายพระนางสลากเทวีให้นำกระดูกแพะมาแสดงแก่พราหมณ์ว่า อัฐิแห่ง
จุลนีกุมาร แล้วให้ทิ้งเสีย นางเภรีประพาชิกาหมายเอาเนื้อความนี้กล่าวในคาถา
ว่า พระราชมารดาทรงทำรูปเปรียบอื่น ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลง
พระชนม์ ก็พระราชมารดานันทรงแสดงกระดูกแพะว่ากระดูกมนุษย์ปลดเปลื้อง
พระองค์จากการปลงพระชนม์. บทว่า โอรสํ ความว่า ผู้ทำพระองค์ไว้ที่.
พระทรวงให้เจริญแล้วนั้น เป็นที่รักเป็นทราโปรดปราน. บทว่า คพฺภธารินึ
ความว่า พระองค์จักประทานพระราชมารดาผู้ทรงพระองค์ไว้ด้วยพระครรภ์
เห็นปานนี้นั้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับคำนางเภรีปริพาชิกาดังนั้นแล้ว ตรัส
ว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า คุณของพระชนนีของข้าพเจ้ามีมาก และข้าพเจ้าก็รู้ความ

ที่พระชนนีมีอุปการะแก่ข้าพเจ้า แต่คุณของข้าพเจ้านี่แหละมีมากกว่านั้น เมื่อ
จะทรงพรรณนาโทษของพระมารดา จึงตรัสคาถา 2 คาถาว่า
พระมารดาทรงชราแล้วก็ทำเป็นสาว ทรง
เครื่องประดับซึ่งไม่ควรประดับ ตรัสซิกซี้สรวลเส
เฮฮากะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้าจนเกินเวลา
ยิ่งกว่านั้นพระมารดายังสั่งทูตถึงพวกเจ้าผู้ครองนคร
เสียเอง ข้าพเจ้าจึงให้พระชนนี แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษ
นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหรา วิย ความว่า แม้ทรงชราแล้ว
ก็ยังทรงเครื่องประดับ คือแต่งพระองค์เหมือนคนสาว. บทว่า อปิลนฺธนํ
ได้แก่ ไม่ควรประดับ ได้ยินว่า พระนางสลากเทวีนั้นทรงประดับสายรัดเอว
ทองเต็มไปด้วยเพชร ทรงดำเนินไป ๆ มา ๆ ในเวลาที่พระราชาประทับ ณ
มหาปราสาทกับเหล่าอมาตย์ ทั่วพระราชนิเวศน์ได้ดังก้องเป็นอันเดี่ยวกันด้วย
เสียงของสายรัดเอว. บทว่า ปชคฺฆติ ความว่า ทรงเรียกพวกคนเฝ้าประตู
และพวกฝึกช้างฝึกม้าเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ไม่สมควรจะบริโภคแม้อาหารอันเป็น
เดนของพระนางมาสรวลเสเฮฮากับพวกเหล่นั้นจนเกินเวลา. บทว่า ปฏิรา-
ชานํ
ได้แก่ พวกเจ้าครองนคร. บทว่า สยํ ทูตานิ สาสติ ความว่า
ทรงพระอักษรเองว่าเป็นคำของข้าพเจ้าแล้วส่งทูตไปว่า พระชนนีของเราตั้ง
อยู่ในวัยที่บุคคลควรใคร่ เจ้านั้น ๆ จงมานำพระชนนีไป พวกเจ้าครองนคร
เหล่านั้นส่งราชสาสน์ตอบมาว่า พวกข้าพระองค์เป็นอุปัฏฐากของพระองค์
เหตุไรพระองค์จึงตรัสแก่พวกข้าพระองค์อย่างนี้ เมื่อเขาอ่านราชสาสน์นั้น ๆ
ในท่านกลางที่ประชุม ได้เป็นเหมือนเวลาที่ตัดเศียรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
ให้พระชนนีนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

นางเภรีได้ฟังพระราชดำรัสแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์
จะประทานพระราชมารดาด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นผู้
มีพระคุณ เมื่อจะพรรณนาคุณของพระนางนันทาเทวีมเหสีนั้น ได้กล่าวคาถา
2 คาถาว่า
พระนางนันทาเทวีเป็นพระมเหสีผู้ประเสริฐกว่า
หมู่บริจาริกานารี มีพระเสาวนีย์เป็นที่รักเหลือเกิน
เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จ
ประดุจพระฉายา ไม่ทรงพิโรธง่าย ๆ เป็นผู้มีบุญ
เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์ พระองค์จักประทานพระ-
ราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีคุมฺพสฺส ได้แก่ หมู่สตรี. บทว่า
อนุพฺพตา ความว่า จำเดิมแต่เวลาทรงพระเยาว์ เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ
คือไปตามที่ควร เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จประดุจพระฉายา ก็นางเภรี
ปริพาชิกาเมื่อจะกล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีนั้น โดยบทว่า อกฺโกธน
เป็นต้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาประทับอยู่ในสากลนครในมัททรัฐ พระนาง
นันทาเทวีแม้ถูกพระองค์ตี ก็ไม่ทูลฟ้องพระชนกชนนีด้วยความเสน่หาใน
พระองค์ เพราะกลัวจะลงอาญาพระองค์ พระนางนั้นเป็นผู้ไม่โกรธ มีบุญ
เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์อย่างนี้ ดังนี้ หมายเอาความไม่โกรธเป็นต้นใน
เวลาที่ยังทรงพระเยาว์. บทว่า อุพฺพรึ ได้แก่ พระมเหสี นางเภรีกล่าวว่า
พระองค์จักประทานพระนางนันทาเทวีผู้สมบูรณ์ด้วยคุณอย่างนี้ แก่ผีเสื้อน้ำ
ด้วยโทษอะไร.

พระเจ้าจุลนีเมื่อจะทรงแสดงโทษของพระนางนันทาเทวีผู้มเหสีนั้น
ได้ตรัสคาถานี้ว่า
พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ว่าข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วย
ความยินดีในการเล่น ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสผู้ทำ
ความพินาศ ก็ขอทรัพย์คือเครื่องประดับที่ข้าพเจ้าให้
แก่บุตรธิดาและชายาอื่น ๆ ซึ่งไม่ควรขอกะข้าพเจ้า
ข้าพเจ้านั้นมีความกำหนัดนักแล้ว ก็ให้ทรัพย์คือเครื่อง
ประดับทั้งประณีตทั้งทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่
ไม่ควรสละแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้า
ให้พระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถวสมาคตํ/B> ความว่า รู้ว่าข้าพเจ้า
ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสที่ทำความพินาศ เพราะความยินดีในการเล่น คือ
กามกีฬานั้น. บทว่า สา มํ ความว่า พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ข้าพเจ้า. บทว่า
สกานํ ปุตฺตานํ ความว่า เครื่องประดับอันใดที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาและ
ภรรยาทั้งหลายของข้าพเจ้า นางขอเครื่องประดับอันนั้น ซึ่งไม่ควรจะขอ ว่า
จงให้แก่หม่อมฉัน. บทว่า ปจฺฉา โสจานิ ความว่า ในวันที่สอง พระนาง
กล่าวกะบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าว่า เครื่องประดับเหล่านี้ พระราชาประทานแก่
เราแล้ว ท่านทั้งหลายจงนำมาให้เรา ดังนี้ เมื่อบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าร้องไห้
อยู่ ก็เปลื้องเอาไป ต่อมาข้าพเจ้าเห็นบุตรเป็นต้นเหล่านั้นร้องไห้มาหาข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าก็เศร้าโศกภายหลัง พระนางนันทาเทวีนี้ทำโทษอย่างนี้ ข้าพเจ้าให้นาง
แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

ลำดับนั้น ปริพาชิกาเภรีเมื่อจะทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์จะ
ประทานพระมเหสีด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่ติขิณกุมารพระกนิษฐภาดา มีอุปการะ
แด่พระองค์ พระองค์จักประทานเขาด้วยโทษอะไร ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
พระกนิษฐภาดาผู้มีพระนามว่าติขิณราชกุมารยัง
ชนบทให้เจริญ เชิญเสด็จพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ
สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ ทรงอันเคราะห์
พระองค์ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็น
อันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านาย
ขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลัก-
แหลมทั้งหลาย พระองค์จักประทานพระกนิษฐภาดา
แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยโนจิตา ได้แก่ ที่ให้เจริญแล้ว. บทว่า
ปฏิคฺคหํ ความว่า และที่นำพระองค์ผู้ประทับอยู่ในประเทศอื่น กลับมาสู่
พระราชมณเฑียร. บทว่า อภิฏฺฐาย ได้แก่ ครอบงำแล้ว. บทว่า ติขิณฺ-
มนฺตินํ
ได้แก่ ผู้มีปัญญาแหลมคม.
ได้ยินว่า ติขิณราชกุมารนั้น ประสูติในกาลเมื่อพระราชมารดาอยู่ร่วม
กับพราหมณ์ เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญแล้ว พราหมณ์ได้ให้พระแสงขรรค์
สั่งว่า เจ้าจงถือพระแสงขรรค์นี้เข้าหาข้าได้ พระราชกุมารนั้นก็บำรุงพราหมณ์
ด้วยสำคัญว่าเป็นพระชนกของตน ลำดับนั้น อมาตย์คนหนึ่งได้ทูลพระราช-
กุมารว่า ข้าแต่พระราชกุมาร พระองค์มิใช่เป็นพระโอรสแห่งพราหมณ์นี้ ใน
เวลาเมื่อพระองค์ยังอยู่ในพระครรภ์ พระนางสลากเทวีผู้เป็นพระราชมารดาให้
ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย แล้วมอบราชสมบัติแก่พราหมณ์นี้ พระองค์
เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาจุลนี พระราชกุมารได้สดับประพฤติเหตุนั้น

ก็กริ้ว ดำริว่า ช่างเถิด เราจักฆ่าพราหมณ์นั้นเสียด้วยอุบายอย่างหนึ่ง แล้ว
เข้าไปสู่ราชสำนัก ประทานพระแสงขรรค์แก่มหาดเล็กใกล้ชิดคนหนึ่ง แล้ว
ตรัสกะมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่า เจ้าจงยืนอยู่แทบประตูพระราชนิเวศน์ กล่าวกะ
มหาดเล็กที่ถือพระขรรค์นั้นว่า นั่นพระขรรค์ของเรา แล้วพึงก่อวิวาทกับ
มหาดเล็กคนนั้น ตรัสสั่งฉะนี้แล้วเสด็จเข้าข้างใน มหาดเล็กทั้งสองนั้นได้
ทะเลาะกัน พระราชกุมารส่งบุรุษคนหนึ่งไปเพื่อให้รู้ว่า นั่นทะเลาะอะไรกัน
บุรุษนั้นมาทูลว่า ทะเลาะกันด้วยต้องการพระขรรค์ลำดับนั้น พราหมณ์ได้ฟัง
ดังนั้นจึงถามพระราชกุมารว่า เรื่องเป็นอย่างไร พระราชกุมารกล่าวว่า ได้ยิน
ว่า พระขรรค์ที่พระองค์ประทานแก่หม่อมฉัน เป็นของคนอื่น พราหมณ์
กล่าวว่า พูดอะไรพ่อ ถ้าอย่างนั้น จงให้เขานำมา ฉันจำพระขรรค์นั้น ได้
พระราชกุมารให้นำพระขรรค์นั้นมาแล้วชักออกจากฝัก ทำเป็นให้จำได้ด้วย
คำว่า เชิญทอดพระเนตรเถิด เข้าไปใกล้พราหมณ์นั้นแล้วตัดศีรษะพราหมณ์
นั้น ให้ตกลงแทบพระบาทของคนด้วยการฟันฉับเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้น เมื่อ
นำศพพราหมณ์ออกจากพระราชนิเวศน์ แล้วได้จัดแต่งพระราชนิเวศน์ตกแต่ง
พระนครอภิเษกพระราชกุมารนั้น พระชนนีแจ้งว่าจุลนีราชกุมารอยู่ในมัททรัฐ
พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น แวดล้อมด้วยเสนางคนิกรเสด็จมัททรัฐ นำ
พระเชษฐาธิราชมาให้ครองราชสมบัติ จำเดิมแต่นั้นมา ชนทั้งหลายก็รู้จัก
พระองค์ว่า ติขิณมนตรี ปริพาชิกาทูลถามว่า พระองค์จะประทานพระกนิษฐ-
ภาดาเห็นปานนี้นั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของติขิณกุมารนั้น ตรัสว่า
ติขิณราชกุมารยังชนบทให้เจริญ เชิญเราผู้อยู่
ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้อนุเคราะห์เรา
ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็นอันมาก

มาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนู
ทั้งหลาย กล้าหาญ มีความคิดหลักแหลม แต่เธอคุย
เสมอว่า พระราชาองค์นี้มีความสุขเพราะข้าพเจ้า เธอ
สำคัญว่าฉันเป็นเด็กไป ในคราวที่มาเฝ้าเล่านะ
พระแม่เจ้า เธอไม่มาเหมือนแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงให้
พระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรรชฺเชภิ ความว่า ติขิณราชกุมาร
คุยเสมอว่า เรานำทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่นถวายแก่พระราชานี้
และเมื่อพระองค์เองประทับอยู่ในราชสมบัติอื่น เราก็นำกลับมาสู่ราชธานีนี้
เราได้ประดิษฐานพระราชานี้ไว้ในยศอันยิ่งใหญ่. บทว่า ยถาปุเร ความว่า
เมื่อก่อน เธอมาเฝ้าแต่เช้าทีเดียว แต่บัดนี้ เธอไม่มาเหมือนอย่างนั้น ข้าพเจ้า
ให้เธอแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
ปริพาชิกาทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษของพระกนิษฐภาดาจง
ยกไว้ก่อน แต่ธนุเสขกุมารประกอบด้วยคุณมีความเสน่หาในพระองค์ เป็นผู้
มีอุปการะมาก เมื่อจะกล่าวคุณของธนุเสขกุมาร จึงทูลว่า
พระองค์และธนุเสขเกิดในราตรีเดียวกัน ทั้งสอง
เป็นชาวปัญจาละเกิดในพระนครนี้ เป็นสหายมีวัย
เสมอกัน มีจริยางามติดตามพระองค์ไปร่วมสุขร่วม
ทุกข์กับพระองค์ ขยันขันแข็งในกิจทั้งปวงของ
พระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน จงรักภักดีพระองค์
จะให้พระสหายแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเสขวา ความว่า ชื่อว่า ธนุเสขกุมาร
เพราะเป็นผู้ศึกษาธนุศิลป์. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในพระนครนี้แหละ.
บทว่า ปญฺจาลา ความว่า ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเกิดขึ้นอุตตรปัญจาลนคร.
บทว่า สุสมาวยา ได้แก่ มีวัยเสมอกันด้วยดี. บทว่า จริยา ตํ อนุพนฺ-
ธิตฺโถ
ความว่า ได้ติดตามพระองค์ผู้หลีกไปเที่ยวตามชนบทในเวลายังทรง
พระเยาว์ เหมือนอะไร เหมือนเงาไม่ละพระองค์. บทว่า อุสฺสุกฺโก เต
ความว่า ขยันขันแข็ง คือเกิดความพอใจในกิจทั้งหลายของพระองค์ทั้งกลางคืน
และกลางวัน จงรักภักดีเป็นนิจ พระองค์จะให้พระสหายนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วย
โทษอะไร.
ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีเมื่อจะกล่าวโทษของธนุเสขกุมารนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ธนูเสขนี้ประพฤติกระซิกกระซี้
ตีเสมอข้าพเจ้า แม้วันนี้ก็หัวเราะดังเกินขอบเขตแบบ
นั้น ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าอยู่ในที่รโหฐาน ปรึกษากับ
พระเทวีของข้าพเจ้าอยู่ ไม่ได้เรียกหาก็เข้าไปและไม่
แจ้งให้ทราบก่อน เขาได้พรจากข้าพเจ้าให้เข้าพบได้
ทุกที่ทุกเวลา แต่สหายไม่มีความยำเกรงไม่มีความ
เอื้อเฟื้อเลย ข้าพเจ้าให้แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺชาปิ เตน วณฺเณน ความว่า
สหายธนุเสขนี้ เมื่อก่อนเที่ยวติดตามข้าพเจ้า ร่วมกินร่วมนอนกับ ข้าพเจ้ายาม
ตกยาก ตบมือหัวเราะลั่น ฉันใด แม้วันนี้สหายธนูเสขก็หัวเราะฉันนั้นแหละ
ยังแลดูข้าพเจ้าเหมือนเวลาตกยาก. บทว่า อนามนฺโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้า
ปรึกษาอยู่กับพระนางนันทาเทวีในที่ลับ เขาไม่ขออนุญาตดูก่อน พรวดพราด
เข้าไป ข้าพเจ้าให้เขาผู้ไม่มีความยำเกรงไม่มีความเอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

ลำดับนั้น ปริพาชิกาทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษ
ของพระสหายธนุเสขนี้ยกไว้ก่อน แต่ปุโรหิตเกวัฏเป็นผู้มีอุปการะแก่พระองค์
มาก เมื่อจะกล่าวคุณของปุโรหิตนั้น ทูลว่า
ท่านเกวัฏปุโรหิตาจารย์เป็นผู้ฉลาดในนิมิต
ทั้งปวง รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเชี่ยวชาญในคัมภีร์
พระเวท รอบรู้ในเรื่องอุบาท เรื่องสุบิน มีความ
ชำนาญในการหาฤกษ์ยกทัพและการเข้ารบ เป็นผู้บอก
ฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์ พระองค์
ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาด
ในนิมิตทั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี. บทว่า
รุทญฺญู ความว่า รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อุปฺปาเท ได้แก่
เรื่องอุบาทมีจันทรคราสสุริยคราส อุกกาบาตและลำพู่กันเป็นต้น. บทว่า
สุปิเน ยุตฺโต ความว่า รอบรู้ในเรื่องสุบินว่าฝันเช่นนี้จะเป็นอย่างนั้น. บทว่า
นิยฺยาเน จ ปเวสเน ความว่า รู้ว่า โดยนักษัตรนี้พึงยกทัพ โดยนักษัตรนี้
พึงเข้ารบ. บทว่า ปโฐ ภุมฺมนฺตลิกฺขสฺมึ ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ
สามารถ ได้แก่สามารถรู้โทษและคุณในพื้นดินและในอากาศ. บทว่า นกฺขตฺต-
ปทโกวิโท
ความว่า เป็นผู้ฉลาดในส่วนแห่งนักษัตร 28 พระองค์ให้เกวัฏ
ปุโรหิตนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของเกวัฏปุโรหิตนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า เกวัฏปุโรหิต แม้ในที่ประชุมก็
เลิกคิ้วแลดูข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นาย-
พรานผู้เลิกคิ้วแก่ผีเสื้อน้ำเสีย.

เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ปุโรหิตเกวัฏนี้เมื่อแลดู
ข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัท ก็ลืมตาแลดูเหมือนคนโกรธ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า
จึงให้นายพรานคือนักล่าสัตว์ผู้ทำเป็นเลิกคิ้ว เพราะโทษที่เลิกคิ้วนั้นแก่ผีเสื้อน้ำ.
ต่อนั้น ปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์
ตรัสว่าจักให้ชน 5 คนเหล่านั้นมีพระราชมารดาเป็นต้นแก่ผีเสื้อน้ำ และตรัสว่า
จักประทานชีวิตของพระองค์แก่มโหสถบัณฑิต โดยไม่คำนึงถึงสิริราชสมบัติ
เห็นปานนี้ พระองค์ทรงเห็นคุณของมโหสถบัณฑิตนั้นอย่างไร ดังนี้ จึงกล่าว
คาถาเหล่านั้นว่า
พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพ-
ศาลมีสมุทรเป็นขอบเขตทุกด้าน พสุธาที่เป็นพระราช
อาณาเขต เป็นประหนึ่งกุณฑลที่อยู่ในสาคร ทรงมี
อมาตย์แวดล้อมเป็นที่เฉลิมพระราชอิสริยยศ ทรงมี
บ้านเมืองแว่นแคว้นใหญ่จดสี่คาบสมุทร ทรงพิชิตชมพู
ทวีปได้แล้ว ทั้งรี้พลของพระองค์เล่า ก็มากถึง 18
กองทัพ พระองค์ทรงเป็นพระราชาเอกแห่งปฐพี
พระราชอิสริยยศของพระองค์ถึงความไพบูลย์ เหล่า
นารีของพระองค์ก็มีถึง 16,000 นาง ล้วนสำอางแต่ง
องค์ทรงเครื่องเรื่องระยับ มาจากชนบทต่าง ๆ ทั่ว
ชมพูทวีป ทรงสิริโสภาคย์เปรียบด้วยเทพกัญญา
พระชนมชีพของพระองค์เพรียบพร้อมด้วยองค์ ประ-
กอบแห่งความสุขอย่างครบครั้น ทุกสิ่งทุกอย่างใน
แผ่นดิน แม้พระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จะสำเร็จ

สมพระหฤทัยปรารถนาทุกประการ น่าที่พระองค์จะ
ตรัสว่าต้องการจะมีพระชนม์อยู่ยาวนาน ตามคติชีวิต
ที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า คนที่มีความสุขทั่ว ๆ
ไป ล้วนต้องการจะมีชีวิตอยู่นาน ๆ ชีวิตเป็นที่รักยิ่ง
นักของตนที่มีความสุข เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรง
ป้องกันมโหสถบัณฑิตไว้ ทรงสละพระชนม์ของพระ-
องค์ซึ่งเป็นสิ่งสละได้ยากด้วยเหตุอันใด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริสาสํ ได้แก่ ประกอบด้วย
เครื่องแวดล้อม คือสมุทร กล่าวคือมีสมุทรเป็นคู. บทว่า สาครกุณฺฑลํ
ความว่า เป็นกุณฑลแห่งสาครที่ตั้งแวดล้อมแผ่นดินนั้น. บทว่า วิชิตาวี
ได้แก่ ทรงพิชิตสงคราม. บทว่า เอกราชา ความว่า เป็นพระราชาเอก
ทีเดียว เพราะไม่มีพระราชาอื่นที่เช่นกับพระองค์. บทว่า สพฺพกามสมิทฺธินํ
ความว่า ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งวัตถุกามและกิเลสกามแม้ทุกอย่าง.
บทว่า สุขิตานํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เหล่าสัตว์ที่มีความสุข
เห็นปานนี้ ย่อมปรารถนาชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกอย่างอย่างนี้
อันเป็นที่รักให้อยู่นาน ๆ ไม่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่น้อยเลย. บทว่า ปาณํ
ความว่า พระองค์ทรงป้องกันมโหสถบัณฑิต สละชีวิตของพระองค์เห็นปานนี้
เพราะเหตุไร.
ข้าแต่แม่เจ้า มโหสถบัณฑิตแม้จะมาจากบ้าน
เมืองอื่น ก็มาด้วยมุ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
ยังไม่ทราบถึงความชั่ว แม้สักน้อยของมโหสถผู้เป็น
ปราชญ์เลย ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อนใน
กาลไหน ๆ ก็ตามเถิด มโหสถก็พึงยังลูกและหลาน

ของข้าพเจ้าให้มีความสุข มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้ง
ซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้า
ไม่ยอมให้มโหสถบัณฑิตผู้ไม่มีความผิดเลยแก่ผีเสื้อ
น้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺหิจิ กาเล แปลว่า ในกาลไหน ๆ
บทว่า สุขาเปยฺย ความว่า พึงให้ตั้งอยู่ในความสุขทีเดียว. บทว่า สพฺพมตฺถํ
ความว่า มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้งซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน
หรืออดีต ราวกะพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู. บทว่า อนาปราธกมฺมนฺต
ความว่า เว้นจากความผิดทางกายกรรมเป็นต้น. บทว่า น ทชฺชํ ความว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ให้บัณฑิตผู้มีธุระไม่มีใครเสมอเหมือนอย่างนี้ แก่
ผีเสื้อน้ำ.
พระเจ้าจุลนีทรงยกเกียรติคุณของพระมหาสัตว์ขึ้นประกาศ ประหนึ่ง
ทรงยกดวงจันทร์ขึ้นฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ชาดกนี้มีเนื้อความคิดต่อกัน
ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาคิดว่า เกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต
ปรากฏเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอ เราจักกระทำเกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต
ให้ปรากฏในท่ามกลางชาวเมืองทั้งสิ้นทีเดียว ให้เป็นประหนึ่งว่ารดน้ำมันลง
บนผิวแม่น้ำแผ่ขยายไปฉะนั้น คิดฉะนี้แล้วจึงเชิญพระเจ้าจุลนีลงจากปราสาท
ให้ปูลาดอาสนะพระลานหลวงนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ประกาศให้ชาวเมืองมา
ประชุมกัน แล้วทูลถามพระเจ้าจุลนีถึงปัญหาผีเสื้อน้ำ ตั้งแต่ต้นอีกในเวลาที่
พระเจ้าจุลนีตรัสโดยนัยที่ตรัสแล้วในหนหลัง นางเภรีปริพาชิกาได้กล่าวประ-
กาศแก่ชาวเมืองว่า
ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงพึงพระ-
ดำรัสของพระเจ้าจุลนีนี้ พระองค์ทรงปกป้องมโหสถ

บัณฑิตสละพระชนม์ซึ่งสละได้ยาก พระเจ้าปัญจาละ
ทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐ-
ภาดา พระสหาย และพราหมณ์เกวัฏ และแม่ของ
พระองค์เอง เป็น 6 คนด้วยกัน ปัญญามีประโยชน์
ใหญ่หลวงเป็นสิ่งละเอียด เป็นเหตุให้คนเรามีความ
คิดในทางที่ดี ย่อมมีเพอประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในภายหน้า ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตฺถิยา ความว่า ถือเอาประโยชน์
ใหญ่ตั้งอยู่. บทว่า ทิฏฐธมฺมหิตตฺหาย ความว่า ย่อมมีเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลในอัตภาพนี้ทีเดียว และเพื่อประโยชน์สุขในปรโลก.
นางเภรีปริพาชิกาถือเอายอดธรรมเทศนาด้วยคุณทั้งหลายของพระ-
มหาสัตว์ ดุจถือเอายอดเรือนแก้วด้วยดวงแก้วมณีฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปัญหาผีเสื้อน้ำ
จบอรรถกถามหาอุมมังคชาดกโดยประการทั้งปวง

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยประการฉะนี้
แล้ว เมื่อทรงประกาศอริยสัจ 4 ประชุมชาดก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญาย่ำยีวาทะของผู้อื่น แม้ในอดีตกาลเมื่อ
ญาณยังไม่แก่กล้า ตถาคตยังบำเพ็ญจิริยาเพื่อประโยชน์โพธิญาณอยู่ ก็มีปัญญา
เหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า
เสนกบัณฑิตในครั้งนั้น คือกัสสปภิกษุในบัดนี้
กามินทะคือ อัมพัฏฐภิกษุ
ปุกกุสะคือ โปฏฐปาทภิกษุ
ปัญจาลจันทกุมารคือ อนุรุทธภิกษุ

เทวินทะ คือโสณทัณฑกภิกษุ
พราหมณ์เกวัฏ คือเทวทัตภิกษุ
พระนางสลากเทวี คือถูลนันทิกาภิกษุณี
พราหมณ์อนุเกวัฏ คือโมคคัลลานภิกษุ
พระนางปัญจาลจันที คือสุนทรีภิกษุณี
นางนกสาริกา คือพระนางมัลลิกาเทวี
พระนางอูทุมพรเทวี คือโคดมภิกษุณี
พระเจ้าวิเทหราช คือกาฬุทายีภิกษุ
นางเภรีปริพาชิกา คืออุบลวรรณาภิกษุณี
คฤหบดีผู้บิดา คือพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
คฤหปตานีผู้มารดา คือพระสิริมหามายา
นางอมรา คือพระพิมพาผู้เลอโฉม
ติขิณกุมาร คือฉันนภิกษุ
ธนุเสข คือราหุลภิกษุ
นกสุวบัณฑิต คืออานนทภิกษุ
พระเจ้าจุลนี คือสารีบุตรภิกษุ
มโหสถบัณฑิต คือเราผู้โลกนาถ
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล.

จบ มโหสถชาดกบัณฑิต

รวมชาดกที่มีในเล่มนี้ คือ


1. เตมิยชาดก 2. มหาชนกชาดก 3. สุวรรณสามชาดก 4. เนมิ-
ราชชาดก 5. มโหสถชาดก และอรรถกถา.